คนพิการกู้เงินกองทุนกยศ. 1,670 ราย
ผู้กู้ไม่ชำระหนี้ปัญหาใหญ่กยศ. 'ดร.ฑิตติมา วิชัยรัตน์' ผู้จัดการกยศ. : โดย...หทัยรัตน์ ดีประเสริฐ "เมื่อก่อนทุกภาคส่วนไม่พยายามพูดเรื่องฟ้องร้อง เพราะพอพูดถึงการฟ้องร้อง พูดถึงโครงการไกล่เกลี่ย สื่อจะประโคมว่า กยศ.รังแกเด็ก แต่สมัยนี้ทุกอย่างเปิดเผย สิ่งที่ควรทำก็ต้องทำ วันนี้ กยศ.วางแนวทางให้สถานศึกษาแจ้งเด็ก และผู้ปกครองก่อนกู้ ว่า การกู้มีดอกเบี้ย มีเบี้ยปรับ ถ้าไม่ชำระหนี้ถูกฟ้องร้อง เพราะเป็นกฎหมายแพ่ง อย่างไรก็หนีไม่พ้น เพื่อให้เข้าใจว่า เมื่อเรียนจบแล้วมีงานทำ แล้วมีระยะผ่อนผัน 2 ปี ต้องชำระคืนพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 1 ภายใน 15 ปี ถ้าครบกำหนดชำระคืนแล้ว แต่ไม่มาชำระจะมีเบี้ยปรับ 15 % ในปีแรก และปีต่อๆ ไปปีละ 18 % และค้างชำระหนี้ 4 ปี 5 งวด ต้องถูกฟ้องร้อง ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจให้ตรงกัน" ดร.ฑิตติมา วิชัยรัตน์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กล่าว
ตั้งแต่ปีการศึกษา 2539-2556 กองทุน กยศ.ให้กู้ยืมเงินแก่นักเรียน นักศึกษา เด็กที่ขาดแคลนทุนเรียนทรัพย์ ครอบครัวมีรายได้ไม่เกิน 2 แสนบาท ทั้งสิ้น 4,336,020 ราย เป็นเงินให้กู้ยืม 439,794 ล้านบาท ได้แก่ ผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างการชำระหนี้ 2,773,409 ราย คิดเป็นร้อยละ 64.0 ผู้กู้ยืมที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2556 จำนวน 765,301 ราย หรือร้อยละ 17.6 ผู้กู้ยืมที่อยู่ในช่วงปลอดหนี้ 520,376 ราย หรือร้อยละ 12.0 ผู้กู้ยืมชำระหนี้เสร็จสิ้น 247,840 ราย หรือร้อยละ 5.7 ผู้กู้ยืมพิการ/ทุพพลภาพ 1,670 ราย หรือร้อยละ 0.04 และผู้กู้ยืมเสียชีวิต 27,424 ราย หรือร้อยละ 0.6 ราย
ผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างการชำระหนี้ทั้งสิ้น 2,773,409 ราย มีผู้กู้ยืมกลุ่มทั่วไปจำนวน 2,019,059 ราย คิดเป็นร้อยละ 72.8 ขอผ่อนผันชำระหนี้จำนวน 3,849 ราย หรือร้อยละ 0.1 ไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องจำนวน 123,171 ราย หรือร้อยละ 4.4 และถูกดำเนินคดีจำนวน 627,330 ราย หรือร้อยละ 22.6 ราย ทั้งนี้เงินกู้ยืมที่ครบกำหนดชำระหนี้รวมทั้งสิ้น 71,854 ล้านบาท ได้รับชำระจำนวน 33,304 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 46 ค้างชำระจำนวน 38,550 ล้านบาท หรือร้อยละ 54 ราย
