“จาตุรนต์” แถ กศน.เปิดจบ ม.6 ใน 8 เดือนไม่ใช่ประชานิยม

แสดงความคิดเห็น

จาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รมว.ศธ.

มอบ กศน.เร่งยกระดับคุณภาพผู้เรียนนอกระบบ พร้อมทั้งสร้างความเข้าใจกับ ปชช.ถึงโครงการจบ ม.6 ใน 8 เดือน ย้ำไม่ใช่ประชานิยม แต่เพื่อให้เกิดคุณภาพ หลังพบคนแห่สมัครกว่า 9 หมื่นคน แต่สอบผ่านระดับต้นเพียง 3 พันเท่านั้น

นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ได้รายงานความคืบหน้าเรื่องการเพิ่ม และขยายโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพของ กศน. ตามนโยบายยกระดับคุณภาพการศึกษา ที่ได้มอบหมายให้ กศน.ไปดำเนินการ 3 เรื่อง ได้แก่ 1.การจัดการศึกษาให้ประชาชนรู้หนังสือ โดย ศธ.มีเป้าหมายให้คนไทยตั้งแต่อายุ 15-59 ปี รู้หนังสือ เพราะจากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2554 พบว่า กลุ่มอายุดังกล่าวไม่รู้หนังสือถึง 45% ซึ่งขณะนี้ กศน.ได้จัดทำแผนเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจัง 2.การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษานอกระบบในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งในปีนี้ กศน.ได้กำหนดให้เป็นปีแห่งการยกระดับคุณภาพสู่สากลภายใต้การพัฒนาคุณภาพ 6 มิติ ประกอบด้วย ผู้เรียนรูปแบบการเรียนการจัดการเรียนรู้สื่อการเรียนครูผู้สอนและการบริหารจัดการ

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน กศน.ได้พยายามลดสัดส่วนครูต่อผู้เรียนในกลุ่มผู้เรียนปกติจาก 1:80 มาเป็น 1:60 กลุ่มผู้เรียนพิการทางสติปัญญา 1:5 กลุ่มผู้เรียนพิการทางร่างกาย 1:10 กลุ่มผู้เรียนพื้นที่พิเศษ 1:35 และ 3.การจัดการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ซึ่ง กศน.ได้จัดทำโครงการ 1 จังหวัด 1 ห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีงานทำโดยเน้นผู้เรียนที่มีงานทำแล้วเท่านั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาด้านอาชีพ ซึ่งรับได้ประมาณ 30,000คนต่อปีเท่านั้น

นายจาตุรนต์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ จากการนำเสนอความคืบหน้าดังกล่าว ที่ประชุมได้มอบให้ กศน.ไปดำเนินการต่อ โดยเรื่องการจัดการศึกษาให้ประชาชนรู้หนังสือนั้น ให้ไปศึกษาประสบการณ์เทียบเคียงกับการดำเนินการเรื่องนี้ของสำนักงานคณะ กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อนำประสบการณ์ที่ดีมาใช้ให้แน่ใจว่าจะสอนให้ประชาชนได้รู้หนังสืออย่าง มีประสิทธิภาพจริงๆ ส่วนเรื่องสัดส่วนครูต่อนักเรียนนั้น ได้ให้ไปศึกษาถึงสัดส่วนที่เหมาะสม โดยเฉพาะระบบที่ใช้ในการอุดหนุนการศึกษานอกระบบที่จะสามารถทำให้ไปพัฒนา คุณภาพการศึกษาได้ดีขึ้น เนื่องจากเงินอุดหนุนรายหัวที่รัฐจัดสรรให้นั้น กศน.ต้องนำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคารสถานที่ ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าจ้างครู ดังนั้นเมื่อเทียบการจัดการศึกษากับหน่วยงานอื่น เช่น สพฐ.จะพบว่าเงินที่ใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ กศน.อยู่ในระดับต่ำมาก จึงทำให้การขยายโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพเป็นไปได้ยาก นอกจากนี้ ขอให้ กศน.ไปชี้แจงให้สังคมเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ หลักเกณฑ์ และความยากง่ายในการสอบของโครงการเทียบโอนระดับการศึกษาขั้นสูงสุดการศึกษา ขั้นพื้นฐาน หรือโครงการเรียนจบ ม.6 ใน 8 เดือน เพื่อให้สังคมได้เข้าใจว่าเป็นโครงการที่เน้นคุณภาพไม่ใช่เป็นโครงการที่สร้างความนิยมให้กับผู้สนใจโดยไม่คำนึงถึงคุณภาพ

