แสงไฟที่ปลายอุโมงค์ : ความหวังทางการศึกษาของเด็กพิการ
ย่างกุ้ง – ทุตาทุน หญิงสาววัย 22 ปี ทำงานเป็นหมอนวดกดจุดอยู่ใกล้กับใจกลางเมืองของเมืองหลวงทางเศรษฐกิจของพม่า เธอหูหนวก และการเป็นหมอนวดคือหนึ่งในไม่กี่ทางเลือกของในการทำงานหาเลี้ยงชีพของเธอ ซึ่งมีการศึกษาจำกัด “ฉันไม่ได้ไปโรงเรียนจนถึงอายุ 11 ปี” เธอบอกด้วยภาษามือ
เธอไม่ใช่คนเดียวในประเทศพม่า ที่ 60 เปอร์เซ็นต์ของคนที่มีปัญหาทางการได้ยินไม่ได้เข้าโรงเรียน ข้อมูลจากการสำรวจของรัฐบาล
หลังจากระบบการศึกษาในพม่าถูกละเลยมาหลายสิบปี พม่ามีอัตราจำนวนเด็กที่ได้เข้าโรงเรียนต่ำมาก ข้อมูลจากองค์การสหประชาชาติระบุว่า มีเด็กที่ถึงเกณฑ์เข้าเรียนแต่ไม่ได้ไปโรงเรียนกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ทว่า ตัวเลขของเด็กพิการยิ่งแย่ไปกว่านั้นมาก การสำรวจของรัฐบาลระบุว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของประชาชนที่พิการ ทั้งพิการทางร่างกายและทางสมอง ไม่ได้เข้าเรียน ทั้งนี้ส่วนใหญ่เนื่องจากเด็กเหล่านี้ถูกปฏิเสธจากโรงเรียนของรัฐบาล ด้วยเหตุนี้จึงมีเด็กพิการที่เรียนจบชั้นไฮสคูลแค่ 2 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
ส่วนในโรงเรียนอื่นๆ ที่ไม่ใช่โรงเรียนรัฐบาลทั่วไป เด็กพิการก็มีทางเลือกที่น้อยมาก เพราะมีโรงเรียนเฉพาะสำหรับเด็กพิการทางสายตา การได้ยิน พิการทางร่างกาย พิการทางสมอง เด็กออทิสติกและเด็กที่พัฒนาการทางสมองช้า รวมแล้วแค่ 15 แห่งทั่วประเทศ รวมทั้งมีโรงเรียนสายอาชีพสำหรับเด็กเหล่านี้แค่ 7 แห่งเท่านั้น
โรงเรียนเฉพาะเหล่านี้บางแห่งดำเนินการโดยรัฐบาล แต่ส่วนใหญ่จะเป็นของกลุ่มเอ็นจีโอ ซึ่งครึ่งหนึ่งตั้งอยู่ในย่างกุ้ง ส่วนที่เหลืออยู่ในเขตเมือง ทำให้เด็กพิการที่อยู่ในชนบทไม่มีโอกาสได้รับการศึกษา
เจญีญี ที่อาศัยอยู่ในย่างกุ้งกล่าวว่า ลูกชายวัย 17 ปีของเขาที่เป็นเด็กออทิสติกเข้าเรียนในโรงเรียนสำหรับเด็กที่พิการทางสมอง แห่งเดียวในประเทศ เขาพบว่าจำนวนครูต่อจำนวนเด็กนั้นกำลังเป็นปัญหา
“พวกเขาพยายามอย่างมากแต่ไม่สามารถดูแลเด็กทั้งหมดได้ทั่วถึง” เขาพูดถึงครูในห้องเรียนของลูกชาย “ในห้องมีเด็กนักเรียน 35 คน แต่มีครูแค่ 2 คน จำนวนมันต่างกันมาก”
เมื่อถูกถามว่าโรงเรียนดังกล่าวเป็นทางเลือกที่ดีหรือไม่ เขาหัวเราะแล้วบอกว่า “มันมีแค่โรงเรียนเดียว”
การสำรวจจำนวนประชากรที่พิการของพม่าในปี 2010 เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลพม่าและองค์กร Leprosy Mission International โดยการสำรวบพบว่า พม่ามีมีประชาชนพิการจำนวน 1.2 ล้านคน โดยในจำนวนนั้น 460,000 คนเป็นเด็กในวัยเรียน แต่ข้อมูลจากกระทรวงศึกษาธิการของพม่าเมื่อปีที่ผ่านมาระบุว่า มีเด็กพิการเข้าเรียนในโรงเรียนปกติของรัฐ รวมทั้งโรงเรียนเฉพาะของเด็กพิการแค่ 2,250 คน
