'ศิลปะสร้างสุข' วิถีทางเปลี่ยนสังคม
โครงการศิลปะสร้างสุขนับแต่ก้าวแรกจนถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 3 แล้ว โดยนำเอาศาสตร์และศิลป์เข้ามาผสมผสานกันหล่อเลี้ยงเยาวชนไทยเมล็ดพันธุ์ของชาติด้วยศิลปะ โดยเฉพาะเด็กที่มีความต้องการพิเศษ พร้อมทั้งถ่ายทอดและพัฒนาครูต้นแบบของโรงเรียนเพชรบุรีปัญญานุกูลให้สามารถ ออกแบบกิจกรรมสำหรับห้องศิลปะสร้างสุขได้ด้วยตัวเอง โครงการนี้ธนาคารไทยพาณิชย์ร่วมกับสถาบันศิลปะบำบัดในแนวทางมนุษยปรัชญา ดำเนินการหวังจะเป็นแรงกระเพื่อมให้เด็กพิเศษทั่วประเทศได้รับความสุขจากงาน ศิลปะที่รังสรรค์ไว้
ปีนี้ธนาคารจัดนิทรรศการ "ศิลปะสร้างสุข ปี 3" ที่พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ นำเสนอแง่มุมของศิลปะที่มีศักยภาพในการพัฒนาเยาวชนด้วยการสร้างความสุขจาก ภายในจิตใจ ไม่เฉพาะเด็ก แต่ทุกคนสามารถเปิดใจเรียนรู้และเปลี่ยนทัศนคติ นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของตัวเอง พิธีเปิดนิทรรศการเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ประธานกรรมการกิจกรรมเพื่อสังคม ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นประธาน ได้ใช้ฝีแปรงระบายสีแบบโปร่งแสง แต่งแต้มบนพื้นผิวผนังห้อง เป็นเทคนิคการระบายสีแบบลาซัวร์ "Lazure" ให้สีเสมือนเคลื่อนไหวราวกับว่าผนังมีลมหายใจ ทำให้ผู้ที่มาร่วมงานรู้สึกผ่อนคลาย
เปิดงานเสร็จสมบูรณ์แล้ว มีการล้อมวงเสวนา "ศิลปะสร้างสุข เพื่อสังคมที่เปลี่ยนแปลง" โดย ครูมอส-อนุพันธ์ พฤกษ์พันธ์ขจี ผู้อำนวยการสถาบันศิลปะบำบัดในแนวทางมนุษยปรัชญา ยืนยันศิลปะทำให้พบแต่ความสุขได้จริง "ศิลปะไม่ใช่การวาดรูป ยังมีงานปั้น ระบายสี ดนตรี การเคลื่อนไหว การละคร ส่วนศิลปะขั้นสูงขึ้นไปคือ ศิลปะแห่งชีวิต เป็นศิลปะที่มีมาแต่อดีตกาล ก่อนการตั้งสถาบันสอนศิลปะแบบวิชาการ ที่ผ่านมามนุษย์ใช้ศิลปะในการดำรงชีวิตอุ้มชู ขัดเกลาตัวเองตลอดมา
"ศิลปะสร้างสุขคือการกลับไปหารากเหง้าแห่งศิลปะ นั่นคือคุณค่าในใจหรือจิตวิญญาณ สิ่งต่างๆ ที่นำเสนอในนิทรรศการนี้เรียบง่าย แต่ส่งภาษายังพ่อแม่ ครอบครัว สังคมที่อ่อนแอ หากเราเห็นธรรมชาติของศิลปะ สีมีการเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงได้ เหมือนชีวิตที่ไม่คงที่ก็ต้องการแบบแผน ใช้เหตุใช้ผล ศิลปะพัฒนาชีวิตได้ผ่านการคิด ลงมือทำ เปิดกว้าง และมองรอบด้าน สิ่งนี้ทำให้อยู่ในครอบครัว ชุมชน และสังคมง่ายขึ้น ศิลปะเปลี่ยนแปลงคน แล้วคนก็กลับไปเปลี่ยนแปลงชุมชน" ครูมอสกล่าวถึงพลังศิลปะ
