แนะสร้างคนคุณภาพตั้งแต่เด็ก หลักสูตรเน้นทีม-เข้าสังคม-จิตสาธารณะ

แสดงความคิดเห็น

วิจัยเผยเด็กเล่นเป็นทีม คละอายุ-คละเพศ ไม่จำกัดเวลา สถานที่ การจัดวางของเล่นทุกหลักสูตรเน้นจิตสาธารณะ ด้านครูต้องเป็นผู้แนะนำไม่ใช่ผู้สั่งการหรือผู้คิดวางแผน สร้างเด็กมีระบบคิด-จินตนาการทำงานต่อเนื่อง

ผศ.ดร.วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์ หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบการจัดการศึกษาปฐมวัยในบริบทของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น” ปัญญาสมาพันธ์เพื่อการวิจัยความเห็นสาธารณะแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า จากผลการวิจัยพบว่า ประเทศญี่ปุ่นให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการพัฒนาความสามารถให้การรู้คิด และพัฒนาการทางอารมณ์ สมรรถนะทางกาย ผ่านกระบวนการเล่นถือเป็นสิ่งส่งเสริมพัฒนาการเด็ก โดยเฉพาะเด็กปฐมวัย นอกจากนั้นยังสนับสนุนการเล่นเป็นทีม โดยจะให้เด็กเล่นคละอายุและคละเพศ ด้วยกระบวนการ วิธีการที่ไม่จำกัดเวลา สถานที่ ตลอดจนการจัดวางของเล่น ทำให้ระบบคิดและจินตนาการทำงานต่อเนื่อง ไม่ติดขัด โดยครูปฐมวัยญี่ปุ่นจะมีบทบาทเป็นผู้ให้คำแนะนำ และกระตุ้นให้เด็กคิดแก้ไขสถานการณ์ แต่ไม่ใช่เป็นผู้สั่งการหรือผู้คิดวางแผน ทั้งนี้หลักสูตรของญี่ปุ่นจะจัดให้เด็กเรียนแค่ 6 ด้าน คือ 1.พลานามัย 2.สังคมศึกษา 3.ธรรมชาติศึกษา 4.ภาษา 5.ดนตรีและจังหวะ และ6.การวาดภาพและงานฝีมือ นอกจากนี้ยังพบว่าประเทศญี่ปุ่นมีวิธีการสร้างคนที่ต่างกันคือเรื่องจิตสาธารณะ โดยในหลักสูตรทุกด้านของญี่ปุ่นจะเน้นสร้างให้เด็กมีความคิดคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมก่อนการเห็นประโยชน์ส่วนตน

“ช่วงปฐมวัยของเด็กเป็นช่วงเวลาทองของการสร้างคนให้มีสำนึกสาธารณะ ซึ่งการวิจัยพบว่า สำนึกสาธารณะที่เห็นประโยชน์ของคนอื่นก่อนตนเอง และสามารถสร้างให้เกิดได้จริงด้วยกระบวนการเล่น การเล่นที่ถูกออกแบบมาอย่างสร้างสรรค์ด้วยการคละอายุ เพศ และกิจกรรมของเด็ก จะสอนให้เด็กมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อรุ่นพี่รุ่นน้องและเพื่อนต่างเพศ เด็กจะถูกสอนให้เข้าใจกระบวนการวางแผนโดยธรรมชาติ สอนให้รู้จักการบริหารจัดการการเล่นของตนให้มีทั้งความสนุกและความรับผิดชอบต่อผู้เล่นคนอื่น สอนทักษะการเข้าสังคม การอยู่ร่วมกัน การใช้ภาษา ความเมตตาต่อกัน และที่สำคัญคือการทำงานเป็นทีม การเล่นมีคุณอนันต์และมีคุณค่าเพียงพอต่อการสร้างพื้นฐานคนที่สมบูรณ์” ผศ.ดร.วิมลทิพย์ กล่าว

ผศ.ดร.วิมลทิพย์ กล่าวต่อว่า ภาครัฐมีบทบาทสำคัญต่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้วยการเล่น เปรียบเทียบการศึกษาเหมือนการวิ่งมาราธอน หากเราให้ลูกหลานตัวเล็กวิ่ง 100 เมตร ด้วยความเร็วความเร่งตั้งแต่ต้นแล้ว พวกเขาจะเหน็ดเหนื่อยและมองว่าการเรียนเป็นความทุกข์ ตรงกันข้ามถ้าให้พวกเขาค่อยๆวิ่ง ระหว่างวิ่งก็สามารถแวะชื่นชมความงามตามธรรมชาติรอบข้างตามความสนใจแห่งวัย การเรียนจะกลายเป็นความสนุก และทำให้อยากเรียนรู้ไปเรื่อยๆ จนแก่จนเฒ่า

