สาธิตเกษตรห่วง ขาดครูเฉพาะทางสอนเด็กออทิสติก วอนรัฐสนับสนุนจริงจัง
นางสาวศศิธร จ่างภากร อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา เปิดเผยถึงปัญหาการขาดแคลนครูสอนเด็กออทิสติกว่า ขณะนี้โรงเรียนที่รับนักเรียนออทิสติกเข้าเรียน กำลังขาดแคลนครูที่จบด้านการศึกษาพิเศษจำนวนมาก ซึ่ง อาจเป็นเพราะการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสาขานี้ยังน้อยทั้งที่ หลายมหาวิทยาลัยเปิดสอนด้านนี้มากขึ้นทางโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาอาจต้องแนะ แนวให้มากขึ้น ให้เห็นความสำคัญว่า ถ้าจบสาขานี้จะมีงานทำ 100 เปอร์เซ็นต์เพราะขาดแคลนบุคลากรด้านนี้อยู่มาก
“ขณะนี้ อาจารย์ส่วนใหญ่ที่สอนเด็กพิเศษจะจบสายสามัญทั่วไป ซึ่งหลายคนที่มาสมัครพอรู้ว่าต้องมาสอนเด็กพิเศษด้วยก็ถอดใจและขอยกเลิก อาจเป็นเพราะเห็นว่าการสอนเด็กพิเศษจะต้องคอยตามและให้ความใส่ใจอยู่ตลอดเวลา โรงเรียนจึงแก้ปัญหาโดยรับคนที่จบทางสายสามัญธรรมดาที่มีความยินดี มีใจที่จะสอน เพราะทักษะบางอย่างสามารถฝึกสอนกันได้” อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสาธิตเกษตรฯ กล่าว
นางสาวศศิธรกล่าวว่า การช่วยเหลือจากรัฐบาลนั้น มีนโยบายเรียนฟรี 15 ปี และการให้เงินอุดหนุนรายหัวตามระเบียบราชการประมาณคนละ 2,900 บาทต่อปี ซึ่งถือว่าไม่เพียงพอสำหรับเด็กพิเศษและต้องให้ผู้ปกครองช่วยสนับสนุนอีกทาง ด้าน นางสาวดุสิดา ทินมาลา อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สาเหตุที่บุคลากรด้านนี้ไม่เพียงพอ เป็นเพราะระบบในโรงเรียนของรัฐบาลไม่มีการบรรจุตำแหน่งครูการศึกษาพิเศษ อีกทั้งโรงเรียนของรัฐยังไม่ค่อยเปิดโอกาสให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเข้า ไปเรียน จึงทำให้โรงเรียนเหล่านี้ไม่ค่อยเปิดรับครูการศึกษาพิเศษแต่จะเปิดเป็นการ จ้างครูพิเศษดูแลเด็กเป็นรายบุคคลแทน
นางสาวดุสิดา กล่าวอีกว่า ในด้านกฎหมาย พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การศึกษาสำหรับผู้พิการ พ.ศ.2551 ยังไม่เอื้ออำนวย เพราะบัญญัติว่า ผู้ที่จะเป็นครูการศึกษาพิเศษต้องมีวุฒิการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี ดังนั้น คนที่จะเลือกเรียนทางด้านนี้ก็เกรงว่าจะไม่มีงานทำ จึงไม่เรียนกัน แต่ในความเป็นจริงตามโรงเรียนต่างๆ มีเด็กพิเศษอยู่มาก กฎหมายจึงไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง
“กระทรวงศึกษาธิการ ควรทบทวนการกำหนดมาตรฐานของวิชาชีพครูทางด้านการศึกษาพิเศษให้เหมาะสมกับงาน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสูงกว่าปริญญาตรี แค่ปริญญาตรีก็เพียงพอแต่ถ้าจบโดยตรงด้านการศึกษาพิเศษก็ควรเปิดตำแหน่งให้ บรรจุรับราชการในโรงเรียนรัฐบาลได้มากขึ้น ก็จะช่วยให้คนมีความสนใจเรียนมากขึ้น” นางสาวดุสิดา กล่าว
