ตอบโจทย์สังคมโลกใหม่ นโยบายการศึกษา 'จาตุรนต์ ฉายแสง'
เปิดวิสัยทัศน์ : 'จาตุรนต์ ฉายแสง' - ห่างไป 7 ปี ก่อนกลับมารับตำแหน่ง "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ" อีกเป็นสมัยที่ 2 ของ "จาตุรนต์ ฉายแสง" อาศัยประสบการณ์เก๋า ประกาศขับเคลื่อนการศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ ชูปี 2556 เป็นปีแห่งการรวม หลังยกระดับคุณภาพการศึกษา พร้อมประกาศ 8 นโยบายหลัก เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยมีวิสัยทัศน์ว่า การจัดการศึกษาไทยต้องตอบโจทย์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อช่วยให้ไทยอยู่รอดในสังคมโลกใหม่
“นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนหนึ่งประมวลมาจากนโยบายของรัฐบาล ขณะเดียวกันการจะจัดการศึกษาหรือปฏิรูปการศึกษาต้องดูโจทย์ใหญ่ คือ โลกที่เราอยู่เป็นอย่างไร ประเทศไทยอยู่ในสังคมโลกหรือภูมิภาคที่กำลังเป็นไปอย่างไร โลกเดิมที่อาศัยการผลักดันโดยอเมริกา ยุโรป เป็นหลัก มาถึงจุดที่เกิดวิกฤติแล้ว ส่วนทวีปเอเชียซึ่งพอจะเป็นที่พึ่งในตอนนี้ได้ แต่ยักษ์ใหญ่อย่างจีนหรือญี่ปุ่นก็มีภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว เพราะฉะนั้นในสภาพเช่นนี้ จำเป็นที่ประเทศไทยต้องพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อให้เราอยู่รอดในโลกปัจจุบันและโลกในอนาคต" จาตุรนต์ แสดงวิสัยทัศน์ให้เห็นว่า นโยบายด้านการศึกษาในมือเขา ยกร่างขึ้นโดยมองไกลไปถึงสภาพเศรษฐกิจและสังคมโลก ซึ่งปัจจุบันอยู่ในสภาพผันผวน ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องเร่งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อให้ไทยอยู่รอดปลอดภัยได้
จาตุรนต์ อธิบายต่อว่า ภูมิภาคนี้กำลังจะรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 และยังมีการเชื่อมโยงประเทศในอาเซียนกับประเทศนอกอาเซียนเป็นเครือข่ายกันด้วย ประเทศไทยต้องเตรียมความพร้อมต่างๆ รองรับโลกไร้พรมแดนนี้ โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การวางระบบโลจิสติกส์ แต่เรื่องสำคัญสุดในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ คือ "การพัฒนาคน"
“ประเด็นต่างๆ เหล่านี้จะเป็นโจทย์สำคัญของการจัดการศึกษาและการปฏิรูปการศึกษาไทย การจัดการศึกษาต้องเดินหน้าสู่การเตรียมความพร้อมคนไทยให้สอดคล้องกับสังคม โลกใหม่ อย่างไรก็ตาม ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยกับนานาประเทศยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจ IMD ปี 2013 ไทย อยู่ในอันดับที่ 51 จาก 60 ประเทศ ผลการประเมิน PISA 2009 ไทยอยู่ในอันดับที่ 50 จาก 65 ประเทศ และในการจัดอันดับ 400 มหาวิทยาลัยดีที่สุดของโลก โดย Times Higher Education World มีมหาวิทยาลัยไทยเพียงแห่งเดียวที่ติดอันดับ โดยอยู่ในกลุ่มอันดับที่ 351-400" จาตุรนต์ กล่าว
มุมมองในการพัฒนาคนของ จาตุรนต์ นั้น ตั้งเป้าหมายว่า ภายในปี 2558 จะต้องพัฒนาผู้เรียนให้สามารถคิด วิเคราะห์ เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และทักษะที่จำเป็น สำหรับศตวรรษที่ 21 ซึ่งคนไทยจะต้องมีคุณลักษณะเช่นนี้ครบถ้วนจึงจะช่วยให้ไทยเพิ่มขีดความ สามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศได้