ทางเลือกที่จำกัด - ในพม่า คนพิการมักประสบกับความยากลำบากในการดำรงชีวิต พวกเขามีแนวโน้มที่จะยากจน ตกงาน และไม่มีที่ทำกินมากกว่าคนปกติ ซึ่งในการสำรวจพบว่ามีถึง 85 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ 3 ใน 4 ของผู้พิการไม่สามารถเข้าถึงการประชาสัมพันธ์จากทางการไม่ว่าจะเป็นป้าย ประกาศ การเตือนภัย และป้ายรณรงค์เรื่องสุขภาพ ผู้พิการน้อยกว่า 1 ใน 4 ไม่เคยทราบว่า มีการบริการจากรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือผู้พิการด้วย
ในระดับหมู่บ้าน ถ้าเด็กตาบอด หูหนวก หรือ พิการทางสมอง โรงเรียนทั่วไปของรัฐบาลจะไม่ให้เด็กเข้าเรียน จายจีสิ่นโซ ที่ปรึกษาจากองค์กร ActionAids กล่าว ในบางครั้งโรงเรียนก็ปฏิเสธไม่รับเด็กที่พิการทางร่างกายด้วยซ้ำ “มันเป็นการตัดสินใจของครูใหญ่” เขากล่าว “เมื่อคุยกับครูใหญ่ได้แล้ว แต่พวกเขาก็มีปัญหาเรื่องการอำนวยความสะดวกให้กับเด็กที่ตาบอด หูหนวกและพิการทางสมอง ”
อีกตัวอย่างหนึ่งที่เขาบอกก็คือ กรณีของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่เป็นโรคโปลิโอ อาศัยอยู่ในตำบลดาละที่ตั้งอยู่อีกฝั่งน้ำของย่างกุ้ง ActionAids ได้พูดคุยตกลงกับครูใหญ่ของโรงเรียนประถมที่นั่นให้รับเด็กหญิงคนนี้เข้า เรียน มีการสร้างทางลาดสำหรับรถเข็นของเธอ และปรับปรุงห้องน้ำให้สามารถใช้ได้ แต่เมื่อเรียนจบเกรด 4 ก็มีปัญหา เพราะห้องเรียนเกรด 5 อยู่ชั้นสองของอาคาร ซึ่งครูใหญ่ปฏิเสธ ไม่ยอมย้ายห้องเรียนลงมาชั้นล่าง
“เธอต้องหยุดเรียนไป” จายจีสิ่นโซ กล่าว เขาบอกว่า การตัดสินใจของครูใหญ่คำนึงถึงเด็กส่วนใหญ่เป็นสำคัญ ในพม่า เด็กรักเรียนจำนวนมากเลิกเรียนหลังจบชั้นประถม ส่วนห้องเรียนที่ตั้งอยู่บนชั้นสองมักจะถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของการยกระดับ เป็นห้องเรียนของเด็กที่จะเรียนต่อระดับมัธยมเท่านั้น
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องเครื่องอำนวยความสะดวกของเด็กพิการทางร่างกายอีก ที่เป็นอุปสรรคสนการเข้าเรียนของเด็กพิการ เมียตตูวิน ผู้อำนวยการมูลนิธิฉ่วยมินตา ที่ให้ความช่วยเหลือทางการศึกษาแก่เด็กพิการกล่าว
“เราพยายามชักชวนเด็กพิการ แต่เพราะพวกเขาไม่กล้าเข้าสังคม พวกเราส่วนใหญ่จึงไม่กล้าไปโรงเรียน” นักเคลื่อนไหวที่มีความพิการทางสมองที่อาศัยอยู่ในย่างกุ้งคนหนึ่งกล่าว “พ่อแม่ก็มีส่วนสำคัญมาก ครอบครัวของเด็กพิการยากจนมาก ส่วนใหญ่คิดว่าพวกเราไม่จำเป็นต้องไปโรงเรียน พากเราก็เป็นแค่ภาระของเขา จึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมากที่จะชักชวนครอบครัวว่า ลูกหลายที่พิการของพวกเขาควรจะไปเข้าเรียน”
“แล้วทุกวันเราจะไปโรงเรียนยังไงหละ” เขากล่าว “ถ้าบ้านอยู่ไกล พวกเราก็ใช้ถนนไม่ได้ มันมีปัญหามากมาย”
ข้อมูลจาก ActionAids ระบุว่า รัฐบาลมีโรงเรียนการศึกษาสายสามัญมากกว่า 41,000 แห่งทั่วประเทศ แต่มีโรงเรียนสำหรับเด็กพิการแค่ 4 แห่งจากทั้งหมด 15 แห่ง และมีโรงเรียนสายอาชีพสำหรับเด็กพิการแค่ 3 แห่งจากทั้งหมด 7 แห่ง นอกจากนี้ พื้นที่ก็ยังมีจำกัด โรงเรียนของรัฐบาลสามารถรองรีบเด็กพิการได้แค่ 300 คนต่อปี
