ศธ.ขบ 3 โจทย์ ยกการศึกษาคนพิการ
ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยผลการประชุมกำหนดนโยบายการจัดการศึกษาพิเศษ ซึ่งมีนายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธานเมื่อเร็ว ๆ นี้ ว่า รมว.ศธ.ได้เรียก 5 องค์กรหลักมาหารือเพื่อกำหนดรายละเอียดการจัดการศึกษาพิเศษ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับคนพิการ โดยนาย จาตุรนต์ ได้มอบการบ้านให้ทุกองค์กรหลักไปหาแนวทางดำเนินการใน 3 ประเด็น คือ 1. ทำอย่างไรจึงจะผลิตครูสายการศึกษาพิเศษให้มีประสิทธิ ภาพ มีมาตรฐาน และเพียงพอต่อความต้องการที่แท้จริง 2. ทำอย่างไรถึงจะให้ผู้พิการมีอาชีพที่มั่นคง ไม่ว่าจะเป็นอาชีพอิสระ หรือการทำงานในสถานประกอบการเพื่อให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้ ทั้งนี้รวมถึงผู้พิการที่ไม่ได้อยู่ในวัยเรียน ก็ควรได้รับการส่งเสริมให้ประกอบอาชีพด้วย และ 3. ทำอย่างไรให้ผู้พิการในวัยเรียนที่มีอยู่เกือบ 1 ล้านคนทั่วประเทศได้มีโอกาสเรียนมากขึ้น ซึ่งขณะนี้มีเด็กพิการเข้ารับการศึกษาในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้น ประมาณ 340,000 คนเท่านั้น โดยมอบให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นแกนหลัก ในการจัดประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้าเรื่องดังกล่าว ในวันที่ 19 ส.ค.นี้
เลขาธิการ กอศ.กล่าวต่อไปว่า เบื้องต้นตนได้เสนอต่อที่ประชุมว่า หากผู้พิการต้องการทำงานในสถานประกอบการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จะประสานกับสถานประกอบการรายใหญ่ที่มีพนักงานเกิน 100 คน เพื่อขอให้สถานประกอบการรับผู้พิการเข้าทำงาน และเรื่องนี้ก็เป็นความต้องการของสถานประกอบการอยู่แล้ว เพราะกฎหมายแรงงานกำหนดไว้ว่าสถานประกอบการที่มีพนักงานตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ต้องรับพนักงานที่เป็นผู้พิการเข้าทำงานในอัตราส่วน 100 : 1 หากไม่มีต้องส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นรายปี โดยคำนวณจากอัตราต่ำสุดของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ คูณด้วย 365 และคูณด้วยจำนวนคนพิการที่ไม่ได้รับเข้าทำงานทั้งประเทศในปัจจุบัน ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่สูงมาก ส่วนผู้พิการที่ต้องการเป็นเจ้าของกิจการเอง สอศ. จะส่งเสริมให้เป็นผู้ประกอบการรายย่อย.
ขอบคุณ... http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=33589&Key=hotnews (ขนาดไฟล์: 138)
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ส.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยผลการประชุมกำหนดนโยบายการจัดการศึกษาพิเศษ ซึ่งมีนายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธานเมื่อเร็ว ๆ นี้ ว่า รมว.ศธ.ได้เรียก 5 องค์กรหลักมาหารือเพื่อกำหนดรายละเอียดการจัดการศึกษาพิเศษ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับคนพิการ โดยนาย จาตุรนต์ ได้มอบการบ้านให้ทุกองค์กรหลักไปหาแนวทางดำเนินการใน 3 ประเด็น คือ 1. ทำอย่างไรจึงจะผลิตครูสายการศึกษาพิเศษให้มีประสิทธิ ภาพ มีมาตรฐาน และเพียงพอต่อความต้องการที่แท้จริง 2. ทำอย่างไรถึงจะให้ผู้พิการมีอาชีพที่มั่นคง ไม่ว่าจะเป็นอาชีพอิสระ หรือการทำงานในสถานประกอบการเพื่อให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้ ทั้งนี้รวมถึงผู้พิการที่ไม่ได้อยู่ในวัยเรียน ก็ควรได้รับการส่งเสริมให้ประกอบอาชีพด้วย และ 3. ทำอย่างไรให้ผู้พิการในวัยเรียนที่มีอยู่เกือบ 1 ล้านคนทั่วประเทศได้มีโอกาสเรียนมากขึ้น ซึ่งขณะนี้มีเด็กพิการเข้ารับการศึกษาในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้น ประมาณ 340,000 คนเท่านั้น โดยมอบให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นแกนหลัก ในการจัดประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้าเรื่องดังกล่าว ในวันที่ 19 ส.ค.นี้ เลขาธิการ กอศ.กล่าวต่อไปว่า เบื้องต้นตนได้เสนอต่อที่ประชุมว่า หากผู้พิการต้องการทำงานในสถานประกอบการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จะประสานกับสถานประกอบการรายใหญ่ที่มีพนักงานเกิน 100 คน เพื่อขอให้สถานประกอบการรับผู้พิการเข้าทำงาน และเรื่องนี้ก็เป็นความต้องการของสถานประกอบการอยู่แล้ว เพราะกฎหมายแรงงานกำหนดไว้ว่าสถานประกอบการที่มีพนักงานตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ต้องรับพนักงานที่เป็นผู้พิการเข้าทำงานในอัตราส่วน 100 : 1 หากไม่มีต้องส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นรายปี โดยคำนวณจากอัตราต่ำสุดของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ คูณด้วย 365 และคูณด้วยจำนวนคนพิการที่ไม่ได้รับเข้าทำงานทั้งประเทศในปัจจุบัน ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่สูงมาก ส่วนผู้พิการที่ต้องการเป็นเจ้าของกิจการเอง สอศ. จะส่งเสริมให้เป็นผู้ประกอบการรายย่อย. ขอบคุณ... http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=33589&Key=hotnews เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ส.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)