และภายใต้เป้าหมายหลักนี้ มีเป้าหมายแยกย่อยอีก 4 เรื่องสำคัญ ได้แก่ 1.ผลการทดสอบ PISA ของไทยต้องอยู่ในอันดับที่ดีขึ้น จาตุรนต์ บอกว่า การประเมิน PISA ล่าสุดในปี 2009 ผลประเมินของไทยทั้ง 3 วิชา อยู่ในอันดับที่ 50 จากประเทศที่เข้าประเมิน 65 ประเทศ กระทรวงศึกษาธิการจึงต้องการให้อันดับการประเมิน PISA ขยับมาเริ่มต้นด้วยตัวเลข 4
เรื่องที่ 2 มหาวิทยาลัยไทยต้องติดอันดับโลกมากขึ้น จาตุรนต์ ย้ำว่า เขาเข้าใจดีว่ามหาวิทยาลัยต้องมีความอิสระ ไม่ใช่องค์กรที่ "รมว.ศึกษาธิการ" จะมาสั่งการได้ แต่ตอนนี้ไม่มีใครรู้ว่า คุณภาพการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยอยู่ตรงไหน ประเทศไทยมีการประเมินระดับชาติเฉพาะในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเท่านั้น แต่ระดับอุดมศึกษาไม่มีการวัดผลสัมฤทธิ์ระดับชาติแล้วจะรู้ได้อย่างไร มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งเป็นอย่างไร ทางหนึ่งที่จะรู้ได้ก็คือ เทียบคุณภาพการจัดการศึกษากับต่างประเทศ หรือเทียบกันเอง เพื่อให้คนนอกมหาวิทยาลัยและสังคมทราบว่าปัญหาเป็นอย่างไร ที่สำคัญ ต้องมีกลไกทางสังคมมาผลักดันให้มหาวิทยาลัยพัฒนาตนเอง ตรงจุดนี้จะทำให้สังคมและมหาวิทยาลัยไม่อิสระจนเกินไป
ส่วนเรื่องที่ 3 การเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีวศึกษาและสามัญ เป็น 50-50 จาตุรนต์ บอกว่า การจะดึงดูดเด็กให้มาเรียนสายอาชีพมากขึ้นนั้น เครื่องมือที่ดีอย่างหนึ่งคือ ระบบคุณวุฒิวิชาชีพ แต่ปัจจุบันยังไม่ได้ใช้ระบบคุณวุฒิวิชาชีพอย่างที่คิดกันไว้ จึงต้องผลักดันให้มีการนำมาใช้อย่างจริงจัง มากำหนดทักษะและค่าตอบแทนสำหรับแต่ละตำแหน่งงานอ้างอิงกับสมรรถนะที่เพิ่มขึ้น โดยไม่คำนึงถึงวุฒิการศึกษา เช่นนี้แล้วจะเป็นการจูงใจให้คนหันมาเรียนสายอาชีพ เพราะเห็นค่าตอบแทนและความก้าวหน้าในวิชาชีพชัดเจน และ เรื่องที่ 4 การกระจายโอกาสและเพิ่มความเสมอภาคทางการศึกษาให้มากขึ้น ซึ่ง จาตรุนต์ เล็งจะปรับระบบกองทุนเงินให้กู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต หรือ Income Contingent Loan : ICL ให้เป็นไปตามหลักการที่คิดไว้แต่เดิม เพื่อช่วยกระจายโอกาสในการศึกษาถึงระดับอุดมศึกษาให้แก่ทุกคน
อย่างไรก็ตาม จาตุรนต์ บอกว่า นโยบายที่ให้ความสำคัญมากที่สุด คือ การปฏิรูปการเรียนรู้ ซึ่งจะตอโจทย์การสร้างกำลังคนที่มีคุณลักษณ์ที่ประเทศต้องการได้ตรงที่สุด การปฏิรูปการเรียนรู้ครั้งนี้ จาตุรนต์ บอกว่า ต้องพิจารณาจากสภาพสังคมโลก โจทย์ที่ประเทศไทยต้องเผชิญ และต้องเป็นไปเพื่อยกเครื่องการจัดการศึกษาให้มีมาตรฐานสากล และสอดคล้องกับสังคมโลกใหม่ โดยการปฏิรูการเรียนเรียนรู้จะยึดการปฏิรูปหลักสูตร และการปฏิรูปการเรียนการสอนเป็นแกนหลัก พร้อมปรับระบบอื่นๆ ไปด้วย คือ ระบบประเมินสถานศึกษา ระบบการรับบุคคลเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัย ระบบวัดและประเมินผลผู้เรียน ระบบการประเมินวิทยฐานะ และความก้าวหน้าในวิชาชีพครู ทั้ง 6 เรื่องนี้ต้องเชื่อมโยงกัน เพื่อมุ่งไปสู่การเพิ่มผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
