ปัญหาการศึกษา..กับ... ‘เด็กพิการ’ในจีน
คอลัมน์ : รู้แล้วบอกต่อ – เมื่อสัปดาห์ก่อน ฮิวแมนไรท์วอทช์ องค์กรเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน ที่มีฐานปฏิบัติการอยู่ในนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกาได้เผยแพร่รายงานสถานการณ์การศึกษาของเด็กพิการ หรือผู้ทุพพลภาพในจีนพบว่าเด็กพิการชาวจีนมากกว่า 1 ใน 4 ของที่มีอยู่ทั้งประเทศ ไม่ได้เรียนหนังสือ และยังมีเด็กพิการอีกจำนวนมากที่ถูกกีดกันไม่ให้มีโอกาสเข้าไปเรียนในสถานบันการศึกษาชั้นสูง หรือได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้จากครูที่ไม่ได้ผ่านการฝึกวิชาชีพครูที่มีคุณภาพดีพอ
รายงานของฮิวแมนไรท์วอทช์ระบุอีกว่า เด็กพิการในจีนถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าเรียนในโรงเรียนประจำ เว้นแต่พวกเขาจะพิสูจน์ให้เห็นว่า พวกเขาสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และการเรียนการสอนของโรงเรียนได้เท่านั้น อย่างไรก็ตาม สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนผู้พิการในสถาบันการศึกษาของจีน แทบจะไม่ได้เอื้ออำนวยความสะดวกใดๆ ให้แก่เด็กเหล่านี้สักเท่าไหร่ โดยยกตัวอย่างสถานการณ์ข้างต้นเอาไว้ในรายงานนี้ด้วย เป็นกรณีของแม่ชาวจีนรายหนึ่ง ที่ต้องเดินทางไปกลับโรงเรียนของลูกวันละหลายเที่ยว เพื่อแบกลูกชิ้นลงบันไดไปเข้าห้องน้ำที่อยู่คนละชั้นกับห้องเรียน
ฮิวแมนไรท์วอทช์ยังสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในหลายแง่มุม ถึงความไม่เท่าเทียมกันทางการศึกษาที่มีอย่างแพร่หลายในจีนโดยเฉพาะปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กพิการท่ามกลางสภาพสังคมจีนที่เต็มไปด้วยการแข่งขันสูง ซึ่งนั้นยังเป็นแรงผลักที่ทำให้พ่อแม่เด็กตัดสินใจทอดทิ้งลูกพิการของตนเองเอาไว้ ตามสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า ที่ได้รับเงินงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลเพียงน้อยนิดอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม รายงานสถานการณ์ด้านการศึกษาของเด็กพิการชาวจีน ของกลุ่มฮิวแมนไรท์วอทช์ที่มีการเปิดเผยไม่กี่วันก่อนหน้า อาจไม่ต้องตรงกับรายงานของกระทรวงศึกษาธิการของจีนที่เผยแพร่ตามหลังออกมาซึ่งอ้างว่า มีเด็กพิการในประเทศจีนราว 28 เปอร์เซ็นต์ ที่ไม่ได้รับการศึกษาภาคบังคับเป็นเวลา 9 ปีตามที่กำหนด แต่จำนวนเด็กที่มีโอกาสเรียนหนังสือในปัจจุบัน มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 72 เปอร์เซ็นต์ หรือเพิ่มขึ้นจากในปี 2551 ถึงเกือบ 10 เปอร์เซ็นต์ และเด็กพิการที่ได้เรียนในโรงเรียนประจำที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อมสรรพสำหรับผู้พิการ มีจำนวนเพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้ หน่วยงานภาครัฐทั้งในส่วนท้องถิ่น และจากส่วนกลางก็ยังได้อัดฉีดงบประมาณสนับสนุนทางด้านการศึกษาให้แก่สถาบันการศึกษาเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
งานนี้ ไม่รู้ว่าข้อมูลของฝ่ายไหนจะเชื่อถือได้มากกว่า แต่ที่รู้แน่ๆ คือปัญหาที่สั่งสมอยู่ หากไม่ได้รับการตระหนักรับรู้และแก้ไข ผู้ที่จะได้รับผลพวงจากปัญหานั้นไปเต็มๆ คงหนีไม่พ้นตัว “เด็ก” ผู้เป็นอนาคตของชาติเอง
ขอบคุณ...มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 ก.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
