ศธ.เล็งออกระเบียบตั้งศูนย์ดูแลเด็กพิการ พร้อมเร่งผลิต-อบรมครู
ศธ.เร่งพัฒนาการศึกษาคนพิการ วางแผนผลิตและอบรมครูดูแลเด็กพิการเรียนร่วมได้ ชี้ปัจจุบันเด็กพิการเรียนร่วมใน ร.ร.ปกติกว่า 1 หมื่นโรงเท่านั้น ขณะที่ข้อมูลในปี 55 พบว่ามีเด็กพิการในระดับการศึกษาเพิ่มขึ้นกว่า 3.4 แสนคน พร้อมเตรียมแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อออกระเบียบจัดตั้งศูนย์การเรียน การศึกษาเฉพาะความพิการโดยประสานพม.ขอใช้เงินกองทุนส่งเสริมสำหรับคนพิการมาดูแล
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เมื่อ เร็วๆนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาแนวทางการขับเคลื่อนแผนพัฒนาการศึกษาคนพิการ ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2555-2559) เพื่อเป็นกรอบทิศทางและเป้าหมายการศึกษาคนพิการ ซึ่งมีสาระสำคัญทั้งหมด 7 ข้อ ประกอบด้วย 1.การพัฒนาข้อมูลระบบสารสนเทศ 2.การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม 3.การจัดการเรียนรวม 4.การจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ 5.ครูและบุคลากรทางการศึกษา 6.ศูนย์การเรียนเฉพาะคนพิการ และ 7.กองทุนส่งเสริมพัฒนาการศึกษาคนพิการ โดยในส่วนของการจัดการเรียนรวมนั้นสถานศึกษาจะต้องรับนักเรียนพิการทุกคน เข้าเรียนด้วย
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทราบว่า ในทางปฏิบัติมีโรงเรียนประมาณ 10,000 โรงเท่านั้น ที่รับคนพิการเข้าไปเรียนรวม ซึ่งตามกฎหมายแล้วจะต้องให้โอกาสทางการศึกษาเพื่อคนทุกคน โดยเฉพาะ เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษา สถานศึกษาทุกแห่งต้องจัดการศึกษาที่ตอบสนองต่อความต้องการจำเป็นของเด็ก ทุกกลุ่ม โดยจัดให้มีระบบสนับสนุน ให้การช่วยเหลือบริการเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ จัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล โดยมีครูเป็นหลักในการจัดทำ มีแผนการสอนเฉพาะบุคคล และจัดให้มีครูการศึกษาพิเศษ รวมถึงการนำเทคโนโลยีทางการศึกษา และอุปกรณ์ที่ทันสมัยมาใช้สำหรับคนพิการเช่นเทคโนโลยีการอ่านอักษรเบรลของคนตาบอดด้วยระบบคอมพิวเตอร์เป็นต้น
“ขณะนี้มีนักเรียนพิการเรียนรวมกับนักเรียนปกติจำนวน 10,000 กว่าโรง ประมาณ 1 ใน 3 เท่านั้น จึงจำเป็นต้องเพิ่มบุคลากร และต้องพิจาณาเรื่องการผลิตครู การอบรมครู ที่จะช่วยดูแลคนพิการได้ ซึ่งจากข้อมูลในปี 50 นักเรียนพิการ 9 ประเภท ในทุกระบบและระดับการศึกษา มีจำนวน 228,807 คน และเพิ่มขึ้น โดยในปี 55 มีคนพิการ 342,787 คน เฉพาะสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีจำนวน 320,032 คน นอกนั้นจะกระจายอยู่ตามสังกัดต่างๆ ของ ศธ.ดังนั้น จะเร่งรัดขับเคลื่อนแผนพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ โดยเฉพาะการพัฒนาครูผู้สอนคนพิการเพราะบุคลากรในด้านนี้นั้นยังขาดแคลนอยู่มาก โดยเฉพาะหากทำระบบเรียนรวม คือคนพิการที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ แต่คนพิการที่สามารถเรียนร่วมกับนักเรียนได้เป็นเรื่องสากลที่ต้องให้เรียนในสถานศึกษาทั่วไปได้”นายจาตุรนต์กล่าว
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้รับทราบแนวทางการจัดตั้งศูนย์การเรียนการศึกษา เฉพาะความพิการ ซึ่งที่ผ่านมามีปัญหาว่า ไม่มีกฎระเบียบหรือกฎกระทรวงรองรับเรื่องนี้ ศูนย์ดังกล่าวจึงไปอาศัยอยู่กับสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) ตั้งอยู่ แต่ก็ยังไม่สามารถทำได้อย่างกว้างขวางและไม่มีการรับรองมาตรฐาน จึงไม่สามารถรับเงินอุดหนุนได้ตามกฎหมาย ดังนั้นที่ประชุมจึงพิจารณาให้ใช้กฎกระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้องตาม พ.ร.บ.การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551 เพื่อนำไปออกระเบียบการจัดตั้งศูนย์การเรียนการศึกษาเฉพาะความพิการ พร้อมการกำหนดมาตรฐานคนพิการต่อ ทั้งนี้ศูนย์ดังกล่าวจะเป็นศูนย์ที่จัดโดยองค์กรจัดการศึกษานอกระบบและตาม อัธยาศัย โดยจะประสานงานกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สนับสนุนงบประมาณ โดยใช้งบฯของกองทุนส่งเสริมสำหรับคนพิการมาดำเนินการ
ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000131399
ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ต.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
