ปัญหาการศึกษาไทย

แสดงความคิดเห็น

คอลัมน์ จันทร์สนุก ศุกร์สนาน

เมื่อไม่กี่วันมานี้ผมไปประชุมคณะทำงานชุดหนึ่งเพื่อพิจารณาเรื่องการ ปรับโครงสร้างองค์กรฝ่ายต่าง ๆ ของรัฐ อันเป็นการพิจารณาไปตามปกติและทำมาเป็นปี ๆ แล้วโดยไม่เกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศตามที่ลุงกำนันและใครต่อใครกำลังโหยหา และโหนหา อ้อ! และอย่าแปลกใจเลยครับว่าเขากำลังชัตดาวน์กันทั้งบ้านทั้งเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐกำลังหนียย่าย พ่ายจแจ คณะทำงานชุดนี้เส้นดีอย่างไร กูจึงยังบหนี (ภาษาในศิลาจารึก) สามารถมีที่มีทางประชุมกันได้ ก็จอดรถไกลหน่อยล่ะครับ แต่เข้าไปประชุมได้ไม่เห็นใครขัดขวางอะไร

ผู้แทนคณะทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าของเรื่องศึกษาปัญหาการปฏิรูป การศึกษาของชาติ ทำการบ้านมาดี นำเสนอปัญหาที่น่าตื่นตาตื่นใจจนผมต้องนำมาเล่าต่อว่า จากตัวเลขที่ WEF ซึ่งเป็นเวทีเศรษฐกิจโลกจัดอันดับปีที่แล้ว เขาจัดให้คุณภาพการศึกษาของไทยอยู่ในลำดับที่ 8 ของอาเซียน อย่าเพิ่งดีใจว่ายังเหนือกว่าอีก 2 ประเทศ เพราะเขาสำรวจเพียง 8 ประเทศ ระบบการประเมินนักศึกษานานาชาติ (PISA) จัดให้คุณภาพการอ่าน ความรู้ทางคณิตศาสตร์ และความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กไทยต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งยังมีตัวเลขที่น่าสนใจอีกว่าเด็กไทยร้อยละ 10 ยังอ่านไม่ออก วิเคราะห์ความหมายยังไม่ถูก ทักษะด้านภาษาอังกฤษ (EF) อยู่ในอันดับท้าย ๆ ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก (QS) อันดับของเรายังไม่โดดเด่นนัก เช่น จุฬาเป็นอันดับที่ 239 มหิดลอันดับที่ 283 จาก 800 แห่งทั่วโลก

ตัวเลขอื่นที่น่าสนใจคือวิชาชีพครูของไทยค่อนข้างตกต่ำ เราผลิตครูปีละประมาณ 5 หมื่นคน แต่บรรจุได้ไม่เกิน 5,000 คน บัณฑิตใหม่ตกงานปีละแสนเศษ สาขาที่จำเป็น เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษยังขาดแคลนครู มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการศึกษาน้อย เด็กอายุ 6-11 ขวบ ยังอยู่นอกระบบการศึกษาถึงร้อยละ 10 เด็กที่มีฐานะยากจนออกกลางคันในระดับประถมศึกษามีถึงร้อยละ 10 และยังมีความเหลื่อมล้ำในโอกาสทางการศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของเด็กต่างจังหวัดยังต่ำกว่าเด็กในกรุง

เอกชนยังมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาน้อย เช่น ระดับประถมศึกษาร้อยละ 18 ระดับมัธยมต้นร้อยละ 13 ระดับมัธยมปลายร้อยละ 20 ในขณะที่ระดับอุดมศึกษาร้อยละ 18 แม้แต่การมีส่วนร่วมจัดการศึกษาของภาคส่วนอื่น ๆ เช่น ครอบครัว ชุมชน สถาบันศาสนา สถานประกอบการก็ยังมีน้อยฟังแล้ววังเวงนะพี่น้อง!