“โครงการนี้มีผู้สนใจมาสมัครเทียบระดับสูงมาก ประมาณ 90,000 กว่าคน แต่สอบขั้นต้นได้ประมาณ 3,000 กว่าคน และสอบผ่านเกณฑ์ทุกวิชาประมาณ 100 กว่าคน ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ไม่ตรงกับความเข้าใจของสังคมเลย ซึ่งโครงการนี้เน้นคุณภาพมาก ไม่ใช่โครงการที่เข้าง่ายออกง่าย และไม่มีคุณภาพอย่างที่เข้าใจกัน” นายจาตุรนต์ กล่าวและว่า ที่ประชุมยังได้มอบให้ กศน.ไปพิจารณาแนวทางการดูแลครูช่วยสอน และครูอัตราจ้างที่อยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร เพื่อให้มีเส้นทางความก้าวหน้า และมีโอกาสที่จะเรียนต่อ เพื่อขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ซึ่งอย่างไรก็ตามที่ประชุมยังได้มอบให้ กศน.ไปรวบรวมประเด็นสำคัญที่ยังค้างอยู่ และรอการตัดสินใจทั้งจากคณะกรรมการ กศน.และคณะรัฐมนตรี (ครม.) มานำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ กศน.ที่จะจัดขึ้นในเร็วๆ นี้ เพราะงาน กศน.มีผู้ที่เกี่ยวข้องถึง 1.35 ล้านคน ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องเร่งดำเนินการ

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9570000010702 (ขนาดไฟล์: 164)

(ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ม.ค.57)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ม.ค.57
วันที่โพสต์: 29/01/2557 เวลา 04:27:12 ดูภาพสไลด์โชว์ “จาตุรนต์” แถ กศน.เปิดจบ ม.6 ใน 8 เดือนไม่ใช่ประชานิยม