จิตรกรผู้บุกเบิกศิลปะบำบัดในไทยบอกอีกว่า การดำเนินโครงการศิลปะสร้างสุขสำหรับเด็กๆ พิเศษ มุ่งเน้นครูเป็นหลัก ครูคือต้นแบบของการถ่ายทอด ได้จัดอบรมให้กับครูโรงเรียนเพชรบุรีปัญญานุกูลจนได้ครูต้นแบบ 7 คน ที่วางแผนกิจกรรมได้ด้วยตนเอง พร้อมที่จะขยายผลต่อไปยังโรงเรียนปัญญานุกูลในจังหวัดอื่นต่อ กิจกรรมสำหรับห้องศิลปะสร้างสุขที่ รร.พิจิตรปัญญานุกูล มีการระบายสีแบบลาซัวร์ เทคนิคนี้ทำให้คุณครูจากเพชรบุรี พิจิตร นครสวรรค์ พิษณุโลก ได้ปฏิสัมพันธ์กัน ร่วมมือกัน เพราะการสร้างงานไม่ได้เกิดขึ้นจากมือของคนตวัดแปรงคนเดียว แต่มาจากหลายๆ มือร่วมแรงกัน ส่งแปรง จับบันได เช็ดพื้น ช่วยมองและแนะให้เติมเต็ม เป็นงานที่สร้างความสามัคคีได้ดี
ด้าน ครูอุ้ย-อภิสิรี จรัลชวนะเพท วิทยากรประจำโครงการศิลปะสร้างสุข กล่าวว่า ครูมีบทบาทสำคัญในการสร้างเมล็ดพันธุ์ที่ดีให้กับสังคม โครงการนี้ต้องการพัฒนาความรู้ความเข้าใจวิถีทางศิลปะให้กับครู ไม่ใช่ให้ลงไปสร้างให้เด็กๆ มีสุข แต่ขณะที่ทำงานศิลปะและออกแบบหลักสูตร จัดกิจกรรมในห้องศิลปะสร้างสุข ครูผู้ถ่ายทอดต้องสุขหัวใจด้วย สุขมากจนอยากนำศิลปะกลับมาใช้ในการดำรงชีวิต 3 ปีของศิลปะสร้างสุขสัมผัสได้ถึงความดีงามและทีมที่ใหญ่ขึ้น สำหรับครูผู้ร่วมอบรมให้คิดเสมอว่าเราฝึกฝนตัวเองเพื่อเป็นศิลปินคนหนึ่ง ไม่ใช่เพื่อเด็กๆ ถ้าวันนี้ทำแล้วมองโลกสวยกว่าเดิม ถือว่าประสบผลสำเร็จแล้ว
"ธรรมชาติให้ทุกคนเห็นสีเท่าเทียมกัน ส่วนศิลปะสร้างสุขมีหน้าที่เปิดประตูสู่สัมผัส ปลุกคนให้ลืมตารับแสงที่ส่องมาในโลกของเรา แล้วแสดงความคิด ความรู้สึกผ่านงานศิลป์ที่ลงมือทำแล้ว สร้างสุขอย่างแท้จริง ฉะนั้นต้องให้โอกาสตัวเองได้พบเจอศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นภาษา การเคลื่อนไหว การวาด ปั้น สถาปัตยกรรมที่อยู่รอบตัวเรา" ผู้วางรากฐานให้โครงการศิลปะสร้างสุขย้ำ
ศิลปะสร้างสุขปลุกความดีงามภายในเป็นถ้อยคำของ เถกิง กล่ำน้อย ครูศิลปะโรงเรียนพิจิตรปัญญานุกูล 1 ใน 7 ครูต้นแบบ เผยว่า ศิลปะสร้างสุขเปลี่ยนความเข้าใจศิลปะแบบเดิม เป็นการศึกษาในแนวใหม่เพื่อบำบัดเด็กพิเศษ เน้นกระบวนการเป็นสำคัญ ไม่ใช่ผลงานศิลปะอันยิ่งใหญ่ หัวใจสำคัญครูต้องมั่นใจพาเด็กเข้าสู่กิจกรรมแต่ละชนิด ศิลปะสร้างสุขสู่ปี 3 ตนถ่ายทอดความรู้ให้ครูกว่า 20 คน ก็จะไปขยายต่อได้อีก ทุกวันนี้เด็กๆ รอคอยห้องศิลปะสร้างสุขจะได้เข้าร่วมกิจกรรมสัปดาห์ละครั้ง ครูสุขที่ได้เห็นรอยยิ้ม เสียงหัวเราะของนักเรียน เด็กๆ สื่อสารข้ามกันได้ระหว่างหูหนวกกับออทิสติก ปรับเข้าหากันด้วยศิลปะ อนาคตจะผลักดันให้อยู่ในตารางการเรียนการสอน