จาตุรนต์ ย้ำด้วยว่า จะพยายามผลักดันให้การปฏิรูการศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ ให้ปี 2556 เป็นปีแห่งการรวมพลังยกระดับการศึกษาไทย เพราะเรื่องนี้ไม่สามารถดำเนินการตามลำพังได้ ยังมีเรื่องอีกมากมายที่ต้องดำเนินการจึงต้องรวมพลังกัน : ทีมข่าวการศึกษา ... รายงาน
-------------------------
8 นโยบายศึกษาของ 'จาตุรนต์'
1. เร่งรัดปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
2. ปฏิรูประบบผลิตพัฒนาครู
3. เร่งนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการปฏิรูปการเรียนรู้
4. พัฒนาคุณภาพการอาชีวศึกษาให้มีมาตรฐานเทียบได้กับระดับสากล
5. ส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาเร่งพัฒนาคุณภาพมาตรฐานมากกว่าการขยายเชิงปริมาณ
6. ส่งเสริมให้เอกชนและทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมจัดและสนับสนุนการศึกษามากขึ้น
7. เพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
8. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130715/163264/เปิดวิสัยทัศน์:จาตุรนต์ฉายแสง.html (ขนาดไฟล์: 167)
คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิพัฒนาคนพิการไทย 15 ก.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
\'จาตุรนต์ ฉายแสง\' รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดวิสัยทัศน์ : 'จาตุรนต์ ฉายแสง' - ห่างไป 7 ปี ก่อนกลับมารับตำแหน่ง "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ" อีกเป็นสมัยที่ 2 ของ "จาตุรนต์ ฉายแสง" อาศัยประสบการณ์เก๋า ประกาศขับเคลื่อนการศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ ชูปี 2556 เป็นปีแห่งการรวม หลังยกระดับคุณภาพการศึกษา พร้อมประกาศ 8 นโยบายหลัก เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยมีวิสัยทัศน์ว่า การจัดการศึกษาไทยต้องตอบโจทย์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อช่วยให้ไทยอยู่รอดในสังคมโลกใหม่ “นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนหนึ่งประมวลมาจากนโยบายของรัฐบาล ขณะเดียวกันการจะจัดการศึกษาหรือปฏิรูปการศึกษาต้องดูโจทย์ใหญ่ คือ โลกที่เราอยู่เป็นอย่างไร ประเทศไทยอยู่ในสังคมโลกหรือภูมิภาคที่กำลังเป็นไปอย่างไร โลกเดิมที่อาศัยการผลักดันโดยอเมริกา ยุโรป เป็นหลัก มาถึงจุดที่เกิดวิกฤติแล้ว ส่วนทวีปเอเชียซึ่งพอจะเป็นที่พึ่งในตอนนี้ได้ แต่ยักษ์ใหญ่อย่างจีนหรือญี่ปุ่นก็มีภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว เพราะฉะนั้นในสภาพเช่นนี้ จำเป็นที่ประเทศไทยต้องพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อให้เราอยู่รอดในโลกปัจจุบันและโลกในอนาคต" จาตุรนต์ แสดงวิสัยทัศน์ให้เห็นว่า นโยบายด้านการศึกษาในมือเขา ยกร่างขึ้นโดยมองไกลไปถึงสภาพเศรษฐกิจและสังคมโลก