นั่งเรียนบนวีลแชร์ – อินไซด์แคมปัส
เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สร้างความสูญเสียไม่เว้นแต่ละวัน ไม่บาดเจ็บก็ล้มตาย หรือมีบ้างที่ไม่ตายแต่สาหัส บางคนได้รับบาดเจ็บที่จุดสำคัญของร่างกายถึงขั้นไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อีก..
“เดชฤทธิ์ มณีธรรม” หัวหน้าสาขาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี เล่าว่า เมื่อปี 2555 ตนได้ลงพื้นที่ร่วมกับอาจารย์แพทย์จากโรงพยาบาลพระมงกุฎ เกล้า เพื่อติดตามอาการป่วยของทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากราชการสนามในพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ซึ่งต้องกลับไปพักรักษาตัวที่ภูมิลำเนา โดยนายทหารที่ได้รับบาดเจ็บถึงขั้นพิการและไม่สามารถเคลื่อนไหวได้นั้นมี จำนวนมาก ดังนั้นนโยบายของอดีตเจ้ากรมการแพทย์ทหารบก จึงต้องการให้ตนผลิตอุปกรณ์ช่วยเหลือทหารพิการเพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
“กลุ่มนายทหารเฉพาะที่ผมไปดู 4 ราย บางคนบาดเจ็บหนักช่วงบน บางคนก็ช่วงล่าง แต่ทุกคนมีอาการเดียวกันคือไม่สามารถขยับร่างกายได้เอง ทำให้ต้องนอนนิ่ง ๆ อย่างเดียว วันทั้งวันมองเห็นแต่เพดาน ซึ่งในทางการแพทย์อาจเกิดภาวะเจ็บป่วยแทรกซ้อนได้โดยเฉพาะปัญหาแผลกดทับ ซึ่งหากผมผลิตอุปกรณ์ช่วยเหลือพวกเขาเหล่านั้นได้แม้เพียงขยับขึ้นมาดูทีวีหรือเคลื่อนที่ไปอาบน้ำได้ก็ทำให้พวกเขามีความสุขแล้ว”
อ.เดชฤทธิ์ เล่าต่อไปว่า จากจุดเริ่มต้นในการลงพื้นที่ครั้งนั้น ก่อให้เกิดเป็นความร่วมมือในการจัดทำโครงการวิจัยการพัฒนาออกแบบประดิษฐ์ชุดช่วยพยุงเดินสำหรับผู้ป่วยราชการสนามที่มีความพิการช่วงเอวลงมา และโครงการวิจัยการพัฒนาออกแบบรถเข็นไฟฟ้าอัตโนมัติแบบอัจฉริยะสำหรับผู้พิการขั้นรุนแรงที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวของร่างกาย ภายใต้งบประมาณ 2 ล้านบาท เบื้องต้นคาดว่าจะแล้วเสร็จได้ภายในสิ้นปีงบประมาณ2556นี้
อย่างไรก็ตามไม่เพียงการใช้องค์ความรู้ที่มีให้เกิดประโยชน์แก่กลุ่มนายทหาร เท่านั้น แต่อาจารย์ยังมีหลักคิดในการเพาะบ่มลูกศิษย์ให้ตระหนักถึงความสำคัญในการช่วยเหลือบุคคลพิการทั่วไปด้วย...น.ส.สิรินันท์ ดวงจันทร์ หรือ “นันท์” นักศึกษาชั้นปีที่ 2 เล่าว่า ห้องเรียนของ อ.เดชฤทธิ์ มีความแปลกจากห้องเรียนอื่นตรงที่ในแต่ละคาบเรียนจะมีนักศึกษา 2 คน ต้องรับบทเป็นคนพิการ ด้วยการนั่งวีลแชร์แทนการนั่งเก้าอี้เรียน เพื่อให้ซึมซับว่าการเป็นคนพิการนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งตนคิดว่าแม้เพียงการนั่งรถเข็นคนพิการแค่ไม่กี่ชั่วโมง แต่ก็สร้างจิตสำนึกให้แก่ตนได้ อย่างน้อยก็ซาบซึ้งสิ่งที่อาจารย์ทำอยู่ว่าทำเพื่อคนพิการนะ ทำให้เขาใช้ชีวิตให้สบายขึ้นดังนั้นถ้านักศึกษามีโอกาสก็ควรช่วยกันทำสิ่งดีๆแบบนี้
“แน็ก” หรือ นายกิตติศักดิ์ เมฆฉาย นักศึกษาชั้นเรียนเดียวกัน บอกว่า การนั่งเรียนด้วยเก้าอี้คนพิการไม่ได้สร้างความลำบากแก่ตน เพราะนั่งแป๊บเดียว แต่ถ้าต้องนั่งวีลแชร์ทั้งวัน หรือแค่เข็นไปเข้าห้องน้ำเองก็คงเป็นเรื่องลำบากมากทีเดียว ทั้งนี้ สิ่งที่ตนได้นำมาคิดคือการเห็นนักศึกษาพิการที่เป็นเพื่อนในมหาวิทยาลัย เดียวกัน ทำให้รู้สึกว่าขนาดเขาไม่พร้อมก็ยังมีความตั้งใจเรียน ดังนั้น ตนซึ่งมีความสมบูรณ์พร้อมทุกอย่างก็ต้องตั้งใจเรียนให้ประสบความสำเร็จให้ ได้.