อ่านอักษรเบลล์ (www.kapook.com) ศธ.เร่งพัฒนาการศึกษาคนพิการ วางแผนผลิตและอบรมครูดูแลเด็กพิการเรียนร่วมได้ ชี้ปัจจุบันเด็กพิการเรียนร่วมใน ร.ร.ปกติกว่า 1 หมื่นโรงเท่านั้น ขณะที่ข้อมูลในปี 55 พบว่ามีเด็กพิการในระดับการศึกษาเพิ่มขึ้นกว่า 3.4 แสนคน พร้อมเตรียมแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อออกระเบียบจัดตั้งศูนย์การเรียน การศึกษาเฉพาะความพิการโดยประสานพม.ขอใช้เงินกองทุนส่งเสริมสำหรับคนพิการมาดูแล นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เมื่อ เร็วๆนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาแนวทางการขับเคลื่อนแผนพัฒนาการศึกษาคนพิการ ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2555-2559) เพื่อเป็นกรอบทิศทางและเป้าหมายการศึกษาคนพิการ ซึ่งมีสาระสำคัญทั้งหมด 7 ข้อ ประกอบด้วย 1.การพัฒนาข้อมูลระบบสารสนเทศ 2.การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม 3.การจัดการเรียนรวม 4.การจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ 5.ครูและบุคลากรทางการศึกษา 6.ศูนย์การเรียนเฉพาะคนพิการ และ 7.กองทุนส่งเสริมพัฒนาการศึกษาคนพิการ โดยในส่วนของการจัดการเรียนรวมนั้นสถานศึกษาจะต้องรับนักเรียนพิการทุกคน เข้าเรียนด้วย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทราบว่า ในทางปฏิบัติมีโรงเรียนประมาณ 10,000 โรงเท่านั้น ที่รับคนพิการเข้าไปเรียนรวม ซึ่งตามกฎหมายแล้วจะต้องให้โอกาสทางการศึกษาเพื่อคนทุกคน โดยเฉพาะ เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษา สถานศึกษาทุกแห่งต้องจัดการศึกษาที่ตอบสนองต่อความต้องการจำเป็นของเด็ก ทุกกลุ่ม โดยจัดให้มีระบบสนับสนุน ให้การช่วยเหลือบริการเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ จัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล โดยมีครูเป็นหลักในการจัดทำ มีแผนการสอนเฉพาะบุคคล และจัดให้มีครูการศึกษาพิเศษ รวมถึงการนำเทคโนโลยีทางการศึกษา และอุปกรณ์ที่ทันสมัยมาใช้สำหรับคนพิการเช่นเทคโนโลยีการอ่านอักษรเบรลของคนตาบอดด้วยระบบคอมพิวเตอร์เป็นต้น “ขณะนี้มีนักเรียนพิการเรียนรวมกับนักเรียนปกติจำนวน 10,000 กว่าโรง ประมาณ 1 ใน 3 เท่านั้น จึงจำเป็นต้องเพิ่มบุคลากร และต้องพิจาณาเรื่องการผลิตครู การอบรมครู ที่จะช่วยดูแลคนพิการได้ ซึ่งจากข้อมูลในปี 50 นักเรียนพิการ 9 ประเภท ในทุกระบบและระดับการศึกษา มีจำนวน 228,807 คน และเพิ่มขึ้น โดยในปี 55 มีคนพิการ 342,787 คน เฉพาะสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีจำนวน 320,032 คน นอกนั้นจะกระจายอยู่ตามสังกัดต่างๆ ของ ศธ.ดังนั้น จะเร่งรัดขับเคลื่อนแผนพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ โดยเฉพาะการพัฒนาครูผู้สอนคนพิการเพราะบุคลากรในด้านนี้นั้นยังขาดแคลนอยู่มาก โดยเฉพาะหากทำระบบเรียนรวม คือคนพิการที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ แต่คนพิการที่สามารถเรียนร่วมกับนักเรียนได้เป็นเรื่องสากลที่ต้องให้เรียนในสถานศึกษาทั่วไปได้”นายจาตุรนต์กล่าว รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้รับทราบแนวทางการจัดตั้งศูนย์การเรียนการศึกษา เฉพาะความพิการ ซึ่งที่ผ่านมามีปัญหาว่า ไม่มีกฎระเบียบหรือกฎกระทรวงรองรับเรื่องนี้ ศูนย์ดังกล่าวจึงไปอาศัยอยู่กับสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) ตั้งอยู่ แต่ก็ยังไม่สามารถทำได้อย่างกว้างขวางและไม่มีการรับรองมาตรฐาน จึงไม่สามารถรับเงินอุดหนุนได้ตามกฎหมาย ดังนั้นที่ประชุมจึงพิจารณาให้ใช้กฎกระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้องตาม พ.ร.บ.การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551 เพื่อนำไปออกระเบียบการจัดตั้งศูนย์การเรียนการศึกษาเฉพาะความพิการ พร้อมการกำหนดมาตรฐานคนพิการต่อ ทั้งนี้ศูนย์ดังกล่าวจะเป็นศูนย์ที่จัดโดยองค์กรจัดการศึกษานอกระบบและตาม อัธยาศัย โดยจะประสานงานกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สนับสนุนงบประมาณ โดยใช้งบฯของกองทุนส่งเสริมสำหรับคนพิการมาดำเนินการ ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000131399 ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ต.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)