"วัตถุประสงค์จัดตั้งกองทุน กยศ.เพื่อช่วยคนจน เกณฑ์ผ่อนจึงผ่อนปรนมากๆ ดอกเบี้ย 1 % ขณะที่เรียนอยู่ไม่ต้องผ่อนชำระทั้งเงินต้น และดอกเบี้ย จบแล้ว 2 ปี ให้ไปหางาน ยังไม่ต้องผ่อนชำระ ครบกำหนดมีระยะเวลาผ่อน 15 ปี ตามอัตราที่กำหนด จะเห็นว่า เกณฑ์การผ่อนชำระผ่อนปรนมากๆ ดอกเบี้ยถูกมากๆ ดีสำหรับผู้กู้ แต่ไม่ดีสำหรับผู้กู้รายต่อไป คือไม่จูงใจให้ชำระหนี้ส่วนหนึ่งทำให้มีผู้กู้ไม่ชำระหนี้ รัฐบาลจึงต้องอุดหนุน หรือให้งบส่วนหนึ่ง ขณะเดียวกันกองทุนก็ต้องพยายามเก็บหนี้ให้ได้มากที่สุด เพื่อให้มีเงินมาหมุนเวียนปล่อยกู้" ผู้จัดการ กยศ.กล่าว
หลังจากรับตำแหน่ง ผจก.กยศ.เมื่อเมษายนปีที่แล้ว ดร.ฑิตติมา ได้จัดทำโครงการพี่เพื่อน้อง เซ็นเอ็มโอยู กับ 25 หน่วยงานตรวจสอบสถานะความเป็นหนี้ ไม่ว่าจะเป็น 5 องค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ กรมบัญชีกลาง หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ธนาคารไทย สมาคมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และสำนักงานประกันสังคม เพื่อติดตามหนี้ของกองทุนให้ได้มากที่สุด
"องค์กรต่างๆ จะใช้สถานะความเป็นหนี้ของพนักงาน ที่มีการชำระคืนเป็นตัวชี้วัดการแสดงความรับผิดชอบ และมีวินัยการเงินขั้นพื้นฐาน ที่องค์กรนายจ้างอยากได้จากพนักงาน ข้าราชการ ถ้าไม่มีแต่แรก ก็มีความเสี่ยงที่จะจ้างต่อไป เชื่อว่าการตรวจสอบสถานะความเป็นหนี้จะช่วยให้ผู้กู้กองทุน กยศ.จะมาชำระหนี้เพิ่มขึ้นอีก และปี 2561 จะส่งข้อมูลลูกหนี้เข้าเครดิตบูโรเป็นกรอบให้ผู้กู้ยืมระลึกว่า การใช้คืนเงินกู้มีความสำคัญ เพราะข้อมูลจะเข้าไปในเครดิตบูโร จะต้องชำระหนี้" ดร.ฑิตติมา กล่าว
ขณะเดียวกันมีการรณรงค์ให้มาชำระหนี้ ตั้งแต่พฤศจิกายน 2556-31 มีนาคม 2557 จะได้รับสิทธิพิเศษ 1.กรณีไม่ค้างชำระหนี้ ถ้ามาปิดบัญชีจะได้รับการลดหย่อนหนี้ร้อยละ 3.5 ของเงินต้นที่มาปิดบัญชี และ 2.กรณีค้างชำระ ถ้ามาชำระเงินงวดที่ค้างทั้งหมดจะได้รับการลดเบี้ยปรับ และค่าธรรมเนียมกรณีผิดนัดชำระหนี้ร้อยละ 100 หากมาปิดบัญชี จะได้รับการลดเบี้ยปรับ และค่าธรรมเนียมกรณีผิดนัดชำระหนี้ร้อยละ 100 รวมทั้งจะได้ลดดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมจัดการเงินกู้ยืมอีกร้อยละ 50 อีกด้วย
ซึ่งตั้งแต่ปี 2549-2556 มีคนไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง 122,469 ราย ปัจจุบันฟ้องร้องอยู่ปีละ 9 หมื่นราย มาไกล่เกลี่ยปีละ 1 หมื่นราย หากมีผู้กู้มาชำระหนี้คืนจำนวนมาก จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องงบ กยศ.ที่จะปล่อยกู้ในปีการศึกษา 2557 ได้ด้วย และต่อไปนี้จะมีการจ้างบริษัทติดตามหนี้ จากเดิมที่จ้างธนาคารกรุงไทยติดตามหนี้ ส่งจดหมายแจ้งภาระหนี้ 1 ครั้ง ตอนที่อยู่ในระยะปลอดหนี้ ตามหนี้ปีแรก 4 ครั้งจากนั้นตามปีละครั้ง
