สสค.หนุนเปิดห้องเรียนเด็กพิเศษ แจกคู่มือผู้ปกครองดูแลเด็กที่บ้าน
ร.ร.เมืองปากน้ำโพจัดห้องเรียนพิเศษคู่ขนานสำหรับเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ พร้อมลงพื้นที่เยี่ยมเยียนดูพัฒนาการ ด้าน สสค.หนุนแจกคู่มือให้ผู้ปกครองใช้ดูแลเด็กพิเศษที่บ้าน นำร่อง 10 โรงเรียน หวังครอบคลุมทุกภูมิภาค
นางอรนุช บุญโสภาค ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดหนองปลิง ต.หนองปลิง อ.เมือง จ.นครสวรรค์ เปิดเผยว่า โรงเรียนมีครูสอนเด็กพิเศษ 3 คน ต้องดูแลเด็กพิเศษที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ 48 คน จากจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 400 คน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 เป็นต้นมาทางโรงเรียนได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานส่งเสริมสังคม แห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ให้เป็นโรงเรียนนำร่องทดลองใช้ชุดความรู้ในการจัดการเรียนรู้ สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
ชุดคู่มือประกอบด้วย 1.คู่มือระบบการดูแลนักเรียนกลุ่มเด็กพิเศษที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ จำนวน 1 เล่ม 2.ชุดความรู้สำหรับครูในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีภาวะ บกพร่องทางการเรียนรู้ 4 เล่ม และ 3.ชุดความรู้สำหรับพ่อแม่ในการดูแลเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ 4 เล่ม
ผู้อำนวยการ ร.ร.วัดหนองปลิง กล่าวว่า กระบวนการที่เราจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กพิเศษที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ จะเน้นให้เด็กได้มีพัฒนาการเรียนรู้ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้จะเป็นไปอย่างช้าๆ แต่มุ่งให้เด็กมีความสุขในสังคม เน้นสังคมและบริบทรอบข้างให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กพิเศษฯ และสามารถอยู่ร่วมกับเด็กปกติได้อย่างมีความสุขและเท่าเทียมกัน ขณะเดียวกันคณะครูก็ได้ลงพื้นที่พบปะพูดคุยกับผู้ปกครองเพื่อสอบถามข้อมูลพัฒนาการของนักเรียนอีกด้วย
"การดูแลเด็กพิเศษที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ ใช้แค่เรี่ยวแรงยังไม่พอ ต้องใช้ใจ ความเสียสละ ต้องเข้าใจตัวเด็ก ไม่ดุ ค่อยๆ สอนอย่างใจเย็น ครูทุกคนที่นี่จะต้องดูแลเด็กพิเศษให้ได้ทุกคน" ผอ.ร.ร. วัดหนองปลิง กล่าว ทั้งนี้ ทางโรงเรียนได้จัดห้องเรียนคู่ขนานออทิสติก สำหรับให้การศึกษาแก่เด็กพิเศษที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ เพื่อให้ครูได้ดูแลนักเรียนอย่าง ใกล้ชิด ช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น เมื่อเด็กรายใด มีพฤติกรรมดีขึ้นก็จะให้ไปเรียนร่วมกับเด็กปกติเป็นครั้งคราว ซึ่งพบว่าเด็ก มีพฤติกรรมและพัฒนาการไปในทางที่ดีขึ้น
ด้าน พ.ญ.ชดาพิมพ์ เผ่าสวัสดิ์ นักจิตเวชศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น สถาบันราชา
