ตั้งเป้าดึง"ผู้พิการ" "เข้ารร."1ล้านคน
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยภายหลังประชุมหารือกำหนดนโยบายการจัดการศึกษาพิเศษ ที่มีนายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธานเมื่อเร็วๆ นี้ว่า รมว.ศธ.ได้เรียกองค์กรหลักทั้ง 5 แท่ง มาหารือเพื่อกำหนดรายละเอียดการจัดการศึกษาพิเศษให้เกิดประโยชน์สูงสุด และมอบการบ้านให้ทุกองค์กรหลักกลับไปหาแนวทางคือ 1.ทำอย่างไรถึงจะผลิตครูสายการศึกษาพิเศษให้มีประสิทธิภาพ มีมาตรฐาน และเพียงพอต่อความต้องการที่แท้จริง 2.ทำอย่างไรถึงจะให้ผู้พิการมีอาชีพที่มั่นคง ไม่ว่าจะเป็นอาชีพอิสระ หรือการทำงานในสถานประกอบการ เพื่อให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้ และ 3.ทำอย่างไรให้ผู้พิการวัยเรียนทั่วประเทศที่มีอยู่เกือบ 1 ล้านคน แต่เข้ารับการศึกษาแค่ 340,000 คน โดยเรียนอยู่ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น ได้มีโอกาสได้เรียนมากขึ้น และ 4.ทำอย่างไรให้ผู้พิการที่ไม่ได้อยู่ในวัยเรียนได้รับการส่งเสริมให้ประกอบ อาชีพได้
เบื้องต้นในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้เสนอในที่ประชุมว่าจะประสานกับสถานประกอบการรายใหญ่ที่มีพนักงานเกิน 100 คน เพื่อส่งเสริมให้รับผู้พิการเข้าไปทำงาน ซึ่งประเด็นนี้ไม่ใช่การบีบสถานประกอบการ เนื่องจาก กม.แรงงานกำหนดให้สถานประกอบการที่มีคนงานตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ต้องมีสัดส่วนพนักงานที่เป็นผู้พิการ 100:1 หากไม่มีต้องส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นรายปี ส่วนผู้พิการที่ต้องการเป็นเจ้าของกิจการเอง สอศ.จะส่งเสริมให้เป็นผู้ประกอบการรายย่อย (SME) ซึ่งรายละเอียดต่างๆ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในฐานะที่เป็นแกนหลัก จะจัดประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้าอีกครั้งในวันที่ 19 ส.ค.นี้.
ขอบคุณ… http://www.thaipost.net/news/050813/77365 (ขนาดไฟล์: 167)
ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ส.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยภายหลังประชุมหารือกำหนดนโยบายการจัดการศึกษาพิเศษ ที่มีนายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธานเมื่อเร็วๆ นี้ว่า รมว.ศธ.ได้เรียกองค์กรหลักทั้ง 5 แท่ง มาหารือเพื่อกำหนดรายละเอียดการจัดการศึกษาพิเศษให้เกิดประโยชน์สูงสุด และมอบการบ้านให้ทุกองค์กรหลักกลับไปหาแนวทางคือ 1.ทำอย่างไรถึงจะผลิตครูสายการศึกษาพิเศษให้มีประสิทธิภาพ มีมาตรฐาน และเพียงพอต่อความต้องการที่แท้จริง 2.ทำอย่างไรถึงจะให้ผู้พิการมีอาชีพที่มั่นคง ไม่ว่าจะเป็นอาชีพอิสระ หรือการทำงานในสถานประกอบการ เพื่อให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้ และ 3.ทำอย่างไรให้ผู้พิการวัยเรียนทั่วประเทศที่มีอยู่เกือบ 1 ล้านคน แต่เข้ารับการศึกษาแค่ 340,000 คน โดยเรียนอยู่ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น ได้มีโอกาสได้เรียนมากขึ้น และ 4.ทำอย่างไรให้ผู้พิการที่ไม่ได้อยู่ในวัยเรียนได้รับการส่งเสริมให้ประกอบ อาชีพได้ เบื้องต้นในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้เสนอในที่ประชุมว่าจะประสานกับสถานประกอบการรายใหญ่ที่มีพนักงานเกิน 100 คน เพื่อส่งเสริมให้รับผู้พิการเข้าไปทำงาน ซึ่งประเด็นนี้ไม่ใช่การบีบสถานประกอบการ เนื่องจาก กม.แรงงานกำหนดให้สถานประกอบการที่มีคนงานตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ต้องมีสัดส่วนพนักงานที่เป็นผู้พิการ 100:1 หากไม่มีต้องส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นรายปี ส่วนผู้พิการที่ต้องการเป็นเจ้าของกิจการเอง สอศ.จะส่งเสริมให้เป็นผู้ประกอบการรายย่อย (SME) ซึ่งรายละเอียดต่างๆ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในฐานะที่เป็นแกนหลัก จะจัดประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้าอีกครั้งในวันที่ 19 ส.ค.นี้. ขอบคุณ… http://www.thaipost.net/news/050813/77365 ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ส.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)