ตัวเลขพวกนี้อาจไม่ถูกต้องเที่ยงตรงไปหมด ยิ่งตัวเลขประเภทการจัดอันดับมีปัจจัยชี้วัดหลายตัวจึงอาจเบี่ยงเบนได้ ขนาดเอ็กซิทโพลยังผิดมาแล้ว หรือแม้แต่ตัวเลขผู้เข้าร่วมการชุมนุมของ กปปส. ศอ.รส. สตช. ศรภ. สื่อมวลชน บีบีซี ยังไม่ตรงกันเลย! แต่ดูจากหัวข้อก็น่าจะสะท้อนได้ว่าปัญหามีอยู่จริง เมื่อมาดูกระแสความเปลี่ยนแปลงหรือบริบทของสังคมที่โถมทับเข้ามาได้แก่ การก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งเน้นภาษาต่างประเทศและการแข่งขันในยุคที่ทุกอย่างเสรี การที่โลกก้าวสู่ศตวรรษที่ 21 ซึ่งเน้นการคิด การอ่าน การวิเคราะห์ การมีความรู้ทางภาษา คณิตศาสตร์ และการก้าวสู่กระแสคลื่นลูกที่ 4 ซึ่งเน้นสังคมเศรษฐกิจ ฐานความรู้แล้ว เราจำเป็นต้องปรับระบบราชการด้านการจัดการศึกษา นับแต่การลดขั้นตอน การกระจายอำนาจ การลดระเบียบกฎกติกาให้คล่องตัวขึ้น การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการศึกษา และการจัดระเบียบองค์กรด้านการศึกษาเสียใหม่ให้กะทัดรัด และเน้นการวางระเบียบ วางมาตรฐาน มากกว่าการที่รัฐจะลงไปปฏิบัติการเอง

หมอประเวศ วะสี สมัชชาการปฏิรูป และเวทีอะไรต่ออะไรที่เคยปล้ำผีลุกปลุกผีนั่งเรื่องการปฏิรูปการศึกษาในฐานะ เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปประเทศเคยเสนอทางออกไว้ตรงกันว่า เราจำเป็นต้องส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตและนอกรูปแบบปกติให้มาก จำเป็นต้องส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทในการจัดการ ศึกษาแทนรัฐ จำเป็นต้องส่งเสริมการจัดการศึกษาโดยเอกชน และไม่ใช่ให้รัฐไปจัดการศึกษาแข่งกับเอกชนทั้งที่เอกชนทำได้ดีกว่า ประหยัดกว่า และจำเป็นต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน สถานประกอบการในการจัดการศึกษาให้มากกว่านี้ฟังดูก็ดีไปโม้ด แล้วทำไมจึงไม่ทำ หรือทำไม่ได้ คำตอบที่คณะทำงานได้รับคือ 1. ยังมีความไม่ไว้วางใจว่าเอกชน ภาคส่วนอื่นนอกจากรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถรับภาระพวกนี้ได้ บ้างก็ห่วงคุณภาพจึงไม่กล้าเสี่ยงจะทดลอง ซึ่งมีส่วนจริงเหมือนกัน แต่ถ้าไม่คิดทำในส่วนที่พอจะทำได้ก็จะไม่ได้เริ่มต้นสักที 2. ยังมีเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่น้อยที่คัดค้านมาตรการปฏิรูปเช่นว่านี้ คนเหล่านี้เสียงดัง เพราะมีจำนวนมากถ้าเคลื่อนไหวคัดค้านก็น่ากลัว บ้างก็มีผลประโยชน์ (ไม่ใช่การทุจริต) บ้างก็มีอำนาจต่อรองสูงเช่นเป็นหัวคะแนนนักการเมือง 3. ความไม่มุ่งมั่นจริงใจจากภาครัฐที่จะทำ เอาแค่ 3 ปี กระทรวงศึกษาธิการเปลี่ยนรัฐมนตรีมาไม่รู้เท่าไร บางสมัย รมต. กับ รมช. เล่นเพลงคนละคีย์เสียอีก นโยบายการศึกษาเลยไม่คงเส้นคงวามีผู้แนะขึ้นว่า เอางี้! เราควรยกระดับด้วยการเอามาตรการพวกนี้ไปใส่มือลุงกำนันไว้สักฉบับ และเอาไปฝากเวลาพรรคการเมืองจะลงสัตยาบันปฏิรูปประเทศอีกฉบับ คงสำเร็จเข้าสักทางล่ะน่า เพราะยุคนี้ “ปฏิรูป” กำลังขึ้นหม้อ เป็นอันว่าขอโหนการปฏิรูปประเทศด้วยคนก็แล้วกัน!.

