การออกแบบฟื้นฟูโรงเรียนขนาดเล็กวงจรการศึกษาสำคัญของชาติที่ไม่ควรยุบ
คอลัมน์ ดีไซน์นิวส์ : การบ่มเพาะการศึกษาชาติเป็นวงจรแห่งการเรียนรู้ ใช่ว่าจะเกิดขึ้นเฉพาะโรงเรียนขนาดใหญ่ในเมืองเสมอไป ผมเป็นคนหนึ่งที่เรียนหนังสือจากโรงเรียนเล็กๆ ในต่างจังหวัดครับ มีครูอุดมการณ์ที่ทุ่มเทการสอนและชีวิตให้กับนักเรียน ผมได้รับการถ่ายทอดจิตวิญญาณจนเป็นผู้เป็นคน มีคุณภาพก็เกิดจากการบ่มเพาะจากโรงเรียนเล็กๆตั้งแต่เด็กนี่แหละครับ
การเชื่อมความสัมพันธ์กับชุมชนจนมีรากฐานทางวัฒนธรรมรักบ้านเมืองถิ่นเกิด การถ่ายทอดความเป็นตัวตนของชุมชน สามารถเกิดขึ้นได้จากโรงแรมเล็กๆ ซึ่งผมถือว่ามีค่าที่สุด การตัดสินใจ “ยุบ” โรงเรียนผมถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด เพราะ “ระบบทุนนิยม” อาจเป็นเหตุให้ทุนมาทำลายระบบสังคมที่แข็งแกร่ง ผมคิดว่าการคิด“ยุบ”อาจเสียหายโดยผมกลับมองว่า“การฟื้นฟู”คือคำตอบ
ในการพัฒนาการศึกษาชาติจะเล็กใหญ่ไม่สำคัญ อยู่ที่การพัฒนาคุณภาพมากกว่าครับ โดยใช้จิตวิญญาณอุดมการณ์ ความสามารถ การเสียสละ จิตสาธารณะ ในความเป็นอารยะสร้างสรรค์ให้เกิดพลัง ดังเช่น
1. ความร่วมมือจากองค์กรธุรกิจประจำจังหวัด เข้ามาเพื่อสนับสนุนการศึกษา เช่น การให้ทุน ให้เครื่องไม้เครื่องมือในการเรียน การปรับปรุงห้องเรียน การให้ทุนการศึกษา การรับภาระจ้างครูที่มีความสามารถ เช่น ครูภาษาอังกฤษ ครูภาษาจีน ด้วยงบ CSR ขององค์กรธุรกิจ ตลอดจนอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาโรงเรียน
2. ความร่วมมือจากศิษย์เก่า และผู้ปกครอง เป็นการพัฒนาโรงเรียนจากผู้เกี่ยวข้อง อาจเกิดจากการร่วมมือของผู้ปกครอง ในรูปแบบของทรัพยากรและเวลา โดยการเสียสละเข้ามาพัฒนาในทุกสัปดาห์สลับกัน เช่น เสียสละเวลาอาสาสอนหนังสือ เสียสละเงินบริจาค เสียสละความสามารถ ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ที่ช่วยเหลือได้เข้ามาร่วมพัฒนาโรงเรียน
3. การออกแบบสภาพแวดล้อมให้น่าอยู่ เป็นการนำเอาศิลปะและการออกแบบเข้ามาพัฒนา โดยไม่จำเป็นต้องใช้ทุนเยอะ แต่ไร้ปัญญา และความคิดสร้างสรรค์เข้าไปพัฒนา มีการออกแบบห้องเรียนที่เกิดความคิดสร้างสรรค์ ห้องสมุดที่สามารถเรียนรู้ได้ 4 มิติ บรรยากาศห้องเรียนที่สวย แม้เล็กแต่คุณภาพคับแก้ว มีการออกแบบกระบวนการเรียนรู้แนวใหม่ การออกแบบสื่อการสอนให้เด็กฉลาดมีจริยธรรม เป็นต้น ซึ่งควรใช้แนวคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งส่งเสริมทั้งระบบ
4. การพัฒนาครูให้ยั่งยืน วางแผนทรัพยากรที่มีคุณค่าของประเทศ คือ ครูบ่มเพาะให้เกิดจิตวิญญาณมีความรักในการทุมเทเป็นแม่พิมพ์ที่ดีของชาติที่ต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วน
แนวทางแบบนี้ คือ แนวทางฟื้นฟูที่สามารถส่งเสริมให้โรงเรียนพัฒนาต่อไปได้อย่างยั่งยืน ซึ่งดีกว่า “ยุบ” ที่ง่ายเกินไปและอาจจะมีผลเสียรุนแรง
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