นิทรรศการ "ศิลปะสร้างสุข ปี 3" จัดแสดงจนถึงวันที่ 4 เมษายน 2557 เข้าชมได้ เว้นวันหยุดธนาคาร ตั้งแต่เวลา 10.00-17.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย พร้อมกันนี้ยังจัดกิจกรรมส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ศิลปะสร้างสุข ได้แก่ กิจกรรมศิลปะสร้างสุขให้กับเยาวชน ครั้งที่ 1 วันที่ 24 มีนาคม 2557 เวลา 09.00-15.00 น. และครั้งที่ 2 วันที่ 27 มีนาคม เวลาเดียวกัน โดยมีครูมอส-อนุพันธ์ พฤกษ์พันธ์ขจี และครูมัย-ณภัทร ชัยสุบรรณ์กนก เป็นวิทยากร และกิจกรรมเล่านิทานหุ่นมือ-ภาษามือ สร้างจินตนาการและความดีงามผ่านความอบอุ่นในครอบครัว ในวันที่ 3 เมษายน เวลา 11.30-13.30 น. โดยกลุ่มเล่านิทานจากเครือข่าย ๗ Art Inner Place สอบถาม โทร.0-2544-3858.
ขอบคุณ http://www.thaipost.net/x-cite/260214/86596 (ขนาดไฟล์: 167)
(thaipost ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ก.พ.57)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
โครงการศิลปะสร้างสุขนับแต่ก้าวแรกจนถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 3 แล้ว โดยนำเอาศาสตร์และศิลป์เข้ามาผสมผสานกันหล่อเลี้ยงเยาวชนไทยเมล็ดพันธุ์ของชาติด้วยศิลปะ โดยเฉพาะเด็กที่มีความต้องการพิเศษ พร้อมทั้งถ่ายทอดและพัฒนาครูต้นแบบของโรงเรียนเพชรบุรีปัญญานุกูลให้สามารถ ออกแบบกิจกรรมสำหรับห้องศิลปะสร้างสุขได้ด้วยตัวเอง โครงการนี้ธนาคารไทยพาณิชย์ร่วมกับสถาบันศิลปะบำบัดในแนวทางมนุษยปรัชญา ดำเนินการหวังจะเป็นแรงกระเพื่อมให้เด็กพิเศษทั่วประเทศได้รับความสุขจากงาน ศิลปะที่รังสรรค์ไว้ ปีนี้ธนาคารจัดนิทรรศการ "ศิลปะสร้างสุข ปี 3" ที่พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ นำเสนอแง่มุมของศิลปะที่มีศักยภาพในการพัฒนาเยาวชนด้วยการสร้างความสุขจาก ภายในจิตใจ ไม่เฉพาะเด็ก แต่ทุกคนสามารถเปิดใจเรียนรู้และเปลี่ยนทัศนคติ นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของตัวเอง พิธีเปิดนิทรรศการเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ประธานกรรมการกิจกรรมเพื่อสังคม ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นประธาน ได้ใช้ฝีแปรงระบายสีแบบโปร่งแสง