สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ สนับสนุนกระทรวงศึกษาธิการ ส่งเสริมการอ่านการเรียนรู้ พร้อมส่งมอบแอพพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาไทย
สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (สอร.) หรือ TK park เดินหน้าภารกิจหลักส่งเสริมการอ่านการเรียนรู้ พร้อมสนับสนุนกระทรวงศึกษาธิการ ปฎิรูปการเรียนรู้ใหม่ 3 ด้านได้แก่ การพัฒนาแอพพลิเคชั่นตามหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อบรรจุลงในแท็บเล็ตของโครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย (OTPC) จำนวน 20 รายการ การส่งเสริมการอ่านการเรียนรู้ให้กับเด็กนักเรียนไทยระดับชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5 ทั่วประเทศ ในโครงการ “Read Thailand : อ่านเถิด...เด็กไทย อ่านถวายเจ้าฟ้านักอ่าน” และการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตหลากหลายรูปแบบ
ดร.สิริกร มณีรินทร์ ประธานอนุกรรมการบริหารสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ และกรรมการบริหาร สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ กล่าวว่า สอร.มีภารกิจสำคัญ คือการส่งเสริมการอ่านการเรียนรู้ให้กับเด็ก เยาวชนและประชาชนทั่วประเทศ นอกจากนี้ สอร. ยังมีบทบาทสำคัญในฐานะ Innovator and Content Provider ซึ่งมีการพัฒนาองค์ความรู้และสื่อการเรียนรู้ใหม่ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสังคม โดยเฉพาะสื่ออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบต่างๆ อาทิ E-book Audio book และ Application เป็นต้น
“การพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับบรรจุลงในแท็บเล็ตของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเป็นสื่อการอ่านการเรียนรู้ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 นี้ สอร. ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ต้นปี 2556 ซึ่งคัดสรรมาจากสื่อการเรียนรู้หลากหลาย ที่สอร.จัดทำขึ้น ผ่านการวิเคราะห์ความสอดคล้องของเนื้อหาสื่อการเรียนรู้ โดยคณะทำงานวิชาการของสอร.ร่วมกับ ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า รองเลขาธิการ สพฐ. และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาก่อนนำมาดัดแปลงให้เป็นแอพพลิเคชั่นจำนวนทั้งสิ้น20รายการ”
สำหรับแอพพลิเคชั่นที่ส่งมอบในวันนี้ มี 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่หนึ่ง แอพพลิเคชั่นหนังสือเสียง เป็นนิทานภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงอ่านแบบคาราโอเกะ เกมฝึกทักษะและคำถามท้ายบททบทวนความจำ มีจำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ 1.ดอกสร้อยสุภาษิต บทอาขยานสอนอ่านของไทยสมัยก่อน ที่เชื่อมโยงความงดงามของภาษาและคุณค่าความเป็นไทยสู่เด็กยุคปัจจุบัน 2.กระต่ายสามพี่น้อง จากชุดสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของ สพฐ. มีเนื้อหาเน้นปลูกฝังคุณธรรมความสามัคคีและความขยันขันแข็ง
และประเภทที่สองคือ แอพพลิเคชั่นเครื่องดนตรีไทย 2 ภาษา (ไทย-อังกฤษ) ให้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องดนตรีไทย สามารถกดฟังเสียงเพลงบรรเลงและเสียงโน้ต เครื่องดนตรีบางชนิดสามารถกดเล่นฟังเสียงแบบโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้ สร้างสรรค์เนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านดนตรีไทย จำนวน 18 รายการ ได้แก่ จะเข้ ซอด้วง ซออู้ กลองสะบัดชัย ขิมเจ็ดหย่อง ขิมเหล็ก ขิมหลอด ฉิ่ง ฉาบ อังกะลุง เป็นต้น
นอกจากนี้ ดร.สิริกร ยังกล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า “สอร. มี Content อยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น แผนในปี 2557 เราจะเดินหน้าพัฒนาแอพพลิเคชั่นสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบสาระท้องถิ่น 2 -3 ภาษา และร่วมกับ NECTEC พัฒนารูปแบบการใช้งานสำหรับผู้พิการทางสายตาและผู้บกพร่องทางการเรียนรู้ด้วย โปรแกรม e-Pub3ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเด็กและเยาวชนในระบบโรงเรียนทั่วประเทศ”
ส่วนโครงการ “Read Thailand : อ่านเถิด...เด็กไทย อ่านถวายเจ้าฟ้านักอ่าน” ซึ่งเป็นภารกิจด้านส่งเสริมการอ่านการเรียนรู้ ขณะนี้มีโรงเรียนทั่วประเทศกว่า 3,600 แห่ง เริ่มอ่านหนังสืออย่างจริงจัง และเก็บแบบบันทึกรักการอ่านไว้เพื่อรอผลการตัดสินผู้ชนะในระดับประเทศต่อไป เช่นเดียวกับการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตในหลากหลายรูปแบบ ทั้งการอบรมและจัดประกวดห้องสมุดมีชีวิตและการพัฒนาห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (TK Public Online Library) เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงการอ่านการเรียนรู้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
ขอบคุณ... http://www.positioningmag.com/prnews/prnews.aspx?id=96949