"การไม่ชำระหนี้ของผู้กู้ส่วนใหญ่ขาดจิตสำนึก วันนี้การสร้างจิตสำนึกไม่ใช่เรื่องง่าย แต่กองทุนคิดว่ามีส่วนสำคัญ ควรสร้างตั้งแต่เรียนหนังสือ จึงได้ร่วมกับศูนย์คุณธรรมออกแบบหลักสูตรสอนผู้ปฏิบัติงานกองทุนในสถานศึกษา ลงไปสอนผู้กู้ยืมว่า การที่ผู้กู้ได้ความช่วยเหลือจากสังคม จากงบประมาณแผ่นดิน ต้องตอบแทนสังคม สอนให้มีจิตสำนึก จบไปแล้วต้องตอบแทนสังคมด้วยในการให้ชำระหนี้เพื่อให้ผู้กู้รุ่นต่อไปได้กู้ต่อ และได้เอ็มโอยู กับ บ.ไมเนอร์อินเตอร์เนชั่นแนล และเซ็นทรัลรีเทล รับนักศึกษาไปฝึกงานและเมื่อจบแล้วมีตำแหน่งงานให้ และร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ (วว.) สร้างความเป็นเถ้าแก่น้อย มาแล้ว 2-3 ปี และประสานเรื่องเงินทุนให้แก่ผู้กู้ กยศ.อีกด้วย เพื่อให้เพิ่มทางเลือกแก่ผู้กู้มากขึ้น" ดร.ฑิตติมา กล่าว
นอกจากนี้จะปรับเกณฑ์ผู้กู้ต้องเรียนในสถานศึกษาที่ผ่านการรับรองของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. หมายความว่า เมื่อผู้กู้ยืมเรียนในสถาบันที่มีคุณภาพจบแล้วมีงานทำ รวมทั้งผู้กู้ต้องมีผลสอบโอเน็ตในระดับหนึ่ง เพื่อให้ผู้กู้เห็นว่า การกู้เงิน กยศ.ไม่ใช่เรื่องที่ได้มาง่ายดาย ต้องใช้เงินอย่างมีคุณค่าต่อการศึกษา และต้องนำมาชำระคืนตามเงื่อนไข
ผจก.กยศ.กล่าวว่า งบประมาณในการปล่อยกู้ กยศ.มาจากงบประมาณแผ่นดิน และเงินที่มาชำระหนี้ปีปีหนึ่งกองทุนให้กู้ 3 หมื่นล้าน มาจากงบประมาณ 2 หมื่นล้าน กองทุนสมทบปีละ 1 หมื่นล้านบาท สำหรับงบปี 2557 กยศ.เสนอของบกลาง 2,118 ล้านบาท เพื่อให้ผู้กู้ใหม่ ม.ปลาย 5 หมื่นคน ปวช. 5 หมื่นคน ปวส. 2,500 คน ปริญญาตรี 1 หมื่นคน รวม 112,500 คน เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา จากนั้นส่งไปที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ส่วนผู้ที่เรียนในระดับ ปวส.และปริญญาตรี ไปกู้กองทุนเพื่อการกู้ยืมที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) เพราะมี 1,315 สาขา ซึ่งต้องรอดูว่า กกต.จะมีมติอย่างไร
ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/mobile/detail/20140310/180472.html (ขนาดไฟล์: 167)
คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 มี.ค.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ดร.ฑิตติมา วิชัยรัตน์ ผู้จัดการกยศ. ผู้กู้ไม่ชำระหนี้ปัญหาใหญ่กยศ. 'ดร.ฑิตติมา วิชัยรัตน์' ผู้จัดการกยศ. : โดย...หทัยรัตน์ ดีประเสริฐ "เมื่อก่อนทุกภาคส่วนไม่พยายามพูดเรื่องฟ้องร้อง เพราะพอพูดถึงการฟ้องร้อง พูดถึงโครงการไกล่เกลี่ย สื่อจะประโคมว่า กยศ.รังแกเด็ก แต่สมัยนี้ทุกอย่างเปิดเผย สิ่งที่ควรทำก็ต้องทำ วันนี้ กยศ.วางแนวทางให้สถานศึกษาแจ้งเด็ก และผู้ปกครองก่อนกู้ ว่า การกู้มีดอกเบี้ย มีเบี้ยปรับ ถ้าไม่ชำระหนี้ถูกฟ้องร้อง เพราะเป็นกฎหมายแพ่ง อย่างไรก็หนีไม่พ้น เพื่อให้เข้าใจว่า เมื่อเรียนจบแล้วมีงานทำ แล้วมีระยะผ่อนผัน 2 ปี ต้องชำระคืนพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 1 ภายใน 15 ปี ถ้าครบกำหนดชำระคืนแล้ว แต่ไม่มาชำระจะมีเบี้ยปรับ 15 % ในปีแรก และปีต่อๆ ไปปีละ 18 % และค้างชำระหนี้ 4 ปี 5 งวด ต้องถูกฟ้องร้อง ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจให้ตรงกัน" ดร.ฑิตติมา วิชัยรัตน์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กล่าว ตั้งแต่ปีการศึกษา 2539-2556 กองทุน กยศ.ให้กู้ยืมเงินแก่นักเรียน นักศึกษา เด็กที่ขาดแคลนทุนเรียนทรัพย์ ครอบครัวมีรายได้ไม่เกิน 2 แสนบาท ทั้งสิ้น 4,336,020 ราย เป็นเงินให้กู้ยืม 439,794 ล้านบาท ได้แก่ ผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างการชำระหนี้ 2,773,409 ราย คิดเป็นร้อยละ 64.0 ผู้กู้ยืมที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2556 จำนวน 765,301 ราย หรือร้อยละ 17.6 ผู้กู้ยืมที่อยู่ในช่วงปลอดหนี้ 520,376 ราย หรือร้อยละ 12.0 ผู้กู้ยืมชำระหนี้เสร็จสิ้น 247,840 ราย หรือร้อยละ 5.7 ผู้กู้ยืมพิการ/ทุพพลภาพ 1,670 ราย หรือร้อยละ 0.04 และผู้กู้ยืมเสียชีวิต 27,424 ราย หรือร้อยละ 0.6 ราย ผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างการชำระหนี้ทั้งสิ้น 2,773,409 ราย มีผู้กู้ยืมกลุ่มทั่วไปจำนวน 2,019,059 ราย คิดเป็นร้อยละ 72.8 ขอผ่อนผันชำระหนี้จำนวน 3,849 ราย หรือร้อยละ 0.1 ไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องจำนวน 123,171 ราย หรือร้อยละ 4.4 และถูกดำเนินคดีจำนวน 627,330 ราย หรือร้อยละ 22.6 ราย ทั้งนี้เงินกู้ยืมที่ครบกำหนดชำระหนี้รวมทั้งสิ้น 71,854 ล้านบาท ได้รับชำระจำนวน 33,304 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 46 ค้างชำระจำนวน 38,550 ล้านบาท หรือร้อยละ 54 ราย "วัตถุประสงค์จัดตั้งกองทุน กยศ.