โรงเรียนของเด็กในโลกเงียบ - ในหลักสูตรของโรงเรียน Mary Chapman หนึ่งในโรงเรียนทั้งหมด 3 แห่งสำหรับเด็กพิการทางการได้ยิน มีการสอนการอ่านปาก การใช้ภาษามือ และภาษาสัญลักษณ์ โรงเรียนแห่งนี้เป็นโรงเรียนประจำ มีนักเรียนจำนวน 385 คน เปิดสอนชั้นอนุบาลสำหรับนักเรียนที่ไม่ได้เข้าเรียนจนกระทั่งอายุ 12 ปี มีค่าใช้จ่ายเดือนละ 10,000 (300 บาท)จั๊ตสำหรับที่พักและอาหาร และ 1,000 จั๊ต (30 บาท)สำหรับค่าเล่าเรียน ซึ่งมีเนื้อหาการเรียนการสอนเหมือนกับโรงเรียนรัฐบาลทั่วไป
นอว์ซาร์พอว์ ครูวัย 48 ปี สอนเย็บปักถังร้อยในโปรแกรมฝึกอาชีพ เธอมาจากภาพอิระวดี เธอบอกว่า ที่หมู่บ้านของเธอมีเด็กหูหนวก 10 คน บางคนก็เข้ามาเรียนที่ย่างกุ้ง “โรงเรียนที่หมู่บ้านของฉันไม่รับพวกเขาเข้าเรียน” เธอบอกด้วยภาษามือ “เด็ก 3 ใน 10 คนไม่เคยได้เข้าโรงเรียน”
นอกเหนือจากการฝึกอาชีพเย็บปักถักร้อยและงานฝีมือแล้ว นักเรียนสามารถเรียนนวดได้ด้วย ญุ่นญุ่นเต่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน มีแผนการที่จะขยายตัวเลือกในการฝึกอาชีพเพิ่มขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการเปิดร้อนดอกไม้หรือร้านขนม “พวกเขาเก่งคอมพิวเตอร์และคณิตศาสตร์ ฉันกำลังคิดถึงการทำผมด้วย เพราะพวกเขาสายตาดีมาก มันมีทางเลือกอีกมาก” เธอกล่าว
เธอบอกว่า นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้ออกนอกบริเวณโรงเรียน เพราะห่วงเรื่องความปลอดภัย หรือไม่ก็กลัวถูกเลือกปฏิบัติจากชุมชน หลังจากที่เรียนจบเกรด 6 พวกเขาก็จะไปเรียนต่อที่โรงเรียนสามัญในเมือง
เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ญุ่นญุ่นเต่งได้เข้าร่วมการประชุมด้านการศึกษาที่ฮ่องกงและได้แรงบันดาลใจ กลับมา “ฉันเห็นว่ามีวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยหลายแห่งสำหรับคนหูหนวกที่ต่างประเทศ ซึ่งฉันไม่เคยรู้มาก่อน” เธอกล่าว “ตอนนี้ฉันกำลังผลักดันให้พวกเขาไปเรียนที่นั่น โดยจะเริ่มปีหน้า ฉันจะขยายชั้นเรียนไปจนถึงเกรด 10 ฉันอยากสอนภาษาอังกฤษให้กับเด็กๆ พวกเขาจะได้สมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่ต่างประเทศได้”
ห้องเรียนของเรา - ไม่ใช่เฉพาะพม่าเท่านั้น แต่ทั่วโลกมีการถกเถียงกันถึงวิธีที่ดีที่สุดที่จะให้การศึกษากับเด็กพิการ สำหรับการการศึกษาแบบพิเศษ(special education) นักเรียนที่พิการสามารถเรียนในโรงเรียนที่มีการอำนวยความสะดวกในเรื่องที่จำเป็น แยกจากโรงเรียนธรรมดา หรืออีกทางเลือกหนึ่งคือ การจัดการศึกษาแบบการเรียนร่วม(inclusive education) คือ โรงเรียนปกติจะจัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับเด็กพิการและอบรมครูให้มีความ สามารถในการช่วยเหลือเด็กพิการได้
