'นาฏศิลป์ไทย' บำบัด เด็กออทิสติกได้ ศธ.รู้หรือไม่

แสดงความคิดเห็น

นาฏศิลป์ไทย

ท่ามกลางกระแสข่าวเรื่อง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เตรียมถอดหลักสูตร "นาฏศิลป์ไทย" ออกจากหลักสูตรการเรียนการสอนของไทย นับเป็น "ทอล์กออฟเดอะทาวน์" ที่มีการพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งนั้น ได้มีการนำการเรียนการสอนนาฏศิลป์ มาใช้สอนเด็กออทิสติก อย่างที่บ้านสวนนาฏศิลป์-ดนตรีไทย ย่านงามวงศ์วาน ก็เป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่ได้นำนาฏศิลป์ของไทย มาเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่มีส่วนช่วยพัฒนากระบวนการเรียนรู้และปรับปรุง พัฒนาการที่สำคัญของเด็กออทิสติก

ข้อมูล จากสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต ระบุว่า “เด็กออทิสติก” เป็นความผิดปกติทางพัฒนาการของเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคม ทักษะทางภาษา และการสื่อความหมายได้เหมาะสมตามวัย มีลักษณะพฤติกรรม กิจกรรม ความสนใจ เป็นแบบแผนซ้ำๆ ไม่ยืดหยุ่น โดยปัญหาดังกล่าวจะเป็นตั้งแต่เล็ก

เด็กที่เป็นออทิสติกจะมีอาการแตกต่างกันหลากหลายรูปแบบ แต่ละคนจะมีอาการไม่เหมือนกัน แต่จะมีลักษณะร่วมที่คล้ายกัน ที่เรียกว่า ออทิสติก คือเด็กจะอยู่ในโลกของตัวเองมาก สนใจสิ่งแวดล้อมน้อย เรียกไม่หัน ไม่สบตา ไม่สนใจใคร ตอบโต้ไม่เป็น เล่นไม่เหมาะสม จินตนาการไม่เป็น ไม่พูดหรือพูดไม่รู้เรื่อง ทำอะไรซ้ำๆ เป็นแบบแผน

ดร.ไพโรจน์ ทองคำสุก หรือ "อาจารย์โหน่ง" นักวิชาการ การละครและดนตรี สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กล่าวว่า ตนเริ่มเข้าไปสอนนาฏศิลป์ให้แก่เด็กออทิสติก ตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยนาฏศิลป์ ด้วยความสงสารเด็กๆ เหล่านั้นที่มีความผิดปกติ เนื่องจากมองว่า ศาสตร์ทางด้านนาฏศิลป์เป็นศาสตร์ที่เน้นการพัฒนา ทั้งความรู้ สติปัญญา และสมอง จากความสงสารแปรเปลี่ยนเป็นความประทับใจ เมื่อสามารถนำความรู้ทางด้านนาฏศิลป์อย่างมีระบบเข้าไปจัดการเรียนการสอนให้ แก่เด็กออทิสติกได้ เห็นได้จากการที่เด็กออทิสติกที่สอนสามารถมีพัฒนาการที่ดีขึ้น บางรายสามารถเข้ามาเรียนกับเด็กที่เป็นปกติได้

ทั้งนี้ รูปแบบการเรียนการสอนนาฏศิลป์แก่เด็กออทิสติกนั้น มีความแตกต่างจากการสอนเด็กปกติเป็นอย่างมาก ตนจึงได้พัฒนาความรู้ในการสอนเพิ่มเติม จนสามารถจัดการแสดงนาฏศิลป์ของเด็กออทิสติกร่วมกับเด็กปกติได้ โดยได้รับการสนับสนุนจากครูและผู้ปกครองของเด็กๆ ออทิสติก

