คัด6รร.สอนเด็กพิเศษขั้นรุนแรง

แสดงความคิดเห็น

นางผุสดี ตามไท รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ กทม.มีโรงเรียนในสังกัดของกรุงเทพมหานครที่เป็นโรงเรียนร่วมกันระหว่างเด็กปกติและเด็กพิเศษแล้วทั้งหมด 108 โรงเรียน โดยในอนาคต กทม.ต้องการที่จะให้ทุกโรงเรียนในสังกัดคือทั้ง 436 โรงเรียน สามารถรับเด็กพิเศษได้ทั้งหมดทุกแห่ง โดยจะต้องทยอยฝึกอบรมให้แก่ครูหรือจ้างครูเฉพาะทางเพิ่มเติมรวมถึงจะต้องปรับโครงสร้างบุคลากรโดยในโรงเรียนจะต้องมีนักจิตวิทยาครูแนะแนว ที่จะสามารถแนะนำการดูแลเด็กพิเศษให้กับครูคนอื่นๆด้วย ทั้งนี้ในอนาคตมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยในสังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) ก็ควรจะต้องมีสาขาคณะศึกษาศาสตร์ด้านการสอนเด็กพิเศษด้วยเพื่อกทม. จะสามารถผลิตครูได้เอง

นางผุสดี กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม กทม. เตรียมคัดเลือกโรงเรียนในพื้นที่ 6 กลุ่มโซนกลุ่มโซนละ 1 โรงเรียน เพื่อเป็นโรงเรียนที่รองรับเด็กพิเศษที่มีระดับความรุนแรงมากเกินกว่าที่โรงเรียนอื่นจะสามารถดูแลได้ เพื่อจะได้มีการดูแลการฝึกฝนเป็นพิเศษ โดยทางสำนักการศึกษา กทม. จะคัดเลือกโรงเรียนที่มีความพร้อมที่สุดทั้งบุคลากร สถานที่ ในขณะเดียวกัน กทม. ก็จะเสริมอุปกรณ์การเรียนรู้เข้าไปเพิ่มเติมพร้อมทั้งเพิ่มนักจิตวิทยาครูพิเศษ เปิดอบรมครูเพื่อที่จะให้การดูแลเด็กเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยการดำเนินการจะแล้วเสร็จและสามารถเปิดสอนได้ภายในเดือน พ.ค.57 ทั้งนี้การรู้เร็วรวมถึงดูแลและฝึกฝนเด็กพิเศษอย่างถูกต้องและต่อเนื่องถือเป็นการเพิ่มโอกาสให้เด็กได้กลับมาเป็นเด็กปกติได้.

ขอบคุณ... เดลินิวส์รายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 ธ.ค.56

ที่มา: เดลินิวส์รายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 ธ.ค.56
วันที่โพสต์: 12/12/2556 เวลา 03:16:10

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นางผุสดี ตามไท รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ กทม.มีโรงเรียนในสังกัดของกรุงเทพมหานครที่เป็นโรงเรียนร่วมกันระหว่างเด็กปกติและเด็กพิเศษแล้วทั้งหมด 108 โรงเรียน โดยในอนาคต กทม.ต้องการที่จะให้ทุกโรงเรียนในสังกัดคือทั้ง 436 โรงเรียน สามารถรับเด็กพิเศษได้ทั้งหมดทุกแห่ง โดยจะต้องทยอยฝึกอบรมให้แก่ครูหรือจ้างครูเฉพาะทางเพิ่มเติมรวมถึงจะต้องปรับโครงสร้างบุคลากรโดยในโรงเรียนจะต้องมีนักจิตวิทยาครูแนะแนว ที่จะสามารถแนะนำการดูแลเด็กพิเศษให้กับครูคนอื่นๆด้วย ทั้งนี้ในอนาคตมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยในสังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) ก็ควรจะต้องมีสาขาคณะศึกษาศาสตร์ด้านการสอนเด็กพิเศษด้วยเพื่อกทม. จะสามารถผลิตครูได้เอง นางผุสดี กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม กทม. เตรียมคัดเลือกโรงเรียนในพื้นที่ 6 กลุ่มโซนกลุ่มโซนละ 1 โรงเรียน เพื่อเป็นโรงเรียนที่รองรับเด็กพิเศษที่มีระดับความรุนแรงมากเกินกว่าที่โรงเรียนอื่นจะสามารถดูแลได้ เพื่อจะได้มีการดูแลการฝึกฝนเป็นพิเศษ โดยทางสำนักการศึกษา กทม. จะคัดเลือกโรงเรียนที่มีความพร้อมที่สุดทั้งบุคลากร สถานที่ ในขณะเดียวกัน กทม. ก็จะเสริมอุปกรณ์การเรียนรู้เข้าไปเพิ่มเติมพร้อมทั้งเพิ่มนักจิตวิทยาครูพิเศษ เปิดอบรมครูเพื่อที่จะให้การดูแลเด็กเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยการดำเนินการจะแล้วเสร็จและสามารถเปิดสอนได้ภายในเดือน พ.ค.57 ทั้งนี้การรู้เร็วรวมถึงดูแลและฝึกฝนเด็กพิเศษอย่างถูกต้องและต่อเนื่องถือเป็นการเพิ่มโอกาสให้เด็กได้กลับมาเป็นเด็กปกติได้. ขอบคุณ... เดลินิวส์รายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 ธ.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...