ครูปริศนา อานจำปา ผู้สร้างเครือข่าย ครู-หมอ-พ่อแม่
คอลัมน์ จัตุรัสทั่วไทย : เพราะในช่วงปฐมวัยของเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 5 ปี เป็นช่วงเวลาและโอกาสที่สำคัญในการพัฒนาระบบความคิดเชาว์ปัญญา การพัฒนาทั้งด้านกล้ามเนื้อ การมองเห็น ภาษา ตรรกะเหตุผล รวมไปถึงทักษะด้านสังคม อารมณ์ ความรู้สึก ฯลฯ ดังนั้นการดูแลเด็กในช่วงอายุ 5 ปี ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุดของ การเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่ม "เด็กพิเศษ" ที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญา การเรียนรู้ การพูดและภาษา พฤติกรรมและอารมณ์ และออทิสติก ที่ควรจะได้รับการช่วยเหลือและในขณะอายุน้อย ซึ่งจะทำให้การกระตุ้นพัฒนาการและฟื้นฟูสมรรถภาพในด้านต่างๆ ได้ดีที่สุด โดยจะต้องทำตั้งแต่แรกเริ่มอย่างเข้มข้นเหมาะสมและต่อเนื่อง โดยอาศัยความร่วมมือของคนในครอบครัวและสังคม เพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นสามารถช่วยเหลือตนเองได้ตามศักยภาพสูงสุด และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
"โครงการพัฒนาครูและผู้ดูแลเด็กเล็กในชุมชนใกล้บ้านจังหวัดขอนแก่น" ของ "ครูปริศนา อานจำปา" จากศูนย์วิจัยออทิสติก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยของแก่น (มอดินแดง) ผู้ได้รับ "ทุนครูสอนดี" จากโครงการ "สังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ ยกย่องเชิดชู ครูสอนดี" ที่ขับเคลื่อนโดยสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน หรือ สสค. จึงเกิดขึ้นเพื่อต่อยอด และพัฒนาองค์ความรู้ในการดูแลเด็กพิเศษที่มี พัฒนาการล่าช้า ลงไปสู่ครู ผู้ปกครอง และผู้ที่ เกี่ยวข้องในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในชุมชน ให้มี ความรู้ความสามารถในการพัฒนาเด็กที่มีพัฒนา การช้า เพื่อช่วยเหลือและให้การสนับสนุนอย่างถูกต้องและเหมาะสม
นางปริศนา อานจำปา ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนานักเรียนและชุมชนสัมพันธ์ ฝ่ายการศึกษาพิเศษ ศูนย์วิจัยออทิสติก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอดินแดง) เล่าถึงที่มาของโครงการว่า สืบเนื่องจาก พ.ร.บ.การศึกษาในปัจจุบันได้เปิดโอกาสให้เด็กพิเศษสามารถเรียนในโรงเรียน ปกติได้ แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือครูอาจารย์ที่ดูแลยังไม่มีกระบวนการการดูแลที่ถูกต้อง เพราะไม่มีความรู้เรื่องนี้ รวมไปถึงตัวผู้ปกครองเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของชุมชนที่รับฝากเลี้ยงเด็กในช่วง ปฐมวัย ที่ครูผู้ดูแลหรืออาสาสมัครยังขาดองค์ความรู้ในการคัดกรองเบื้องต้น
"เมื่อศูนย์พัฒนาเด็กเล็กรับเด็กพิเศษที่มีพัฒนาการช้าเข้ามาก็จะเหมือน กับการไปฝากเลี้ยง ซึ่งก็จะไม่มีกระบวนการพัฒนาในด้านต่างๆ ทำให้เด็กที่มีพัฒนาการช้าก็จะเสียเวลาไป เสียโอกาสในการได้รับการช่วยเหลืออย่างเหมาะสม ทีนี้ปัญหาต่างๆ ก็จะสะสม พอขึ้นมาชั้น ป.1 ก็ซ้ำชั้นไป แต่ตอนนี้ พ.ร.บ.การศึกษาใหม่ไม่ให้เด็กซ้ำชั้นแล้ว ก็จะเป็นผลสืบเนื่องมา
จนถึงระดับมัธยมต้นและมัธยมปลายกลายเป็นเด็กที่เรียนไม่ได้เรียน ไม่รู้เรื่อง เรียนไม่ทันเพื่อน กลายเป็นเด็กที่มีปัญหาในสังคมต่อไป" ครูปริศนาระบุด้วยเหตุนี้จึงทำให้ "ครูปริศนา"มองย้อนกลับลงไปถึงจุดเริ่มต้น นั่นก็คือ "ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก"เพราะเป็นกระบวนการด่านแรกที่จะสามารถช่วยเหลือฟื้นฟู และกระตุ้นพัฒนาการของเด็กพิเศษที่มีปัญหาที่แตกต่างกันไปได้อย่างเหมาะสม เพราะหากปล่อยทิ้งไว้จนรอให้เข้าระดับประถมหรือมัธยม เด็กพิเศษกลุ่มนี้ก็จะขาดโอกาสในการพัฒนาศักยภาพ สมรรถภาพของตนเองไปอย่างน่าเสียดาย