ขอบคุณ... http://dailynews.co.th/Content/Article/211489/ปัญหาการศึกษาไทย (ขนาดไฟล์: 167)

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ม.ค.57

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ม.ค.57
วันที่โพสต์: 28/01/2557 เวลา 03:09:37 ดูภาพสไลด์โชว์  ปัญหาการศึกษาไทย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

คอลัมน์ จันทร์สนุก ศุกร์สนาน เมื่อไม่กี่วันมานี้ผมไปประชุมคณะทำงานชุดหนึ่งเพื่อพิจารณาเรื่องการ ปรับโครงสร้างองค์กรฝ่ายต่าง ๆ ของรัฐ อันเป็นการพิจารณาไปตามปกติและทำมาเป็นปี ๆ แล้วโดยไม่เกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศตามที่ลุงกำนันและใครต่อใครกำลังโหยหา และโหนหา อ้อ! และอย่าแปลกใจเลยครับว่าเขากำลังชัตดาวน์กันทั้งบ้านทั้งเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐกำลังหนียย่าย พ่ายจแจ คณะทำงานชุดนี้เส้นดีอย่างไร กูจึงยังบหนี (ภาษาในศิลาจารึก) สามารถมีที่มีทางประชุมกันได้ ก็จอดรถไกลหน่อยล่ะครับ แต่เข้าไปประชุมได้ไม่เห็นใครขัดขวางอะไร ผู้แทนคณะทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าของเรื่องศึกษาปัญหาการปฏิรูป การศึกษาของชาติ ทำการบ้านมาดี นำเสนอปัญหาที่น่าตื่นตาตื่นใจจนผมต้องนำมาเล่าต่อว่า จากตัวเลขที่ WEF ซึ่งเป็นเวทีเศรษฐกิจโลกจัดอันดับปีที่แล้ว เขาจัดให้คุณภาพการศึกษาของไทยอยู่ในลำดับที่ 8 ของอาเซียน อย่าเพิ่งดีใจว่ายังเหนือกว่าอีก 2 ประเทศ เพราะเขาสำรวจเพียง 8 ประเทศ ระบบการประเมินนักศึกษานานาชาติ (PISA) จัดให้คุณภาพการอ่าน ความรู้ทางคณิตศาสตร์ และความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กไทยต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งยังมีตัวเลขที่น่าสนใจอีกว่าเด็กไทยร้อยละ 10 ยังอ่านไม่ออก วิเคราะห์ความหมายยังไม่ถูก ทักษะด้านภาษาอังกฤษ (EF) อยู่ในอันดับท้าย ๆ ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก (QS) อันดับของเรายังไม่โดดเด่นนัก เช่น จุฬาเป็นอันดับที่ 239 มหิดลอันดับที่ 283 จาก 800 แห่งทั่วโลก ตัวเลขอื่นที่น่าสนใจคือวิชาชีพครูของไทยค่อนข้างตกต่ำ เราผลิตครูปีละประมาณ 5 หมื่นคน แต่บรรจุได้ไม่เกิน 5,000 คน บัณฑิตใหม่ตกงานปีละแสนเศษ สาขาที่จำเป็น เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษยังขาดแคลนครู มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการศึกษาน้อย เด็กอายุ 6-11 ขวบ ยังอยู่นอกระบบการศึกษาถึงร้อยละ 10 เด็กที่มีฐานะยากจนออกกลางคันในระดับประถมศึกษามีถึงร้อยละ 10 และยังมีความเหลื่อมล้ำในโอกาสทางการศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของเด็กต่างจังหวัดยังต่ำกว่าเด็กในกรุง เอกชนยังมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาน้อย เช่น ระดับประถมศึกษาร้อยละ 18 ระดับมัธยมต้นร้อยละ 13 ระดับมัธยมปลายร้อยละ 20 ในขณะที่ระดับอุดมศึกษาร้อยละ 18 แม้แต่การมีส่วนร่วมจัดการศึกษาของภาคส่วนอื่น ๆ เช่น ครอบครัว ชุมชน สถาบันศาสนา สถานประกอบการก็ยังมีน้อยฟังแล้ววังเวงนะพี่น้อง! ตัวเลขพวกนี้อาจไม่ถูกต้องเที่ยงตรงไปหมด ยิ่งตัวเลขประเภทการจัดอันดับมีปัจจัยชี้วัดหลายตัวจึงอาจเบี่ยงเบนได้ ขนาดเอ็กซิทโพลยังผิดมาแล้ว หรือแม้แต่ตัวเลขผู้เข้าร่วมการชุมนุมของ กปปส. ศอ.