ผู้ปกครองชี้ ปัญหาขาดบุคลากรส่งผลต่อการพัฒนาเด็ก- ผู้ปกครองของเด็กออทิสติกรายหนึ่ง (ขอสงวนนาม) กล่าวว่า ตนได้ส่งลูกเข้าเรียนที่โรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่ง แต่สิ่งที่พบคือ การขาดแคลนบุคลากรด้านการศึกษาพิเศษ โดยมีอัตราเด็กมากกว่า 10 คน ต่อครู 1 คน ทำให้ไม่สามารถดูแลเด็กได้ทั่วถึง การฝึกเขียนฝึกพูดของเด็กทำได้เพียงแค่ 10-20 นาทีต่อคนก็ต้องเปลี่ยนไปฝึกเด็กอื่น จึงอาจทำให้การเรียนและพัฒนาเด็กได้ไม่เต็มที่ จึงอยากให้โรงเรียนต่างๆรับครูที่ชำนาญด้านนี้โดยตรงมากขึ้น
“ค่าใช้จ่ายพิเศษที่ต้องเสียให้กับครูที่มาดูแลตกประมาณชั่วโมงละ 600-800 บาท ซึ่งนับว่าค่อนข้างสูง หากเป็นผู้ปกครองที่ไม่มีรายได้ก็คงไม่สามารถส่งลูกเข้าเรียนโรงเรียนได้ ส่วนมูลนิธิส่วนใหญ่ที่ให้ความช่วยเหลือด้านนี้ก็มักกระตุ้นให้พ่อแม่เป็น ครูสอนลูกที่เป็นออทิสติกเสียเอง แต่ปัญหาคือพ่อแม่ก็ต้องทำงานจึงอยากให้ภาครัฐสนับสนุนการเสริมสร้างพัฒนาการเด็กกลุ่มนี้อย่างจริงจัง”ผู้ปกครองรายดังกล่าว ระบุ
ขอบคุณ… http://www.ictsilpakorn.com/ictmedia/detail.php?news_id=135#.UaK-TUqkPZ4
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
กลุ่มครู ผู้ปกครองและเด็กๆออทิสติก นางสาวศศิธร จ่างภากร อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา เปิดเผยถึงปัญหาการขาดแคลนครูสอนเด็กออทิสติกว่า ขณะนี้โรงเรียนที่รับนักเรียนออทิสติกเข้าเรียน กำลังขาดแคลนครูที่จบด้านการศึกษาพิเศษจำนวนมาก ซึ่ง อาจเป็นเพราะการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสาขานี้ยังน้อยทั้งที่ หลายมหาวิทยาลัยเปิดสอนด้านนี้มากขึ้นทางโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาอาจต้องแนะ แนวให้มากขึ้น ให้เห็นความสำคัญว่า ถ้าจบสาขานี้จะมีงานทำ 100 เปอร์เซ็นต์เพราะขาดแคลนบุคลากรด้านนี้อยู่มาก “ขณะนี้ อาจารย์ส่วนใหญ่ที่สอนเด็กพิเศษจะจบสายสามัญทั่วไป ซึ่งหลายคนที่มาสมัครพอรู้ว่าต้องมาสอนเด็กพิเศษด้วยก็ถอดใจและขอยกเลิก อาจเป็นเพราะเห็นว่าการสอนเด็กพิเศษจะต้องคอยตามและให้ความใส่ใจอยู่ตลอดเวลา โรงเรียนจึงแก้ปัญหาโดยรับคนที่จบทางสายสามัญธรรมดาที่มีความยินดี มีใจที่จะสอน เพราะทักษะบางอย่างสามารถฝึกสอนกันได้” อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสาธิตเกษตรฯ กล่าว นางสาวศศิธรกล่าวว่า การช่วยเหลือจากรัฐบาลนั้น มีนโยบายเรียนฟรี 15 ปี และการให้เงินอุดหนุนรายหัวตามระเบียบราชการประมาณคนละ 2,900 บาทต่อปี ซึ่งถือว่าไม่เพียงพอสำหรับเด็กพิเศษและต้องให้ผู้ปกครองช่วยสนับสนุนอีกทาง