ผู้ที่สนับสนุนโรงเรียนเฉพาะสำหรับเด็กพิการกล่าวว่า เด็กพิการมีความเสี่ยงที่จะถูกข่มเหงรังแกในโรงเรียนปกติ และการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมไม่สามารถให้ความช่วยเหลือพิเศษแก่นักเรียน ที่พิการได้ ในขณะที่อีกด้านหนึ่งกล่าวว่า การเรียนร่วมจะสามารถแก้ปัญหาทัศนคติที่มีการเลือกปฏิบัติ มีการยอมรับความแตกต่างได้มากขึ้น และประหยัดงบประมาณมากกว่าสำหรับประเทศยากจน
ด้วยงบประมาณด้านการศึกษาที่จำกัด รัฐบาลพม่าจึงขาดแคลนทรัพยากรในการจัดตั้งเครือข่ายโรงเรียนการศึกษาพิเศษ และหันไปมองแนวคิดของการเรียนร่วมมากกว่า โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาขีดความสามารถของโรงเรียนที่มีอยู่แล้วเพื่อที่นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษจะสามารถเข้าเรียนในโรงเรียนที่หมู่บ้านของตนเอง ได้ นับเป็นงานใหญ่ทีเดียว เพราะคิดเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนทั้งหมด 60 กว่าล้านคน อาศัยอยู่ในชนบท
“เพื่อที่จะทำให้ประชาชนทุกคนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โครงการการศึกษาแบบเรียนร่วมจึงเกิดขึ้น” ข้อความจากกระทรวงศึกษาธิการระบุไว้ในนโยบาย “การศึกษาเพื่อปวงชน(Education For All)” เมื่อปีที่แล้ว “เด็กที่มีปัญหาพิการทางสมอง/ทางร่างกาย ผู้ที่มีปัญหาทางการได้ยินและการมองเห็น ผู้ที่มีปัญหาในการเข้าเรียน ผู้ที่อยู่ในครอบครัวที่ถูกกีดกันจากสังคม และผู้ที่ต้องออกจากโรงเรียนกลางคันก่อนจบการศึกษาระดับประถมศึกษา จะถูกรับให้เข้าเรียนในโรงเรียนของรัฐ”
ในบางกรณี นักเรียนที่มีความพิการก็ได้รับการต้อนรับอย่างดี เมซินอ่อง วัย 25 ปี เธอเข้าเรียนในโรงเรียนรัฐในภาพอิระวดีเมื่อตอนเป็นเด็ก “ฉันไม่มีแขนทั้งสองข้างมาตั้งแต่เกิด” เว็บดีไซเนอร์สาวบอก ก่อนที่จะใช้เท้าประคองแก้วกาแฟยกขึ้นจิบ “ฉันเข้าโรงเรียนปกติ”
ในส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษา รัฐบาลกำลังทบทวนระบบการศึกษาของโรงเรียนรัฐซึ่งใช้เวลา 2 ปี ขณะที่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกล่าวว่า กำลังมีการพูดคุยกันถึงระบบการปรึกษาแบบเรียนร่วมอยู่ในขณะนี้
“เจ้าหน้าที่จากกระทรวงศึกษาธิการบอกว่า พวกเขากำลังเตรียมการเรื่องการศึกษาแบบเรียนร่วม แต่ทุกครั้งที่พบพบเขา ฉันก็จะบอกว่า มันเป็นแค่ชื่อที่เรียกกันเท่านั้น” เมียตดูวิน จากมูลนิธิ ฉ่วยมินตา กล่าว
“นโยบายบอกว่า เรามีสิทธิที่จะไปโรงเรียน แต่ในทางปฏิบัติแล้ว พวกเขาไม่ได้พยายามที่จะอำนวยความสะดวกให้เราเลย ตัวอย่างเช่น เด็กพิการไม่สามารถไปโรงเรียนได้เพราะใช้ห้องน้ำที่โรงเรียนไม่ได้ ถ้าพวกเขาไม่แก้ปัญหาเรื่องห้องน้ำ เด็กก็ไปโรงเรียนไม่ได้ อย่างนี้แล้ว เรายังมีปัญหาอีกหลายอย่างที่ต้องจัดการ ”
ข้อมูลจากองค์กรยูนิเซฟ ระบุว่า เด็กพิการประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลกสามารถเข้าเรียนในโรงเรียนปกติ ถ้าสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนถูกออกแบบให้เด็กเหล่านั้นสามารถเข้าถึงได้ และโรงเรียนมีความประสงค์ที่จะอำนวยความสะดวกให้
