“อัญชลี อินอ่อน” ครูผู้พัฒนาสื่อการเรียนการสอน “อักษรเบรลล์”
การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กนักเรียนที่บกพร่องทางการมองเห็น ทั้งในส่วนของตัวผู้เรียนเองและครูผู้จัดกระบวนการสอน นับเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะจะต้องใช้ทักษะการฟังและการสัมผัสเป็นหลัก โดยมีจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้คือการเรียน “อักษรเบรลล์” เพราะ “อักษรเบรลล์” คือเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยเปิดโอกาสการเรียนรู้ ให้กับผู้พิการทางสายตา ให้มีโอกาสได้รับการพัฒนาศักยภาพและความรู้ได้ทัดเทียมเทียบเท่ากับคนปกติ แต่เครื่องมือที่ใช้ในการเรียนรู้ภาษาเบรลล์ที่เป็นสากลในปัจจุบันอย่าง Slate (สเลท) หรือ บรรทัดเขียนอักษรเบรลล์ นั้น อาจยังไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กๆ หรือเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายร่วมด้วย เนื่องจากมีขนาดเล็กทำให้การเรียนรู้จากการสัมผัสจุดเล็กๆ ทั้ง 6 จุดที่จะสื่อความหมายถึงตัวอักษรและตัวเลขทั้งในภาษาไทยและภาษา อังกฤษเป็นไปได้อย่างล่าช้า
ด้วยความเชื่อมั่นว่า “คนตาบอดคือคนปกติที่มองไม่เห็น ถึงแม้จะสูญเสียการมองเห็นแต่ประสาทสัมผัสส่วนอื่นยังใช้ได้ดี หากสังคมเข้าใจและให้โอกาส เขาก็จะได้รับการศึกษาและสามารถพัฒนาตนเองให้ถึงศักยภาพสูงสุดที่มีอยู่ เป็นสมาชิกของสังคมคนหนึ่งที่มีคุณภาพ” ทำให้ “ครูอัญชลี อินอ่อน” ผู้ได้รับ “ทุนครูสอนดี” จาก โรงเรียนธรรมิกวิทยา อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรีที่แม้จะไม่ได้จบด้านการศึกษาพิเศษมาโดยตรง และเพิ่งย้ายมาสอนวิชาสังคมศึกษาที่โรงเรียนแห่งนี้ได้เพียง 3 ปี ได้มองเห็นถึงสภาพปัญหาในการเรียนรู้ของเด็กๆ จึงได้จัดทำ “โครงการส่งเสริมการผลิตสื่อเพื่อการเรียนรู้อักษรเบรลล์ภาษา ไทย-อังกฤษ” ขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนจาก สำนัก งานส่งเสริมสังคมแห่งการ เรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ภายใต้โครงการ “สังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ ยกย่องเชิดชู ครูสอนดี” เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนการสอนอักษรเบรลล์ที่ช่วยให้เด็กๆ ได้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้นและมีความสนุกสนานควบคู่ไป ด้วย
“นางสาวอัญชลี อินอ่อน” เล่าถึงแรงบันดาลใจในการทำโครงการนี้ว่าเกิดขึ้นจากโรงเรียนแห่ง นี้เป็นสถานศึกษาเฉพาะทางสำหรับผู้ที่บกพร่องทางการมองเห็น ซึ่งปัญหาหนึ่งในการเรียนรู้ของเด็กๆ ก็คือสื่อการเรียนการสอนที่จะสามารถสร้างความเข้าใจให้กับเด็กๆ โดยมี “อักษรเบรลล์” เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ
“สำหรับเด็กบางคนที่ไม่ได้มีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อมือก็อาจจะใช้เวลาไม่ นานนักในการที่จะเรียนรู้ แต่สำหรับเด็กที่มีความพิการอื่นๆ ร่วมด้วยปัญหาตรงนี้ก็จะเป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะถ้ากล้ามเนื้อมือไม่ดี ก็จะใช้เวลานานมากที่จะจับความรู้สึกได้สักหนึ่งจุด ซึ่งแต่ละจุดก็มีขนาดที่เล็กมาก กว่าจะเรียนรู้ได้ครบทั้ง 6 จุดก็จะใช้เวลานานมากกว่าคนอื่นๆ”ครูอัญชลีระบุ
แม้ว่าจะมีการหาหนทางพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ทั้งการนำดินน้ำมันมาปั้นเป็นจุดต่างๆ เพื่อแทนที่คำศัพท์หรือตัวอักษร หรือการนำลูกแก้วมาวางลงไปในหลุมดินน้ำมันในตำแหน่งต่างๆ แต่ก็ยังเป็นเรื่องยากที่ครูผู้สอนจะสามารถตรวจทางความถูกต้องของตำแหน่งจุด หรือลูกแก้วให้ตรงกับตัวอักษรที่ได้บอกให้เด็กๆ ฝึกทักษะการจดจำตำแหน่งต่างๆ ตามหลักของอักษรเบรลล์ ด้วยความเป็นครูที่อยากให้ลูกศิษย์มีความสุขและสนุกกับการเรียนรู้ทำ ให้ “ครูอัญชลี” ได้คิดค้น ออกแบบ และพัฒนาสื่อการเรียนรู้อักษรเบรลล์ที่เหมาะสมสำหรับเด็กที่บกพร่องทางการ มองเห็น ที่สามารถนำไปใช้ช่วยการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นกับเด็กทั้ง 2 กลุ่มได้เป็น อย่างดี ที่ประกอบไปด้วย แผ่นไม้อักษรเบรลล์, เครื่องอ่านและเครื่องเขียนอักษรเบรลล์อิเล็กทรอนิกส์ และชุดฝึกไทย-อังกฤษเบรลล์ด้วยกระดานพูดได้
“เครื่องมือที่ได้จัดทำขึ้นทั้ง 3 แบบ นอกจากจะช่วยฝึกในเรื่องพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็กให้กับเด็กๆ แล้วยังช่วยให้การเรียนรู้อักษรเบรลล์สำหรับเด็กๆ เป็นไปได้โดยง่ายมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากมีขนาดที่ใหญ่และเหมาะสมกับกล้ามเนื้อมือของเด็ก และตัวของครูเองยังสามารถตรวจสอบความถูกต้องของตำแหน่งจุดที่แทนตัวอักษร หรือตัวเลขได้อย่างง่ายดาย เพราะมีเสียงประกอบ และเด็กๆ ก็สนุกที่จะเรียนรู้ผ่านเครื่องมือเหล่านี้ ซึ่งเหมือนเป็นของเล่น มีปุ่มให้กด มีเสียงให้ฟัง ซึ่งน่าสนใจมากกว่าการเรียนผ่านบรรทัดเขียนอักษรเบรลล์” ครูอัญชลีระบุ
นอกจากนี้ยังพัฒนาเครื่องมือเพื่อช่วยให้การเรียนรู้อักษรเบรลล์เป็นไป ได้โดยง่ายสำหรับเด็กๆ ทุกคนแล้ว “ครูอัญชลี” ยังได้ร่วมกับเพื่อนครูในโรงเรียนพัฒนาสื่อการสอนที่ ที่เรียก “สื่อสัมผัส” ชุดต่างๆ ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม ทั้งเรื่องของคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ลักษณะคำนาม เครื่องดนตรีฯลฯ และถ่ายทอดความรู้ในการผลิตสื่อสัมผัสไปสู่คณะครูทุกคน โดยประยุกต์จากวัสดุที่มีและเหลือใช้ในโรงเรียน
รวมถึงยังได้จัดทำ “หนังสืออ่านเสริม” อีกจำนวนกว่า 30 เล่ม ที่นำหนังสือที่มีเรื่องราวน่าสนใจในปัจจุบันและมีความสัมพันธ์กับบทเรียน ต่างๆ ในห้องเรียน มาเจาะตัวอักษรเบรลล์ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้เพิ่มเติม เพราะสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กที่บกพร่องทางการมองเห็นที่ได้รับจากหน่วย งานที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน แทบจะมีเนื้อหาที่ไม่ตรงกับความต้องการของเด็กๆ ที่มีความหลากหลายและแตกต่างกัน แต่ถ้าเป็นเรื่องราวที่เด็กๆ สนใจ และมีความเชื่อมโยงหรือสัมพันธ์กับบทเรียนต่างๆ ในแต่ละวิชาที่สอน ก็จะช่วยกระตุ้นให้เด็กๆ เกิดความสนใจใฝ่เรียนรู้เพิ่มมากขึ้น
“ทำอย่างไงก็ได้ที่จะสามารถทำให้ลูกๆ ของเราเรียนได้ดีกว่าเดิม เก่งกว่าเดิม เข้าใจกว่าเดิม ถึงแม้ว่าเราจะเหนื่อยเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่เป็นไร ถ้าผลที่ตอบแทนมานั้น คือเขาทำได้ เขาเรียนได้ ทันเพื่อน สามารถออกไปข้างนอกได้โดยสามารถพึ่งพาตนเองได้ในอนาคต เพราะอักษรเบรลล์จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระ วิชา ถ้าการเรียนรู้อักษรเบรลล์เขาสามารถทำได้ดี การเรียนต่อในระดับที่สูง ขึ้นก็มีความเป็นไปได้สูง และเขาก็จะได้มีโอกาสเรียนรู้สิ่งดีๆ มากขึ้นได้” ครูอัญชลีกล่าวสรุป
ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/nnd/1839253
