หลักสูตรดูแลเด็ก'พัฒนาการช้า'
หลักสูตรดูแลเด็ก'พัฒนาการช้า' กับ'ครูปริศนา อานจำปา' : โดย...ขวัญเรียม แก้วสุวรรณ ห้องสี่เหลี่ยมขนาดไม่ใหญ่มากนัก ภายในเต็มไปด้วยของเล่นที่ถูกจัดเตรียมไว้สำหรับเด็กเล็ก ที่กำลังก้าวเข้าสู่รั้วโรงเรียน ทว่ามีเด็กกลุ่มใหญ่กว่าอีก 2 ล้านคนทั่วประเทศที่เรียกกันว่า "เด็กพิเศษ" ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา การเรียนรู้ การพูดและภาษา พฤติกรรมและอารมณ์ และออทิสติก ขาดโอกาสได้สัมผัสของเล่น กลุ่มเพื่อน และที่สำคัญโอกาสทาง "การศึกษา" สาเหตุหลักมาจากศูนย์รับเลี้ยงเด็ก ผู้ปกครองขาดวิธีการดูแลอย่างถูกต้อง ท้ายที่สุดเด็กกลุ่มนี้ต้องผลักตัวเองออกจากระบบการศึกษา
ทำให้ ครูปริศนา อานจำปา หรือครูอ้อย ลุกขึ้นมามองหาหนทางเพื่อให้เด็กกลุ่มนี้เข้าถึงการศึกษา โดยจัดทำ หลักสูตรการดูแลเด็กที่มีพัฒนาการช้าสำหรับผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้องในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครูปริศนา ในฐานะผู้ช่วยรองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนานักเรียนและชุมชนสัมพันธ์ ฝ่ายการศึกษาพิเศษ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการจัดการศึกษาพิเศษแบบเรียนร่วม สำหรับเด็กออทิสติก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอดินแดง) เล่าว่า ตลอดระยะเวลา 15 ปีที่เป็นครูสอนเด็กเล็กพบเด็กจำนวนมาก ทั้งพิการด้านร่างกายที่บ่งชี้ชัดเจน เช่น หูหนวก ตาบอด และสมอง แต่มีเด็กกลุ่มหนึ่งที่ร่างกายปกติ จัดว่าหน้าตาดี แต่ไม่สามารถเรียนรู้และอยู่ร่วมกับเพื่อนร่วมห้องได้ แต่อยู่คนเดียวหลังห้อง ปัญหาที่ตามมาคือครูที่ดูแลยังไม่มีกระบวนการดูแลที่ถูกต้อง เพราะไม่มีความรู้เรื่องนี้ รวมถึงผู้ปกครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของศูนย์ชุมชนที่รับฝากเด็ก ในช่วงปฐมวัยที่ครูผู้ดูแลหรืออาสาสมัครยังขาดองค์ความรู้ในการคัดกรอง เบื้องต้น
ครูอ้อย จึงต้องการหาคำตอบ โดยร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนศูนย์ออทิสติก ในที่สุดเกิดเป็นความร่วมมือในการช่วยเหลือ โดยเธอได้ทำโครงการพัฒนาหลักสูตรดูแลเด็ก "พัฒนาการช้า" ร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้แก่ ชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติก จ.ขอนแก่น สาธารณสุขทุกโรงพยาบาล จ.ขอนแก่น ศูนย์บริการบุคคลออทิสติก จ.ขอนแก่น ศูนย์การศึกษาพิเศษเขต 9 จ.ขอนแก่น สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดขอนแก่น (พมจ.) ศูนย์การศึกษาพิเศษ โรงเรียนเรียนร่วม และมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) พร้อมจัดฝึกอบรมวิธีการดูแลพัฒนาการเด็กพิเศษให้แก่ ครู ผู้ปกครอง และอสม.ในชุมชน โดยนำร่องทดลองและพัฒนาหลักสูตร 2 ชุมชนคือ "ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านผือ" และ "ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งทอง" รับ "ทุนครูสอนดี" จากโครงการ "สังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ ยกย่องเชิดชู ครูสอนดี" ที่ขับเคลื่อนโดย สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)
"ครูอ้อยเชื่อว่าถ้าเด็กได้รับการเลี้ยงดู และปฏิบัติอย่างถูกต้องตั้งแต่ช่วงอายุ 0-6 ปี แม้ร่างกายและสมองจะไม่สมประกอบ ก็สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ปกติ อย่าคิดว่าเขาคือปัญหา แค่เรามีแนวทางปฏิบัติถูกต้องตามที่ควรจะเป็น เขาก็ใช้ชีวิตปกติได้ สิ่งที่เราควรทำตอนนี้คือค้นพบเร็วเขาให้เร็ว แล้วก็ช่วยเขาให้เร็ว ไม่ปล่อยให้เด็กเรียนไม่รู้เรื่อง เรียนไม่ทันเพื่อน กลายเป็นปัญหาสังคมต่อไป" ครูอ้อย กล่าว
