วิจัยพบ ด.ช.เมืองกรุงบกพร่องทางการเรียนรู้มากกว่า ด.ญ.
มศว เผยงานวิจัยภาวะสมาธิสั้นในเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ เขต กทม. พบเด็กชายบกพร่องทางการเรียนรู้มากกว่าเด็กหญิง... เมื่อวันที่ 26 เม.ย. รศ.ดร.ดารณี ศักดิ์ศิริผล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ (RISE) กล่าวว่า มศว ทำงานวิจัยเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ หรือ (Learning Disabilities) หรือเรียกว่าเด็กแอลดีมาอย่างต่อเนื่อง เด็กจะมีปัญหาทางการเรียนรู้ ซึ่งได้แก่การอ่าน การเขียน การฟังและการคิดตลอดถึงการคำนวณ เด็กจะคิดช้า อ่านช้า เขียนหนังสือผิดสะกดคำผิด จนทำให้ไม่ชอบและไม่สนใจในการเรียน เบื่อหน่ายโรงเรียนหากครูไม่เข้าใจก็จะมองเด็กกลุ่มนี้ว่าเป็นเด็กมีปัญหาและทอดทิ้งเด็ก
จาก ผลงานวิจัยยังพบว่า นอกจากจะมีความบกพร่องทางการเรียนรู้แล้ว เด็กกลุ่มนี้ยังมีโอกาสอยู่ในภาวะสมาธิสั้นด้วย ซึ่งจากการศึกษาโรงเรียนในเขต กทม.พบว่า เด็กที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ป.1-3 เป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ 3.57% และส่วนใหญ่เป็นเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิงประมาณ 3:1 % คือถ้าพบเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ที่เป็นผู้ชาย 3 คน จะพบเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ที่เป็นผู้หญิง 1 คน และจะพบในเด็กชั้นประถมปีที่ 2 มากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องด้านการอ่านและการเขียนมากที่สุด
นอกจากนี้งานวิจัยยังพบว่าในจำนวนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ยังมีภาวะ สมาธิสั้นร่วมด้วยถึง 23.76% ที่น่าสังเกตว่าพบเด็กชั้น ป.2 มากที่สุด ก็เพราะตอนนักเรียนอยู่ชั้นอนุบาล –ป.1 ครูยังไม่ค่อยได้สนใจการอ่านการเขียน การคิดและการพูดของนักเรียนมากนัก แต่พอผ่านชั้น ป.1 ขึ้น ป.2 ครูเริ่มอยู่กับเด็ก คุ้นเคยและใส่ใจเด็กมากขึ้นจึงเห็นปัญหาด้านความบกพร่องทางการเรียนรู้ของ เด็กมากขึ้นๆ สำหรับชั้น ป.3 เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้มีจำนวนน้อยลง เพราะได้รับการแก้ไขเมื่อครูมองเห็นปัญหาและข้อบกพร่องของเด็กนักเรียน ทั้งนี้งานวิจัยยังพบอีกว่าเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้จำนวนหนึ่งมีระดับสติปัญญาอยู่ในระดับสูงกว่าปานกลางจนถึงขั้นเฉลียวฉลาดด้วย
“การคัดกรองเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ซึ่งต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะการคัดกรองเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ตั้งแต่ระดับปฐมวัย เพื่อป้องกันปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ คิดคำนวณไม่เป็นตั้งแต่แรกเริ่ม จากการศึกษาข้อมูลของประเทศสหรัฐอเมริกาในเรื่องการช่วยเหลือเด็กนั้นยัง ระบุ หากผู้เกี่ยวข้องช่วยเหลือเด็กที่มีความยากลำบากในการอ่าน ก่อนที่เด็กจะมีอายุ 9 ปี หรือเด็กกำลังเรียนอยู่ชั้น ป.3 เด็กจำนวนร้อยละ 90 ที่มีปัญหาด้านการอ่าน จะมีความสามารถอ่านออกเขียนได้เช่นเดียวกับเด็กปกติ” รศ.ดร.ดารณีกล่าว
รศ.ดร.ดารณี กล่าวอีกว่า เห็นด้วยที่ สพฐ.ให้ความสำคัญกลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หากแต่ต้องมีข้อมูลและมีงานวิจัยสนับสนุนในการทำงาน มีโอกาสได้ไปพูดบรรยายเรื่องเด็กที่มีความต้องการพิเศษโดยเฉพาะเด็กที่มี ความบกพร่องทางการเรียนรู้ ทำให้ สพฐ.เห็นว่า มศว มีงานวิจัยด้านนี้และ มศว ทำงานด้านนี้มานาน จึงขอผลงานวิจัยเรื่องนี้เพื่อจะนำเป็นข้อมูลในการดำเนินนโยบายการทำงาน และสนับสนุนพร้อมแก้ไขปัญหาของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ซึ่งทาง มศว ยินดีมอบงานวิจัยชิ้นนี้ให้เพื่อประโยชน์ทางด้านการศึกษา การจะแก้ปัญหาการศึกษานั้น ควรจะมีฐานข้อมูลที่มากเพียงพอ และต้องทำงานให้เป็นระบบด้วย ทั้งนี้ในวันที่ 9-10 พ.ค.2556 มศว มีโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง งานวิจัยทางการศึกษาพิเศษ ครั้งที่ 3 มิติใหม่การวิจัยทางการศึกษาพิเศษในศตวรรษที่ 21: Mixed Method ณ อาคารนวัตกรรม ศ.ดร.สาโรช บัวศรี มศว ขึ้น จึงขอเชิญ สพฐ.ครู อาจารย์ ครูการศึกษาพิเศษและผู้สนใจได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตลอดถึงงาน วิจัยชิ้นนี้จะนำเสนอในวันนั้นด้วย
ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/edu/341122 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
