การศึกษา....พาคนพิการไปทางไหน?
ท่ามกลางความงุนงง และความวิตกกังวลต่อประสิทธิผลจากการศึกษาของเยาวชนไทยที่รายงานต่างๆ ล้วนบ่งชี้ว่า มาตรฐานการศึกษาของเยาวชนไทยต่ำกว่าประเทศอื่นๆ กระทรวงศึกษาธิการได้เตรียมการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
อาจารย์สุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ เลขาธิการมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ อดีตครูใหญ่โรงเรียนอาชีวพระมหาไถ่ ผู้คร่ำหวอดในงานด้านคนพิการได้ให้ข้อสังเกตต่อ...เป้าหมายปลายทางของการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการอย่างน่าสนใจ ดังนี้
• การศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตอิสระ - ก็ขายไม่ออก พูดกับชาวบ้านไม่ค่อยมีใครรู้เรื่อง ต้องอธิบายยาวๆ อธิบายเก่งๆ ถึงพอจะเข้าใจการศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตแบบพึ่งพาตนเอง - ก็ดูหยิ่งๆ
• การศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตโดยไม่เป็นภาระ – ก็ดูเป็นเชิงลบนิดหน่อย
• การศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตแบบพึ่งพาผู้อื่นน้อยที่สุด – ก็ยากไปนิด
• การศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข – ก็อาจจะเห็นแก่ตัวไปหน่อยที่สุขอยู่คนเดียว
• การศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขร่วมกัน - อืมม... เข้าท่านะครับ
• การศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน - น่าสนใจที่สุด โดยการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน หมายรวมถึง การประกอบสัมมาชีพ ไม่สร้างมลพิษ/ปัญหาต่อสังคม - พึ่งพาตนเองมากที่สุด และร่วมสร้างสรรค์สังคมดีงาม ฯลฯ
• การศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตอย่างสร้างสรรค์สังคม - ไปไกลหน่อย แต่ทำให้เห็นว่าคนพิการเป็นผู้สร้างสรรค์สังคมได้
• การศึกษาสู่อาชีพและสังคม... ใกล้เข้ามาหน่อย แต่อาจจะเข้าใจยากนิดหน่อย ความหมายคือ การมีอาชีพและใช้ชีวิตในสังคมได้ตามบริบทหรือขนบธรรมเนียม ประเพณีของสังคมนั้นๆ แต่ชัดเจนในแง่ที่ว่าเราดำรงชีวิตนั้นนอกจากมีอาชีพแล้วสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงคือ “สังคม” หรือการเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใด
• การศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีสุขภาวะ - เห่อจริง แต่ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจสักเท่าไหร่
• การศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขตามอัตภาพ - เชยหน่อยแต่ ไม่หยิ่ง ไม่เห็นแก่ตัว นอบน้อมดี
• การศึกษาสู่อาชีพและการร่วมสร้างสังคมที่ทุกคนอยู่เย็นเป็นสุขเท่าเทียมกัน - ชัดดี แต่ยาวจัง
จะอย่างไรก็ตามการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการควรคำนึงถึงคนพิการทุกกลุ่มอายุและทุกประเภทความพิการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนพิการในชนบทที่ขาดโอกาสทางการศึกษามาอย่างยาวนาน
ท่านผู้อ่านล่ะคะ …คิดว่า การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ควรพาคนพิการไปทางไหน ??
ขอบคุณ...อาจารย์สุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ เลขาธิการมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 ก.ย.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
อาจารย์สุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ เลขาธิการมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ ท่ามกลางความงุนงง และความวิตกกังวลต่อประสิทธิผลจากการศึกษาของเยาวชนไทยที่รายงานต่างๆ ล้วนบ่งชี้ว่า มาตรฐานการศึกษาของเยาวชนไทยต่ำกว่าประเทศอื่นๆ กระทรวงศึกษาธิการได้เตรียมการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ อาจารย์สุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ เลขาธิการมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ อดีตครูใหญ่โรงเรียนอาชีวพระมหาไถ่ ผู้คร่ำหวอดในงานด้านคนพิการได้ให้ข้อสังเกตต่อ...เป้าหมายปลายทางของการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการอย่างน่าสนใจ ดังนี้ • การศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตอิสระ - ก็ขายไม่ออก พูดกับชาวบ้านไม่ค่อยมีใครรู้เรื่อง ต้องอธิบายยาวๆ อธิบายเก่งๆ ถึงพอจะเข้าใจการศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตแบบพึ่งพาตนเอง - ก็ดูหยิ่งๆ • การศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตโดยไม่เป็นภาระ – ก็ดูเป็นเชิงลบนิดหน่อย • การศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตแบบพึ่งพาผู้อื่นน้อยที่สุด – ก็ยากไปนิด • การศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข – ก็อาจจะเห็นแก่ตัวไปหน่อยที่สุขอยู่คนเดียว • การศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขร่วมกัน - อืมม... เข้าท่านะครับ • การศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน - น่าสนใจที่สุด โดยการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน หมายรวมถึง การประกอบสัมมาชีพ ไม่สร้างมลพิษ/ปัญหาต่อสังคม - พึ่งพาตนเองมากที่สุด และร่วมสร้างสรรค์สังคมดีงาม ฯลฯ • การศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตอย่างสร้างสรรค์สังคม - ไปไกลหน่อย แต่ทำให้เห็นว่าคนพิการเป็นผู้สร้างสรรค์สังคมได้ • การศึกษาสู่อาชีพและสังคม... ใกล้เข้ามาหน่อย แต่อาจจะเข้าใจยากนิดหน่อย ความหมายคือ การมีอาชีพและใช้ชีวิตในสังคมได้ตามบริบทหรือขนบธรรมเนียม ประเพณีของสังคมนั้นๆ แต่ชัดเจนในแง่ที่ว่าเราดำรงชีวิตนั้นนอกจากมีอาชีพแล้วสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงคือ “สังคม” หรือการเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใด • การศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีสุขภาวะ - เห่อจริง แต่ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจสักเท่าไหร่ • การศึกษาสู่อาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขตามอัตภาพ - เชยหน่อยแต่ ไม่หยิ่ง ไม่เห็นแก่ตัว นอบน้อมดี • การศึกษาสู่อาชีพและการร่วมสร้างสังคมที่ทุกคนอยู่เย็นเป็นสุขเท่าเทียมกัน - ชัดดี แต่ยาวจัง จะอย่างไรก็ตามการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการควรคำนึงถึงคนพิการทุกกลุ่มอายุและทุกประเภทความพิการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนพิการในชนบทที่ขาดโอกาสทางการศึกษามาอย่างยาวนาน ท่านผู้อ่านล่ะคะ …คิดว่า การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ควรพาคนพิการไปทางไหน ?? ขอบคุณ...อาจารย์สุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ เลขาธิการมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 ก.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)