ตามไปดูสนามประลองเด็กพิเศษ

แสดงความคิดเห็น

สุคนธา ศรีภา รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนงานและงบประมาณ โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์

การแข่งขันวิชาการของนักเรียน เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ให้ความสำคัญ โดยไม่ได้จำกัดเฉพาะเด็กนักเรียนชั้นปกติ แต่ยังส่งเสริมให้นักเรียนกลุ่มอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเด็กพิการหรือกลุ่มเด็กพิเศษเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กทุกคนได้แสดงความสามารถและชื่นชมคุณค่าในตัวเอง

ทาง สพฐ.จึงได้จัดการแข่งขัน "ศิลปหัตถกรรมนักเรียน" ขึ้นทุกปี และในปีนี้เป็นครั้งที่ 63 จัดที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ และโรงเรียนวัดผาสุกมณีจักร การแข่งขันในโปรแกรมนี้ เป็นการคัดเด็กนักเรียนจากทั่วประเทศร่วมแสดงความสามารถในด้านวิชาการและฝีมือความถนัดด้านหัตถกรรม

หนึ่งในสถานที่จัดแข่งขันที่โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ เป็นสนามแข่งขันของกลุ่มเด็กพิการ เด็กห้องเรียนร่วมเช่นเด็กแอลดี และเด็กออทิสติก เป็นต้น บรรยากาศการแข่งขันของกลุ่มเด็กพิเศษและเด็กพิการคึกคักและน่าตื่นเต้นมากทีเดียว เมื่อสนามประลองฝีมือเปิดฉากขึ้น ครูพี่เลี้ยงที่คอยดูแลเด็กกลุ่มนี้ เรียกว่าเหนื่อยกว่าครูที่สอนเด็กปกติทั่วไป

พวกเขาต่างทุ่มเทแรงกายแรงใจ อบรมสั่งสอนเด็กกลุ่มนี้จนพวกเขาสามารถโชว์ศักยภาพตัวเองออกมาได้ ท่ามกลางการสนับสนุนของครูและผู้ปกครอง เช่น การแข่งขันเล่านิทาน ที่ต้องมีฉากประกอบการเล่าซึ่งทางโรงเรียนแต่ละแห่งก็ไม่มีใครยอมใคร

ครูและนักเรียนต่างช่วยกันขนฉากประกอบการเล่านิทาน เช่น กระท่อมหลังน้อย ต้นไม้โฟม บ้านกระดาษ มีทั้งของจริงและภาพวาด แต่ทุกอย่างต้องมีผิวสัมผัส เพื่อเด็กที่พิการทางสายตาจะได้บอกเล่านิทานเพื่อให้คณะกรรมการเห็นภาพตาม หรือจะเป็นการแข่งขันวาดภาพด้วยโปรแกรมเพนต์ เด็กกลุ่มนี้ก็สามารถวาดได้สวยงามไม่แพ้เด็กปกติทั่วไปเพราะเป็นความถนัดเฉพาะตัวพวกเขา

"สุคนธา ศรีภา" รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนงานและงบประมาณ โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ บอกว่า การจัดการแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียนในทุกกลุ่มการศึกษา ก็เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสแสดงศักยภาพของตนเองได้หากเราไม่จัดให้กลุ่มเด็กพิการหรือเด็กพิเศษเท่ากับว่าเราไปกดทับโอกาสเด็ก

"ที่ผ่านมาหลายคนอาจจะไม่รู้ว่ามีการแข่งขันโปรแกรมใหญ่ของเด็กทั่วประเทศแบบนี้ เพราะส่วนใหญ่จะโฟกัสไปที่เด็กปกติ ซึ่งในความเป็นจริงกลุ่มเด็กพิการหูหนวก ตาบอด และเด็กพิเศษก็มีความสามารถพอๆกันไม่ว่าจะเป็นทักษะวิชาการด้านคณิตศาสตร์การเล่านิทานการอ่านการประดิษฐ์"

รองผู้อำนวยการโรงเรียนอธิบายต่อว่า การแข่งขันนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่า แต่ละโรงเรียนสามารถดึงศักยภาพของเด็กออกมาได้ ทำให้เด็กได้แสดงความสามารถทางวิชาการ เพื่อให้เด็กเห็นคุณค่าในตัวเอง และได้เห็นว่างทางโรงเรียนทั่วประเทศก็มีความตั้งใจ ในการฝึกฝนเด็กให้มีศักยภาพตามความถนัดให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเด็กนักเรียนเองและทางโรงเรียนด้วย

จากการเดินสำรวจสนามแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียน ได้เห็นความมุ่งมั่นของนักเรียนและความตั้งใจของครูผู้สอนที่ร่วมมือร่วมใจกัน ทำให้เกิดผลงานที่สร้างสรรค์ของเด็กกลุ่มนี้ได้เปอร์เฟ็กอย่างน่าทึ่งเลยทีเดียว

