จี้เสมา 1 ดันพ.ร.บ.การศึกษาตลอดชีวิต
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่มีเสียงเรียกร้องให้เร่งผลักดันร่าง พ.ร.บ.การศึกษาตลอดชีวิต เพื่อส่งเสริมให้คนไทยได้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ว่าตนยังไม่ได้ศึกษาในรายละเอียดของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว จึงต้องขอหารือกับสำนักงานปลัด ศธ.ว่ายังมีงานอะไรที่ค้างอยู่บ้าง ส่วนกรณีการแยกสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เป็นองค์กรอิสระนั้น ตนเห็นว่าเรื่องปรับโครงสร้างคงต้องขอเวลาอีกพอควรในการพิจารณา ซึ่งรวมถึงหน่วยงานอื่นๆ ที่เสนอขอให้ปรับโครงสร้างด้วย เพราะตนเห็นเรื่องการปรับโครงสร้างมีมาตั้งแต่สมัยเป็นรองนายกรัฐมนตรีที่ดูแลงานการศึกษา และเมื่อเข้ารับตำแหน่ง รมว. ศธ.ครั้งแรก ก็ต้องเข้ามาเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับโครงสร้าง ซึ่งจะเห็นได้ว่าสาละวนกับเรื่องของโครงสร้างมานานเกินไป ทำให้เราเสียโอกาสในการปฏิรูปการศึกษาของชาติอย่างน่าเสียดาย ดังนั้น การมารับตำแหน่ง รมว.ศธ.ครั้งนี้ ตนมีนโยบายที่จะเน้นการปฏิรูปการเรียนการสอนก่อนเป็นอันดับแรก ส่วนเรื่องการปรับโครงสร้างจะรับฟังความคิดเห็นทุกฝ่ายด้วย แต่จะไม่ถือว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน
ด้าน รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เรื่องโครงสร้างไม่ใช่เรื่องสาระสำคัญ เท่ากับ พ.ร.บ.การศึกษาตลอดชีวิต เพราะโลกในอนาคตเปลี่ยนแปลง และการศึกษาตลอดชีวิตก็เป็นสิ่งสำคัญ หากมองเรื่องโครงสร้างก่อน ความสำคัญของการศึกษาตลอดชีวิตก็จะถูกลดคุณค่า ตนเห็นด้วยที่นายจาตุรนต์ ยังไม่คิดจะปรับโครงสร้างของทุกองค์กร แต่เรื่อง พ.ร.บ.การศึกษาตลอดชีวิต เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเร่งผลักดัน เพราะจะเกิดประโยชน์กับประชาชนจำนวนมากที่เข้าไม่ถึงการศึกษา
นายประเสริฐ บุญเรือง เลขาธิการ กศน. กล่าวว่า การแยกสำนักงาน กศน. เป็นองค์กรอิสระ กับ การผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาตลอดชีวิต เป็นคนละเรื่องกัน สิ่งที่สำคัญขณะนี้คือ การผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาตลอดชีวิต เนื่องจาก กศน.มีกลุ่มเป้าหมายที่จัดการศึกษาตลอดชีวิต รวมกว่า 45 ล้านคน โดยเป็นบุคคลที่ยังไม่จบชั้น ม.6 ประมาณ 20 ล้านคน ดังนั้น การศึกษาตลอดชีวิตจะมีความสำคัญกับประชาชนอย่างมาก ซึ่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวจะช่วยให้ กศน.ขับเคลื่อนงานให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการศึกษาตลอดชีวิต ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ขอบคุณ...เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิพัฒนาคนพิการไทย 18 ก.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่มีเสียงเรียกร้องให้เร่งผลักดันร่าง พ.ร.บ.การศึกษาตลอดชีวิต เพื่อส่งเสริมให้คนไทยได้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ว่าตนยังไม่ได้ศึกษาในรายละเอียดของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว จึงต้องขอหารือกับสำนักงานปลัด ศธ.ว่ายังมีงานอะไรที่ค้างอยู่บ้าง ส่วนกรณีการแยกสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เป็นองค์กรอิสระนั้น ตนเห็นว่าเรื่องปรับโครงสร้างคงต้องขอเวลาอีกพอควรในการพิจารณา ซึ่งรวมถึงหน่วยงานอื่นๆ ที่เสนอขอให้ปรับโครงสร้างด้วย เพราะตนเห็นเรื่องการปรับโครงสร้างมีมาตั้งแต่สมัยเป็นรองนายกรัฐมนตรีที่ดูแลงานการศึกษา และเมื่อเข้ารับตำแหน่ง รมว. ศธ.ครั้งแรก ก็ต้องเข้ามาเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับโครงสร้าง ซึ่งจะเห็นได้ว่าสาละวนกับเรื่องของโครงสร้างมานานเกินไป ทำให้เราเสียโอกาสในการปฏิรูปการศึกษาของชาติอย่างน่าเสียดาย ดังนั้น การมารับตำแหน่ง รมว.ศธ.ครั้งนี้ ตนมีนโยบายที่จะเน้นการปฏิรูปการเรียนการสอนก่อนเป็นอันดับแรก ส่วนเรื่องการปรับโครงสร้างจะรับฟังความคิดเห็นทุกฝ่ายด้วย แต่จะไม่ถือว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน ด้าน รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เรื่องโครงสร้างไม่ใช่เรื่องสาระสำคัญ เท่ากับ พ.ร.บ.การศึกษาตลอดชีวิต เพราะโลกในอนาคตเปลี่ยนแปลง และการศึกษาตลอดชีวิตก็เป็นสิ่งสำคัญ หากมองเรื่องโครงสร้างก่อน ความสำคัญของการศึกษาตลอดชีวิตก็จะถูกลดคุณค่า ตนเห็นด้วยที่นายจาตุรนต์ ยังไม่คิดจะปรับโครงสร้างของทุกองค์กร แต่เรื่อง พ.ร.บ.การศึกษาตลอดชีวิต เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเร่งผลักดัน เพราะจะเกิดประโยชน์กับประชาชนจำนวนมากที่เข้าไม่ถึงการศึกษา นายประเสริฐ บุญเรือง เลขาธิการ กศน. กล่าวว่า การแยกสำนักงาน กศน. เป็นองค์กรอิสระ กับ การผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาตลอดชีวิต เป็นคนละเรื่องกัน สิ่งที่สำคัญขณะนี้คือ การผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาตลอดชีวิต เนื่องจาก กศน.มีกลุ่มเป้าหมายที่จัดการศึกษาตลอดชีวิต รวมกว่า 45 ล้านคน โดยเป็นบุคคลที่ยังไม่จบชั้น ม.6 ประมาณ 20 ล้านคน ดังนั้น การศึกษาตลอดชีวิตจะมีความสำคัญกับประชาชนอย่างมาก ซึ่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวจะช่วยให้ กศน.ขับเคลื่อนงานให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการศึกษาตลอดชีวิต ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ขอบคุณ...เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิพัฒนาคนพิการไทย 18 ก.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)