รศ.ดร.ดารณี ศักดิ์ศิริผล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ (RISE) มศว เผยงานวิจัยภาวะสมาธิสั้นในเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ เขต กทม. พบเด็กชายบกพร่องทางการเรียนรู้มากกว่าเด็กหญิง... เมื่อวันที่ 26 เม.ย. รศ.ดร.ดารณี ศักดิ์ศิริผล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ (RISE) กล่าวว่า มศว ทำงานวิจัยเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ หรือ (Learning Disabilities) หรือเรียกว่าเด็กแอลดีมาอย่างต่อเนื่อง เด็กจะมีปัญหาทางการเรียนรู้ ซึ่งได้แก่การอ่าน การเขียน การฟังและการคิดตลอดถึงการคำนวณ เด็กจะคิดช้า อ่านช้า เขียนหนังสือผิดสะกดคำผิด จนทำให้ไม่ชอบและไม่สนใจในการเรียน เบื่อหน่ายโรงเรียนหากครูไม่เข้าใจก็จะมองเด็กกลุ่มนี้ว่าเป็นเด็กมีปัญหาและทอดทิ้งเด็ก จาก ผลงานวิจัยยังพบว่า นอกจากจะมีความบกพร่องทางการเรียนรู้แล้ว เด็กกลุ่มนี้ยังมีโอกาสอยู่ในภาวะสมาธิสั้นด้วย ซึ่งจากการศึกษาโรงเรียนในเขต กทม.พบว่า เด็กที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ป.1-3 เป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ 3.57% และส่วนใหญ่เป็นเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิงประมาณ 3:1 % คือถ้าพบเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ที่เป็นผู้ชาย 3 คน จะพบเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ที่เป็นผู้หญิง 1 คน และจะพบในเด็กชั้นประถมปีที่ 2 มากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องด้านการอ่านและการเขียนมากที่สุด นอกจากนี้งานวิจัยยังพบว่าในจำนวนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ยังมีภาวะ สมาธิสั้นร่วมด้วยถึง 23.76% ที่น่าสังเกตว่าพบเด็กชั้น ป.2 มากที่สุด ก็เพราะตอนนักเรียนอยู่ชั้นอนุบาล –ป.1 ครูยังไม่ค่อยได้สนใจการอ่านการเขียน การคิดและการพูดของนักเรียนมากนัก แต่พอผ่านชั้น ป.1 ขึ้น ป.2 ครูเริ่มอยู่กับเด็ก คุ้นเคยและใส่ใจเด็กมากขึ้นจึงเห็นปัญหาด้านความบกพร่องทางการเรียนรู้ของ เด็กมากขึ้นๆ สำหรับชั้น ป.3 เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้มีจำนวนน้อยลง เพราะได้รับการแก้ไขเมื่อครูมองเห็นปัญหาและข้อบกพร่องของเด็กนักเรียน ทั้งนี้งานวิจัยยังพบอีกว่าเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้จำนวนหนึ่งมีระดับสติปัญญาอยู่ในระดับสูงกว่าปานกลางจนถึงขั้นเฉลียวฉลาดด้วย “การคัดกรองเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ซึ่งต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะการคัดกรองเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ตั้งแต่ระดับปฐมวัย เพื่อป้องกันปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ คิดคำนวณไม่เป็นตั้งแต่แรกเริ่ม จากการศึกษาข้อมูลของประเทศสหรัฐอเมริกาในเรื่องการช่วยเหลือเด็กนั้นยัง ระบุ หากผู้เกี่ยวข้องช่วยเหลือเด็กที่มีความยากลำบากในการอ่าน ก่อนที่เด็กจะมีอายุ 9 ปี หรือเด็กกำลังเรียนอยู่ชั้น ป.3 เด็กจำนวนร้อยละ 90 ที่มีปัญหาด้านการอ่าน จะมีความสามารถอ่านออกเขียนได้เช่นเดียวกับเด็กปกติ” รศ.ดร.ดารณีกล่าว รศ.ดร.ดารณี กล่าวอีกว่า เห็นด้วยที่ สพฐ.ให้ความสำคัญกลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หากแต่ต้องมีข้อมูลและมีงานวิจัยสนับสนุนในการทำงาน มีโอกาสได้ไปพูดบรรยายเรื่องเด็กที่มีความต้องการพิเศษโดยเฉพาะเด็กที่มี ความบกพร่องทางการเรียนรู้ ทำให้ สพฐ.เห็นว่า มศว มีงานวิจัยด้านนี้และ มศว ทำงานด้านนี้มานาน จึงขอผลงานวิจัยเรื่องนี้เพื่อจะนำเป็นข้อมูลในการดำเนินนโยบายการทำงาน และสนับสนุนพร้อมแก้ไขปัญหาของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ซึ่งทาง มศว ยินดีมอบงานวิจัยชิ้นนี้ให้เพื่อประโยชน์ทางด้านการศึกษา การจะแก้ปัญหาการศึกษานั้น ควรจะมีฐานข้อมูลที่มากเพียงพอ และต้องทำงานให้เป็นระบบด้วย ทั้งนี้ในวันที่ 9-10 พ.ค.2556 มศว มีโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง งานวิจัยทางการศึกษาพิเศษ ครั้งที่ 3 มิติใหม่การวิจัยทางการศึกษาพิเศษในศตวรรษที่ 21: Mixed Method ณ อาคารนวัตกรรม ศ.ดร.สาโรช บัวศรี มศว ขึ้น จึงขอเชิญ สพฐ.ครู อาจารย์ ครูการศึกษาพิเศษและผู้สนใจได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตลอดถึงงาน วิจัยชิ้นนี้จะนำเสนอในวันนั้นด้วย ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/edu/341122
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)