“เด็กที่อยู่ในสายออทิสติกที่ผ่านการเรียนนาฏศิลป์ จะเห็นได้ว่ามีพัฒนาการที่ดีขึ้น เราเริ่มจากการสอนเรื่องของจังหวะ ให้เขาทำตามเหมือนเรา เพราะการที่จะให้เด็กออทิสติกทำแบบเราเหมือนเดิมอย่างสม่ำเสมอไม่ใช่เรื่องง่าย อย่างการแสดงชุดหนึ่งใช้เวลา 5-7 นาที ทำอย่างไรเขาถึงจะมีสมาธิพอที่จะทำได้ เขาต้องรับรู้ จดจำการย่ำจังหวะเท้า กิริยา ท่าทางต่างๆ ระบบเหล่านี้เกิดจากการที่สมองประมวลผลเป็นท่าทางออกมา จากเดิมที่เขากลัวเครื่องแต่งกาย กลัวเสียงเพลงดังๆ เมื่อเราทดลองปรับรูปแบบการเรียนการสอนไปเรื่อยๆ เขาก็หายกลัว ไม่ตกใจ มีพัฒนาการทางการแสดงร่วมกับเพื่อนๆ ที่เป็นปกติได้”

หัวใจ สำคัญของครูสอนนาฏศิลป์ให้แก่เด็กออทิสติกที่สำคัญสำหรับครูโหน่ง คือครูต้องมีความรักความเมตตาต่อเด็ก เพราะการเรียนนาฏศิลป์เป็นการเรียนที่ต้องใกล้ชิดกัน ครูจึงต้องสร้างความเชื่อมั่นให้แก่เด็ก ให้เด็กเชื่อมั่นในความเป็นครู ก่อนที่จะได้รับการถ่ายทอด

“ครูรู้สึกปีติมาก เมื่อเห็นเด็กออทิสติกทำได้ ตรงนี้มองว่าน่าจะมีการต่อยอดการเรียนรู้เรื่องของนาฏศิลป์ไปยังโรงเรียน สำหรับเด็กพิเศษเหล่านี้ เพื่อเอื้อต่อการพัฒนาการทางสมองของเด็กออทิสติก หรือเด็กที่มีความผิดปกติ ให้สามารถดีขึ้นได้ วิชานาฏศิลป์ไม่ใช่วิชาที่จะบังคับใครไปเรียนได้ เด็กต้องเป็นคนเลือกเอง ถ้าเด็กเลือกแล้วเราเป็นเพียงแค่คนนำทางให้เขาเท่านั้น”

ด้าน นางอรสา ปัญจบุญ ผู้จัดการบ้านสวนนาฏศิลป์-ดนตรีไทย ย่านงามวงศ์วาน เปิดเผยว่า ทางสถาบันได้มีการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กออทิสติก โดยการนำหลักสูตรนาฏศิลป์ อย่างเครื่องดนตรีประเภทสายแบบต่างๆ มาสอนเด็กที่เป็นออทิสติก เช่น ขิม ระนาด ซอ โดยที่ผ่านมาพบว่าเด็กออทิสติกเหมาะสมกับการสอนขิมมากที่สุด เนื่องจากเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นได้ง่ายที่สุดของเครื่องสาย ให้เสียงที่ไพเราะ เด็กออทิสติกแทบทุกคนสามารถเล่นได้ และมีราคาไม่แพงจนเกินไป

ส่วนการเรียนรำแบบต่างๆ นั้น เบื้องต้นจะมีการพิจารณาเด็กออทิสติกเป็นรายบุคคล เพื่อประเมินศักยภาพว่า เด็กคนใดสามารถจะเรียนได้ เนื่องจากเด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีความหลากหลาย ตั้งแต่เป็นน้อยไปหามาก ไม่เหมือนกัน จำเป็นต้องคัดเลือกให้มีความเหมาะสมสำหรับเด็กแต่ละคน

ขณะที่ความยากง่ายของการสอนนาฏศิลป์ให้แก่เด็กออทิสติกนั้น ยอมรับว่ามีความยากกว่าการสอนเด็กปกติทั่วไป เนื่องจากเด็กออทิสติกหลายคนจะมีสมาธิสั้น ไม่สามารถอยู่นิ่งๆ ได้นาน ทำให้การเรียนการสอนจึงใช้วิธีการแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่รีบเร่ง เป็นการสอนที่ครูผู้สอนต้องปรับรูปแบบการเรียนการสอนไปตามเด็กที่เรียน เช่น ใช้วิธีการสอนแบบตัวต่อตัว มีหลักสูตรส่งครูไปสอนตามบ้าน เป็นต้น เพื่อให้เด็กออทิสติกที่มาเรียนมีความสนุก

