ครูสอนดีชัยภูมิ แก้ปัญหาอ่านเขียน

แสดงความคิดเห็น

1.กิจกรรมปั้น วาด อ่าน เขียน 2.รับรางวัลครูสอนดี 3.ครูศรีประไพ พรหมมณี 4.สื่อการเรียนการสอนอย่างง่ายๆ

การอ่านหนังสือไม่ออกเขียนไม่ได้ เป็นปัญหาสำคัญต่อการเรียนรู้ด้านวิชาการและด้านอื่นๆ ของเด็กไทยจำนวนไม่น้อย โดยข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ระบุว่ามีนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3 ถึง 64,000 คน ที่ยังอ่านภาษาไทยไม่ได้

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) จึงจัดโครงการ "สังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ ยกย่องเชิดชู ครูสอนดี" เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยสภาส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะชีวิตเด็กและเยาวชนจังหวัดชัยภูมิ(สรช.) ได้รับการคัดเลือกให้เป็นจังหวัดดีเด่นตามโครงการดังกล่าว พร้อมทั้งร่วมกันจัดงาน "พลังบวรยกระดับการเรียนรู้ เชิดชูครูสอนดี จังหวัดชัยภูมิ" ที่ศูนย์เยาวชนเทศบาลเมืองชัยภูมิ ไปเมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ปฏิรูปการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน ดึงภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมแก้ปัญหา โดยตั้งเป้า 3 ปี เด็กอ่านไม่ออกเหลือ 0 คน

นายทองอินทร์ เพียภูเขียว ประธานสรช. กล่าวว่า ท้องถิ่นกำลังลุกขึ้นมาปฏิรูปการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ของเยาวชน สรช.เกิดจากความร่วมมือของจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานด้านการศึกษา วัด เอกชน และภาคประชาสังคม แต่งตั้งโดยผู้ว่าราชการจังหวัด และการสนับสนุนจาก สสค. ซึ่งสรช.มีตัวแทนมาจากหลายหน่วยงาน ทำให้การทำงานเชื่อมโยงแต่ละส่วนคล่องตัวขึ้น

"สิ่งสำคัญคือท้องถิ่นจะรู้ปัญหาของเด็กโดยตรง ทำให้แก้ปัญหาได้ตรงจุด ปัญหาการอ่านเขียนของเยาวชนในชัยภูมิ เป็นปัญหาอันดับต้นๆ ที่ต้องเร่งแก้ไข จึงร่วมมือกับครูสอนดี 329 คนในจังหวัด ใช้วัฒนธรรมเป็นสื่อสร้างการเรียนรู้ พร้อมสร้างเครือข่ายครูสอนดี เพื่อยกระดับคุณภาพของครูที่ส่งผลต่อผู้เรียนโดยตรง" ประธาน สรช. กล่าว

จากการเข้าไปเยี่ยมชมโรงเรียนชุมชนบ้านบุ่งคล้าวิทยา อ.เมือง จ.ชัยภูมิ โรงเรียนต้นแบบแกนนำจัดการเรียนร่วมของสพฐ. มีนักเรียนเรียนร่วม 2 ประเภท คือ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ที่แม้จะมีนักเรียนที่ยังขาดทักษะด้านการอ่านเขียนอยู่ถึง 26 คน แต่พบว่าทางโรงเรียนไม่ได้ละเลยปัญหาแต่อย่างใด

ครูศรีประไพ พรหมมณี ผู้ได้รับรางวัลครูสอนดี จาก สสค. ได้ทำโครงการ "ส่งเสริมการเรียนรู้ มุ่งสู่การอ่านอ่านออกเขียนได้จากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ CAI (Computer Assistance Instruction)" เนื่องจากเด็กๆ ชอบเรียนรู้จากคอมพิวเตอร์ จึงนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้กับเด็กที่มีปัญหาการอ่านเขียน

คอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอ เด็กๆ ต้องแบ่งกันใช้ สำหรับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่ครูศรีประไพนำมาใช้ มี 9 ชุด ประกอบด้วย 1.รู้จักพยัญชนะไทย 2.อ่านเขียนคำง่ายๆ ไม่มีตัวสะกด 3.อ่านเขียนจำจดตัวสะกด 8 มาตรา 4.อ่านเขียนคำสระเปลี่ยนรูป ลดรูป 5.อ่านเขียนตัวสะกดไม่ตรงมาตรา 6.อ่านเขียนคำอักษรควบ อักษรนำ 7.อ่านเขียนคำที่มีการันต์ 8.อ่านเขียนคำ ร หัน (รร) และ 9.อ่านเขียนขั้นสุดท้ายอ่านเรื่องได้ เขียนเรียงความได้ เขียนย่อความได้

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรม "อ่านได้ภายใน 4 เดือน" ให้เด็กมาจับคู่กันอ่านหนังสือ ซึ่งโครงการนี้ดำเนินมากว่า 10 ปีแล้ว และได้ผลดีมาก