กฎหมายที่ต้องชำระ- ขณะนี้นักเคลื่อนไหวต่างๆ ในพม่ากำลังช่วยกันร่างกฎหมายสำหรับผู้พิการ โดยหวังว่าเด็กพิการจะมีสิทธิในการเข้าโรงเรียนปกติได้ ปัจจุบัน กฎหมายสำหรับผู้พิการที่มีอยู่มีอายุหลายสิบปี “แต่กฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายสำหรับอดีตทหารเท่านั้น” เมียตตูวิน กล่าว เธอยกตัวอย่างกรณีทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากสนามรบ “มันไม่ใช่กฎหมายสำหรับประชาชนที่พิการ กฎหมายที่กำลังร่างใหม่จะไม่เฉพาะทหารเท่านั้น แต่จะรวมถึงประชาชนทั้งประเทศด้วย”
เขากล่าวว่า องค์กรที่เกี่ยวข้องกับผู้พิการได้การร่างกฎหมายเสร็จสิ้นแล้วและกำลัง เจรจากับกระทรวงสังคมสงเคราะห์ บรรเทาทุกข์และการตั้งรกรากใหม่ อยู่ ก่อนที่จะยื่นสภา
ยุยุส่วย ผู้ช่วยผู้อำนวยการของสังคมสงเคราะห์ ยืนยันอีกเสียงหนึ่งว่า กำลังอยู่ระหว่างการเจรจากัน “เราต้องขยายการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม เรากำลังร่างกฎหมายสิทธิของผู้พิการอยู่ และหลังจากที่มีการประกาศใช้กฎหมายก็จะมีผลทันที”
นอกเหนือจากจะมีการเรียกร้องให้หลักสูตรเรียนร่วมแล้ว กฎหมายฉบับดังกล่าวยังช่วยให้ผู้พิการมีสิทธิ ป้องกันการเลือกปฏิบัติในการทำงาน และกำจัดความเชื่อที่ผิดๆ ของชุมชนได้ด้วย
“ความเชื่อเดิมเชื่อว่า ออทิสติกคือคนบ้า” ดร.มิ้นท์ ลวิน ผู้อำนวยการสมาคมออทิสติกของพม่า กล่าว เขาระบุว่าผู้ที่มีความพิการทางสมองถูกเข้าใจผิดมากที่สุด “พวกเขาไม่ให้ความสำคัฐกับเด็กออทิสติก พวกเขาไม่รู้ว่าเราสามารถสอนเด็กออทิสติกได้และพวกเขาก็สามารถดำรงชีวิตแบบ คนทั่วไปได้”
ถ้ากฎหมายฉบับนี้ผ่าน นับว่ามีความสำคัญกับพ่อแม่อย่าง เจญีญี มาก ลูกชายของเขาเป็นเด็กออทิสติกและกำลังจะเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ โรงเรียนสำหรับผู้ที่มีความพิการทางสมองรับเฉพาะเด็กที่อายุไม่เกิน 18 ปี ส่วนโรงเรียนอาชีวะก็ไม่รับเด็กออทิสติก
“ตอนนี้ลูกชายผมอายุ 17 ปีแล้ว เขาพูดไม่ชัด และใส่เสื้อผ้าเองไม่ได้ อาบน้ำเองไม่ได้ เขาอ่อนแอมาก ปีหน้าเขาก็จะอายุ 18 ปีแล้ว ผมเครียดมาก”
จาก In Burma, Children With Disabilities Struggle to Access Schools
โดย SAMANTHA MICHAELS / THE IRRAWADDY
ขอบคุณ... http://salweennews.org/home/?p=6834
(salweennews ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 พ.