"กิจกรรมที่ทำภายใต้โครงการนี้จะเป็นการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายคือ การจัดอบรมให้กับผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก และอาสาสมัครในศูนย์ดูแลเด็กเล็ก โดยร่วมกับโรงพยาบาล ศูนย์การศึกษาพิเศษ โรงเรียนเรียนร่วม และมหาวิทยาลัยมาให้องค์ความรู้ ซึ่งถึงแม้ว่าตอนนี้จะเป็นการทำงานในระยะสั้นๆ ซึ่งในระยะยาวภาคีเครือข่ายของศูนย์วิจัยออทิสติกก็ต้องไปดำเนินงานต่อ เหมือนกับเด็กเป็นไร่เป็นสวน จะทำยังไงให้ปลูกผักปลูกพืชให้มันงอกงาม เกิดเป็นการทำงานร่วมกับระหว่างครู หมอ และผู้ปกครอง พ่อแม่ก็ต้องรู้ว่าลูกพัฒนาการเป็นอย่างไร คุณครูในนั้นก็ต้องรู้ว่าเด็กพัฒนาเป็นอย่างไร แล้วแนวทางแก้การ กระตุ้นพัฒนาการเป็นอย่างไร" ครูปริศนากล่าวด้าน ดร.สมลักษณ์ พรหมมีเนตร ผู้ทรงคุณวุฒิติดตามโครงการทุนครูสอนดี Node 13 กลุ่มจังหวัดขอนแก่น เลย และชัยภูมิ กล่าวถึงกิจกรรมต่างๆ ภายใต้การดำเนินงานของโครงการนี้ว่า จะเกิดประโยชน์กับทุกภาคส่วนในสังคม ทั้งตัวของเด็กเอง ครอบครัว และชุมชน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ที่จะได้รับโอกาสทางการศึกษา อย่างมีคุณภาพและเท่าเทียมกับเด็กปกติ
"ปัจจุบันเรามีเด็กพิเศษกลุ่มนี้มากขึ้นในสังคม ซึ่งระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่สามารถจัดการศึกษาให้เด็กกลุ่มนี้ได้เต็ม ที่ แต่โครงการนี้จะมุ่งเน้นเข้าไปที่การแก้ปัญหาที่ตัวเด็กตั้งแต่ในระยะแรก เริ่ม ด้วยการเข้าไปให้ความรู้กับครูผู้ดูแลเด็กให้มีความรู้และความเข้าใจในการ จัดการเรียนการสอน ตรวจสอบและช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ ซึ่งจะช่วยทำให้เด็กได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ และได้รับการพัฒนาศักยภาพได้อย่างถูกต้องตรงกับสภาพปัญหาของแต่ละคน" ดร.สมลักษณ์ระบุ โดยโครงการนี้จะเป็นการนำร่องทดลองและพัฒนาหลักสูตรการให้ความรู้ในการดูแล เด็กพิเศษที่บกพร่องทางการเรียนรู้ ด้วยการให้ความรู้กับครูผู้ดูแลและผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 ชุมชนคือ "ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านผือ" และ "ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งทอง" เพื่อที่จะเป็นหน่วยคัดกรองช่วยเหลือดูแลเบื้องต้น เพราะเดิมทีองค์ความรู้เหล่านี้จะอยู่แต่ในโรงพยาบาลเท่านั้น
"ตั้งแต่แรกเกิดถึง 4 ขวบ คุณหมอจาก รพ.ขอนแก่น อยากมีกระบวนการให้การช่วยเหลือมากกว่านี้ เพราะว่าเด็กของเราเป็น LD เทียมเยอะ คืออ่านไม่ได้ เขียนไม่ออก สมาธิสั้น ซึ่งตรงนี้อาจเกิดจากกระบวนการการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม หรืออาจจะเกิดจากตัวเด็กเอง เกิดจากสื่อ เกิดจากเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม ดังนั้นเด็กแรกเกิดถึง 4 ปี เราจึงต้องหาทางคัดกรองและพัฒนาเขาให้ได้เร็วที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดเป็นผลพวงในระยะยาวต่อไป เพราะถ้าเขาได้กระตุ้นตั้งแต่เบื้องต้นมา พฤติกรรมต่างๆ ที่เป็นเยอะก็อาจจะเหลือน้อยลง ส่วนที่เป็นน้อยอาจจะไม่เป็นเลย เราก็คาดหวังอย่างนั้น" ครูปริศนาสรุป
ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/1832619
(ryt9.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ก.พ.58 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