“ถ้าถามเราจริงๆ เรามองว่าเรื่องของนาฏศิลป์ไทยเป็นเรื่องที่เราควรอนุรักษ์ไว้ แต่เรื่องของกระแสต่างๆ ทางฝั่งตะวันตกเข้ามาหาเราเยอะมาก การปลูกฝังเรื่องเหล่านี้ให้แก่เด็กที่ยังเล็กๆ เป็นเรื่องที่จำเป็นมาก เพื่อสิ่งดีๆ เหล่านี้จะได้ถูกปลูกฝังในใจของเด็กตั้งแต่แรกเริ่ม อย่างเด็กออทิสติกนาฏศิลป์มีส่วนสำคัญมากในเรื่องของสมาธิ เพราะกว่าจะรำได้แต่ละท่า ไม่ใช่เรื่องง่าย หัวใจสำคัญของนาฏศิลป์ไทยสำหรับเด็กออทิสติกคือ เสียงของเครื่องดนตรีที่จะช่วยให้เด็กเกิดความผ่อนคลาย สมองปลอดโปร่ง ทำให้เด็กมีสมาธิ มีความนิ่งมากขึ้น”

อย่างไรก็ตาม การเรียนนาฏศิลป์ไทยของเด็กออทิสติก ถือได้ว่าเป็นเพียงหนึ่งในทางเลือกของการบำบัดดูแล และส่งเสริมพัฒนาการของเด็กออทิสติกเท่านั้น ไม่ได้เป็นรูปแบบการดูแลรักษาที่จะสามารถช่วยให้เด็กออทิสติกมีพัฒนาการที่ดีได้อย่างรวดเร็วทันใจอย่างที่หลายคนคาดหวัง ทุกอย่างต้องอาศัยเวลาในการเรียนรู้ พัฒนา ควบคู่ไปกับการดูแลเอาใจใส่จากผู้ปกครอง ไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ หรือคนในครอบครัว ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการส่งเสริมการเรียนรู้ และพัฒนาการของเด็กออทิสติกให้ดีขึ้นได้.

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/edu/377066

ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ต.ค.56

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 21/10/2556 เวลา 03:17:37 ดูภาพสไลด์โชว์ 'นาฏศิลป์ไทย' บำบัด เด็กออทิสติกได้ ศธ.รู้หรือไม่

