ม.6 จบใน 8 ด. เรียนไม่หมู ผ่านแค่ 3 พัน
จาตุรนต์มอบ กศน.ดำเนินงานโครงการ ม.6 จบใน 8 เดือน ชี้แจงสังคมไม่ใช่โครงการเข้าง่ายออกง่าย สมัคร 9 หมื่น แต่จบเพียง 3,000 คน สอบผ่านทุกวิชาแค่ 100 คน เผยเงินอุดหนุนการศึกษา กศน.ต่ำ ส่งผลให้ขยายโอกาสการศึกษายาก
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ได้รายงานความคืบหน้าเรื่องการเพิ่มและขยายโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ของ กศน. ตามนโยบายยกระดับคุณภาพการศึกษาที่ได้มอบหมายให้ กศน.ไปดำเนินการต่อ 3 เรื่อง ได้แก่ 1.เรื่องการจัดการศึกษาให้ประชาชนรู้หนังสือ โดย ศธ.มีเป้าหมายให้คนไทยตั้งแต่อายุ 15-59 ปีรู้หนังสือ เพราะจากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2554 พบว่ากลุ่มอายุดังกล่าวไม่รู้หนังสือถึง 45% 2.การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษานอกระบบในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดย กศน.ได้กำหนดให้เรื่องนี้เป็นปีแห่งการยกระดับคุณภาพสู่สากลภายใต้การพัฒนา คุณภาพ 6 มิติ ประกอบด้วย ด้านผู้เรียน รูปแบบการเรียน การจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียน ครูผู้สอน และการบริหารจัดการ ซึ่งปัจจุบัน กศน.ได้พยายามลดสัดส่วนครูต่อผู้เรียนในกลุ่มผู้เรียนปกติจาก 1:80 มาเป็น 1:60 กลุ่มผู้เรียนพิการทางสติปัญญา 1:5 กลุ่มผู้เรียนพิการทางร่างกาย 1:10 กลุ่มผู้เรียนพื้นที่พิเศษ 1:35 และ 3.การจัดการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ซึ่ง กศน.ได้จัดทำโครงการ 1 จังหวัด 1 ห้องเรียน โดยจะเน้นผู้เรียนที่มีงานทำแล้วเท่านั้นมาเรียน เพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษาด้านอาชีพ
นายจาตุรนต์กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ที่ประชุมจึงได้มอบหมายให้ กศน.ไปศึกษาประสบการณ์เทียบเคียงจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในการจัดทำแผนส่งเสริมให้ประชาชนรู้หนังสือมากขึ้น เนื่องจาก สพฐ.ทำเรื่องนี้และประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนเรื่องสัดส่วนครูต่อนักเรียนนั้น จะขอให้ไปศึกษาถึงสัดส่วนที่เหมาะสม โดยเฉพาะระบบที่ใช้ในการอุดหนุนการศึกษานอกระบบที่จะสามารถนำไปพัฒนาคุณภาพ การศึกษาได้ดีขึ้น เนื่องจากเงินอุดหนุนรายหัวที่ให้ กศน.ไปต้องใช้เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคารสถานที่ ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าจ้างครู ดังนั้นเมื่อเทียบการจัดการศึกษากับหน่วยงานอื่น พบว่าเงินที่ใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา กศน.อยู่ในระดับต่ำมาก จึงทำให้การขยายโอกาสทางการศึกษาเป็นไปได้ยาก นอกจากนี้ได้ฝากให้ กศน.ไปดำเนินการต่อคือ โครงการเทียบโอนระดับการศึกษาขั้นสูงสุด หรือโครงการ ม.6 จบภายใน 8 เดือน เนื่องจากพบว่าโครงการนี้มีผู้สนใจเข้ามาสมัครเทียบระดับสูงมาก ประมาณกว่า 90,000 คน สอบได้กว่า 3,000 คน และสอบผ่านเกณฑ์ทุกวิชากว่า 100 คน
“โครงการนี้ไม่ใช่โครงการที่เข้าง่ายออกง่ายอย่างที่เข้าใจ จึงให้ กศน.ชี้แจงกับสังคมว่าโครงการนี้มีหลักเกณฑ์และวัตถุประสงค์อย่างไร เพราะโครงการนี้เน้นคุณภาพ ไม่ใช่โครงการที่จะสร้างความนิยมกับผู้สนใจ อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้มอบให้ กศน.ไปรวบรวมประเด็นสำคัญที่จะต้องเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่ามีเรื่องใดบ้างที่ต้องเร่งดำเนินการ เนื่องจากงาน กศน.มีผู้เกี่ยวข้องกว่า 1 ล้านคน รวมถึงขอให้ กศน.ไปคิดเรื่องการดูแลครู ไม่ว่าจะเป็นครูช่วยสอน ครูอัตราจ้าง ตามเขตพื้นที่ทุรกันดาร เพื่อหาโอกาสความก้าวหน้าให้กับกลุ่มครูเหล่านี้ต่อไป” นายจาตุรนต์กล่าว
ขอบคุณ... http://www.thaipost.net/news/290114/85250 (ขนาดไฟล์: 167)
( ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 31 ม.ค.57 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