คอลัมน์ จัตุรัสทั่วไทย : เพราะในช่วงปฐมวัยของเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 5 ปี เป็นช่วงเวลาและโอกาสที่สำคัญในการพัฒนาระบบความคิดเชาว์ปัญญา การพัฒนาทั้งด้านกล้ามเนื้อ การมองเห็น ภาษา ตรรกะเหตุผล รวมไปถึงทักษะด้านสังคม อารมณ์ ความรู้สึก ฯลฯ ดังนั้นการดูแลเด็กในช่วงอายุ 5 ปี ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุดของ การเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่ม "เด็กพิเศษ" ที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญา การเรียนรู้ การพูดและภาษา พฤติกรรมและอารมณ์ และออทิสติก ที่ควรจะได้รับการช่วยเหลือและในขณะอายุน้อย ซึ่งจะทำให้การกระตุ้นพัฒนาการและฟื้นฟูสมรรถภาพในด้านต่างๆ ได้ดีที่สุด โดยจะต้องทำตั้งแต่แรกเริ่มอย่างเข้มข้นเหมาะสมและต่อเนื่อง โดยอาศัยความร่วมมือของคนในครอบครัวและสังคม เพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นสามารถช่วยเหลือตนเองได้ตามศักยภาพสูงสุด และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข "โครงการพัฒนาครูและผู้ดูแลเด็กเล็กในชุมชนใกล้บ้านจังหวัดขอนแก่น" ของ "ครูปริศนา อานจำปา" จากศูนย์วิจัยออทิสติก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยของแก่น (มอดินแดง) ผู้ได้รับ "ทุนครูสอนดี" จากโครงการ "สังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ ยกย่องเชิดชู ครูสอนดี" ที่ขับเคลื่อนโดยสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน หรือ สสค. จึงเกิดขึ้นเพื่อต่อยอด และพัฒนาองค์ความรู้ในการดูแลเด็กพิเศษที่มี พัฒนาการล่าช้า ลงไปสู่ครู ผู้ปกครอง และผู้ที่ เกี่ยวข้องในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในชุมชน ให้มี ความรู้ความสามารถในการพัฒนาเด็กที่มีพัฒนา การช้า เพื่อช่วยเหลือและให้การสนับสนุนอย่างถูกต้องและเหมาะสม นางปริศนา อานจำปา ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนานักเรียนและชุมชนสัมพันธ์ ฝ่ายการศึกษาพิเศษ ศูนย์วิจัยออทิสติก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอดินแดง) เล่าถึงที่มาของโครงการว่า สืบเนื่องจาก พ.ร.บ.การศึกษาในปัจจุบันได้เปิดโอกาสให้เด็กพิเศษสามารถเรียนในโรงเรียน ปกติได้ แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือครูอาจารย์ที่ดูแลยังไม่มีกระบวนการการดูแลที่ถูกต้อง เพราะไม่มีความรู้เรื่องนี้ รวมไปถึงตัวผู้ปกครองเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของชุมชนที่รับฝากเลี้ยงเด็กในช่วง ปฐมวัย ที่ครูผู้ดูแลหรืออาสาสมัครยังขาดองค์ความรู้ในการคัดกรองเบื้องต้น "เมื่อศูนย์พัฒนาเด็กเล็กรับเด็กพิเศษที่มีพัฒนาการช้าเข้ามาก็จะเหมือน กับการไปฝากเลี้ยง ซึ่งก็จะไม่มีกระบวนการพัฒนาในด้านต่างๆ ทำให้เด็กที่มีพัฒนาการช้าก็จะเสียเวลาไป เสียโอกาสในการได้รับการช่วยเหลืออย่างเหมาะสม ทีนี้ปัญหาต่างๆ ก็จะสะสม พอขึ้นมาชั้น ป.1 ก็ซ้ำชั้นไป แต่ตอนนี้ พ.ร.บ.