เพื่อช่วยคนจน เกณฑ์ผ่อนจึงผ่อนปรนมากๆ ดอกเบี้ย 1 % ขณะที่เรียนอยู่ไม่ต้องผ่อนชำระทั้งเงินต้น และดอกเบี้ย จบแล้ว 2 ปี ให้ไปหางาน ยังไม่ต้องผ่อนชำระ ครบกำหนดมีระยะเวลาผ่อน 15 ปี ตามอัตราที่กำหนด จะเห็นว่า เกณฑ์การผ่อนชำระผ่อนปรนมากๆ ดอกเบี้ยถูกมากๆ ดีสำหรับผู้กู้ แต่ไม่ดีสำหรับผู้กู้รายต่อไป คือไม่จูงใจให้ชำระหนี้ส่วนหนึ่งทำให้มีผู้กู้ไม่ชำระหนี้ รัฐบาลจึงต้องอุดหนุน หรือให้งบส่วนหนึ่ง ขณะเดียวกันกองทุนก็ต้องพยายามเก็บหนี้ให้ได้มากที่สุด เพื่อให้มีเงินมาหมุนเวียนปล่อยกู้" ผู้จัดการ กยศ.กล่าว หลังจากรับตำแหน่ง ผจก.กยศ.เมื่อเมษายนปีที่แล้ว ดร.ฑิตติมา ได้จัดทำโครงการพี่เพื่อน้อง เซ็นเอ็มโอยู กับ 25 หน่วยงานตรวจสอบสถานะความเป็นหนี้ ไม่ว่าจะเป็น 5 องค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ กรมบัญชีกลาง หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ธนาคารไทย สมาคมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และสำนักงานประกันสังคม เพื่อติดตามหนี้ของกองทุนให้ได้มากที่สุด "องค์กรต่างๆ จะใช้สถานะความเป็นหนี้ของพนักงาน ที่มีการชำระคืนเป็นตัวชี้วัดการแสดงความรับผิดชอบ และมีวินัยการเงินขั้นพื้นฐาน ที่องค์กรนายจ้างอยากได้จากพนักงาน ข้าราชการ ถ้าไม่มีแต่แรก ก็มีความเสี่ยงที่จะจ้างต่อไป เชื่อว่าการตรวจสอบสถานะความเป็นหนี้จะช่วยให้ผู้กู้กองทุน กยศ.จะมาชำระหนี้เพิ่มขึ้นอีก และปี 2561 จะส่งข้อมูลลูกหนี้เข้าเครดิตบูโรเป็นกรอบให้ผู้กู้ยืมระลึกว่า การใช้คืนเงินกู้มีความสำคัญ เพราะข้อมูลจะเข้าไปในเครดิตบูโร จะต้องชำระหนี้" ดร.ฑิตติมา กล่าว ขณะเดียวกันมีการรณรงค์ให้มาชำระหนี้ ตั้งแต่พฤศจิกายน 2556-31 มีนาคม 2557 จะได้รับสิทธิพิเศษ 1.กรณีไม่ค้างชำระหนี้ ถ้ามาปิดบัญชีจะได้รับการลดหย่อนหนี้ร้อยละ 3.5 ของเงินต้นที่มาปิดบัญชี และ 2.กรณีค้างชำระ ถ้ามาชำระเงินงวดที่ค้างทั้งหมดจะได้รับการลดเบี้ยปรับ และค่าธรรมเนียมกรณีผิดนัดชำระหนี้ร้อยละ 100 หากมาปิดบัญชี จะได้รับการลดเบี้ยปรับ และค่าธรรมเนียมกรณีผิดนัดชำระหนี้ร้อยละ 100 รวมทั้งจะได้ลดดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมจัดการเงินกู้ยืมอีกร้อยละ 50 อีกด้วย ซึ่งตั้งแต่ปี 2549-2556 มีคนไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง 122,469 ราย ปัจจุบันฟ้องร้องอยู่ปีละ 9 หมื่นราย มาไกล่เกลี่ยปีละ 1 หมื่นราย หากมีผู้กู้มาชำระหนี้คืนจำนวนมาก จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องงบ กยศ.