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/education/220607 (ขนาดไฟล์: 167)
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 ก.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นักศึกษานั่งเรียนบนรถเข็นวีลแชร์ในห้องเรียน เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สร้างความสูญเสียไม่เว้นแต่ละวัน ไม่บาดเจ็บก็ล้มตาย หรือมีบ้างที่ไม่ตายแต่สาหัส บางคนได้รับบาดเจ็บที่จุดสำคัญของร่างกายถึงขั้นไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อีก.. “เดชฤทธิ์ มณีธรรม” หัวหน้าสาขาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี เล่าว่า เมื่อปี 2555 ตนได้ลงพื้นที่ร่วมกับอาจารย์แพทย์จากโรงพยาบาลพระมงกุฎ เกล้า เพื่อติดตามอาการป่วยของทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากราชการสนามในพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ซึ่งต้องกลับไปพักรักษาตัวที่ภูมิลำเนา โดยนายทหารที่ได้รับบาดเจ็บถึงขั้นพิการและไม่สามารถเคลื่อนไหวได้นั้นมี จำนวนมาก ดังนั้นนโยบายของอดีตเจ้ากรมการแพทย์ทหารบก จึงต้องการให้ตนผลิตอุปกรณ์ช่วยเหลือทหารพิการเพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น นักศึกษานั่งเรียนบนรถเข็นวีลแชร์ในห้องเรียน “กลุ่มนายทหารเฉพาะที่ผมไปดู 4 ราย บางคนบาดเจ็บหนักช่วงบน บางคนก็ช่วงล่าง แต่ทุกคนมีอาการเดียวกันคือไม่สามารถขยับร่างกายได้เอง ทำให้ต้องนอนนิ่ง ๆ อย่างเดียว วันทั้งวันมองเห็นแต่เพดาน ซึ่งในทางการแพทย์อาจเกิดภาวะเจ็บป่วยแทรกซ้อนได้โดยเฉพาะปัญหาแผลกดทับ ซึ่งหากผมผลิตอุปกรณ์ช่วยเหลือพวกเขาเหล่านั้นได้แม้เพียงขยับขึ้นมาดูทีวีหรือเคลื่อนที่ไปอาบน้ำได้ก็ทำให้พวกเขามีความสุขแล้ว” อ.เดชฤทธิ์ เล่าต่อไปว่า จากจุดเริ่มต้นในการลงพื้นที่ครั้งนั้น ก่อให้เกิดเป็นความร่วมมือในการจัดทำโครงการวิจัยการพัฒนาออกแบบประดิษฐ์ชุดช่วยพยุงเดินสำหรับผู้ป่วยราชการสนามที่มีความพิการช่วงเอวลงมา และโครงการวิจัยการพัฒนาออกแบบรถเข็นไฟฟ้าอัตโนมัติแบบอัจฉริยะสำหรับผู้พิการขั้นรุนแรงที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวของร่างกาย ภายใต้งบประมาณ 2 ล้านบาท เบื้องต้นคาดว่าจะแล้วเสร็จได้ภายในสิ้นปีงบประมาณ2556นี้ อย่างไรก็ตามไม่เพียงการใช้องค์ความรู้ที่มีให้เกิดประโยชน์แก่กลุ่มนายทหาร เท่านั้น แต่อาจารย์ยังมีหลักคิดในการเพาะบ่มลูกศิษย์ให้ตระหนักถึงความสำคัญในการช่วยเหลือบุคคลพิการทั่วไปด้วย...น.ส.สิรินันท์ ดวงจันทร์ หรือ “นันท์” นักศึกษาชั้นปีที่ 2 เล่าว่า ห้องเรียนของ อ.เดชฤทธิ์ มีความแปลกจากห้องเรียนอื่นตรงที่ในแต่ละคาบเรียนจะมีนักศึกษา 2 คน ต้องรับบทเป็นคนพิการ ด้วยการนั่งวีลแชร์แทนการนั่งเก้าอี้เรียน เพื่อให้ซึมซับว่าการเป็นคนพิการนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งตนคิดว่าแม้เพียงการนั่งรถเข็นคนพิการแค่ไม่กี่ชั่วโมง แต่ก็สร้างจิตสำนึกให้แก่ตนได้ อย่างน้อยก็ซาบซึ้งสิ่งที่อาจารย์ทำอยู่ว่าทำเพื่อคนพิการนะ ทำให้เขาใช้ชีวิตให้สบายขึ้นดังนั้นถ้านักศึกษามีโอกาสก็ควรช่วยกันทำสิ่งดีๆแบบนี้ นักศึกษานั่งเรียนบนรถเข็นวีลแชร์ในห้องเรียน “แน็ก” หรือ นายกิตติศักดิ์ เมฆฉาย นักศึกษาชั้นเรียนเดียวกัน บอกว่า การนั่งเรียนด้วยเก้าอี้คนพิการไม่ได้สร้างความลำบากแก่ตน เพราะนั่งแป๊บเดียว แต่ถ้าต้องนั่งวีลแชร์ทั้งวัน หรือแค่เข็นไปเข้าห้องน้ำเองก็คงเป็นเรื่องลำบากมากทีเดียว ทั้งนี้ สิ่งที่ตนได้นำมาคิดคือการเห็นนักศึกษาพิการที่เป็นเพื่อนในมหาวิทยาลัย เดียวกัน ทำให้รู้สึกว่าขนาดเขาไม่พร้อมก็ยังมีความตั้งใจเรียน ดังนั้น ตนซึ่งมีความสมบูรณ์พร้อมทุกอย่างก็ต้องตั้งใจเรียนให้ประสบความสำเร็จให้ ได้. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/education/220607 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 ก.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)