สธ.ระบุเด็ก 2 ล้านคนมีปัญหาพฤติกรรมทางอารมณ์ เล็งเพิ่มนักจิตวิทยาในโรงเรียน
วันที่ 24 ต.ค. ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ นายสรวงศ์ เทียนทอง รมช.สาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า เด็กนักเรียนไทยทั้งระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาประมาณ 1 ใน 5 หรือประมาณ 2 ล้านคน จากจำนวนเด็กทั่วประเทศ 10 ล้านคน มีปัญหาพฤติกรรมทางอารมณ์ จำเป็นต้องได้รับการดูแล โดยพฤติกรรม 4 เรื่องหลัก ได้แก่ การเล่นเกม การใช้สารเสพติด การใช้ความรุนแรง ทะเลาะวิวาท และเรื่องเพศ โดยเฉพาะการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และเกิดการตั้งครรภ์ในวัยเรียน
นาย สรวงศ์ กล่าวว่า สธ. และกระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินโครงการร่วมกันมาเป็นเวลา 3 ปีในโรงเรียน 24 แห่งใน 6 จังหวัดได้แก่ จ.พะเยา จ.ร้อยเอ็ด จ.สระแก้ว จ.สมุทรปราการ จ.นครศรีธรรมราชและกทม. โดยพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้งระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา โดยได้ดูแลเรื่องของจิตวิทยา สร้างระบบแนะแนว รวมถึงศึกษารูปแบบนักจิตวิทยาโรงเรียน และพัฒนาระบบสารสนเทศในการดูแลนักเรียน ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี และหลังจากนี้จะผลักดันนโยบาย 1 โรงพยาบาล 1 โรงเรียน โดยจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาคุณภาพ (Psychosocial Clinic) แก่นักเรียน ในโรงพยาบาลชุมชนเพื่อเชื่อมกับโรงเรียนประจำอำเภอ และสร้าง“นักจิตวิทยาโรงเรียน” ร่วมดูแลสุขภาพใจในเบื้องต้น โดยจะพูดคุยด้วยเหตุผลและให้ความเมตตานักเรียน และจะขยายให้ครอบคลุมทุกอำเภอภายในปี 2557
นพ.อิทธิพล สูงแข็ง รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า โครงการพัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหานักเรียนดังกล่าว ได้ดำเนินการร่วมกันระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมท์ สถาบันราชานุกูล และสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.) โดยพบว่า “นักจิตวิทยาโรงเรียน” เป็นตัวเชื่อมต่อการดูแลระหว่างโรงเรียนกับโรงพยาบาล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพบว่า ครูให้ความสำคัญต่อปัญหาสุขภาพจิตนักเรียนในเรื่อง การไม่อยู่ในกฎระเบียบ ปัญหาครอบครัวและความเครียดมากที่สุด
ส่วนกิจกรรมด้านส่งเสริมป้องปัญหาสุขภาพจิตส่วนใหญ่คือ กิจกรรมเสริมทักษะชีวิต และสร้างความภาคภูมิใจในคุณค่าตนเอง ส่วนกิจกรรมด้านการบำบัดเด็กที่มีปัญหาส่วนใหญ่ จะเกี่ยวข้องกับปัญหา พฤติกรรม การเรียน และอารมณ์ โดยพบว่า รูปแบบการทำงานร่วมกันระหว่างสองสายงาน ที่มีเป้าหมายเดียวกันที่เด็กเช่นนี้ ส่งผลให้แนวโน้มปัญหาสุขภาพนักเรียนในกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการลดลงจึง มั่นใจว่าระบบนี้จะช่วยเติมเต็มระบบการดูแลนักเรียน ต่อเนื่องระหว่างโรงเรียนกับโรงพยาบาล เด็กไม่รู้สึกว่าถูกสังคมโดดสธ.ระบุเด็ก 2 ล้านคนมีปัญหาพฤติกรรมทางอารมณ์ เล็งเพิ่มนักจิตวิทยาโรงเรียนดูแลสุขภาพจิตเด็กเดี่ยว หรือปล่อยให้เผชิญและแก้ไขปัญหาตามลำพังอีกต่อไป โดยกรมสุขภาพจิตจะเร่งขยายการอบรมด้านการดูแลสุขภาพจิตให้เครือข่ายต่างๆ ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในภาครัฐ โดยให้หน่วยงานในสังกัดกรมสุขภาพจิต และโรงพยาบาลจิตเวชทั้ง 17 แห่งทั่วประเทศ เป็นศูนย์การพัฒนารวมถึง สนับสนุนการทำงานของเขตบริการสุขภาพ 12 เขตและกทม.
มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 ต.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
วันที่ 24 ต.ค. ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ นายสรวงศ์ เทียนทอง รมช.สาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า เด็กนักเรียนไทยทั้งระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาประมาณ 1 ใน 5 หรือประมาณ 2 ล้านคน จากจำนวนเด็กทั่วประเทศ 10 ล้านคน มีปัญหาพฤติกรรมทางอารมณ์ จำเป็นต้องได้รับการดูแล โดยพฤติกรรม 4 เรื่องหลัก ได้แก่ การเล่นเกม การใช้สารเสพติด การใช้ความรุนแรง ทะเลาะวิวาท และเรื่องเพศ โดยเฉพาะการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และเกิดการตั้งครรภ์ในวัยเรียน นาย สรวงศ์ กล่าวว่า สธ. และกระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินโครงการร่วมกันมาเป็นเวลา 3 ปีในโรงเรียน 24 แห่งใน 6 จังหวัดได้แก่ จ.พะเยา จ.ร้อยเอ็ด จ.สระแก้ว จ.สมุทรปราการ จ.นครศรีธรรมราชและกทม. โดยพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้งระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา โดยได้ดูแลเรื่องของจิตวิทยา สร้างระบบแนะแนว รวมถึงศึกษารูปแบบนักจิตวิทยาโรงเรียน และพัฒนาระบบสารสนเทศในการดูแลนักเรียน ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี และหลังจากนี้จะผลักดันนโยบาย 1 โรงพยาบาล 1 โรงเรียน โดยจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาคุณภาพ (Psychosocial Clinic) แก่นักเรียน ในโรงพยาบาลชุมชนเพื่อเชื่อมกับโรงเรียนประจำอำเภอ และสร้าง“นักจิตวิทยาโรงเรียน” ร่วมดูแลสุขภาพใจในเบื้องต้น โดยจะพูดคุยด้วยเหตุผลและให้ความเมตตานักเรียน และจะขยายให้ครอบคลุมทุกอำเภอภายในปี 2557 นพ.อิทธิพล สูงแข็ง รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า โครงการพัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหานักเรียนดังกล่าว ได้ดำเนินการร่วมกันระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมท์ สถาบันราชานุกูล และสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.) โดยพบว่า “นักจิตวิทยาโรงเรียน” เป็นตัวเชื่อมต่อการดูแลระหว่างโรงเรียนกับโรงพยาบาล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพบว่า ครูให้ความสำคัญต่อปัญหาสุขภาพจิตนักเรียนในเรื่อง การไม่อยู่ในกฎระเบียบ ปัญหาครอบครัวและความเครียดมากที่สุด ส่วนกิจกรรมด้านส่งเสริมป้องปัญหาสุขภาพจิตส่วนใหญ่คือ กิจกรรมเสริมทักษะชีวิต และสร้างความภาคภูมิใจในคุณค่าตนเอง ส่วนกิจกรรมด้านการบำบัดเด็กที่มีปัญหาส่วนใหญ่ จะเกี่ยวข้องกับปัญหา พฤติกรรม การเรียน และอารมณ์ โดยพบว่า รูปแบบการทำงานร่วมกันระหว่างสองสายงาน ที่มีเป้าหมายเดียวกันที่เด็กเช่นนี้ ส่งผลให้แนวโน้มปัญหาสุขภาพนักเรียนในกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการลดลงจึง มั่นใจว่าระบบนี้จะช่วยเติมเต็มระบบการดูแลนักเรียน ต่อเนื่องระหว่างโรงเรียนกับโรงพยาบาล เด็กไม่รู้สึกว่าถูกสังคมโดดสธ.ระบุเด็ก 2 ล้านคนมีปัญหาพฤติกรรมทางอารมณ์ เล็งเพิ่มนักจิตวิทยาโรงเรียนดูแลสุขภาพจิตเด็กเดี่ยว หรือปล่อยให้เผชิญและแก้ไขปัญหาตามลำพังอีกต่อไป โดยกรมสุขภาพจิตจะเร่งขยายการอบรมด้านการดูแลสุขภาพจิตให้เครือข่ายต่างๆ ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในภาครัฐ โดยให้หน่วยงานในสังกัดกรมสุขภาพจิต และโรงพยาบาลจิตเวชทั้ง 17 แห่งทั่วประเทศ เป็นศูนย์การพัฒนารวมถึง สนับสนุนการทำงานของเขตบริการสุขภาพ 12 เขตและกทม. ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1382616415&grpid=03&catid=&subcatid= มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 ต.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)