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

จาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รมว.ศธ. มอบ กศน.เร่งยกระดับคุณภาพผู้เรียนนอกระบบ พร้อมทั้งสร้างความเข้าใจกับ ปชช.ถึงโครงการจบ ม.6 ใน 8 เดือน ย้ำไม่ใช่ประชานิยม แต่เพื่อให้เกิดคุณภาพ หลังพบคนแห่สมัครกว่า 9 หมื่นคน แต่สอบผ่านระดับต้นเพียง 3 พันเท่านั้น นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ได้รายงานความคืบหน้าเรื่องการเพิ่ม และขยายโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพของ กศน. ตามนโยบายยกระดับคุณภาพการศึกษา ที่ได้มอบหมายให้ กศน.ไปดำเนินการ 3 เรื่อง ได้แก่ 1.การจัดการศึกษาให้ประชาชนรู้หนังสือ โดย ศธ.มีเป้าหมายให้คนไทยตั้งแต่อายุ 15-59 ปี รู้หนังสือ เพราะจากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2554 พบว่า กลุ่มอายุดังกล่าวไม่รู้หนังสือถึง 45% ซึ่งขณะนี้ กศน.ได้จัดทำแผนเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจัง 2.การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษานอกระบบในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งในปีนี้ กศน.ได้กำหนดให้เป็นปีแห่งการยกระดับคุณภาพสู่สากลภายใต้การพัฒนาคุณภาพ 6 มิติ ประกอบด้วย ผู้เรียนรูปแบบการเรียนการจัดการเรียนรู้สื่อการเรียนครูผู้สอนและการบริหารจัดการ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน กศน.ได้พยายามลดสัดส่วนครูต่อผู้เรียนในกลุ่มผู้เรียนปกติจาก 1:80 มาเป็น 1:60 กลุ่มผู้เรียนพิการทางสติปัญญา 1:5 กลุ่มผู้เรียนพิการทางร่างกาย 1:10 กลุ่มผู้เรียนพื้นที่พิเศษ 1:35 และ 3.การจัดการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ซึ่ง กศน.ได้จัดทำโครงการ 1 จังหวัด 1 ห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีงานทำโดยเน้นผู้เรียนที่มีงานทำแล้วเท่านั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาด้านอาชีพ ซึ่งรับได้ประมาณ 30,000คนต่อปีเท่านั้น นายจาตุรนต์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ จากการนำเสนอความคืบหน้าดังกล่าว ที่ประชุมได้มอบให้ กศน.ไปดำเนินการต่อ โดยเรื่องการจัดการศึกษาให้ประชาชนรู้หนังสือนั้น ให้ไปศึกษาประสบการณ์เทียบเคียงกับการดำเนินการเรื่องนี้ของสำนักงานคณะ กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อนำประสบการณ์ที่ดีมาใช้ให้แน่ใจว่าจะสอนให้ประชาชนได้รู้หนังสืออย่าง มีประสิทธิภาพจริงๆ ส่วนเรื่องสัดส่วนครูต่อนักเรียนนั้น ได้ให้ไปศึกษาถึงสัดส่วนที่เหมาะสม โดยเฉพาะระบบที่ใช้ในการอุดหนุนการศึกษานอกระบบที่จะสามารถทำให้ไปพัฒนา คุณภาพการศึกษาได้ดีขึ้น เนื่องจากเงินอุดหนุนรายหัวที่รัฐจัดสรรให้นั้น กศน.ต้องนำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคารสถานที่ ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าจ้างครู ดังนั้นเมื่อเทียบการจัดการศึกษากับหน่วยงานอื่น เช่น สพฐ.จะพบว่าเงินที่ใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ กศน.อยู่ในระดับต่ำมาก จึงทำให้การขยายโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพเป็นไปได้ยาก นอกจากนี้ ขอให้ กศน.ไปชี้แจงให้สังคมเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ หลักเกณฑ์ และความยากง่ายในการสอบของโครงการเทียบโอนระดับการศึกษาขั้นสูงสุดการศึกษา ขั้นพื้นฐาน หรือโครงการเรียนจบ ม.6 ใน 8 เดือน เพื่อให้สังคมได้เข้าใจว่าเป็นโครงการที่เน้นคุณภาพไม่ใช่เป็นโครงการที่สร้างความนิยมให้กับผู้สนใจโดยไม่คำนึงถึงคุณภาพ “โครงการนี้มีผู้สนใจมาสมัครเทียบระดับสูงมาก ประมาณ 90,000 กว่าคน แต่สอบขั้นต้นได้ประมาณ 3,000 กว่าคน และสอบผ่านเกณฑ์ทุกวิชาประมาณ 100 กว่าคน ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ไม่ตรงกับความเข้าใจของสังคมเลย ซึ่งโครงการนี้เน้นคุณภาพมาก ไม่ใช่โครงการที่เข้าง่ายออกง่าย และไม่มีคุณภาพอย่างที่เข้าใจกัน” นายจาตุรนต์ กล่าวและว่า ที่ประชุมยังได้มอบให้ กศน.ไปพิจารณาแนวทางการดูแลครูช่วยสอน และครูอัตราจ้างที่อยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร เพื่อให้มีเส้นทางความก้าวหน้า และมีโอกาสที่จะเรียนต่อ เพื่อขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ซึ่งอย่างไรก็ตามที่ประชุมยังได้มอบให้ กศน.ไปรวบรวมประเด็นสำคัญที่ยังค้างอยู่ และรอการตัดสินใจทั้งจากคณะกรรมการ กศน.และคณะรัฐมนตรี (ครม.) มานำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ กศน.ที่จะจัดขึ้นในเร็วๆ นี้ เพราะงาน กศน.มีผู้ที่เกี่ยวข้องถึง 1.35 ล้านคน ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องเร่งดำเนินการ ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9570000010702 (ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ม.ค.57)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...