positioningmag.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ก.ย.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ สนับสนุนกระทรวงศึกษาธิการ ส่งเสริมการอ่านการเรียนรู้ พร้อมส่งมอบแอพพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาไทย สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (สอร.) หรือ TK park เดินหน้าภารกิจหลักส่งเสริมการอ่านการเรียนรู้ พร้อมสนับสนุนกระทรวงศึกษาธิการ ปฎิรูปการเรียนรู้ใหม่ 3 ด้านได้แก่ การพัฒนาแอพพลิเคชั่นตามหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อบรรจุลงในแท็บเล็ตของโครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย (OTPC) จำนวน 20 รายการ การส่งเสริมการอ่านการเรียนรู้ให้กับเด็กนักเรียนไทยระดับชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5 ทั่วประเทศ ในโครงการ “Read Thailand : อ่านเถิด...เด็กไทย อ่านถวายเจ้าฟ้านักอ่าน” และการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตหลากหลายรูปแบบ ดร.สิริกร มณีรินทร์ ประธานอนุกรรมการบริหารสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ และกรรมการบริหาร สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ กล่าวว่า สอร.มีภารกิจสำคัญ คือการส่งเสริมการอ่านการเรียนรู้ให้กับเด็ก เยาวชนและประชาชนทั่วประเทศ นอกจากนี้ สอร. ยังมีบทบาทสำคัญในฐานะ Innovator and Content Provider ซึ่งมีการพัฒนาองค์ความรู้และสื่อการเรียนรู้ใหม่ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสังคม โดยเฉพาะสื่ออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบต่างๆ อาทิ E-book Audio book และ Application เป็นต้น “การพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับบรรจุลงในแท็บเล็ตของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเป็นสื่อการอ่านการเรียนรู้ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 นี้ สอร. ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ต้นปี 2556 ซึ่งคัดสรรมาจากสื่อการเรียนรู้หลากหลาย ที่สอร.จัดทำขึ้น ผ่านการวิเคราะห์ความสอดคล้องของเนื้อหาสื่อการเรียนรู้ โดยคณะทำงานวิชาการของสอร.ร่วมกับ ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า รองเลขาธิการ สพฐ. และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาก่อนนำมาดัดแปลงให้เป็นแอพพลิเคชั่นจำนวนทั้งสิ้น20รายการ” สำหรับแอพพลิเคชั่นที่ส่งมอบในวันนี้ มี 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่หนึ่ง แอพพลิเคชั่นหนังสือเสียง เป็นนิทานภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงอ่านแบบคาราโอเกะ เกมฝึกทักษะและคำถามท้ายบททบทวนความจำ มีจำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ 1.ดอกสร้อยสุภาษิต บทอาขยานสอนอ่านของไทยสมัยก่อน ที่เชื่อมโยงความงดงามของภาษาและคุณค่าความเป็นไทยสู่เด็กยุคปัจจุบัน 2.กระต่ายสามพี่น้อง จากชุดสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของ สพฐ. มีเนื้อหาเน้นปลูกฝังคุณธรรมความสามัคคีและความขยันขันแข็ง และประเภทที่สองคือ แอพพลิเคชั่นเครื่องดนตรีไทย 2 ภาษา (ไทย-อังกฤษ) ให้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องดนตรีไทย สามารถกดฟังเสียงเพลงบรรเลงและเสียงโน้ต เครื่องดนตรีบางชนิดสามารถกดเล่นฟังเสียงแบบโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้ สร้างสรรค์เนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านดนตรีไทย จำนวน 18 รายการ ได้แก่ จะเข้ ซอด้วง ซออู้ กลองสะบัดชัย ขิมเจ็ดหย่อง ขิมเหล็ก ขิมหลอด ฉิ่ง ฉาบ อังกะลุง เป็นต้น นอกจากนี้ ดร.สิริกร ยังกล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า “สอร. มี Content อยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น แผนในปี 2557 เราจะเดินหน้าพัฒนาแอพพลิเคชั่นสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบสาระท้องถิ่น 2 -3 ภาษา และร่วมกับ NECTEC พัฒนารูปแบบการใช้งานสำหรับผู้พิการทางสายตาและผู้บกพร่องทางการเรียนรู้ด้วย โปรแกรม e-Pub3ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเด็กและเยาวชนในระบบโรงเรียนทั่วประเทศ” ส่วนโครงการ “Read Thailand : อ่านเถิด...เด็กไทย อ่านถวายเจ้าฟ้านักอ่าน” ซึ่งเป็นภารกิจด้านส่งเสริมการอ่านการเรียนรู้ ขณะนี้มีโรงเรียนทั่วประเทศกว่า 3,600 แห่ง เริ่มอ่านหนังสืออย่างจริงจัง และเก็บแบบบันทึกรักการอ่านไว้เพื่อรอผลการตัดสินผู้ชนะในระดับประเทศต่อไป เช่นเดียวกับการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตในหลากหลายรูปแบบ ทั้งการอบรมและจัดประกวดห้องสมุดมีชีวิตและการพัฒนาห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (TK Public Online Library) เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงการอ่านการเรียนรู้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ขอบคุณ... http://www.positioningmag.com/prnews/prnews.aspx?id=96949 positioningmag.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ก.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)