พญ.ภัทรา ฤชุวรารักษ์ แพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลขอนแก่น กล่าวว่า สมองเด็กจะเจริญเติบโตในช่วง 3 ขวบแรกถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือ 20 เปอร์เซ็นต์จะมาชดเชยหรือทดแทนตามช่วงอายุที่เหลือ ถ้าหากค้นพบเด็กเร็วก็จะสามารถช่วยให้เด็กปกติได้ ข้อสังเกตง่ายๆ สำหรับเด็กที่เป็นออทิสติกสามารถทราบได้ตั้งแต่ 2 เดือนแรกคือ ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว หากเด็กเข้าข่ายดังกล่าวพ่อแม่ผู้ปกครองต้องพบแพทย์ เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือต่อไป
หนูเตียง สุขสวัสดิ์ วัย 56 อสม.ชุมชนบ้านโคกน้อย อ.เมือง จ.ขอนแก่น เล่าว่า อสม. 1 คนได้รับมอบหมายให้ดูแลเด็กเล็ก 2 คน ซึ่งตอนนี้เด็กในความดูแลของเธอ 1 คนไม่มีความผิดปกติใดๆ แต่อีก 1 คน เป็นคนอารมณ์ร้อน ไม่ชอบพูดจาทักทายคนอื่น เธอจึงพยายามเข้าหาพูดคุยกับเด็กด้วยพูดจาดีๆ กระทั่งวันหนึ่งเด็กยอมพูดจาโต้ตอบด้วย ถึงวันนี้เด็กคนดังกล่าวอายุ 17 ปีแล้ว สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ปกติ
"ดิฉันภูมิใจมากค่ะได้เห็นความสำเร็จ ตอนนี้น้อง 17 ปีแล้วเป็นเด็กน่ารัก อารมณ์ไม่ร้อน แนะนำว่าเด็กกลุ่มนี้ไม่ชอบให้ด่า ให้ตี ต้องอ่อนๆ เข้าหา ยกตัวอย่าง เด็กชอบฉี่รดที่นอน ไม่ให้ไปด่าว่าโตเป็นวัวเป็นควายแล้วยังฉี่ ไม่ให้ด่าเลย แต่พ่อแม่ควรแก้ปัญหา โดยการพาเขาไปฉี่ก่อนเข้านอน หรือถ้าเขารู้สึกตัวตอนดึกๆ ก็ให้ปลุกลุกขึ้นไปฉี่" หนูเตียง กล่าวในที่สุด
ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20140218/179161.html#.UwLjhvvInZ4 (ขนาดไฟล์: 167)
(คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ก.พ.57)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ครูปริศนา อานจำปา หรือครูอ้อย หลักสูตรดูแลเด็ก'พัฒนาการช้า' กับ'ครูปริศนา อานจำปา' : โดย...ขวัญเรียม แก้วสุวรรณ ห้องสี่เหลี่ยมขนาดไม่ใหญ่มากนัก ภายในเต็มไปด้วยของเล่นที่ถูกจัดเตรียมไว้สำหรับเด็กเล็ก ที่กำลังก้าวเข้าสู่รั้วโรงเรียน ทว่ามีเด็กกลุ่มใหญ่กว่าอีก 2 ล้านคนทั่วประเทศที่เรียกกันว่า "เด็กพิเศษ" ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา การเรียนรู้ การพูดและภาษา พฤติกรรมและอารมณ์ และออทิสติก ขาดโอกาสได้สัมผัสของเล่น กลุ่มเพื่อน และที่สำคัญโอกาสทาง "การศึกษา" สาเหตุหลักมาจากศูนย์รับเลี้ยงเด็ก ผู้ปกครองขาดวิธีการดูแลอย่างถูกต้อง ท้ายที่สุดเด็กกลุ่มนี้ต้องผลักตัวเองออกจากระบบการศึกษา ทำให้ ครูปริศนา อานจำปา หรือครูอ้อย ลุกขึ้นมามองหาหนทางเพื่อให้เด็กกลุ่มนี้เข้าถึงการศึกษา โดยจัดทำ หลักสูตรการดูแลเด็กที่มีพัฒนาการช้าสำหรับผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้องในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครูปริศนา ในฐานะผู้ช่วยรองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนานักเรียนและชุมชนสัมพันธ์ ฝ่ายการศึกษาพิเศษ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการจัดการศึกษาพิเศษแบบเรียนร่วม สำหรับเด็กออทิสติก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอดินแดง) เล่าว่า ตลอดระยะเวลา 15 ปีที่เป็นครูสอนเด็กเล็กพบเด็กจำนวนมาก ทั้งพิการด้านร่างกายที่บ่งชี้ชัดเจน เช่น หูหนวก ตาบอด และสมอง แต่มีเด็กกลุ่มหนึ่งที่ร่างกายปกติ จัดว่าหน้าตาดี แต่ไม่สามารถเรียนรู้และอยู่ร่วมกับเพื่อนร่วมห้องได้ แต่อยู่คนเดียวหลังห้อง ปัญหาที่ตามมาคือครูที่ดูแลยังไม่มีกระบวนการดูแลที่ถูกต้อง เพราะไม่มีความรู้เรื่องนี้ รวมถึงผู้ปกครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของศูนย์ชุมชนที่รับฝากเด็ก ในช่วงปฐมวัยที่ครูผู้ดูแลหรืออาสาสมัครยังขาดองค์ความรู้ในการคัดกรอง เบื้องต้น ครูอ้อย จึงต้องการหาคำตอบ โดยร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนศูนย์ออทิสติก ในที่สุดเกิดเป็นความร่วมมือในการช่วยเหลือ โดยเธอได้ทำโครงการพัฒนาหลักสูตรดูแลเด็ก "พัฒนาการช้า" ร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้แก่ ชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติก จ.