ซึ่งปัจจุบันอยู่ในสภาพผันผวน ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องเร่งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อให้ไทยอยู่รอดปลอดภัยได้ จาตุรนต์ อธิบายต่อว่า ภูมิภาคนี้กำลังจะรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 และยังมีการเชื่อมโยงประเทศในอาเซียนกับประเทศนอกอาเซียนเป็นเครือข่ายกันด้วย ประเทศไทยต้องเตรียมความพร้อมต่างๆ รองรับโลกไร้พรมแดนนี้ โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การวางระบบโลจิสติกส์ แต่เรื่องสำคัญสุดในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ คือ "การพัฒนาคน" “ประเด็นต่างๆ เหล่านี้จะเป็นโจทย์สำคัญของการจัดการศึกษาและการปฏิรูปการศึกษาไทย การจัดการศึกษาต้องเดินหน้าสู่การเตรียมความพร้อมคนไทยให้สอดคล้องกับสังคม โลกใหม่ อย่างไรก็ตาม ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยกับนานาประเทศยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจ IMD ปี 2013 ไทย อยู่ในอันดับที่ 51 จาก 60 ประเทศ ผลการประเมิน PISA 2009 ไทยอยู่ในอันดับที่ 50 จาก 65 ประเทศ และในการจัดอันดับ 400 มหาวิทยาลัยดีที่สุดของโลก โดย Times Higher Education World มีมหาวิทยาลัยไทยเพียงแห่งเดียวที่ติดอันดับ โดยอยู่ในกลุ่มอันดับที่ 351-400" จาตุรนต์ กล่าว มุมมองในการพัฒนาคนของ จาตุรนต์ นั้น ตั้งเป้าหมายว่า ภายในปี 2558 จะต้องพัฒนาผู้เรียนให้สามารถคิด วิเคราะห์ เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และทักษะที่จำเป็น สำหรับศตวรรษที่ 21 ซึ่งคนไทยจะต้องมีคุณลักษณะเช่นนี้ครบถ้วนจึงจะช่วยให้ไทยเพิ่มขีดความ สามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศได้ และภายใต้เป้าหมายหลักนี้ มีเป้าหมายแยกย่อยอีก 4 เรื่องสำคัญ ได้แก่ 1.ผลการทดสอบ PISA ของไทยต้องอยู่ในอันดับที่ดีขึ้น จาตุรนต์ บอกว่า การประเมิน PISA ล่าสุดในปี 2009 ผลประเมินของไทยทั้ง 3 วิชา อยู่ในอันดับที่ 50 จากประเทศที่เข้าประเมิน 65 ประเทศ กระทรวงศึกษาธิการจึงต้องการให้อันดับการประเมิน PISA ขยับมาเริ่มต้นด้วยตัวเลข 4 เรื่องที่ 2 มหาวิทยาลัยไทยต้องติดอันดับโลกมากขึ้น จาตุรนต์ ย้ำว่า เขาเข้าใจดีว่ามหาวิทยาลัยต้องมีความอิสระ ไม่ใช่องค์กรที่ "รมว.ศึกษาธิการ" จะมาสั่งการได้ แต่ตอนนี้ไม่มีใครรู้ว่า คุณภาพการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยอยู่ตรงไหน ประเทศไทยมีการประเมินระดับชาติเฉพาะในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเท่านั้น แต่ระดับอุดมศึกษาไม่มีการวัดผลสัมฤทธิ์ระดับชาติแล้วจะรู้ได้อย่างไร มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งเป็นอย่างไร ทางหนึ่งที่จะรู้ได้ก็คือ เทียบคุณภาพการจัดการศึกษากับต่างประเทศ หรือเทียบกันเอง เพื่อให้คนนอกมหาวิทยาลัยและสังคมทราบว่าปัญหาเป็นอย่างไร ที่สำคัญ ต้องมีกลไกทางสังคมมาผลักดันให้มหาวิทยาลัยพัฒนาตนเอง ตรงจุดนี้จะทำให้สังคมและมหาวิทยาลัยไม่อิสระจนเกินไป ส่วนเรื่องที่ 3 การเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีวศึกษาและสามัญ เป็น 50-50 จาตุรนต์ บอกว่า การจะดึงดูดเด็กให้มาเรียนสายอาชีพมากขึ้นนั้น เครื่องมือที่ดีอย่างหนึ่งคือ ระบบคุณวุฒิวิชาชีพ แต่ปัจจุบันยังไม่ได้ใช้ระบบคุณวุฒิวิชาชีพอย่างที่คิดกันไว้ จึงต้องผลักดันให้มีการนำมาใช้อย่างจริงจัง มากำหนดทักษะและค่าตอบแทนสำหรับแต่ละตำแหน่งงานอ้างอิงกับสมรรถนะที่เพิ่มขึ้น โดยไม่คำนึงถึงวุฒิการศึกษา เช่นนี้แล้วจะเป็นการจูงใจให้คนหันมาเรียนสายอาชีพ เพราะเห็นค่าตอบแทนและความก้าวหน้าในวิชาชีพชัดเจน และ เรื่องที่ 4 การกระจายโอกาสและเพิ่มความเสมอภาคทางการศึกษาให้มากขึ้น ซึ่ง จาตรุนต์ เล็งจะปรับระบบกองทุนเงินให้กู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต หรือ Income Contingent Loan : ICL ให้เป็นไปตามหลักการที่คิดไว้แต่เดิม เพื่อช่วยกระจายโอกาสในการศึกษาถึงระดับอุดมศึกษาให้แก่ทุกคน อย่างไรก็ตาม จาตุรนต์ บอกว่า นโยบายที่ให้ความสำคัญมากที่สุด คือ การปฏิรูปการเรียนรู้ ซึ่งจะตอโจทย์การสร้างกำลังคนที่มีคุณลักษณ์ที่ประเทศต้องการได้ตรงที่สุด การปฏิรูปการเรียนรู้ครั้งนี้ จาตุรนต์ บอกว่า ต้องพิจารณาจากสภาพสังคมโลก โจทย์ที่ประเทศไทยต้องเผชิญ และต้องเป็นไปเพื่อยกเครื่องการจัดการศึกษาให้มีมาตรฐานสากล และสอดคล้องกับสังคมโลกใหม่ โดยการปฏิรูการเรียนเรียนรู้จะยึดการปฏิรูปหลักสูตร และการปฏิรูปการเรียนการสอนเป็นแกนหลัก พร้อมปรับระบบอื่นๆ ไปด้วย คือ ระบบประเมินสถานศึกษา ระบบการรับบุคคลเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัย ระบบวัดและประเมินผลผู้เรียน ระบบการประเมินวิทยฐานะ และความก้าวหน้าในวิชาชีพครู ทั้ง 6 เรื่องนี้ต้องเชื่อมโยงกัน เพื่อมุ่งไปสู่การเพิ่มผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน จาตุรนต์ ย้ำด้วยว่า จะพยายามผลักดันให้การปฏิรูการศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ ให้ปี 2556 เป็นปีแห่งการรวมพลังยกระดับการศึกษาไทย เพราะเรื่องนี้ไม่สามารถดำเนินการตามลำพังได้ ยังมีเรื่องอีกมากมายที่ต้องดำเนินการจึงต้องรวมพลังกัน : ทีมข่าวการศึกษา ... รายงาน ------------------------- 8 นโยบายศึกษาของ 'จาตุรนต์' 1. เร่งรัดปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน 2. ปฏิรูประบบผลิตพัฒนาครู 3. เร่งนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการปฏิรูปการเรียนรู้ 4. พัฒนาคุณภาพการอาชีวศึกษาให้มีมาตรฐานเทียบได้กับระดับสากล 5. ส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาเร่งพัฒนาคุณภาพมาตรฐานมากกว่าการขยายเชิงปริมาณ 6. ส่งเสริมให้เอกชนและทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมจัดและสนับสนุนการศึกษามากขึ้น 7. เพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ 8. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130715/163264/เปิดวิสัยทัศน์:จาตุรนต์ฉายแสง.html คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิพัฒนาคนพิการไทย 15 ก.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)