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นาฏศิลป์ไทย ท่ามกลางกระแสข่าวเรื่อง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เตรียมถอดหลักสูตร "นาฏศิลป์ไทย" ออกจากหลักสูตรการเรียนการสอนของไทย นับเป็น "ทอล์กออฟเดอะทาวน์" ที่มีการพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งนั้น ได้มีการนำการเรียนการสอนนาฏศิลป์ มาใช้สอนเด็กออทิสติก อย่างที่บ้านสวนนาฏศิลป์-ดนตรีไทย ย่านงามวงศ์วาน ก็เป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่ได้นำนาฏศิลป์ของไทย มาเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่มีส่วนช่วยพัฒนากระบวนการเรียนรู้และปรับปรุง พัฒนาการที่สำคัญของเด็กออทิสติก ข้อมูล จากสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต ระบุว่า “เด็กออทิสติก” เป็นความผิดปกติทางพัฒนาการของเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคม ทักษะทางภาษา และการสื่อความหมายได้เหมาะสมตามวัย มีลักษณะพฤติกรรม กิจกรรม ความสนใจ เป็นแบบแผนซ้ำๆ ไม่ยืดหยุ่น โดยปัญหาดังกล่าวจะเป็นตั้งแต่เล็ก เด็กที่เป็นออทิสติกจะมีอาการแตกต่างกันหลากหลายรูปแบบ แต่ละคนจะมีอาการไม่เหมือนกัน แต่จะมีลักษณะร่วมที่คล้ายกัน ที่เรียกว่า ออทิสติก คือเด็กจะอยู่ในโลกของตัวเองมาก สนใจสิ่งแวดล้อมน้อย เรียกไม่หัน ไม่สบตา ไม่สนใจใคร ตอบโต้ไม่เป็น เล่นไม่เหมาะสม จินตนาการไม่เป็น ไม่พูดหรือพูดไม่รู้เรื่อง ทำอะไรซ้ำๆ เป็นแบบแผน ดร.ไพโรจน์ ทองคำสุก หรือ "อาจารย์โหน่ง" นักวิชาการ การละครและดนตรี สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กล่าวว่า ตนเริ่มเข้าไปสอนนาฏศิลป์ให้แก่เด็กออทิสติก ตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยนาฏศิลป์ ด้วยความสงสารเด็กๆ เหล่านั้นที่มีความผิดปกติ เนื่องจากมองว่า ศาสตร์ทางด้านนาฏศิลป์เป็นศาสตร์ที่เน้นการพัฒนา ทั้งความรู้ สติปัญญา และสมอง จากความสงสารแปรเปลี่ยนเป็นความประทับใจ เมื่อสามารถนำความรู้ทางด้านนาฏศิลป์อย่างมีระบบเข้าไปจัดการเรียนการสอนให้ แก่เด็กออทิสติกได้ เห็นได้จากการที่เด็กออทิสติกที่สอนสามารถมีพัฒนาการที่ดีขึ้น บางรายสามารถเข้ามาเรียนกับเด็กที่เป็นปกติได้ ทั้งนี้ รูปแบบการเรียนการสอนนาฏศิลป์แก่เด็กออทิสติกนั้น มีความแตกต่างจากการสอนเด็กปกติเป็นอย่างมาก ตนจึงได้พัฒนาความรู้ในการสอนเพิ่มเติม จนสามารถจัดการแสดงนาฏศิลป์ของเด็กออทิสติกร่วมกับเด็กปกติได้ โดยได้รับการสนับสนุนจากครูและผู้ปกครองของเด็กๆ ออทิสติก “เด็กที่อยู่ในสายออทิสติกที่ผ่านการเรียนนาฏศิลป์ จะเห็นได้ว่ามีพัฒนาการที่ดีขึ้น เราเริ่มจากการสอนเรื่องของจังหวะ ให้เขาทำตามเหมือนเรา เพราะการที่จะให้เด็กออทิสติกทำแบบเราเหมือนเดิมอย่างสม่ำเสมอไม่ใช่เรื่องง่าย อย่างการแสดงชุดหนึ่งใช้เวลา 5-7 นาที ทำอย่างไรเขาถึงจะมีสมาธิพอที่จะทำได้ เขาต้องรับรู้ จดจำการย่ำจังหวะเท้า กิริยา ท่าทางต่างๆ ระบบเหล่านี้เกิดจากการที่สมองประมวลผลเป็นท่าทางออกมา จากเดิมที่เขากลัวเครื่องแต่งกาย กลัวเสียงเพลงดังๆ เมื่อเราทดลองปรับรูปแบบการเรียนการสอนไปเรื่อยๆ เขาก็หายกลัว ไม่ตกใจ มีพัฒนาการทางการแสดงร่วมกับเพื่อนๆ ที่เป็นปกติได้” หัวใจ สำคัญของครูสอนนาฏศิลป์ให้แก่เด็กออทิสติกที่สำคัญสำหรับครูโหน่ง คือครูต้องมีความรักความเมตตาต่อเด็ก เพราะการเรียนนาฏศิลป์เป็นการเรียนที่ต้องใกล้ชิดกัน ครูจึงต้องสร้างความเชื่อมั่นให้แก่เด็ก