โมเดลโรงเรียนขนาดเล็ก คอลัมน์ ดีไซน์นิวส์ : การบ่มเพาะการศึกษาชาติเป็นวงจรแห่งการเรียนรู้ ใช่ว่าจะเกิดขึ้นเฉพาะโรงเรียนขนาดใหญ่ในเมืองเสมอไป ผมเป็นคนหนึ่งที่เรียนหนังสือจากโรงเรียนเล็กๆ ในต่างจังหวัดครับ มีครูอุดมการณ์ที่ทุ่มเทการสอนและชีวิตให้กับนักเรียน ผมได้รับการถ่ายทอดจิตวิญญาณจนเป็นผู้เป็นคน มีคุณภาพก็เกิดจากการบ่มเพาะจากโรงเรียนเล็กๆตั้งแต่เด็กนี่แหละครับ การเชื่อมความสัมพันธ์กับชุมชนจนมีรากฐานทางวัฒนธรรมรักบ้านเมืองถิ่นเกิด การถ่ายทอดความเป็นตัวตนของชุมชน สามารถเกิดขึ้นได้จากโรงแรมเล็กๆ ซึ่งผมถือว่ามีค่าที่สุด การตัดสินใจ “ยุบ” โรงเรียนผมถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด เพราะ “ระบบทุนนิยม” อาจเป็นเหตุให้ทุนมาทำลายระบบสังคมที่แข็งแกร่ง ผมคิดว่าการคิด“ยุบ”อาจเสียหายโดยผมกลับมองว่า“การฟื้นฟู”คือคำตอบ ในการพัฒนาการศึกษาชาติจะเล็กใหญ่ไม่สำคัญ อยู่ที่การพัฒนาคุณภาพมากกว่าครับ โดยใช้จิตวิญญาณอุดมการณ์ ความสามารถ การเสียสละ จิตสาธารณะ ในความเป็นอารยะสร้างสรรค์ให้เกิดพลัง ดังเช่น 1. ความร่วมมือจากองค์กรธุรกิจประจำจังหวัด เข้ามาเพื่อสนับสนุนการศึกษา เช่น การให้ทุน ให้เครื่องไม้เครื่องมือในการเรียน การปรับปรุงห้องเรียน การให้ทุนการศึกษา การรับภาระจ้างครูที่มีความสามารถ เช่น ครูภาษาอังกฤษ ครูภาษาจีน ด้วยงบ CSR ขององค์กรธุรกิจ ตลอดจนอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาโรงเรียน 2. ความร่วมมือจากศิษย์เก่า และผู้ปกครอง เป็นการพัฒนาโรงเรียนจากผู้เกี่ยวข้อง อาจเกิดจากการร่วมมือของผู้ปกครอง ในรูปแบบของทรัพยากรและเวลา โดยการเสียสละเข้ามาพัฒนาในทุกสัปดาห์สลับกัน เช่น เสียสละเวลาอาสาสอนหนังสือ เสียสละเงินบริจาค เสียสละความสามารถ ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ที่ช่วยเหลือได้เข้ามาร่วมพัฒนาโรงเรียน 3. การออกแบบสภาพแวดล้อมให้น่าอยู่ เป็นการนำเอาศิลปะและการออกแบบเข้ามาพัฒนา โดยไม่จำเป็นต้องใช้ทุนเยอะ แต่ไร้ปัญญา และความคิดสร้างสรรค์เข้าไปพัฒนา มีการออกแบบห้องเรียนที่เกิดความคิดสร้างสรรค์ ห้องสมุดที่สามารถเรียนรู้ได้ 4 มิติ บรรยากาศห้องเรียนที่สวย แม้เล็กแต่คุณภาพคับแก้ว มีการออกแบบกระบวนการเรียนรู้แนวใหม่ การออกแบบสื่อการสอนให้เด็กฉลาดมีจริยธรรม เป็นต้น ซึ่งควรใช้แนวคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งส่งเสริมทั้งระบบ 4. การพัฒนาครูให้ยั่งยืน วางแผนทรัพยากรที่มีคุณค่าของประเทศ คือ ครูบ่มเพาะให้เกิดจิตวิญญาณมีความรักในการทุมเทเป็นแม่พิมพ์ที่ดีของชาติที่ต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วน แนวทางแบบนี้ คือ แนวทางฟื้นฟูที่สามารถส่งเสริมให้โรงเรียนพัฒนาต่อไปได้อย่างยั่งยืน ซึ่งดีกว่า “ยุบ” ที่ง่ายเกินไปและอาจจะมีผลเสียรุนแรง ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130518/158729/การออกแบบฟื้นฟูโรงเรียนขนาดเล็ก.html
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)