ที่จะปล่อยกู้ในปีการศึกษา 2557 ได้ด้วย และต่อไปนี้จะมีการจ้างบริษัทติดตามหนี้ จากเดิมที่จ้างธนาคารกรุงไทยติดตามหนี้ ส่งจดหมายแจ้งภาระหนี้ 1 ครั้ง ตอนที่อยู่ในระยะปลอดหนี้ ตามหนี้ปีแรก 4 ครั้งจากนั้นตามปีละครั้ง "การไม่ชำระหนี้ของผู้กู้ส่วนใหญ่ขาดจิตสำนึก วันนี้การสร้างจิตสำนึกไม่ใช่เรื่องง่าย แต่กองทุนคิดว่ามีส่วนสำคัญ ควรสร้างตั้งแต่เรียนหนังสือ จึงได้ร่วมกับศูนย์คุณธรรมออกแบบหลักสูตรสอนผู้ปฏิบัติงานกองทุนในสถานศึกษา ลงไปสอนผู้กู้ยืมว่า การที่ผู้กู้ได้ความช่วยเหลือจากสังคม จากงบประมาณแผ่นดิน ต้องตอบแทนสังคม สอนให้มีจิตสำนึก จบไปแล้วต้องตอบแทนสังคมด้วยในการให้ชำระหนี้เพื่อให้ผู้กู้รุ่นต่อไปได้กู้ต่อ และได้เอ็มโอยู กับ บ.ไมเนอร์อินเตอร์เนชั่นแนล และเซ็นทรัลรีเทล รับนักศึกษาไปฝึกงานและเมื่อจบแล้วมีตำแหน่งงานให้ และร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ (วว.) สร้างความเป็นเถ้าแก่น้อย มาแล้ว 2-3 ปี และประสานเรื่องเงินทุนให้แก่ผู้กู้ กยศ.อีกด้วย เพื่อให้เพิ่มทางเลือกแก่ผู้กู้มากขึ้น" ดร.ฑิตติมา กล่าว นอกจากนี้จะปรับเกณฑ์ผู้กู้ต้องเรียนในสถานศึกษาที่ผ่านการรับรองของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. หมายความว่า เมื่อผู้กู้ยืมเรียนในสถาบันที่มีคุณภาพจบแล้วมีงานทำ รวมทั้งผู้กู้ต้องมีผลสอบโอเน็ตในระดับหนึ่ง เพื่อให้ผู้กู้เห็นว่า การกู้เงิน กยศ.ไม่ใช่เรื่องที่ได้มาง่ายดาย ต้องใช้เงินอย่างมีคุณค่าต่อการศึกษา และต้องนำมาชำระคืนตามเงื่อนไข ผจก.กยศ.กล่าวว่า งบประมาณในการปล่อยกู้ กยศ.มาจากงบประมาณแผ่นดิน และเงินที่มาชำระหนี้ปีปีหนึ่งกองทุนให้กู้ 3 หมื่นล้าน มาจากงบประมาณ 2 หมื่นล้าน กองทุนสมทบปีละ 1 หมื่นล้านบาท สำหรับงบปี 2557 กยศ.เสนอของบกลาง 2,118 ล้านบาท เพื่อให้ผู้กู้ใหม่ ม.ปลาย 5 หมื่นคน ปวช. 5 หมื่นคน ปวส. 2,500 คน ปริญญาตรี 1 หมื่นคน รวม 112,500 คน เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา จากนั้นส่งไปที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ส่วนผู้ที่เรียนในระดับ ปวส.และปริญญาตรี ไปกู้กองทุนเพื่อการกู้ยืมที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) เพราะมี 1,315 สาขา ซึ่งต้องรอดูว่า กกต.จะมีมติอย่างไร ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/mobile/detail/20140310/180472.html คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 มี.ค.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)