รส. สตช. ศรภ. สื่อมวลชน บีบีซี ยังไม่ตรงกันเลย! แต่ดูจากหัวข้อก็น่าจะสะท้อนได้ว่าปัญหามีอยู่จริง เมื่อมาดูกระแสความเปลี่ยนแปลงหรือบริบทของสังคมที่โถมทับเข้ามาได้แก่ การก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งเน้นภาษาต่างประเทศและการแข่งขันในยุคที่ทุกอย่างเสรี การที่โลกก้าวสู่ศตวรรษที่ 21 ซึ่งเน้นการคิด การอ่าน การวิเคราะห์ การมีความรู้ทางภาษา คณิตศาสตร์ และการก้าวสู่กระแสคลื่นลูกที่ 4 ซึ่งเน้นสังคมเศรษฐกิจ ฐานความรู้แล้ว เราจำเป็นต้องปรับระบบราชการด้านการจัดการศึกษา นับแต่การลดขั้นตอน การกระจายอำนาจ การลดระเบียบกฎกติกาให้คล่องตัวขึ้น การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการศึกษา และการจัดระเบียบองค์กรด้านการศึกษาเสียใหม่ให้กะทัดรัด และเน้นการวางระเบียบ วางมาตรฐาน มากกว่าการที่รัฐจะลงไปปฏิบัติการเอง หมอประเวศ วะสี สมัชชาการปฏิรูป และเวทีอะไรต่ออะไรที่เคยปล้ำผีลุกปลุกผีนั่งเรื่องการปฏิรูปการศึกษาในฐานะ เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปประเทศเคยเสนอทางออกไว้ตรงกันว่า เราจำเป็นต้องส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตและนอกรูปแบบปกติให้มาก จำเป็นต้องส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทในการจัดการ ศึกษาแทนรัฐ จำเป็นต้องส่งเสริมการจัดการศึกษาโดยเอกชน และไม่ใช่ให้รัฐไปจัดการศึกษาแข่งกับเอกชนทั้งที่เอกชนทำได้ดีกว่า ประหยัดกว่า และจำเป็นต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน สถานประกอบการในการจัดการศึกษาให้มากกว่านี้ฟังดูก็ดีไปโม้ด แล้วทำไมจึงไม่ทำ หรือทำไม่ได้ คำตอบที่คณะทำงานได้รับคือ 1. ยังมีความไม่ไว้วางใจว่าเอกชน ภาคส่วนอื่นนอกจากรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถรับภาระพวกนี้ได้ บ้างก็ห่วงคุณภาพจึงไม่กล้าเสี่ยงจะทดลอง ซึ่งมีส่วนจริงเหมือนกัน แต่ถ้าไม่คิดทำในส่วนที่พอจะทำได้ก็จะไม่ได้เริ่มต้นสักที 2. ยังมีเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่น้อยที่คัดค้านมาตรการปฏิรูปเช่นว่านี้ คนเหล่านี้เสียงดัง เพราะมีจำนวนมากถ้าเคลื่อนไหวคัดค้านก็น่ากลัว บ้างก็มีผลประโยชน์ (ไม่ใช่การทุจริต) บ้างก็มีอำนาจต่อรองสูงเช่นเป็นหัวคะแนนนักการเมือง 3. ความไม่มุ่งมั่นจริงใจจากภาครัฐที่จะทำ เอาแค่ 3 ปี กระทรวงศึกษาธิการเปลี่ยนรัฐมนตรีมาไม่รู้เท่าไร บางสมัย รมต. กับ รมช. เล่นเพลงคนละคีย์เสียอีก นโยบายการศึกษาเลยไม่คงเส้นคงวามีผู้แนะขึ้นว่า เอางี้! เราควรยกระดับด้วยการเอามาตรการพวกนี้ไปใส่มือลุงกำนันไว้สักฉบับ และเอาไปฝากเวลาพรรคการเมืองจะลงสัตยาบันปฏิรูปประเทศอีกฉบับ คงสำเร็จเข้าสักทางล่ะน่า เพราะยุคนี้ “ปฏิรูป” กำลังขึ้นหม้อ เป็นอันว่าขอโหนการปฏิรูปประเทศด้วยคนก็แล้วกัน!. ขอบคุณ... http://dailynews.co.th/Content/Article/211489/ปัญหาการศึกษาไทย เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ม.ค.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...