นุกูล เปิดเผยว่า ได้แจกจ่ายชุดความรู้ในการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความบกพร่อง ที่ สสค. ร่วมกับสถาบัน ราชานุกูลพัฒนาขึ้น ไปยังโรงเรียนนำร่อง 10 แห่ง ได้แก่ ภาคกลาง -ร.ร.อนุบาลสุพรรณบุรี ร.ร.สามชุกรัตนโภคาราม จ.สุพรรณบุรี ภาคใต้ - ร.ร.บ้านโพธิ์หวาย ร.ร.วัดกาญจนาราม จ.สุราษฎร์ธานี ภาคเหนือ - ร.ร.วัดหนองปลิง ร.ร.อนุบาลเมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - ร.ร.ศรีสวัสดิ์วิทยา ร.ร.เทศบาลบูรพาพิทยาคาร จ.มหาสารคาม และพื้นที่กรุงเทพฯ- ร.ร.วิชูทิศ ร.ร.พิบูลประชาสรรค์ เพื่อเป็นต้นแบบให้กับโรงเรียนอื่นๆ จนสามารถสร้างเครือข่ายได้ครอบคลุมทั้งประเทศ
พ.ญ.ชดาพิมพ์ กล่าวว่า การจัดกลุ่มเด็กพิเศษนี้เน้นกลุ่มเด็กที่ปัญหาการเรียนเป็นความพิการทางการเรียน ไม่ใช่พิการทางร่างกาย อีกทั้งเด็กส่วนใหญ่มีความพิการทางการเรียนรู้ซ้ำซ้อน เช่น สมาธิสั้นมีออทิสติกแทรกซ้อน หรือออทิสติก ก็จะมีสติปัญญาบกพร่อง และเห็นว่ากลุ่มเด็กแอลดี ถือเป็น กลุ่มที่น่าห่วง รูปแบบการสอนเด็กแอลดีจึงต้องมีความแตกต่างจากเด็กทั่วไป โยเฉพาะการใช้แผนการศึกษารายบุคคล
"เป็นเรื่องที่ยากกับการจะทำให้เด็กที่มีความบกพร่องทางการ เรียนรู้หมดไปจากประเทศไทย เพราะเรายังไม่ทราบสาเหตุว่ากลุ่มโรคนี้เกิดจากอะไร ได้แต่เพียงแนะนำให้กินดีอยู่ดี มีลูกร่างกายแข็งแรง เพราะโรคของกลุ่มนี้จะเกิดจากความผิดปกติของยีนส์ โครโมโซม จึงไม่สามารถป้องกันได้" พญ.ชดาพิมพ์ กล่าว
ขอบคุณ ... http://www.ryt9.com/s/bmnd/1696799
บ้านเมืองออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ก.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ร.ร.เมืองปากน้ำโพจัดห้องเรียนพิเศษคู่ขนานสำหรับเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ พร้อมลงพื้นที่เยี่ยมเยียนดูพัฒนาการ ด้าน สสค.หนุนแจกคู่มือให้ผู้ปกครองใช้ดูแลเด็กพิเศษที่บ้าน นำร่อง 10 โรงเรียน หวังครอบคลุมทุกภูมิภาค นางอรนุช บุญโสภาค ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดหนองปลิง ต.หนองปลิง อ.เมือง จ.นครสวรรค์ เปิดเผยว่า โรงเรียนมีครูสอนเด็กพิเศษ 3 คน ต้องดูแลเด็กพิเศษที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ 48 คน จากจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 400 คน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 เป็นต้นมาทางโรงเรียนได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานส่งเสริมสังคม แห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ให้เป็นโรงเรียนนำร่องทดลองใช้ชุดความรู้ในการจัดการเรียนรู้ สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชุดคู่มือประกอบด้วย 1.คู่มือระบบการดูแลนักเรียนกลุ่มเด็กพิเศษที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ จำนวน 1 เล่ม 2.ชุดความรู้สำหรับครูในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีภาวะ บกพร่องทางการเรียนรู้ 4 เล่ม และ 3.ชุดความรู้สำหรับพ่อแม่ในการดูแลเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ 4 เล่ม ผู้อำนวยการ ร.ร.