"ในเด็กแอลดี หรือพัฒนาการช้า มีปัญหาการอ่านเขียน หากครูทราบและใส่ใจเด็กคนนั้น เด็กจะอ่านออกเขียนได้ในที่สุด เด็กเหล่านี้จะมีอัจฉริยะในด้านอื่นๆ หลายคนได้รางวัลคณิตศาสตร์ บางคนมีความสามารถทางคอมพิวเตอร์ หลายคนวาดรูปเก่ง" ครูศรีประไพกล่าว

จากการสอบถามคุณครูพบว่าสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เด็กเหล่านี้อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ เกิดขึ้นจากเด็กบางคนมีภาวะสมาธิสั้น บางคนมีปัญหาทางครอบครัว หรือพ่อแม่ไปทำงานต่างจังหวัด จึงต้องอาศัยอยู่กับปู่ย่าตายาย ครูจะดึงเด็กเหล่านี้ให้มาเรียนเสริมในช่วงหลังเลิกเรียน

โครงการนี้นอกจากจะทำให้เด็กพัฒนาศักยภาพในการอ่านและเขียน และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้แล้ว ยังช่วยส่งเสริมความสามารถของครูในการสอนเด็กกลุ่มนี้ให้ดีมากยิ่งขึ้น" ครูศรีประไพกล่าว

นอกจากกิจกรรมแก้ปัญหาการอ่านเขียนไม่ได้ของโรงเรียนชุมชนบ้านบุ่งคล้าแล้ว โรงเรียนอื่นๆ ใน จ.ชัยภูมิ ก็มีโครงการที่นำไปสู่การอ่านออกเขียนได้ อาทิ กิจกรรมปั้น วาด อ่าน เขียน ของโรงเรียนซับมงคล กิจกรรมแห่กระธูป ของโรงเรียนหนองบัวแดงวิทยา กิจกรรมแห่นาคโหด ของโรงเรียนโนนเสลาประสาทวิทย์ เป็นต้น โดยแต่ละโรงเรียนจะนำภูมิปัญญาท้องถิ่น มาจัดทำเป็นเนื้อหาการเรียนรู้เพิ่มเติมในสาระวิชาต่างๆ

อย่างไรก็ตาม บางกิจกรรมที่จัดทำขึ้นมา อาจไม่แก้ปัญหาการอ่านเขียนโดยตรง แต่สามารถจูงใจให้เด็กเหล่านี้ หันกลับมาสนใจเรียนรู้ในห้องเรียน เพื่อเป็นพื้นฐานไปสู่การเรียนรู้ในสาขาวิชาอื่นๆ

ขอบคุณ ... http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNE5UYzNOamM0TVE9PQ==&sectionid= (ขนาดไฟล์: 167)

( ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30พย.56 )

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30พย.56
วันที่โพสต์: 1/12/2556 เวลา 04:37:13 ดูภาพสไลด์โชว์ ครูสอนดีชัยภูมิ แก้ปัญหาอ่านเขียน

