กทม.คิดแหกกฎ ‘หลักสูตร’ กระทรวงศึกษาฯ
นางผุสดี ตามไท รองผู้ว่าฯกทม. เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้สำนักการศึกษา (สนศ.) ศึกษาข้อกฎหมายว่ากทม.มีอำนาจในการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนหรือไม่ จากเดิมที่ได้ดำเนินการตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)มาโดยตลอด แต่พบว่าที่ผ่านมา ระบบการศึกษาไทยมีความล้มเหลว ปัจจุบันนักเรียนศธ. และนักเรียนของกทม. ยังไม่มีพัฒนาการทางการศึกษาที่ดีขึ้น ยังพบปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้และขาดกระบวนการทางการคิด ส่งผลให้เด็กคิดไม่เป็น จึงอยากมีการกำหนดหลักสูตรการเรียนการสอนของนักเรียนกทม. ขึ้นมาเอง เนื่องจากตนเห็นว่ากระบวนการที่จะไปสู่เป้าหมายความสำเร็จของการศึกษาของนักเรียน ควรมีการปรับเปลี่ยนวิธีการ เพื่อให้นำไปสู่เป้าหมาย ทั้งนี้ตนเห็นว่าการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนนั้นจะต้องเน้นที่ตัวครูผู้สอน มากกว่ายึดตามหลักสูตรที่ถูกกำหนดขึ้น โดยหากกทม.สามารถกำหนดหลักสูตรได้เอง จะมีการปรับแผนการจัดการศึกษา โดยจะให้มีการลดจำนวนกลุ่มสาระการเรียนรู้ลง และจะเน้นการเพิ่มกิจกรรมและเปิดพื้นที่ความสนใจส่วนบุคคล อาทิ ดนตรี กีฬาและศิลปะ เป็นต้น เพื่อผลักดันความสามารถพิเศษและเน้นการสร้างกระบวนการทางความคิดของเด็กมากกว่า การอ่านและท่องจำเช่นปัจจุบันที่ตนคิดว่าไม่ใช่แนวทางที่จะทำให้เด็กประสบ ความสำเร็จในการเรียนและการใช้ชีวิต หากพบว่ากทม.ในฐานะท้องถิ่น สามารถกำหนดหลักสูตรหรือเปลี่ยนแปลงในส่วนใดได้ กทม.จะเร่งดำเนินการเพื่อปรับปรุงหลักสูตรให้มีความเหมาะสมและพัฒนามากขึ้น แต่หากพบว่าไม่สามารถปรับหลักสูตรต้นแบบจากศธ.ได้ ก็จะพยายามเพิ่มเติมความรู้หรือแนวทางการสอนที่เป็นประโยชน์กับเด็กกทม.เข้า ไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
นางผุสดี กล่าวต่อว่า จากการศึกษาระบบการศึกษาของประเทศอื่น มีจุดที่น่าสนใจที่กทม.ควรนำมาใช้ ตนจึงได้ศึกษารูปแบบการบริหารจัดการเรียนการสอนจากประเทศฟินแลนด์ที่จะมี โครงการประเมินผลการศึกษานานาชาติ (PISA) อย่างต่อเนื่อง ใน 3 วิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และการอ่าน ซึ่งถือเป็นวิชาที่เน้นสาระสำคัญให้คนมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ สามารถคิดและวิเคราะห์เป็น กทม.จึงนำมาใช้วัดคุณภาพกับเด็กกทม. ซึ่งผลออกมาเมื่อเปรียบเทียบคะแนนยังไม่ดีเท่าที่ควร แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งจะทำให้กทม.สามารถวิเคราะห์กระบวนความคิดของเด็ก เพื่อนำไปหาข้อบกพร่อง และนำไปพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ทัดเทียมกับต่างประเทศได้
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 มี.ค.57
1 จริงมั้ย 5/03/2557 14:07:35
แนะนำเลยนะ วิชาไร้สาระไม่ควรมีเช่น การเข้าพักแรมต่างจังหวัดหรือแม้แต่ทัศนศึกษา มันดูเหมือนดีแต่ไร้สาระมากเด็กต้องห่างครอบครัว2/3วันเพื่อเดินทางไกลเสียทั้งเงินทั้งเวลาและเสี่ยงกับอุบัติเหตุซึ่งก็มีให้เห็นอยู่ประจำมันคุ้มกันมั้ย ถ้าจะมีค่ายพักแรมก็น่าจะให้เด็กอยู่ค่ายในโรงเรียนวันหยุดเสาร์อาทิตย์ก็ยังดีซะกว่า ทำไมต้องสร้างปัญหาให้เด็กที่เขาตั้งใจมาเรียน ไม่ใช่หวังได้วิชาพักค่ายที่ต้องเดินทางไปอยู่ในป่าในเขา ไม่ใช่ทหารพรานหรือคิดจะไปทำนาทำไร่ วิชาห่วยๆพอเถอะ