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1393388133

prachachat.net ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ก.พ.57

ที่มา: prachachat.net ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ก.พ.57
วันที่โพสต์: 27/02/2557 เวลา 03:21:05 ดูภาพสไลด์โชว์ ตามไปดูสนามประลองเด็กพิเศษ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สุคนธา ศรีภา รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนงานและงบประมาณ โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ การแข่งขันวิชาการของนักเรียน เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ให้ความสำคัญ โดยไม่ได้จำกัดเฉพาะเด็กนักเรียนชั้นปกติ แต่ยังส่งเสริมให้นักเรียนกลุ่มอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเด็กพิการหรือกลุ่มเด็กพิเศษเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กทุกคนได้แสดงความสามารถและชื่นชมคุณค่าในตัวเอง ทาง สพฐ.จึงได้จัดการแข่งขัน "ศิลปหัตถกรรมนักเรียน" ขึ้นทุกปี และในปีนี้เป็นครั้งที่ 63 จัดที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ และโรงเรียนวัดผาสุกมณีจักร การแข่งขันในโปรแกรมนี้ เป็นการคัดเด็กนักเรียนจากทั่วประเทศร่วมแสดงความสามารถในด้านวิชาการและฝีมือความถนัดด้านหัตถกรรม หนึ่งในสถานที่จัดแข่งขันที่โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ เป็นสนามแข่งขันของกลุ่มเด็กพิการ เด็กห้องเรียนร่วมเช่นเด็กแอลดี และเด็กออทิสติก เป็นต้น บรรยากาศการแข่งขันของกลุ่มเด็กพิเศษและเด็กพิการคึกคักและน่าตื่นเต้นมากทีเดียว เมื่อสนามประลองฝีมือเปิดฉากขึ้น ครูพี่เลี้ยงที่คอยดูแลเด็กกลุ่มนี้ เรียกว่าเหนื่อยกว่าครูที่สอนเด็กปกติทั่วไป พวกเขาต่างทุ่มเทแรงกายแรงใจ อบรมสั่งสอนเด็กกลุ่มนี้จนพวกเขาสามารถโชว์ศักยภาพตัวเองออกมาได้ ท่ามกลางการสนับสนุนของครูและผู้ปกครอง เช่น การแข่งขันเล่านิทาน ที่ต้องมีฉากประกอบการเล่าซึ่งทางโรงเรียนแต่ละแห่งก็ไม่มีใครยอมใคร ครูและนักเรียนต่างช่วยกันขนฉากประกอบการเล่านิทาน เช่น กระท่อมหลังน้อย ต้นไม้โฟม บ้านกระดาษ มีทั้งของจริงและภาพวาด แต่ทุกอย่างต้องมีผิวสัมผัส เพื่อเด็กที่พิการทางสายตาจะได้บอกเล่านิทานเพื่อให้คณะกรรมการเห็นภาพตาม หรือจะเป็นการแข่งขันวาดภาพด้วยโปรแกรมเพนต์ เด็กกลุ่มนี้ก็สามารถวาดได้สวยงามไม่แพ้เด็กปกติทั่วไปเพราะเป็นความถนัดเฉพาะตัวพวกเขา "สุคนธา ศรีภา" รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนงานและงบประมาณ โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ บอกว่า การจัดการแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียนในทุกกลุ่มการศึกษา ก็เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสแสดงศักยภาพของตนเองได้หากเราไม่จัดให้กลุ่มเด็กพิการหรือเด็กพิเศษเท่ากับว่าเราไปกดทับโอกาสเด็ก "ที่ผ่านมาหลายคนอาจจะไม่รู้ว่ามีการแข่งขันโปรแกรมใหญ่ของเด็กทั่วประเทศแบบนี้ เพราะส่วนใหญ่จะโฟกัสไปที่เด็กปกติ ซึ่งในความเป็นจริงกลุ่มเด็กพิการหูหนวก ตาบอด และเด็กพิเศษก็มีความสามารถพอๆกันไม่ว่าจะเป็นทักษะวิชาการด้านคณิตศาสตร์การเล่านิทานการอ่านการประดิษฐ์" รองผู้อำนวยการโรงเรียนอธิบายต่อว่า การแข่งขันนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่า แต่ละโรงเรียนสามารถดึงศักยภาพของเด็กออกมาได้ ทำให้เด็กได้แสดงความสามารถทางวิชาการ เพื่อให้เด็กเห็นคุณค่าในตัวเอง และได้เห็นว่างทางโรงเรียนทั่วประเทศก็มีความตั้งใจ ในการฝึกฝนเด็กให้มีศักยภาพตามความถนัดให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเด็กนักเรียนเองและทางโรงเรียนด้วย จากการเดินสำรวจสนามแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียน ได้เห็นความมุ่งมั่นของนักเรียนและความตั้งใจของครูผู้สอนที่ร่วมมือร่วมใจกัน ทำให้เกิดผลงานที่สร้างสรรค์ของเด็กกลุ่มนี้ได้เปอร์เฟ็กอย่างน่าทึ่งเลยทีเดียว ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1393388133 prachachat.net ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ก.พ.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...