( แนวหน้าออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ก.พ.57 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กนักเรียนที่บกพร่องทางการมองเห็น ทั้งในส่วนของตัวผู้เรียนเองและครูผู้จัดกระบวนการสอน นับเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะจะต้องใช้ทักษะการฟังและการสัมผัสเป็นหลัก โดยมีจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้คือการเรียน “อักษรเบรลล์” เพราะ “อักษรเบรลล์” คือเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยเปิดโอกาสการเรียนรู้ ให้กับผู้พิการทางสายตา ให้มีโอกาสได้รับการพัฒนาศักยภาพและความรู้ได้ทัดเทียมเทียบเท่ากับคนปกติ แต่เครื่องมือที่ใช้ในการเรียนรู้ภาษาเบรลล์ที่เป็นสากลในปัจจุบันอย่าง Slate (สเลท) หรือ บรรทัดเขียนอักษรเบรลล์ นั้น อาจยังไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กๆ หรือเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายร่วมด้วย เนื่องจากมีขนาดเล็กทำให้การเรียนรู้จากการสัมผัสจุดเล็กๆ ทั้ง 6 จุดที่จะสื่อความหมายถึงตัวอักษรและตัวเลขทั้งในภาษาไทยและภาษา อังกฤษเป็นไปได้อย่างล่าช้า ด้วยความเชื่อมั่นว่า “คนตาบอดคือคนปกติที่มองไม่เห็น ถึงแม้จะสูญเสียการมองเห็นแต่ประสาทสัมผัสส่วนอื่นยังใช้ได้ดี หากสังคมเข้าใจและให้โอกาส เขาก็จะได้รับการศึกษาและสามารถพัฒนาตนเองให้ถึงศักยภาพสูงสุดที่มีอยู่ เป็นสมาชิกของสังคมคนหนึ่งที่มีคุณภาพ” ทำให้ “ครูอัญชลี อินอ่อน” ผู้ได้รับ “ทุนครูสอนดี” จาก โรงเรียนธรรมิกวิทยา อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรีที่แม้จะไม่ได้จบด้านการศึกษาพิเศษมาโดยตรง และเพิ่งย้ายมาสอนวิชาสังคมศึกษาที่โรงเรียนแห่งนี้ได้เพียง 3 ปี ได้มองเห็นถึงสภาพปัญหาในการเรียนรู้ของเด็กๆ จึงได้จัดทำ “โครงการส่งเสริมการผลิตสื่อเพื่อการเรียนรู้อักษรเบรลล์ภาษา ไทย-อังกฤษ” ขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนจาก สำนัก งานส่งเสริมสังคมแห่งการ เรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ภายใต้โครงการ “สังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ ยกย่องเชิดชู ครูสอนดี” เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนการสอนอักษรเบรลล์ที่ช่วยให้เด็กๆ ได้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้นและมีความสนุกสนานควบคู่ไป ด้วย “นางสาวอัญชลี อินอ่อน” เล่าถึงแรงบันดาลใจในการทำโครงการนี้ว่าเกิดขึ้นจากโรงเรียนแห่ง นี้เป็นสถานศึกษาเฉพาะทางสำหรับผู้ที่บกพร่องทางการมองเห็น ซึ่งปัญหาหนึ่งในการเรียนรู้ของเด็กๆ ก็คือสื่อการเรียนการสอนที่จะสามารถสร้างความเข้าใจให้กับเด็กๆ โดยมี “อักษรเบรลล์” เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ “สำหรับเด็กบางคนที่ไม่ได้มีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อมือก็อาจจะใช้เวลาไม่ นานนักในการที่จะเรียนรู้ แต่สำหรับเด็กที่มีความพิการอื่นๆ ร่วมด้วยปัญหาตรงนี้ก็จะเป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะถ้ากล้ามเนื้อมือไม่ดี ก็จะใช้เวลานานมากที่จะจับความรู้สึกได้สักหนึ่งจุด ซึ่งแต่ละจุดก็มีขนาดที่เล็กมาก กว่าจะเรียนรู้ได้ครบทั้ง 6 จุดก็จะใช้เวลานานมากกว่าคนอื่นๆ”ครูอัญชลีระบุ แม้ว่าจะมีการหาหนทางพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ทั้งการนำดินน้ำมันมาปั้นเป็นจุดต่างๆ เพื่อแทนที่คำศัพท์หรือตัวอักษร หรือการนำลูกแก้วมาวางลงไปในหลุมดินน้ำมันในตำแหน่งต่างๆ แต่ก็ยังเป็นเรื่องยากที่ครูผู้สอนจะสามารถตรวจทางความถูกต้องของตำแหน่งจุด