การศึกษาใหม่ไม่ให้เด็กซ้ำชั้นแล้ว ก็จะเป็นผลสืบเนื่องมา จนถึงระดับมัธยมต้นและมัธยมปลายกลายเป็นเด็กที่เรียนไม่ได้เรียน ไม่รู้เรื่อง เรียนไม่ทันเพื่อน กลายเป็นเด็กที่มีปัญหาในสังคมต่อไป" ครูปริศนาระบุด้วยเหตุนี้จึงทำให้ "ครูปริศนา"มองย้อนกลับลงไปถึงจุดเริ่มต้น นั่นก็คือ "ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก"เพราะเป็นกระบวนการด่านแรกที่จะสามารถช่วยเหลือฟื้นฟู และกระตุ้นพัฒนาการของเด็กพิเศษที่มีปัญหาที่แตกต่างกันไปได้อย่างเหมาะสม เพราะหากปล่อยทิ้งไว้จนรอให้เข้าระดับประถมหรือมัธยม เด็กพิเศษกลุ่มนี้ก็จะขาดโอกาสในการพัฒนาศักยภาพ สมรรถภาพของตนเองไปอย่างน่าเสียดาย "กิจกรรมที่ทำภายใต้โครงการนี้จะเป็นการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายคือ การจัดอบรมให้กับผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก และอาสาสมัครในศูนย์ดูแลเด็กเล็ก โดยร่วมกับโรงพยาบาล ศูนย์การศึกษาพิเศษ โรงเรียนเรียนร่วม และมหาวิทยาลัยมาให้องค์ความรู้ ซึ่งถึงแม้ว่าตอนนี้จะเป็นการทำงานในระยะสั้นๆ ซึ่งในระยะยาวภาคีเครือข่ายของศูนย์วิจัยออทิสติกก็ต้องไปดำเนินงานต่อ เหมือนกับเด็กเป็นไร่เป็นสวน จะทำยังไงให้ปลูกผักปลูกพืชให้มันงอกงาม เกิดเป็นการทำงานร่วมกับระหว่างครู หมอ และผู้ปกครอง พ่อแม่ก็ต้องรู้ว่าลูกพัฒนาการเป็นอย่างไร คุณครูในนั้นก็ต้องรู้ว่าเด็กพัฒนาเป็นอย่างไร แล้วแนวทางแก้การ กระตุ้นพัฒนาการเป็นอย่างไร" ครูปริศนากล่าวด้าน ดร.สมลักษณ์ พรหมมีเนตร ผู้ทรงคุณวุฒิติดตามโครงการทุนครูสอนดี Node 13 กลุ่มจังหวัดขอนแก่น เลย และชัยภูมิ กล่าวถึงกิจกรรมต่างๆ ภายใต้การดำเนินงานของโครงการนี้ว่า จะเกิดประโยชน์กับทุกภาคส่วนในสังคม ทั้งตัวของเด็กเอง ครอบครัว และชุมชน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ที่จะได้รับโอกาสทางการศึกษา อย่างมีคุณภาพและเท่าเทียมกับเด็กปกติ "ปัจจุบันเรามีเด็กพิเศษกลุ่มนี้มากขึ้นในสังคม ซึ่งระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่สามารถจัดการศึกษาให้เด็กกลุ่มนี้ได้เต็ม ที่ แต่โครงการนี้จะมุ่งเน้นเข้าไปที่การแก้ปัญหาที่ตัวเด็กตั้งแต่ในระยะแรก เริ่ม ด้วยการเข้าไปให้ความรู้กับครูผู้ดูแลเด็กให้มีความรู้และความเข้าใจในการ จัดการเรียนการสอน ตรวจสอบและช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ ซึ่งจะช่วยทำให้เด็กได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ และได้รับการพัฒนาศักยภาพได้อย่างถูกต้องตรงกับสภาพปัญหาของแต่ละคน" ดร.สมลักษณ์ระบุ โดยโครงการนี้จะเป็นการนำร่องทดลองและพัฒนาหลักสูตรการให้ความรู้ในการดูแล เด็กพิเศษที่บกพร่องทางการเรียนรู้ ด้วยการให้ความรู้กับครูผู้ดูแลและผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 ชุมชนคือ "ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านผือ" และ "ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งทอง" เพื่อที่จะเป็นหน่วยคัดกรองช่วยเหลือดูแลเบื้องต้น เพราะเดิมทีองค์ความรู้เหล่านี้จะอยู่แต่ในโรงพยาบาลเท่านั้น "ตั้งแต่แรกเกิดถึง 4 ขวบ คุณหมอจาก รพ.ขอนแก่น อยากมีกระบวนการให้การช่วยเหลือมากกว่านี้ เพราะว่าเด็กของเราเป็น LD เทียมเยอะ คืออ่านไม่ได้ เขียนไม่ออก สมาธิสั้น ซึ่งตรงนี้อาจเกิดจากกระบวนการการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม หรืออาจจะเกิดจากตัวเด็กเอง เกิดจากสื่อ เกิดจากเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม ดังนั้นเด็กแรกเกิดถึง 4 ปี เราจึงต้องหาทางคัดกรองและพัฒนาเขาให้ได้เร็วที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดเป็นผลพวงในระยะยาวต่อไป เพราะถ้าเขาได้กระตุ้นตั้งแต่เบื้องต้นมา พฤติกรรมต่างๆ ที่เป็นเยอะก็อาจจะเหลือน้อยลง ส่วนที่เป็นน้อยอาจจะไม่เป็นเลย เราก็คาดหวังอย่างนั้น" ครูปริศนาสรุป ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/1832619 (ryt9.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ก.พ.58 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)