เผยเด็กไทยเข้ามหา'ลัยแค่ 30%

แสดงความคิดเห็น

เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดี มศว กล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ "มศว.กับการขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อสังคม" ในงานโครงการบริหารวิชาการธุรกิจเพื่อสังคมว่า จากสถิติตัวเลขประชากรศาสตร์ พบว่าปัจจุบันมีเด็กเกิดโดยเฉลี่ย 7 แสนคนต่อปี และกฎหมายบังคับให้เรียนหนังสือทุกคน แต่ในความเป็นจริงกลับมีเด็กเข้าสู่ระบบการศึกษาเพียง 98% จบ ป.6 และ ม.3 ประมาณ 96% แม้จะเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างมาก แต่ไม่ได้พูดถึงคุณภาพเมื่อเด็กจบไปแล้วสามารถอ่านออกเขียนได้คล่องหรือไม่และเด็กมีทัศนคติมีความรู้และมีความสุขในการดำเนินชีวิตหรือไม่

นพ.เฉลิมชัยกล่าวว่า ส่วนระดับอุดมศึกษา พบว่ามีเด็กเข้าสู่มหาวิทยาลัยน้อยลง มีเพียง 30% หรือประมาณ 2 แสนคน จากประชากรเด็ก 7 แสนคน และในจำนวน 2 แสนคน เรียนจบบ้าง ไม่จบบ้าง หรือจบแบบไม่รู้ว่าจะไปใช้ชีวิตอย่างไร ไม่มีทักษะความรู้ ความสามารถ ทั้งที่งบประมาณส่วนหนึ่งที่ใช้ในการเรียนมาจากภาษีประชาชน ดังนั้น มองว่าอุดมศึกษาควรเข้าไปช่วยให้บัณฑิตไทยรู้จักพึ่งพาตัวเอง ทำประโยชน์เพื่อสังคมมากขึ้น

นายมีชัย วีระไวทยะ นายกสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน กล่าวว่า บัณฑิตที่จบมีเพียง 30% ที่มีงานทำ ส่วน 70% ระบุไม่ได้ว่ามีงานทำหรือไม่ ดังนั้น อยากให้ผู้บริหารทางการศึกษาของไทยตื่นตัวเรื่องนี้มากขึ้น และส่งเสริมให้นักศึกษาช่วยเหลือตนเองได้ ไม่เช่นนั้นนักศึกษาไทยจะลำบาก เมื่อคนในประเทศลำบากการพัฒนาประเทศจะลำบากไปด้วย

"ฉะนั้น ถึงเวลาแล้วที่ต้องเปลี่ยนระบบการศึกษาแบบท่องจำ มาเป็นให้เด็กคิดวิเคราะห์ และมีความคิดสร้างสรรค์ ริเริ่มค้นคว้าหาทางเลือกในการดำเนินชีวิตเองได้ ทั้งชีวิตส่วนตัว และชีวิตการงาน ขณะเดียวกันต้องสอนให้เด็กแก้ปัญหาอุปสรรคต่างๆ ได้ แนวทางหนึ่งคือให้นักศึกษาเรียนรู้การทำธุรกิจเพื่อสังคม เพื่อทำให้สังคมดีขึ้น ช่วยพัฒนาการศึกษา และขจัดความยากจน โดยเอากำไรมาช่วยคนที่รอคอยโอกาส ไม่ใช่ช่วยคนที่มีเงินแล้ว" นายมีชัยกล่าว : ข่าวมติชนรายวัน

ขอบคุณ... http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=33701&Key=hotnews (ขนาดไฟล์: 138)

กระทรวงศึกษาธิการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ส.ค.56

ที่มา: กระทรวงศึกษาธิการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 16/08/2556 เวลา 03:59:59

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดี มศว กล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ "มศว.กับการขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อสังคม" ในงานโครงการบริหารวิชาการธุรกิจเพื่อสังคมว่า จากสถิติตัวเลขประชากรศาสตร์ พบว่าปัจจุบันมีเด็กเกิดโดยเฉลี่ย 7 แสนคนต่อปี และกฎหมายบังคับให้เรียนหนังสือทุกคน แต่ในความเป็นจริงกลับมีเด็กเข้าสู่ระบบการศึกษาเพียง 98% จบ ป.6 และ ม.3 ประมาณ 96% แม้จะเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างมาก แต่ไม่ได้พูดถึงคุณภาพเมื่อเด็กจบไปแล้วสามารถอ่านออกเขียนได้คล่องหรือไม่และเด็กมีทัศนคติมีความรู้และมีความสุขในการดำเนินชีวิตหรือไม่ นพ.เฉลิมชัยกล่าวว่า ส่วนระดับอุดมศึกษา พบว่ามีเด็กเข้าสู่มหาวิทยาลัยน้อยลง มีเพียง 30% หรือประมาณ 2 แสนคน จากประชากรเด็ก 7 แสนคน และในจำนวน 2 แสนคน เรียนจบบ้าง ไม่จบบ้าง หรือจบแบบไม่รู้ว่าจะไปใช้ชีวิตอย่างไร ไม่มีทักษะความรู้ ความสามารถ ทั้งที่งบประมาณส่วนหนึ่งที่ใช้ในการเรียนมาจากภาษีประชาชน ดังนั้น มองว่าอุดมศึกษาควรเข้าไปช่วยให้บัณฑิตไทยรู้จักพึ่งพาตัวเอง ทำประโยชน์เพื่อสังคมมากขึ้น นายมีชัย วีระไวทยะ นายกสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน กล่าวว่า บัณฑิตที่จบมีเพียง 30% ที่มีงานทำ ส่วน 70% ระบุไม่ได้ว่ามีงานทำหรือไม่ ดังนั้น อยากให้ผู้บริหารทางการศึกษาของไทยตื่นตัวเรื่องนี้มากขึ้น และส่งเสริมให้นักศึกษาช่วยเหลือตนเองได้ ไม่เช่นนั้นนักศึกษาไทยจะลำบาก เมื่อคนในประเทศลำบากการพัฒนาประเทศจะลำบากไปด้วย "ฉะนั้น ถึงเวลาแล้วที่ต้องเปลี่ยนระบบการศึกษาแบบท่องจำ มาเป็นให้เด็กคิดวิเคราะห์ และมีความคิดสร้างสรรค์ ริเริ่มค้นคว้าหาทางเลือกในการดำเนินชีวิตเองได้ ทั้งชีวิตส่วนตัว และชีวิตการงาน ขณะเดียวกันต้องสอนให้เด็กแก้ปัญหาอุปสรรคต่างๆ ได้ แนวทางหนึ่งคือให้นักศึกษาเรียนรู้การทำธุรกิจเพื่อสังคม เพื่อทำให้สังคมดีขึ้น ช่วยพัฒนาการศึกษา และขจัดความยากจน โดยเอากำไรมาช่วยคนที่รอคอยโอกาส ไม่ใช่ช่วยคนที่มีเงินแล้ว" นายมีชัยกล่าว : ข่าวมติชนรายวัน ขอบคุณ... http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=33701&Key=hotnews กระทรวงศึกษาธิการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...