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นางผุสดี ตามไท รองผู้ว่าฯกทม. เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้สำนักการศึกษา (สนศ.) ศึกษาข้อกฎหมายว่ากทม.มีอำนาจในการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนหรือไม่ จากเดิมที่ได้ดำเนินการตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)มาโดยตลอด แต่พบว่าที่ผ่านมา ระบบการศึกษาไทยมีความล้มเหลว ปัจจุบันนักเรียนศธ. และนักเรียนของกทม. ยังไม่มีพัฒนาการทางการศึกษาที่ดีขึ้น ยังพบปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้และขาดกระบวนการทางการคิด ส่งผลให้เด็กคิดไม่เป็น จึงอยากมีการกำหนดหลักสูตรการเรียนการสอนของนักเรียนกทม. ขึ้นมาเอง เนื่องจากตนเห็นว่ากระบวนการที่จะไปสู่เป้าหมายความสำเร็จของการศึกษาของนักเรียน ควรมีการปรับเปลี่ยนวิธีการ เพื่อให้นำไปสู่เป้าหมาย ทั้งนี้ตนเห็นว่าการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนนั้นจะต้องเน้นที่ตัวครูผู้สอน มากกว่ายึดตามหลักสูตรที่ถูกกำหนดขึ้น โดยหากกทม.สามารถกำหนดหลักสูตรได้เอง จะมีการปรับแผนการจัดการศึกษา โดยจะให้มีการลดจำนวนกลุ่มสาระการเรียนรู้ลง และจะเน้นการเพิ่มกิจกรรมและเปิดพื้นที่ความสนใจส่วนบุคคล อาทิ ดนตรี กีฬาและศิลปะ เป็นต้น เพื่อผลักดันความสามารถพิเศษและเน้นการสร้างกระบวนการทางความคิดของเด็กมากกว่า การอ่านและท่องจำเช่นปัจจุบันที่ตนคิดว่าไม่ใช่แนวทางที่จะทำให้เด็กประสบ ความสำเร็จในการเรียนและการใช้ชีวิต หากพบว่ากทม.ในฐานะท้องถิ่น สามารถกำหนดหลักสูตรหรือเปลี่ยนแปลงในส่วนใดได้ กทม.จะเร่งดำเนินการเพื่อปรับปรุงหลักสูตรให้มีความเหมาะสมและพัฒนามากขึ้น แต่หากพบว่าไม่สามารถปรับหลักสูตรต้นแบบจากศธ.ได้ ก็จะพยายามเพิ่มเติมความรู้หรือแนวทางการสอนที่เป็นประโยชน์กับเด็กกทม.เข้า ไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นางผุสดี ตามไท รองผู้ว่าฯกทม. นางผุสดี กล่าวต่อว่า จากการศึกษาระบบการศึกษาของประเทศอื่น มีจุดที่น่าสนใจที่กทม.ควรนำมาใช้ ตนจึงได้ศึกษารูปแบบการบริหารจัดการเรียนการสอนจากประเทศฟินแลนด์ที่จะมี โครงการประเมินผลการศึกษานานาชาติ (PISA) อย่างต่อเนื่อง ใน 3 วิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และการอ่าน ซึ่งถือเป็นวิชาที่เน้นสาระสำคัญให้คนมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ สามารถคิดและวิเคราะห์เป็น กทม.จึงนำมาใช้วัดคุณภาพกับเด็กกทม. ซึ่งผลออกมาเมื่อเปรียบเทียบคะแนนยังไม่ดีเท่าที่ควร แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งจะทำให้กทม.สามารถวิเคราะห์กระบวนความคิดของเด็ก เพื่อนำไปหาข้อบกพร่อง และนำไปพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ทัดเทียมกับต่างประเทศได้ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/bangkok/219919/กทม.คิดแหกกฎ”หลักสูตร”กระทรวงศึกษาฯ เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 มี.ค.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)