ด้าน นางสาวดุสิดา ทินมาลา อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สาเหตุที่บุคลากรด้านนี้ไม่เพียงพอ เป็นเพราะระบบในโรงเรียนของรัฐบาลไม่มีการบรรจุตำแหน่งครูการศึกษาพิเศษ อีกทั้งโรงเรียนของรัฐยังไม่ค่อยเปิดโอกาสให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเข้า ไปเรียน จึงทำให้โรงเรียนเหล่านี้ไม่ค่อยเปิดรับครูการศึกษาพิเศษแต่จะเปิดเป็นการ จ้างครูพิเศษดูแลเด็กเป็นรายบุคคลแทน การเรียนการสอนภายในห้องเรียนของเด็กออทิสติกนางสาวดุสิดา กล่าวอีกว่า ในด้านกฎหมาย พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การศึกษาสำหรับผู้พิการ พ.ศ.2551 ยังไม่เอื้ออำนวย เพราะบัญญัติว่า ผู้ที่จะเป็นครูการศึกษาพิเศษต้องมีวุฒิการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี ดังนั้น คนที่จะเลือกเรียนทางด้านนี้ก็เกรงว่าจะไม่มีงานทำ จึงไม่เรียนกัน แต่ในความเป็นจริงตามโรงเรียนต่างๆ มีเด็กพิเศษอยู่มาก กฎหมายจึงไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง “กระทรวงศึกษาธิการ ควรทบทวนการกำหนดมาตรฐานของวิชาชีพครูทางด้านการศึกษาพิเศษให้เหมาะสมกับงาน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสูงกว่าปริญญาตรี แค่ปริญญาตรีก็เพียงพอแต่ถ้าจบโดยตรงด้านการศึกษาพิเศษก็ควรเปิดตำแหน่งให้ บรรจุรับราชการในโรงเรียนรัฐบาลได้มากขึ้น ก็จะช่วยให้คนมีความสนใจเรียนมากขึ้น” นางสาวดุสิดา กล่าว ผู้ปกครองชี้ ปัญหาขาดบุคลากรส่งผลต่อการพัฒนาเด็ก- ผู้ปกครองของเด็กออทิสติกรายหนึ่ง (ขอสงวนนาม) กล่าวว่า ตนได้ส่งลูกเข้าเรียนที่โรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่ง แต่สิ่งที่พบคือ การขาดแคลนบุคลากรด้านการศึกษาพิเศษ โดยมีอัตราเด็กมากกว่า 10 คน ต่อครู 1 คน ทำให้ไม่สามารถดูแลเด็กได้ทั่วถึง การฝึกเขียนฝึกพูดของเด็กทำได้เพียงแค่ 10-20 นาทีต่อคนก็ต้องเปลี่ยนไปฝึกเด็กอื่น จึงอาจทำให้การเรียนและพัฒนาเด็กได้ไม่เต็มที่ จึงอยากให้โรงเรียนต่างๆรับครูที่ชำนาญด้านนี้โดยตรงมากขึ้น “ค่าใช้จ่ายพิเศษที่ต้องเสียให้กับครูที่มาดูแลตกประมาณชั่วโมงละ 600-800 บาท ซึ่งนับว่าค่อนข้างสูง หากเป็นผู้ปกครองที่ไม่มีรายได้ก็คงไม่สามารถส่งลูกเข้าเรียนโรงเรียนได้ ส่วนมูลนิธิส่วนใหญ่ที่ให้ความช่วยเหลือด้านนี้ก็มักกระตุ้นให้พ่อแม่เป็น ครูสอนลูกที่เป็นออทิสติกเสียเอง แต่ปัญหาคือพ่อแม่ก็ต้องทำงานจึงอยากให้ภาครัฐสนับสนุนการเสริมสร้างพัฒนาการเด็กกลุ่มนี้อย่างจริงจัง”ผู้ปกครองรายดังกล่าว ระบุ ขอบคุณ… http://www.ictsilpakorn.com/ictmedia/detail.php?news_id=135#.UaK-TUqkPZ4
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)