จาตุรนต์มอบ กศน.ดำเนินงานโครงการ ม.6 จบใน 8 เดือน ชี้แจงสังคมไม่ใช่โครงการเข้าง่ายออกง่าย สมัคร 9 หมื่น แต่จบเพียง 3,000 คน สอบผ่านทุกวิชาแค่ 100 คน เผยเงินอุดหนุนการศึกษา กศน.ต่ำ ส่งผลให้ขยายโอกาสการศึกษายาก นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ได้รายงานความคืบหน้าเรื่องการเพิ่มและขยายโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ของ กศน. ตามนโยบายยกระดับคุณภาพการศึกษาที่ได้มอบหมายให้ กศน.ไปดำเนินการต่อ 3 เรื่อง ได้แก่ 1.เรื่องการจัดการศึกษาให้ประชาชนรู้หนังสือ โดย ศธ.มีเป้าหมายให้คนไทยตั้งแต่อายุ 15-59 ปีรู้หนังสือ เพราะจากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2554 พบว่ากลุ่มอายุดังกล่าวไม่รู้หนังสือถึง 45% 2.การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษานอกระบบในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดย กศน.ได้กำหนดให้เรื่องนี้เป็นปีแห่งการยกระดับคุณภาพสู่สากลภายใต้การพัฒนา คุณภาพ 6 มิติ ประกอบด้วย ด้านผู้เรียน รูปแบบการเรียน การจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียน ครูผู้สอน และการบริหารจัดการ ซึ่งปัจจุบัน กศน.ได้พยายามลดสัดส่วนครูต่อผู้เรียนในกลุ่มผู้เรียนปกติจาก 1:80 มาเป็น 1:60 กลุ่มผู้เรียนพิการทางสติปัญญา 1:5 กลุ่มผู้เรียนพิการทางร่างกาย 1:10 กลุ่มผู้เรียนพื้นที่พิเศษ 1:35 และ 3.การจัดการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ซึ่ง กศน.ได้จัดทำโครงการ 1 จังหวัด 1 ห้องเรียน โดยจะเน้นผู้เรียนที่มีงานทำแล้วเท่านั้นมาเรียน เพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษาด้านอาชีพ นายจาตุรนต์กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ที่ประชุมจึงได้มอบหมายให้ กศน.ไปศึกษาประสบการณ์เทียบเคียงจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในการจัดทำแผนส่งเสริมให้ประชาชนรู้หนังสือมากขึ้น เนื่องจาก สพฐ.ทำเรื่องนี้และประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนเรื่องสัดส่วนครูต่อนักเรียนนั้น จะขอให้ไปศึกษาถึงสัดส่วนที่เหมาะสม โดยเฉพาะระบบที่ใช้ในการอุดหนุนการศึกษานอกระบบที่จะสามารถนำไปพัฒนาคุณภาพ การศึกษาได้ดีขึ้น เนื่องจากเงินอุดหนุนรายหัวที่ให้ กศน.ไปต้องใช้เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคารสถานที่ ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าจ้างครู ดังนั้นเมื่อเทียบการจัดการศึกษากับหน่วยงานอื่น พบว่าเงินที่ใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา กศน.อยู่ในระดับต่ำมาก จึงทำให้การขยายโอกาสทางการศึกษาเป็นไปได้ยาก นอกจากนี้ได้ฝากให้ กศน.ไปดำเนินการต่อคือ โครงการเทียบโอนระดับการศึกษาขั้นสูงสุด หรือโครงการ ม.6 จบภายใน 8 เดือน เนื่องจากพบว่าโครงการนี้มีผู้สนใจเข้ามาสมัครเทียบระดับสูงมาก ประมาณกว่า 90,000 คน สอบได้กว่า 3,000 คน และสอบผ่านเกณฑ์ทุกวิชากว่า 100 คน “โครงการนี้ไม่ใช่โครงการที่เข้าง่ายออกง่ายอย่างที่เข้าใจ จึงให้ กศน.ชี้แจงกับสังคมว่าโครงการนี้มีหลักเกณฑ์และวัตถุประสงค์อย่างไร เพราะโครงการนี้เน้นคุณภาพ ไม่ใช่โครงการที่จะสร้างความนิยมกับผู้สนใจ อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้มอบให้ กศน.ไปรวบรวมประเด็นสำคัญที่จะต้องเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่ามีเรื่องใดบ้างที่ต้องเร่งดำเนินการ เนื่องจากงาน กศน.มีผู้เกี่ยวข้องกว่า 1 ล้านคน รวมถึงขอให้ กศน.ไปคิดเรื่องการดูแลครู ไม่ว่าจะเป็นครูช่วยสอน ครูอัตราจ้าง ตามเขตพื้นที่ทุรกันดาร เพื่อหาโอกาสความก้าวหน้าให้กับกลุ่มครูเหล่านี้ต่อไป” นายจาตุรนต์กล่าว ขอบคุณ... http://www.thaipost.net/news/290114/85250 ( ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 31 ม.ค.57 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)