แต่งแต้มบนพื้นผิวผนังห้อง เป็นเทคนิคการระบายสีแบบลาซัวร์ "Lazure" ให้สีเสมือนเคลื่อนไหวราวกับว่าผนังมีลมหายใจ ทำให้ผู้ที่มาร่วมงานรู้สึกผ่อนคลาย เปิดงานเสร็จสมบูรณ์แล้ว มีการล้อมวงเสวนา "ศิลปะสร้างสุข เพื่อสังคมที่เปลี่ยนแปลง" โดย ครูมอส-อนุพันธ์ พฤกษ์พันธ์ขจี ผู้อำนวยการสถาบันศิลปะบำบัดในแนวทางมนุษยปรัชญา ยืนยันศิลปะทำให้พบแต่ความสุขได้จริง "ศิลปะไม่ใช่การวาดรูป ยังมีงานปั้น ระบายสี ดนตรี การเคลื่อนไหว การละคร ส่วนศิลปะขั้นสูงขึ้นไปคือ ศิลปะแห่งชีวิต เป็นศิลปะที่มีมาแต่อดีตกาล ก่อนการตั้งสถาบันสอนศิลปะแบบวิชาการ ที่ผ่านมามนุษย์ใช้ศิลปะในการดำรงชีวิตอุ้มชู ขัดเกลาตัวเองตลอดมา "ศิลปะสร้างสุขคือการกลับไปหารากเหง้าแห่งศิลปะ นั่นคือคุณค่าในใจหรือจิตวิญญาณ สิ่งต่างๆ ที่นำเสนอในนิทรรศการนี้เรียบง่าย แต่ส่งภาษายังพ่อแม่ ครอบครัว สังคมที่อ่อนแอ หากเราเห็นธรรมชาติของศิลปะ สีมีการเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงได้ เหมือนชีวิตที่ไม่คงที่ก็ต้องการแบบแผน ใช้เหตุใช้ผล ศิลปะพัฒนาชีวิตได้ผ่านการคิด ลงมือทำ เปิดกว้าง และมองรอบด้าน สิ่งนี้ทำให้อยู่ในครอบครัว ชุมชน และสังคมง่ายขึ้น ศิลปะเปลี่ยนแปลงคน แล้วคนก็กลับไปเปลี่ยนแปลงชุมชน" ครูมอสกล่าวถึงพลังศิลปะ จิตรกรผู้บุกเบิกศิลปะบำบัดในไทยบอกอีกว่า การดำเนินโครงการศิลปะสร้างสุขสำหรับเด็กๆ พิเศษ มุ่งเน้นครูเป็นหลัก ครูคือต้นแบบของการถ่ายทอด ได้จัดอบรมให้กับครูโรงเรียนเพชรบุรีปัญญานุกูลจนได้ครูต้นแบบ 7 คน ที่วางแผนกิจกรรมได้ด้วยตนเอง พร้อมที่จะขยายผลต่อไปยังโรงเรียนปัญญานุกูลในจังหวัดอื่นต่อ กิจกรรมสำหรับห้องศิลปะสร้างสุขที่ รร.พิจิตรปัญญานุกูล มีการระบายสีแบบลาซัวร์ เทคนิคนี้ทำให้คุณครูจากเพชรบุรี พิจิตร นครสวรรค์ พิษณุโลก ได้ปฏิสัมพันธ์กัน ร่วมมือกัน เพราะการสร้างงานไม่ได้เกิดขึ้นจากมือของคนตวัดแปรงคนเดียว แต่มาจากหลายๆ มือร่วมแรงกัน ส่งแปรง จับบันได เช็ดพื้น ช่วยมองและแนะให้เติมเต็ม เป็นงานที่สร้างความสามัคคีได้ดี ด้าน ครูอุ้ย-อภิสิรี จรัลชวนะเพท วิทยากรประจำโครงการศิลปะสร้างสุข กล่าวว่า ครูมีบทบาทสำคัญในการสร้างเมล็ดพันธุ์ที่ดีให้กับสังคม โครงการนี้ต้องการพัฒนาความรู้ความเข้าใจวิถีทางศิลปะให้กับครู ไม่ใช่ให้ลงไปสร้างให้เด็กๆ มีสุข แต่ขณะที่ทำงานศิลปะและออกแบบหลักสูตร จัดกิจกรรมในห้องศิลปะสร้างสุข ครูผู้ถ่ายทอดต้องสุขหัวใจด้วย สุขมากจนอยากนำศิลปะกลับมาใช้ในการดำรงชีวิต 