ให้เด็กเชื่อมั่นในความเป็นครู ก่อนที่จะได้รับการถ่ายทอด “ครูรู้สึกปีติมาก เมื่อเห็นเด็กออทิสติกทำได้ ตรงนี้มองว่าน่าจะมีการต่อยอดการเรียนรู้เรื่องของนาฏศิลป์ไปยังโรงเรียน สำหรับเด็กพิเศษเหล่านี้ เพื่อเอื้อต่อการพัฒนาการทางสมองของเด็กออทิสติก หรือเด็กที่มีความผิดปกติ ให้สามารถดีขึ้นได้ วิชานาฏศิลป์ไม่ใช่วิชาที่จะบังคับใครไปเรียนได้ เด็กต้องเป็นคนเลือกเอง ถ้าเด็กเลือกแล้วเราเป็นเพียงแค่คนนำทางให้เขาเท่านั้น” ด้าน นางอรสา ปัญจบุญ ผู้จัดการบ้านสวนนาฏศิลป์-ดนตรีไทย ย่านงามวงศ์วาน เปิดเผยว่า ทางสถาบันได้มีการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กออทิสติก โดยการนำหลักสูตรนาฏศิลป์ อย่างเครื่องดนตรีประเภทสายแบบต่างๆ มาสอนเด็กที่เป็นออทิสติก เช่น ขิม ระนาด ซอ โดยที่ผ่านมาพบว่าเด็กออทิสติกเหมาะสมกับการสอนขิมมากที่สุด เนื่องจากเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นได้ง่ายที่สุดของเครื่องสาย ให้เสียงที่ไพเราะ เด็กออทิสติกแทบทุกคนสามารถเล่นได้ และมีราคาไม่แพงจนเกินไป ส่วนการเรียนรำแบบต่างๆ นั้น เบื้องต้นจะมีการพิจารณาเด็กออทิสติกเป็นรายบุคคล เพื่อประเมินศักยภาพว่า เด็กคนใดสามารถจะเรียนได้ เนื่องจากเด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีความหลากหลาย ตั้งแต่เป็นน้อยไปหามาก ไม่เหมือนกัน จำเป็นต้องคัดเลือกให้มีความเหมาะสมสำหรับเด็กแต่ละคน ขณะที่ความยากง่ายของการสอนนาฏศิลป์ให้แก่เด็กออทิสติกนั้น ยอมรับว่ามีความยากกว่าการสอนเด็กปกติทั่วไป เนื่องจากเด็กออทิสติกหลายคนจะมีสมาธิสั้น ไม่สามารถอยู่นิ่งๆ ได้นาน ทำให้การเรียนการสอนจึงใช้วิธีการแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่รีบเร่ง เป็นการสอนที่ครูผู้สอนต้องปรับรูปแบบการเรียนการสอนไปตามเด็กที่เรียน เช่น ใช้วิธีการสอนแบบตัวต่อตัว มีหลักสูตรส่งครูไปสอนตามบ้าน เป็นต้น เพื่อให้เด็กออทิสติกที่มาเรียนมีความสนุก “ถ้าถามเราจริงๆ เรามองว่าเรื่องของนาฏศิลป์ไทยเป็นเรื่องที่เราควรอนุรักษ์ไว้ แต่เรื่องของกระแสต่างๆ ทางฝั่งตะวันตกเข้ามาหาเราเยอะมาก การปลูกฝังเรื่องเหล่านี้ให้แก่เด็กที่ยังเล็กๆ เป็นเรื่องที่จำเป็นมาก เพื่อสิ่งดีๆ เหล่านี้จะได้ถูกปลูกฝังในใจของเด็กตั้งแต่แรกเริ่ม อย่างเด็กออทิสติกนาฏศิลป์มีส่วนสำคัญมากในเรื่องของสมาธิ เพราะกว่าจะรำได้แต่ละท่า ไม่ใช่เรื่องง่าย หัวใจสำคัญของนาฏศิลป์ไทยสำหรับเด็กออทิสติกคือ เสียงของเครื่องดนตรีที่จะช่วยให้เด็กเกิดความผ่อนคลาย สมองปลอดโปร่ง ทำให้เด็กมีสมาธิ มีความนิ่งมากขึ้น” อย่างไรก็ตาม การเรียนนาฏศิลป์ไทยของเด็กออทิสติก ถือได้ว่าเป็นเพียงหนึ่งในทางเลือกของการบำบัดดูแล และส่งเสริมพัฒนาการของเด็กออทิสติกเท่านั้น ไม่ได้เป็นรูปแบบการดูแลรักษาที่จะสามารถช่วยให้เด็กออทิสติกมีพัฒนาการที่ดีได้อย่างรวดเร็วทันใจอย่างที่หลายคนคาดหวัง ทุกอย่างต้องอาศัยเวลาในการเรียนรู้ พัฒนา ควบคู่ไปกับการดูแลเอาใจใส่จากผู้ปกครอง ไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ หรือคนในครอบครัว ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการส่งเสริมการเรียนรู้ และพัฒนาการของเด็กออทิสติกให้ดีขึ้นได้. ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/edu/377066 ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ต.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...