ย.56)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เด้กหญิงพิการหูหนวก ใช้เครื่องช่วยฟังกำลังนั่งทำการบ้าน ย่างกุ้ง – ทุตาทุน หญิงสาววัย 22 ปี ทำงานเป็นหมอนวดกดจุดอยู่ใกล้กับใจกลางเมืองของเมืองหลวงทางเศรษฐกิจของพม่า เธอหูหนวก และการเป็นหมอนวดคือหนึ่งในไม่กี่ทางเลือกของในการทำงานหาเลี้ยงชีพของเธอ ซึ่งมีการศึกษาจำกัด “ฉันไม่ได้ไปโรงเรียนจนถึงอายุ 11 ปี” เธอบอกด้วยภาษามือ เธอไม่ใช่คนเดียวในประเทศพม่า ที่ 60 เปอร์เซ็นต์ของคนที่มีปัญหาทางการได้ยินไม่ได้เข้าโรงเรียน ข้อมูลจากการสำรวจของรัฐบาล หลังจากระบบการศึกษาในพม่าถูกละเลยมาหลายสิบปี พม่ามีอัตราจำนวนเด็กที่ได้เข้าโรงเรียนต่ำมาก ข้อมูลจากองค์การสหประชาชาติระบุว่า มีเด็กที่ถึงเกณฑ์เข้าเรียนแต่ไม่ได้ไปโรงเรียนกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ทว่า ตัวเลขของเด็กพิการยิ่งแย่ไปกว่านั้นมาก การสำรวจของรัฐบาลระบุว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของประชาชนที่พิการ ทั้งพิการทางร่างกายและทางสมอง ไม่ได้เข้าเรียน ทั้งนี้ส่วนใหญ่เนื่องจากเด็กเหล่านี้ถูกปฏิเสธจากโรงเรียนของรัฐบาล ด้วยเหตุนี้จึงมีเด็กพิการที่เรียนจบชั้นไฮสคูลแค่ 2 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วนในโรงเรียนอื่นๆ ที่ไม่ใช่โรงเรียนรัฐบาลทั่วไป เด็กพิการก็มีทางเลือกที่น้อยมาก เพราะมีโรงเรียนเฉพาะสำหรับเด็กพิการทางสายตา การได้ยิน พิการทางร่างกาย พิการทางสมอง เด็กออทิสติกและเด็กที่พัฒนาการทางสมองช้า รวมแล้วแค่ 15 แห่งทั่วประเทศ รวมทั้งมีโรงเรียนสายอาชีพสำหรับเด็กเหล่านี้แค่ 7 แห่งเท่านั้น โรงเรียนเฉพาะเหล่านี้บางแห่งดำเนินการโดยรัฐบาล แต่ส่วนใหญ่จะเป็นของกลุ่มเอ็นจีโอ ซึ่งครึ่งหนึ่งตั้งอยู่ในย่างกุ้ง ส่วนที่เหลืออยู่ในเขตเมือง ทำให้เด็กพิการที่อยู่ในชนบทไม่มีโอกาสได้รับการศึกษา เจญีญี ที่อาศัยอยู่ในย่างกุ้งกล่าวว่า ลูกชายวัย 17 ปีของเขาที่เป็นเด็กออทิสติกเข้าเรียนในโรงเรียนสำหรับเด็กที่พิการทางสมอง แห่งเดียวในประเทศ เขาพบว่าจำนวนครูต่อจำนวนเด็กนั้นกำลังเป็นปัญหา “พวกเขาพยายามอย่างมากแต่ไม่สามารถดูแลเด็กทั้งหมดได้ทั่วถึง” เขาพูดถึงครูในห้องเรียนของลูกชาย “ในห้องมีเด็กนักเรียน 35 คน แต่มีครูแค่ 2 คน จำนวนมันต่างกันมาก” เมื่อถูกถามว่าโรงเรียนดังกล่าวเป็นทางเลือกที่ดีหรือไม่ เขาหัวเราะแล้วบอกว่า “มันมีแค่โรงเรียนเดียว” การสำรวจจำนวนประชากรที่พิการของพม่าในปี 2010 เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลพม่าและองค์กร Leprosy Mission International โดยการสำรวบพบว่า พม่ามีมีประชาชนพิการจำนวน 1.2 ล้านคน โดยในจำนวนนั้น 460,000 คนเป็นเด็กในวัยเรียน แต่ข้อมูลจากกระทรวงศึกษาธิการของพม่าเมื่อปีที่ผ่านมาระบุว่า มีเด็กพิการเข้าเรียนในโรงเรียนปกติของรัฐ รวมทั้งโรงเรียนเฉพาะของเด็กพิการแค่ 2,250 คน ทางเลือกที่จำกัด - ในพม่า คนพิการมักประสบกับความยากลำบากในการดำรงชีวิต พวกเขามีแนวโน้มที่จะยากจน ตกงาน และไม่มีที่ทำกินมากกว่าคนปกติ ซึ่งในการสำรวจพบว่ามีถึง 85 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ 3 ใน 4 ของผู้พิการไม่สามารถเข้าถึงการประชาสัมพันธ์จากทางการไม่ว่าจะเป็นป้าย ประกาศ การเตือนภัย และป้ายรณรงค์เรื่องสุขภาพ ผู้พิการน้อยกว่า 1 ใน 4 ไม่เคยทราบว่า มีการบริการจากรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือผู้พิการด้วย ในระดับหมู่บ้าน ถ้าเด็กตาบอด หูหนวก หรือ พิการทางสมอง โรงเรียนทั่วไปของรัฐบาลจะไม่ให้เด็กเข้าเรียน จายจีสิ่นโซ ที่ปรึกษาจากองค์กร ActionAids กล่าว ในบางครั้งโรงเรียนก็ปฏิเสธไม่รับเด็กที่พิการทางร่างกายด้วยซ้ำ “มันเป็นการตัดสินใจของครูใหญ่” เขากล่าว “เมื่อคุยกับครูใหญ่ได้แล้ว แต่พวกเขาก็มีปัญหาเรื่องการอำนวยความสะดวกให้กับเด็กที่ตาบอด หูหนวกและพิการทางสมอง ” อีกตัวอย่างหนึ่งที่เขาบอกก็คือ กรณีของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่เป็นโรคโปลิโอ อาศัยอยู่ในตำบลดาละที่ตั้งอยู่อีกฝั่งน้ำของย่างกุ้ง ActionAids ได้พูดคุยตกลงกับครูใหญ่ของโรงเรียนประถมที่นั่นให้รับเด็กหญิงคนนี้เข้า เรียน มีการสร้างทางลาดสำหรับรถเข็นของเธอ และปรับปรุงห้องน้ำให้สามารถใช้ได้ แต่เมื่อเรียนจบเกรด 4 ก็มีปัญหา เพราะห้องเรียนเกรด 5 อยู่ชั้นสองของอาคาร ซึ่งครูใหญ่ปฏิเสธ ไม่ยอมย้ายห้องเรียนลงมาชั้นล่าง “เธอต้องหยุดเรียนไป” จายจีสิ่นโซ กล่าว เขาบอกว่า การตัดสินใจของครูใหญ่คำนึงถึงเด็กส่วนใหญ่เป็นสำคัญ ในพม่า เด็กรักเรียนจำนวนมากเลิกเรียนหลังจบชั้นประถม ส่วนห้องเรียนที่ตั้งอยู่บนชั้นสองมักจะถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของการยกระดับ เป็นห้องเรียนของเด็กที่จะเรียนต่อระดับมัธยมเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีเรื่องเครื่องอำนวยความสะดวกของเด็กพิการทางร่างกายอีก ที่เป็นอุปสรรคสนการเข้าเรียนของเด็กพิการ เมียตตูวิน ผู้อำนวยการมูลนิธิฉ่วยมินตา ที่ให้ความช่วยเหลือทางการศึกษาแก่เด็กพิการกล่าว “เราพยายามชักชวนเด็กพิการ แต่เพราะพวกเขาไม่กล้าเข้าสังคม พวกเราส่วนใหญ่จึงไม่กล้าไปโรงเรียน” นักเคลื่อนไหวที่มีความพิการทางสมองที่อาศัยอยู่ในย่างกุ้งคนหนึ่งกล่าว “พ่อแม่ก็มีส่วนสำคัญมาก ครอบครัวของเด็กพิการยากจนมาก ส่วนใหญ่คิดว่าพวกเราไม่จำเป็นต้องไปโรงเรียน พากเราก็เป็นแค่ภาระของเขา จึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมากที่จะชักชวนครอบครัวว่า ลูกหลายที่พิการของพวกเขาควรจะไปเข้าเรียน” “แล้วทุกวันเราจะไปโรงเรียนยังไงหละ” เขากล่าว “ถ้าบ้านอยู่ไกล พวกเราก็ใช้ถนนไม่ได้ มันมีปัญหามากมาย” ข้อมูลจาก ActionAids ระบุว่า รัฐบาลมีโรงเรียนการศึกษาสายสามัญมากกว่า 41,000 แห่งทั่วประเทศ แต่มีโรงเรียนสำหรับเด็กพิการแค่ 4 แห่งจากทั้งหมด 15 แห่ง และมีโรงเรียนสายอาชีพสำหรับเด็กพิการแค่ 3 แห่งจากทั้งหมด 7 แห่ง นอกจากนี้ พื้นที่ก็ยังมีจำกัด โรงเรียนของรัฐบาลสามารถรองรีบเด็กพิการได้แค่ 300 คนต่อปี โรงเรียนของเด็กในโลกเงียบ - ในหลักสูตรของโรงเรียน Mary Chapman หนึ่งในโรงเรียนทั้งหมด 3 แห่งสำหรับเด็กพิการทางการได้ยิน มีการสอนการอ่านปาก การใช้ภาษามือ และภาษาสัญลักษณ์ โรงเรียนแห่งนี้เป็นโรงเรียนประจำ มีนักเรียนจำนวน 385 คน เปิดสอนชั้นอนุบาลสำหรับนักเรียนที่ไม่ได้เข้าเรียนจนกระทั่งอายุ 12 ปี มีค่าใช้จ่ายเดือนละ 10,000 (300 บาท)จั๊ตสำหรับที่พักและอาหาร และ 1,000 จั๊ต (30 บาท)สำหรับค่าเล่าเรียน ซึ่งมีเนื้อหาการเรียนการสอนเหมือนกับโรงเรียนรัฐบาลทั่วไป นอว์ซาร์พอว์ ครูวัย 48 ปี สอนเย็บปักถังร้อยในโปรแกรมฝึกอาชีพ เธอมาจากภาพอิระวดี เธอบอกว่า ที่หมู่บ้านของเธอมีเด็กหูหนวก 10 คน บางคนก็เข้ามาเรียนที่ย่างกุ้ง “โรงเรียนที่หมู่บ้านของฉันไม่รับพวกเขาเข้าเรียน” เธอบอกด้วยภาษามือ “เด็ก 3 ใน 10 คนไม่เคยได้เข้าโรงเรียน” นอกเหนือจากการฝึกอาชีพเย็บปักถักร้อยและงานฝีมือแล้ว นักเรียนสามารถเรียนนวดได้ด้วย ญุ่นญุ่นเต่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน มีแผนการที่จะขยายตัวเลือกในการฝึกอาชีพเพิ่มขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการเปิดร้อนดอกไม้หรือร้านขนม “พวกเขาเก่งคอมพิวเตอร์และคณิตศาสตร์ ฉันกำลังคิดถึงการทำผมด้วย เพราะพวกเขาสายตาดีมาก มันมีทางเลือกอีกมาก” เธอกล่าว เธอบอกว่า นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้ออกนอกบริเวณโรงเรียน เพราะห่วงเรื่องความปลอดภัย หรือไม่ก็กลัวถูกเลือกปฏิบัติจากชุมชน หลังจากที่เรียนจบเกรด 6 พวกเขาก็จะไปเรียนต่อที่โรงเรียนสามัญในเมือง เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ญุ่นญุ่นเต่งได้เข้าร่วมการประชุมด้านการศึกษาที่ฮ่องกงและได้แรงบันดาลใจ กลับมา “ฉันเห็นว่ามีวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยหลายแห่งสำหรับคนหูหนวกที่ต่างประเทศ ซึ่งฉันไม่เคยรู้มาก่อน” เธอกล่าว “ตอนนี้ฉันกำลังผลักดันให้พวกเขาไปเรียนที่นั่น โดยจะเริ่มปีหน้า ฉันจะขยายชั้นเรียนไปจนถึงเกรด 10 ฉันอยากสอนภาษาอังกฤษให้กับเด็กๆ พวกเขาจะได้สมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่ต่างประเทศได้” ห้องเรียนของเรา - ไม่ใช่เฉพาะพม่าเท่านั้น แต่ทั่วโลกมีการถกเถียงกันถึงวิธีที่ดีที่สุดที่จะให้การศึกษากับเด็กพิการ สำหรับการการศึกษาแบบพิเศษ(special education) นักเรียนที่พิการสามารถเรียนในโรงเรียนที่มีการอำนวยความสะดวกในเรื่องที่จำเป็น แยกจากโรงเรียนธรรมดา หรืออีกทางเลือกหนึ่งคือ การจัดการศึกษาแบบการเรียนร่วม(inclusive education) คือ โรงเรียนปกติจะจัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับเด็กพิการและอบรมครูให้มีความ สามารถในการช่วยเหลือเด็กพิการได้ ผู้ที่สนับสนุนโรงเรียนเฉพาะสำหรับเด็กพิการกล่าวว่า เด็กพิการมีความเสี่ยงที่จะถูกข่มเหงรังแกในโรงเรียนปกติ และการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมไม่สามารถให้ความช่วยเหลือพิเศษแก่นักเรียน ที่พิการได้ ในขณะที่อีกด้านหนึ่งกล่าวว่า การเรียนร่วมจะสามารถแก้ปัญหาทัศนคติที่มีการเลือกปฏิบัติ
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)