สพฐ.เพิ่มความเข้มระบบดูแลนักเรียน

แสดงความคิดเห็น

ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.)

ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ที่ประชุมได้รับทราบผลการตรวจราชการจากผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ซึ่งเรื่องหนึ่งที่ สพฐ.หยิบยกหารือที่ประชุม คือการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีความเข้มแข็งและมีกลไกที่จะช่วย ดูแล รวมทั้งคัดกรองและส่งต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีข้อมูลผลการคัดกรองนักเรียนและข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตพบว่า ขณะนี้ภาพรวมของเด็กที่อยู่ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีเด็กกลุ่มพิเศษที่ ต้องดูแลพิเศษจำนวนถึง 20% แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่

1.กลุ่มที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ หรือแอลดี 10-15%, 2.กลุ่มเด็กสมาธิสั้น 8%, 3.กลุ่ม เด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ 5% 4.กลุ่มเด็กออทิสติก พบ 1 ใน 88 คน คิดเป็น 1.13% และ 5.กลุ่มที่มีความพิการทางกายภาพ ได้แก่ หูหนวก ตาบอด ร่างกายพิการ และยังบกพร่องทางสติปัญญา 2%

เลขาธิการ กพฐ.กล่าวอีกว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นตัวบ่งชี้ให้ สพฐ.ทราบว่าการพัฒนาระบบดูแลและช่วยเหลือนักเรียนมีความสำคัญ การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาผู้เรียน การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน โดยไม่ได้ดูที่ต้นเหตุปัญหาจะทำให้แก้ไขได้ยาก จึงต้องเริ่มค้นหาสาเหตุปัญหาและแก้ไขตั้งแต่แรก ดังนั้น ในปีการ ศึกษา 2556 สพฐ.จะยกระดับความเข้มข้นของระบบการดูแลนักเรียน โดยที่ประชุมเสนอแนะว่าควรจัดทำระบบคัดกรองเด็กและการส่งต่อเด็กที่มี ประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันต้องสร้างความเข้มแข็งให้สถานศึกษา โดยเสนอให้มีคณะกรรมการช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา 1 ชุด และมีเจ้าหน้าที่ภายนอกคอยให้การช่วยเหลือ เบื้องต้น สพฐ.จะขยายผลโดยใช้หน่วยเฉพาะกิจดูแลช่วยเหลือนักเรียน (ฉกชน.) ของ สพฐ. และ ฉกชน.ประจำเขตพื้นที่การศึกษาฯ ดำเนินการก่อน และอนาคตหากโรงเรียนมีคณะกรรมการช่วยเหลือนักเรียนประจำโรงเรียนแล้วทั้งหมด จะทำงานช่วยเหลือกัน

ขอบคุณ http://www.thairath.co.th/content/edu/340635

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 24/04/2556 เวลา 03:11:40 ดูภาพสไลด์โชว์ สพฐ.เพิ่มความเข้มระบบดูแลนักเรียน

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ที่ประชุมได้รับทราบผลการตรวจราชการจากผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ซึ่งเรื่องหนึ่งที่ สพฐ.หยิบยกหารือที่ประชุม คือการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีความเข้มแข็งและมีกลไกที่จะช่วย ดูแล รวมทั้งคัดกรองและส่งต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีข้อมูลผลการคัดกรองนักเรียนและข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตพบว่า ขณะนี้ภาพรวมของเด็กที่อยู่ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีเด็กกลุ่มพิเศษที่ ต้องดูแลพิเศษจำนวนถึง 20% แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ หรือแอลดี 10-15%, 2.กลุ่มเด็กสมาธิสั้น 8%, 3.กลุ่ม เด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ 5% 4.กลุ่มเด็กออทิสติก พบ 1 ใน 88 คน คิดเป็น 1.13% และ 5.กลุ่มที่มีความพิการทางกายภาพ ได้แก่ หูหนวก ตาบอด ร่างกายพิการ และยังบกพร่องทางสติปัญญา 2% เลขาธิการ กพฐ.กล่าวอีกว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นตัวบ่งชี้ให้ สพฐ.ทราบว่าการพัฒนาระบบดูแลและช่วยเหลือนักเรียนมีความสำคัญ การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาผู้เรียน การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน โดยไม่ได้ดูที่ต้นเหตุปัญหาจะทำให้แก้ไขได้ยาก จึงต้องเริ่มค้นหาสาเหตุปัญหาและแก้ไขตั้งแต่แรก ดังนั้น ในปีการ ศึกษา 2556 สพฐ.จะยกระดับความเข้มข้นของระบบการดูแลนักเรียน โดยที่ประชุมเสนอแนะว่าควรจัดทำระบบคัดกรองเด็กและการส่งต่อเด็กที่มี ประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันต้องสร้างความเข้มแข็งให้สถานศึกษา โดยเสนอให้มีคณะกรรมการช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา 1 ชุด และมีเจ้าหน้าที่ภายนอกคอยให้การช่วยเหลือ เบื้องต้น สพฐ.จะขยายผลโดยใช้หน่วยเฉพาะกิจดูแลช่วยเหลือนักเรียน (ฉกชน.) ของ สพฐ. และ ฉกชน.ประจำเขตพื้นที่การศึกษาฯ ดำเนินการก่อน และอนาคตหากโรงเรียนมีคณะกรรมการช่วยเหลือนักเรียนประจำโรงเรียนแล้วทั้งหมด จะทำงานช่วยเหลือกัน ขอบคุณ… http://www.thairath.co.th/content/edu/340635

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...