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

1.กิจกรรมปั้น วาด อ่าน เขียน 2.รับรางวัลครูสอนดี 3.ครูศรีประไพ พรหมมณี 4.สื่อการเรียนการสอนอย่างง่ายๆ การอ่านหนังสือไม่ออกเขียนไม่ได้ เป็นปัญหาสำคัญต่อการเรียนรู้ด้านวิชาการและด้านอื่นๆ ของเด็กไทยจำนวนไม่น้อย โดยข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ระบุว่ามีนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3 ถึง 64,000 คน ที่ยังอ่านภาษาไทยไม่ได้ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) จึงจัดโครงการ "สังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ ยกย่องเชิดชู ครูสอนดี" เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยสภาส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะชีวิตเด็กและเยาวชนจังหวัดชัยภูมิ(สรช.) ได้รับการคัดเลือกให้เป็นจังหวัดดีเด่นตามโครงการดังกล่าว พร้อมทั้งร่วมกันจัดงาน "พลังบวรยกระดับการเรียนรู้ เชิดชูครูสอนดี จังหวัดชัยภูมิ" ที่ศูนย์เยาวชนเทศบาลเมืองชัยภูมิ ไปเมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ปฏิรูปการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน ดึงภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมแก้ปัญหา โดยตั้งเป้า 3 ปี เด็กอ่านไม่ออกเหลือ 0 คน นายทองอินทร์ เพียภูเขียว ประธานสรช. กล่าวว่า ท้องถิ่นกำลังลุกขึ้นมาปฏิรูปการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ของเยาวชน สรช.เกิดจากความร่วมมือของจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานด้านการศึกษา วัด เอกชน และภาคประชาสังคม แต่งตั้งโดยผู้ว่าราชการจังหวัด และการสนับสนุนจาก สสค. ซึ่งสรช.มีตัวแทนมาจากหลายหน่วยงาน ทำให้การทำงานเชื่อมโยงแต่ละส่วนคล่องตัวขึ้น "สิ่งสำคัญคือท้องถิ่นจะรู้ปัญหาของเด็กโดยตรง ทำให้แก้ปัญหาได้ตรงจุด ปัญหาการอ่านเขียนของเยาวชนในชัยภูมิ เป็นปัญหาอันดับต้นๆ ที่ต้องเร่งแก้ไข จึงร่วมมือกับครูสอนดี 329 คนในจังหวัด ใช้วัฒนธรรมเป็นสื่อสร้างการเรียนรู้ พร้อมสร้างเครือข่ายครูสอนดี เพื่อยกระดับคุณภาพของครูที่ส่งผลต่อผู้เรียนโดยตรง" ประธาน สรช. กล่าว จากการเข้าไปเยี่ยมชมโรงเรียนชุมชนบ้านบุ่งคล้าวิทยา อ.เมือง จ.ชัยภูมิ โรงเรียนต้นแบบแกนนำจัดการเรียนร่วมของสพฐ. มีนักเรียนเรียนร่วม 2 ประเภท คือ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ที่แม้จะมีนักเรียนที่ยังขาดทักษะด้านการอ่านเขียนอยู่ถึง 26 คน แต่พบว่าทางโรงเรียนไม่ได้ละเลยปัญหาแต่อย่างใด ครูศรีประไพ พรหมมณี ผู้ได้รับรางวัลครูสอนดี จาก สสค. ได้ทำโครงการ "ส่งเสริมการเรียนรู้ มุ่งสู่การอ่านอ่านออกเขียนได้จากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ CAI (Computer Assistance Instruction)" เนื่องจากเด็กๆ ชอบเรียนรู้จากคอมพิวเตอร์ จึงนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้กับเด็กที่มีปัญหาการอ่านเขียน คอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอ เด็กๆ ต้องแบ่งกันใช้ สำหรับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่ครูศรีประไพนำมาใช้ มี 9 ชุด ประกอบด้วย 1.รู้จักพยัญชนะไทย 2.อ่านเขียนคำง่ายๆ ไม่มีตัวสะกด 3.อ่านเขียนจำจดตัวสะกด 8 มาตรา 4.อ่านเขียนคำสระเปลี่ยนรูป ลดรูป 5.อ่านเขียนตัวสะกดไม่ตรงมาตรา 6.อ่านเขียนคำอักษรควบ อักษรนำ 7.อ่านเขียนคำที่มีการันต์ 8.อ่านเขียนคำ ร หัน (รร) และ 9.อ่านเขียนขั้นสุดท้ายอ่านเรื่องได้ เขียนเรียงความได้ เขียนย่อความได้ นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรม "อ่านได้ภายใน 4 เดือน" ให้เด็กมาจับคู่กันอ่านหนังสือ ซึ่งโครงการนี้ดำเนินมากว่า 10 ปีแล้ว และได้ผลดีมาก "ในเด็กแอลดี หรือพัฒนาการช้า มีปัญหาการอ่านเขียน หากครูทราบและใส่ใจเด็กคนนั้น เด็กจะอ่านออกเขียนได้ในที่สุด เด็กเหล่านี้จะมีอัจฉริยะในด้านอื่นๆ หลายคนได้รางวัลคณิตศาสตร์ บางคนมีความสามารถทางคอมพิวเตอร์ หลายคนวาดรูปเก่ง" ครูศรีประไพกล่าว จากการสอบถามคุณครูพบว่าสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เด็กเหล่านี้อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ เกิดขึ้นจากเด็กบางคนมีภาวะสมาธิสั้น บางคนมีปัญหาทางครอบครัว หรือพ่อแม่ไปทำงานต่างจังหวัด จึงต้องอาศัยอยู่กับปู่ย่าตายาย ครูจะดึงเด็กเหล่านี้ให้มาเรียนเสริมในช่วงหลังเลิกเรียน โครงการนี้นอกจากจะทำให้เด็กพัฒนาศักยภาพในการอ่านและเขียน และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้แล้ว ยังช่วยส่งเสริมความสามารถของครูในการสอนเด็กกลุ่มนี้ให้ดีมากยิ่งขึ้น" ครูศรีประไพกล่าว นอกจากกิจกรรมแก้ปัญหาการอ่านเขียนไม่ได้ของโรงเรียนชุมชนบ้านบุ่งคล้าแล้ว โรงเรียนอื่นๆ ใน จ.ชัยภูมิ ก็มีโครงการที่นำไปสู่การอ่านออกเขียนได้ อาทิ กิจกรรมปั้น วาด อ่าน เขียน ของโรงเรียนซับมงคล กิจกรรมแห่กระธูป ของโรงเรียนหนองบัวแดงวิทยา กิจกรรมแห่นาคโหด ของโรงเรียนโนนเสลาประสาทวิทย์ เป็นต้น โดยแต่ละโรงเรียนจะนำภูมิปัญญาท้องถิ่น มาจัดทำเป็นเนื้อหาการเรียนรู้เพิ่มเติมในสาระวิชาต่างๆ อย่างไรก็ตาม บางกิจกรรมที่จัดทำขึ้นมา อาจไม่แก้ปัญหาการอ่านเขียนโดยตรง แต่สามารถจูงใจให้เด็กเหล่านี้ หันกลับมาสนใจเรียนรู้ในห้องเรียน เพื่อเป็นพื้นฐานไปสู่การเรียนรู้ในสาขาวิชาอื่นๆ ขอบคุณ ... http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNE5UYzNOamM0TVE9PQ==§ionid= ( ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30พย.56 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...