หรือลูกแก้วให้ตรงกับตัวอักษรที่ได้บอกให้เด็กๆ ฝึกทักษะการจดจำตำแหน่งต่างๆ ตามหลักของอักษรเบรลล์ ด้วยความเป็นครูที่อยากให้ลูกศิษย์มีความสุขและสนุกกับการเรียนรู้ทำ ให้ “ครูอัญชลี” ได้คิดค้น ออกแบบ และพัฒนาสื่อการเรียนรู้อักษรเบรลล์ที่เหมาะสมสำหรับเด็กที่บกพร่องทางการ มองเห็น ที่สามารถนำไปใช้ช่วยการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นกับเด็กทั้ง 2 กลุ่มได้เป็น อย่างดี ที่ประกอบไปด้วย แผ่นไม้อักษรเบรลล์, เครื่องอ่านและเครื่องเขียนอักษรเบรลล์อิเล็กทรอนิกส์ และชุดฝึกไทย-อังกฤษเบรลล์ด้วยกระดานพูดได้ “เครื่องมือที่ได้จัดทำขึ้นทั้ง 3 แบบ นอกจากจะช่วยฝึกในเรื่องพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็กให้กับเด็กๆ แล้วยังช่วยให้การเรียนรู้อักษรเบรลล์สำหรับเด็กๆ เป็นไปได้โดยง่ายมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากมีขนาดที่ใหญ่และเหมาะสมกับกล้ามเนื้อมือของเด็ก และตัวของครูเองยังสามารถตรวจสอบความถูกต้องของตำแหน่งจุดที่แทนตัวอักษร หรือตัวเลขได้อย่างง่ายดาย เพราะมีเสียงประกอบ และเด็กๆ ก็สนุกที่จะเรียนรู้ผ่านเครื่องมือเหล่านี้ ซึ่งเหมือนเป็นของเล่น มีปุ่มให้กด มีเสียงให้ฟัง ซึ่งน่าสนใจมากกว่าการเรียนผ่านบรรทัดเขียนอักษรเบรลล์” ครูอัญชลีระบุ นอกจากนี้ยังพัฒนาเครื่องมือเพื่อช่วยให้การเรียนรู้อักษรเบรลล์เป็นไป ได้โดยง่ายสำหรับเด็กๆ ทุกคนแล้ว “ครูอัญชลี” ยังได้ร่วมกับเพื่อนครูในโรงเรียนพัฒนาสื่อการสอนที่ ที่เรียก “สื่อสัมผัส” ชุดต่างๆ ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม ทั้งเรื่องของคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ลักษณะคำนาม เครื่องดนตรีฯลฯ และถ่ายทอดความรู้ในการผลิตสื่อสัมผัสไปสู่คณะครูทุกคน โดยประยุกต์จากวัสดุที่มีและเหลือใช้ในโรงเรียน รวมถึงยังได้จัดทำ “หนังสืออ่านเสริม” อีกจำนวนกว่า 30 เล่ม ที่นำหนังสือที่มีเรื่องราวน่าสนใจในปัจจุบันและมีความสัมพันธ์กับบทเรียน ต่างๆ ในห้องเรียน มาเจาะตัวอักษรเบรลล์ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้เพิ่มเติม เพราะสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กที่บกพร่องทางการมองเห็นที่ได้รับจากหน่วย งานที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน แทบจะมีเนื้อหาที่ไม่ตรงกับความต้องการของเด็กๆ ที่มีความหลากหลายและแตกต่างกัน แต่ถ้าเป็นเรื่องราวที่เด็กๆ สนใจ และมีความเชื่อมโยงหรือสัมพันธ์กับบทเรียนต่างๆ ในแต่ละวิชาที่สอน ก็จะช่วยกระตุ้นให้เด็กๆ เกิดความสนใจใฝ่เรียนรู้เพิ่มมากขึ้น “ทำอย่างไงก็ได้ที่จะสามารถทำให้ลูกๆ ของเราเรียนได้ดีกว่าเดิม เก่งกว่าเดิม เข้าใจกว่าเดิม ถึงแม้ว่าเราจะเหนื่อยเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่เป็นไร ถ้าผลที่ตอบแทนมานั้น คือเขาทำได้ เขาเรียนได้ ทันเพื่อน สามารถออกไปข้างนอกได้โดยสามารถพึ่งพาตนเองได้ในอนาคต เพราะอักษรเบรลล์จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระ วิชา ถ้าการเรียนรู้อักษรเบรลล์เขาสามารถทำได้ดี การเรียนต่อในระดับที่สูง ขึ้นก็มีความเป็นไปได้สูง และเขาก็จะได้มีโอกาสเรียนรู้สิ่งดีๆ มากขึ้นได้” ครูอัญชลีกล่าวสรุป ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/nnd/1839253 ( แนวหน้าออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ก.พ.57 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)