ที่มา: คมชัดลึกรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 2/07/2556 เวลา 03:36:23

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

วิจัยเผยเด็กเล่นเป็นทีม คละอายุ-คละเพศ ไม่จำกัดเวลา สถานที่ การจัดวางของเล่นทุกหลักสูตรเน้นจิตสาธารณะ ด้านครูต้องเป็นผู้แนะนำไม่ใช่ผู้สั่งการหรือผู้คิดวางแผน สร้างเด็กมีระบบคิด-จินตนาการทำงานต่อเนื่อง ผศ.ดร.วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์ หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบการจัดการศึกษาปฐมวัยในบริบทของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น” ปัญญาสมาพันธ์เพื่อการวิจัยความเห็นสาธารณะแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า จากผลการวิจัยพบว่า ประเทศญี่ปุ่นให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการพัฒนาความสามารถให้การรู้คิด และพัฒนาการทางอารมณ์ สมรรถนะทางกาย ผ่านกระบวนการเล่นถือเป็นสิ่งส่งเสริมพัฒนาการเด็ก โดยเฉพาะเด็กปฐมวัย นอกจากนั้นยังสนับสนุนการเล่นเป็นทีม โดยจะให้เด็กเล่นคละอายุและคละเพศ ด้วยกระบวนการ วิธีการที่ไม่จำกัดเวลา สถานที่ ตลอดจนการจัดวางของเล่น ทำให้ระบบคิดและจินตนาการทำงานต่อเนื่อง ไม่ติดขัด โดยครูปฐมวัยญี่ปุ่นจะมีบทบาทเป็นผู้ให้คำแนะนำ และกระตุ้นให้เด็กคิดแก้ไขสถานการณ์ แต่ไม่ใช่เป็นผู้สั่งการหรือผู้คิดวางแผน ทั้งนี้หลักสูตรของญี่ปุ่นจะจัดให้เด็กเรียนแค่ 6 ด้าน คือ 1.พลานามัย 2.สังคมศึกษา 3.ธรรมชาติศึกษา 4.ภาษา 5.ดนตรีและจังหวะ และ6.การวาดภาพและงานฝีมือ นอกจากนี้ยังพบว่าประเทศญี่ปุ่นมีวิธีการสร้างคนที่ต่างกันคือเรื่องจิตสาธารณะ โดยในหลักสูตรทุกด้านของญี่ปุ่นจะเน้นสร้างให้เด็กมีความคิดคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมก่อนการเห็นประโยชน์ส่วนตน “ช่วงปฐมวัยของเด็กเป็นช่วงเวลาทองของการสร้างคนให้มีสำนึกสาธารณะ ซึ่งการวิจัยพบว่า สำนึกสาธารณะที่เห็นประโยชน์ของคนอื่นก่อนตนเอง และสามารถสร้างให้เกิดได้จริงด้วยกระบวนการเล่น การเล่นที่ถูกออกแบบมาอย่างสร้างสรรค์ด้วยการคละอายุ เพศ และกิจกรรมของเด็ก จะสอนให้เด็กมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อรุ่นพี่รุ่นน้องและเพื่อนต่างเพศ เด็กจะถูกสอนให้เข้าใจกระบวนการวางแผนโดยธรรมชาติ สอนให้รู้จักการบริหารจัดการการเล่นของตนให้มีทั้งความสนุกและความรับผิดชอบต่อผู้เล่นคนอื่น สอนทักษะการเข้าสังคม การอยู่ร่วมกัน การใช้ภาษา ความเมตตาต่อกัน และที่สำคัญคือการทำงานเป็นทีม การเล่นมีคุณอนันต์และมีคุณค่าเพียงพอต่อการสร้างพื้นฐานคนที่สมบูรณ์” ผศ.ดร.วิมลทิพย์ กล่าว ผศ.ดร.วิมลทิพย์ กล่าวต่อว่า ภาครัฐมีบทบาทสำคัญต่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้วยการเล่น เปรียบเทียบการศึกษาเหมือนการวิ่งมาราธอน หากเราให้ลูกหลานตัวเล็กวิ่ง 100 เมตร ด้วยความเร็วความเร่งตั้งแต่ต้นแล้ว พวกเขาจะเหน็ดเหนื่อยและมองว่าการเรียนเป็นความทุกข์ ตรงกันข้ามถ้าให้พวกเขาค่อยๆวิ่ง ระหว่างวิ่งก็สามารถแวะชื่นชมความงามตามธรรมชาติรอบข้างตามความสนใจแห่งวัย การเรียนจะกลายเป็นความสนุก และทำให้อยากเรียนรู้ไปเรื่อยๆ จนแก่จนเฒ่า

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...