วัดหนองปลิง กล่าวว่า กระบวนการที่เราจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กพิเศษที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ จะเน้นให้เด็กได้มีพัฒนาการเรียนรู้ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้จะเป็นไปอย่างช้าๆ แต่มุ่งให้เด็กมีความสุขในสังคม เน้นสังคมและบริบทรอบข้างให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กพิเศษฯ และสามารถอยู่ร่วมกับเด็กปกติได้อย่างมีความสุขและเท่าเทียมกัน ขณะเดียวกันคณะครูก็ได้ลงพื้นที่พบปะพูดคุยกับผู้ปกครองเพื่อสอบถามข้อมูลพัฒนาการของนักเรียนอีกด้วย "การดูแลเด็กพิเศษที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ ใช้แค่เรี่ยวแรงยังไม่พอ ต้องใช้ใจ ความเสียสละ ต้องเข้าใจตัวเด็ก ไม่ดุ ค่อยๆ สอนอย่างใจเย็น ครูทุกคนที่นี่จะต้องดูแลเด็กพิเศษให้ได้ทุกคน" ผอ.ร.ร. วัดหนองปลิง กล่าว ทั้งนี้ ทางโรงเรียนได้จัดห้องเรียนคู่ขนานออทิสติก สำหรับให้การศึกษาแก่เด็กพิเศษที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ เพื่อให้ครูได้ดูแลนักเรียนอย่าง ใกล้ชิด ช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น เมื่อเด็กรายใด มีพฤติกรรมดีขึ้นก็จะให้ไปเรียนร่วมกับเด็กปกติเป็นครั้งคราว ซึ่งพบว่าเด็ก มีพฤติกรรมและพัฒนาการไปในทางที่ดีขึ้น ด้าน พ.ญ.ชดาพิมพ์ เผ่าสวัสดิ์ นักจิตเวชศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น สถาบันราชา นุกูล เปิดเผยว่า ได้แจกจ่ายชุดความรู้ในการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความบกพร่อง ที่ สสค. ร่วมกับสถาบัน ราชานุกูลพัฒนาขึ้น ไปยังโรงเรียนนำร่อง 10 แห่ง ได้แก่ ภาคกลาง -ร.ร.อนุบาลสุพรรณบุรี ร.ร.สามชุกรัตนโภคาราม จ.สุพรรณบุรี ภาคใต้ - ร.ร.บ้านโพธิ์หวาย ร.ร.วัดกาญจนาราม จ.สุราษฎร์ธานี ภาคเหนือ - ร.ร.วัดหนองปลิง ร.ร.อนุบาลเมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - ร.ร.ศรีสวัสดิ์วิทยา ร.ร.เทศบาลบูรพาพิทยาคาร จ.มหาสารคาม และพื้นที่กรุงเทพฯ- ร.ร.วิชูทิศ ร.ร.พิบูลประชาสรรค์ เพื่อเป็นต้นแบบให้กับโรงเรียนอื่นๆ จนสามารถสร้างเครือข่ายได้ครอบคลุมทั้งประเทศ พ.ญ.ชดาพิมพ์ กล่าวว่า การจัดกลุ่มเด็กพิเศษนี้เน้นกลุ่มเด็กที่ปัญหาการเรียนเป็นความพิการทางการเรียน ไม่ใช่พิการทางร่างกาย อีกทั้งเด็กส่วนใหญ่มีความพิการทางการเรียนรู้ซ้ำซ้อน เช่น สมาธิสั้นมีออทิสติกแทรกซ้อน หรือออทิสติก ก็จะมีสติปัญญาบกพร่อง และเห็นว่ากลุ่มเด็กแอลดี ถือเป็น กลุ่มที่น่าห่วง รูปแบบการสอนเด็กแอลดีจึงต้องมีความแตกต่างจากเด็กทั่วไป โยเฉพาะการใช้แผนการศึกษารายบุคคล "เป็นเรื่องที่ยากกับการจะทำให้เด็กที่มีความบกพร่องทางการ เรียนรู้หมดไปจากประเทศไทย เพราะเรายังไม่ทราบสาเหตุว่ากลุ่มโรคนี้เกิดจากอะไร ได้แต่เพียงแนะนำให้กินดีอยู่ดี มีลูกร่างกายแข็งแรง เพราะโรคของกลุ่มนี้จะเกิดจากความผิดปกติของยีนส์ โครโมโซม จึงไม่สามารถป้องกันได้" พญ.ชดาพิมพ์ กล่าว ขอบคุณ ... http://www.ryt9.com/s/bmnd/1696799 บ้านเมืองออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ก.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)