เผยยอดน.ศ.พิเศษปี’56เพิ่ม มทร.กรุงเทพเน้นสอนร่วมปกติ
นายสาธิต พุทธชัยยงค์ อธิบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.) กรุงเทพ เปิดเผยว่า การรับนักศึกษาใหม่เพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีประจำปีการศึกษา 2556 มหาวิทยาลัยได้เปิดรับนักศึกษากลุ่มพิเศษ ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเข้ามาเรียนร่วมกับนักศึกษาปกติจำนวน 13 คน ส่วนใหญ่เรียนในคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ซึ่งมหาวิทยาลัยมีนโยบายเปิดโอกาสให้นักศึกษากลุ่มพิเศษ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความพิการทางเสียงและการรับฟัง เข้ามาศึกษาร่วมกับเด็กปกติของมหาวิทยาลัยมาแล้วหลายปี แต่ที่ผ่านๆมาจะมีนักศึกษากลุ่มนี้เข้าเรียนปีละ 1-2 คนเท่านั้น และในปีที่แล้วมีนักศึกษากลุ่มพิเศษสอบผ่านเข้ามาเรียนได้ 6 คน ทั้งนี้ ตั้งแต่ปีเปิดรับนักศึกษากลุ่มนี้เข้าเรียนทางมหาวิทยาลัยได้ส่งอาจารย์ที่เกี่ยวข้องไปเรียนภาษามือ เพื่อให้สามารถสื่อสารและถ่ายทอดทักษะความรู้ให้กับนักศึกษาพิเศษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“ในการดูแลนักศึกษากลุ่มพิเศษนั้นจะปฏิบัติเช่นเดียวกับนักศึกษาปกติทั่วไป ทั้งเรื่องการเรียนการสอนที่ต้องเรียนห้องเดียวกัน ใช้ประโยชน์จากสาธารณูปโภคของมหาวิทยาลัยเหมือนๆกัน และนักศึกษาพิเศษยังต้องเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ทั้งในและนอกสถานที่ ตามที่กำหนดเช่นเดียวกับนักศึกษาปกติ เพราะไม่ต้องการให้เกิดการแบ่งแยกระหว่างนักศึกษา และที่สำคัญไม่ต้องการให้นักศึกษาพิเศษรู้สึกว่าตนเองแตกต่างจากคนปกติทั่วไปเพื่อเป็นการปูทางไปสู่การใช้ชีวิตในสังคมเมื่อนักศึกษากลุ่มนี้เติบโตและก้าวเข้าสู่ชีวิตการทำงาน” อธิการบดีมทร.กล่าว
ขอบคุณ...มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 31 ก.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นายสาธิต พุทธชัยยงค์ อธิบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.) กรุงเทพ เปิดเผยว่า การรับนักศึกษาใหม่เพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีประจำปีการศึกษา 2556 มหาวิทยาลัยได้เปิดรับนักศึกษากลุ่มพิเศษ ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเข้ามาเรียนร่วมกับนักศึกษาปกติจำนวน 13 คน ส่วนใหญ่เรียนในคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ซึ่งมหาวิทยาลัยมีนโยบายเปิดโอกาสให้นักศึกษากลุ่มพิเศษ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความพิการทางเสียงและการรับฟัง เข้ามาศึกษาร่วมกับเด็กปกติของมหาวิทยาลัยมาแล้วหลายปี แต่ที่ผ่านๆมาจะมีนักศึกษากลุ่มนี้เข้าเรียนปีละ 1-2 คนเท่านั้น และในปีที่แล้วมีนักศึกษากลุ่มพิเศษสอบผ่านเข้ามาเรียนได้ 6 คน ทั้งนี้ ตั้งแต่ปีเปิดรับนักศึกษากลุ่มนี้เข้าเรียนทางมหาวิทยาลัยได้ส่งอาจารย์ที่เกี่ยวข้องไปเรียนภาษามือ เพื่อให้สามารถสื่อสารและถ่ายทอดทักษะความรู้ให้กับนักศึกษาพิเศษได้อย่างมีประสิทธิภาพ “ในการดูแลนักศึกษากลุ่มพิเศษนั้นจะปฏิบัติเช่นเดียวกับนักศึกษาปกติทั่วไป ทั้งเรื่องการเรียนการสอนที่ต้องเรียนห้องเดียวกัน ใช้ประโยชน์จากสาธารณูปโภคของมหาวิทยาลัยเหมือนๆกัน และนักศึกษาพิเศษยังต้องเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ทั้งในและนอกสถานที่ ตามที่กำหนดเช่นเดียวกับนักศึกษาปกติ เพราะไม่ต้องการให้เกิดการแบ่งแยกระหว่างนักศึกษา และที่สำคัญไม่ต้องการให้นักศึกษาพิเศษรู้สึกว่าตนเองแตกต่างจากคนปกติทั่วไปเพื่อเป็นการปูทางไปสู่การใช้ชีวิตในสังคมเมื่อนักศึกษากลุ่มนี้เติบโตและก้าวเข้าสู่ชีวิตการทำงาน” อธิการบดีมทร.กล่าว ขอบคุณ...มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 31 ก.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)