คอลัมน์ : รู้แล้วบอกต่อ – เมื่อสัปดาห์ก่อน ฮิวแมนไรท์วอทช์ องค์กรเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน ที่มีฐานปฏิบัติการอยู่ในนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกาได้เผยแพร่รายงานสถานการณ์การศึกษาของเด็กพิการ หรือผู้ทุพพลภาพในจีนพบว่าเด็กพิการชาวจีนมากกว่า 1 ใน 4 ของที่มีอยู่ทั้งประเทศ ไม่ได้เรียนหนังสือ และยังมีเด็กพิการอีกจำนวนมากที่ถูกกีดกันไม่ให้มีโอกาสเข้าไปเรียนในสถานบันการศึกษาชั้นสูง หรือได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้จากครูที่ไม่ได้ผ่านการฝึกวิชาชีพครูที่มีคุณภาพดีพอ รายงานของฮิวแมนไรท์วอทช์ระบุอีกว่า เด็กพิการในจีนถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าเรียนในโรงเรียนประจำ เว้นแต่พวกเขาจะพิสูจน์ให้เห็นว่า พวกเขาสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และการเรียนการสอนของโรงเรียนได้เท่านั้น อย่างไรก็ตาม สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนผู้พิการในสถาบันการศึกษาของจีน แทบจะไม่ได้เอื้ออำนวยความสะดวกใดๆ ให้แก่เด็กเหล่านี้สักเท่าไหร่ โดยยกตัวอย่างสถานการณ์ข้างต้นเอาไว้ในรายงานนี้ด้วย เป็นกรณีของแม่ชาวจีนรายหนึ่ง ที่ต้องเดินทางไปกลับโรงเรียนของลูกวันละหลายเที่ยว เพื่อแบกลูกชิ้นลงบันไดไปเข้าห้องน้ำที่อยู่คนละชั้นกับห้องเรียน ฮิวแมนไรท์วอทช์ยังสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในหลายแง่มุม ถึงความไม่เท่าเทียมกันทางการศึกษาที่มีอย่างแพร่หลายในจีนโดยเฉพาะปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กพิการท่ามกลางสภาพสังคมจีนที่เต็มไปด้วยการแข่งขันสูง ซึ่งนั้นยังเป็นแรงผลักที่ทำให้พ่อแม่เด็กตัดสินใจทอดทิ้งลูกพิการของตนเองเอาไว้ ตามสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า ที่ได้รับเงินงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลเพียงน้อยนิดอีกด้วย อย่างไรก็ตาม รายงานสถานการณ์ด้านการศึกษาของเด็กพิการชาวจีน ของกลุ่มฮิวแมนไรท์วอทช์ที่มีการเปิดเผยไม่กี่วันก่อนหน้า อาจไม่ต้องตรงกับรายงานของกระทรวงศึกษาธิการของจีนที่เผยแพร่ตามหลังออกมาซึ่งอ้างว่า มีเด็กพิการในประเทศจีนราว 28 เปอร์เซ็นต์ ที่ไม่ได้รับการศึกษาภาคบังคับเป็นเวลา 9 ปีตามที่กำหนด แต่จำนวนเด็กที่มีโอกาสเรียนหนังสือในปัจจุบัน มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 72 เปอร์เซ็นต์ หรือเพิ่มขึ้นจากในปี 2551 ถึงเกือบ 10 เปอร์เซ็นต์ และเด็กพิการที่ได้เรียนในโรงเรียนประจำที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อมสรรพสำหรับผู้พิการ มีจำนวนเพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้ หน่วยงานภาครัฐทั้งในส่วนท้องถิ่น และจากส่วนกลางก็ยังได้อัดฉีดงบประมาณสนับสนุนทางด้านการศึกษาให้แก่สถาบันการศึกษาเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย งานนี้ ไม่รู้ว่าข้อมูลของฝ่ายไหนจะเชื่อถือได้มากกว่า แต่ที่รู้แน่ๆ คือปัญหาที่สั่งสมอยู่ หากไม่ได้รับการตระหนักรับรู้และแก้ไข ผู้ที่จะได้รับผลพวงจากปัญหานั้นไปเต็มๆ คงหนีไม่พ้นตัว “เด็ก” ผู้เป็นอนาคตของชาติเอง ขอบคุณ...มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 ก.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)