ขอนแก่น สาธารณสุขทุกโรงพยาบาล จ.ขอนแก่น ศูนย์บริการบุคคลออทิสติก จ.ขอนแก่น ศูนย์การศึกษาพิเศษเขต 9 จ.ขอนแก่น สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดขอนแก่น (พมจ.) ศูนย์การศึกษาพิเศษ โรงเรียนเรียนร่วม และมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) พร้อมจัดฝึกอบรมวิธีการดูแลพัฒนาการเด็กพิเศษให้แก่ ครู ผู้ปกครอง และอสม.ในชุมชน โดยนำร่องทดลองและพัฒนาหลักสูตร 2 ชุมชนคือ "ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านผือ" และ "ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งทอง" รับ "ทุนครูสอนดี" จากโครงการ "สังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ ยกย่องเชิดชู ครูสอนดี" ที่ขับเคลื่อนโดย สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) "ครูอ้อยเชื่อว่าถ้าเด็กได้รับการเลี้ยงดู และปฏิบัติอย่างถูกต้องตั้งแต่ช่วงอายุ 0-6 ปี แม้ร่างกายและสมองจะไม่สมประกอบ ก็สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ปกติ อย่าคิดว่าเขาคือปัญหา แค่เรามีแนวทางปฏิบัติถูกต้องตามที่ควรจะเป็น เขาก็ใช้ชีวิตปกติได้ สิ่งที่เราควรทำตอนนี้คือค้นพบเร็วเขาให้เร็ว แล้วก็ช่วยเขาให้เร็ว ไม่ปล่อยให้เด็กเรียนไม่รู้เรื่อง เรียนไม่ทันเพื่อน กลายเป็นปัญหาสังคมต่อไป" ครูอ้อย กล่าว พญ.ภัทรา ฤชุวรารักษ์ แพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลขอนแก่น กล่าวว่า สมองเด็กจะเจริญเติบโตในช่วง 3 ขวบแรกถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือ 20 เปอร์เซ็นต์จะมาชดเชยหรือทดแทนตามช่วงอายุที่เหลือ ถ้าหากค้นพบเด็กเร็วก็จะสามารถช่วยให้เด็กปกติได้ ข้อสังเกตง่ายๆ สำหรับเด็กที่เป็นออทิสติกสามารถทราบได้ตั้งแต่ 2 เดือนแรกคือ ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว หากเด็กเข้าข่ายดังกล่าวพ่อแม่ผู้ปกครองต้องพบแพทย์ เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือต่อไป หนูเตียง สุขสวัสดิ์ วัย 56 อสม.ชุมชนบ้านโคกน้อย อ.เมือง จ.ขอนแก่น เล่าว่า อสม. 1 คนได้รับมอบหมายให้ดูแลเด็กเล็ก 2 คน ซึ่งตอนนี้เด็กในความดูแลของเธอ 1 คนไม่มีความผิดปกติใดๆ แต่อีก 1 คน เป็นคนอารมณ์ร้อน ไม่ชอบพูดจาทักทายคนอื่น เธอจึงพยายามเข้าหาพูดคุยกับเด็กด้วยพูดจาดีๆ กระทั่งวันหนึ่งเด็กยอมพูดจาโต้ตอบด้วย ถึงวันนี้เด็กคนดังกล่าวอายุ 17 ปีแล้ว สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ปกติ "ดิฉันภูมิใจมากค่ะได้เห็นความสำเร็จ ตอนนี้น้อง 17 ปีแล้วเป็นเด็กน่ารัก อารมณ์ไม่ร้อน แนะนำว่าเด็กกลุ่มนี้ไม่ชอบให้ด่า ให้ตี ต้องอ่อนๆ เข้าหา ยกตัวอย่าง เด็กชอบฉี่รดที่นอน ไม่ให้ไปด่าว่าโตเป็นวัวเป็นควายแล้วยังฉี่ ไม่ให้ด่าเลย แต่พ่อแม่ควรแก้ปัญหา โดยการพาเขาไปฉี่ก่อนเข้านอน หรือถ้าเขารู้สึกตัวตอนดึกๆ ก็ให้ปลุกลุกขึ้นไปฉี่" หนูเตียง กล่าวในที่สุด ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20140218/179161.html#.UwLjhvvInZ4 (คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ก.พ.57)
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)