3 ปีของศิลปะสร้างสุขสัมผัสได้ถึงความดีงามและทีมที่ใหญ่ขึ้น สำหรับครูผู้ร่วมอบรมให้คิดเสมอว่าเราฝึกฝนตัวเองเพื่อเป็นศิลปินคนหนึ่ง ไม่ใช่เพื่อเด็กๆ ถ้าวันนี้ทำแล้วมองโลกสวยกว่าเดิม ถือว่าประสบผลสำเร็จแล้ว "ธรรมชาติให้ทุกคนเห็นสีเท่าเทียมกัน ส่วนศิลปะสร้างสุขมีหน้าที่เปิดประตูสู่สัมผัส ปลุกคนให้ลืมตารับแสงที่ส่องมาในโลกของเรา แล้วแสดงความคิด ความรู้สึกผ่านงานศิลป์ที่ลงมือทำแล้ว สร้างสุขอย่างแท้จริง ฉะนั้นต้องให้โอกาสตัวเองได้พบเจอศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นภาษา การเคลื่อนไหว การวาด ปั้น สถาปัตยกรรมที่อยู่รอบตัวเรา" ผู้วางรากฐานให้โครงการศิลปะสร้างสุขย้ำ ศิลปะสร้างสุขปลุกความดีงามภายในเป็นถ้อยคำของ เถกิง กล่ำน้อย ครูศิลปะโรงเรียนพิจิตรปัญญานุกูล 1 ใน 7 ครูต้นแบบ เผยว่า ศิลปะสร้างสุขเปลี่ยนความเข้าใจศิลปะแบบเดิม เป็นการศึกษาในแนวใหม่เพื่อบำบัดเด็กพิเศษ เน้นกระบวนการเป็นสำคัญ ไม่ใช่ผลงานศิลปะอันยิ่งใหญ่ หัวใจสำคัญครูต้องมั่นใจพาเด็กเข้าสู่กิจกรรมแต่ละชนิด ศิลปะสร้างสุขสู่ปี 3 ตนถ่ายทอดความรู้ให้ครูกว่า 20 คน ก็จะไปขยายต่อได้อีก ทุกวันนี้เด็กๆ รอคอยห้องศิลปะสร้างสุขจะได้เข้าร่วมกิจกรรมสัปดาห์ละครั้ง ครูสุขที่ได้เห็นรอยยิ้ม เสียงหัวเราะของนักเรียน เด็กๆ สื่อสารข้ามกันได้ระหว่างหูหนวกกับออทิสติก ปรับเข้าหากันด้วยศิลปะ อนาคตจะผลักดันให้อยู่ในตารางการเรียนการสอน นิทรรศการ "ศิลปะสร้างสุข ปี 3" จัดแสดงจนถึงวันที่ 4 เมษายน 2557 เข้าชมได้ เว้นวันหยุดธนาคาร ตั้งแต่เวลา 10.00-17.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย พร้อมกันนี้ยังจัดกิจกรรมส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ศิลปะสร้างสุข ได้แก่ กิจกรรมศิลปะสร้างสุขให้กับเยาวชน ครั้งที่ 1 วันที่ 24 มีนาคม 2557 เวลา 09.00-15.00 น. และครั้งที่ 2 วันที่ 27 มีนาคม เวลาเดียวกัน โดยมีครูมอส-อนุพันธ์ พฤกษ์พันธ์ขจี และครูมัย-ณภัทร ชัยสุบรรณ์กนก เป็นวิทยากร และกิจกรรมเล่านิทานหุ่นมือ-ภาษามือ สร้างจินตนาการและความดีงามผ่านความอบอุ่นในครอบครัว ในวันที่ 3 เมษายน เวลา 11.30-13.30 น. โดยกลุ่มเล่านิทานจากเครือข่าย ๗ Art Inner Place สอบถาม โทร.0-2544-3858. ขอบคุณ http://www.thaipost.net/x-cite/260214/86596 (thaipost ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ก.พ.57)
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)