การศึกษา....พาคนพิการไปทางไหน?

แสดงความคิดเห็น

อาจารย์สุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ เลขาธิการมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ ท่ามกลางความงุนงง และความวิตกกังวลต่อประสิทธิผลจากการศึกษาของเยาวชนไทยที่รายงานต่างๆ ล้วนบ่งชี้ว่า มาตรฐานการศึกษาของเยาวชนไทยต่ำกว่าประเทศอื่นๆ กระทรวงศึกษาธิการได้เตรียมการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ

อาจารย์สุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ เลขาธิการมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ อดีตครูใหญ่โรงเรียนอาชีวพระมหาไถ่ ผู้คร่ำหวอดในงานด้านคนพิการได้ให้ข้อสังเกตต่อ...เป้าหมายปลายทางของการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการอย่างน่าสนใจ ดังนี้

• การศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตอิสระ - ก็ขายไม่ออก พูดกับชาวบ้านไม่ค่อยมีใครรู้เรื่อง ต้องอธิบายยาวๆ อธิบายเก่งๆ ถึงพอจะเข้าใจการศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตแบบพึ่งพาตนเอง - ก็ดูหยิ่งๆ

• การศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตโดยไม่เป็นภาระ – ก็ดูเป็นเชิงลบนิดหน่อย

• การศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตแบบพึ่งพาผู้อื่นน้อยที่สุด – ก็ยากไปนิด

• การศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข – ก็อาจจะเห็นแก่ตัวไปหน่อยที่สุขอยู่คนเดียว

• การศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขร่วมกัน - อืมม... เข้าท่านะครับ

• การศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน - น่าสนใจที่สุด โดยการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน หมายรวมถึง การประกอบสัมมาชีพ ไม่สร้างมลพิษ/ปัญหาต่อสังคม - พึ่งพาตนเองมากที่สุด และร่วมสร้างสรรค์สังคมดีงาม ฯลฯ

• การศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตอย่างสร้างสรรค์สังคม - ไปไกลหน่อย แต่ทำให้เห็นว่าคนพิการเป็นผู้สร้างสรรค์สังคมได้

• การศึกษาสู่อาชีพและสังคม... ใกล้เข้ามาหน่อย แต่อาจจะเข้าใจยากนิดหน่อย ความหมายคือ การมีอาชีพและใช้ชีวิตในสังคมได้ตามบริบทหรือขนบธรรมเนียม ประเพณีของสังคมนั้นๆ แต่ชัดเจนในแง่ที่ว่าเราดำรงชีวิตนั้นนอกจากมีอาชีพแล้วสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงคือ “สังคม” หรือการเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใด

• การศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีสุขภาวะ - เห่อจริง แต่ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจสักเท่าไหร่

• การศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขตามอัตภาพ - เชยหน่อยแต่ ไม่หยิ่ง ไม่เห็นแก่ตัว นอบน้อมดี

• การศึกษาสู่อาชีพและการร่วมสร้างสังคมที่ทุกคนอยู่เย็นเป็นสุขเท่าเทียมกัน - ชัดดี แต่ยาวจัง

จะอย่างไรก็ตามการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการควรคำนึงถึงคนพิการทุกกลุ่มอายุและทุกประเภทความพิการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนพิการในชนบทที่ขาดโอกาสทางการศึกษามาอย่างยาวนาน

ท่านผู้อ่านล่ะคะ …คิดว่า การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ควรพาคนพิการไปทางไหน ??

ขอบคุณ...อาจารย์สุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ เลขาธิการมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 ก.ย.56

ที่มา: อาจารย์สุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ เลขาธิการมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 11/09/2556 เวลา 03:35:06 ดูภาพสไลด์โชว์ การศึกษา....พาคนพิการไปทางไหน?

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

อาจารย์สุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ เลขาธิการมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ ท่ามกลางความงุนงง และความวิตกกังวลต่อประสิทธิผลจากการศึกษาของเยาวชนไทยที่รายงานต่างๆ ล้วนบ่งชี้ว่า มาตรฐานการศึกษาของเยาวชนไทยต่ำกว่าประเทศอื่นๆ กระทรวงศึกษาธิการได้เตรียมการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ อาจารย์สุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ เลขาธิการมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ อดีตครูใหญ่โรงเรียนอาชีวพระมหาไถ่ ผู้คร่ำหวอดในงานด้านคนพิการได้ให้ข้อสังเกตต่อ...เป้าหมายปลายทางของการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการอย่างน่าสนใจ ดังนี้ • การศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตอิสระ - ก็ขายไม่ออก พูดกับชาวบ้านไม่ค่อยมีใครรู้เรื่อง ต้องอธิบายยาวๆ อธิบายเก่งๆ ถึงพอจะเข้าใจการศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตแบบพึ่งพาตนเอง - ก็ดูหยิ่งๆ • การศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตโดยไม่เป็นภาระ – ก็ดูเป็นเชิงลบนิดหน่อย • การศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตแบบพึ่งพาผู้อื่นน้อยที่สุด – ก็ยากไปนิด • การศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข – ก็อาจจะเห็นแก่ตัวไปหน่อยที่สุขอยู่คนเดียว • การศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขร่วมกัน - อืมม... เข้าท่านะครับ • การศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน - น่าสนใจที่สุด โดยการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน หมายรวมถึง การประกอบสัมมาชีพ ไม่สร้างมลพิษ/ปัญหาต่อสังคม - พึ่งพาตนเองมากที่สุด และร่วมสร้างสรรค์สังคมดีงาม ฯลฯ • การศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตอย่างสร้างสรรค์สังคม - ไปไกลหน่อย แต่ทำให้เห็นว่าคนพิการเป็นผู้สร้างสรรค์สังคมได้ • การศึกษาสู่อาชีพและสังคม... ใกล้เข้ามาหน่อย แต่อาจจะเข้าใจยากนิดหน่อย ความหมายคือ การมีอาชีพและใช้ชีวิตในสังคมได้ตามบริบทหรือขนบธรรมเนียม ประเพณีของสังคมนั้นๆ แต่ชัดเจนในแง่ที่ว่าเราดำรงชีวิตนั้นนอกจากมีอาชีพแล้วสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงคือ “สังคม” หรือการเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใด • การศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีสุขภาวะ - เห่อจริง แต่ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจสักเท่าไหร่ • การศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขตามอัตภาพ - เชยหน่อยแต่ ไม่หยิ่ง ไม่เห็นแก่ตัว นอบน้อมดี • การศึกษาสู่อาชีพและการร่วมสร้างสังคมที่ทุกคนอยู่เย็นเป็นสุขเท่าเทียมกัน - ชัดดี แต่ยาวจัง จะอย่างไรก็ตามการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการควรคำนึงถึงคนพิการทุกกลุ่มอายุและทุกประเภทความพิการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนพิการในชนบทที่ขาดโอกาสทางการศึกษามาอย่างยาวนาน ท่านผู้อ่านล่ะคะ …คิดว่า การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ควรพาคนพิการไปทางไหน ?? ขอบคุณ...อาจารย์สุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ เลขาธิการมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...