เล็งเพิ่ม207ศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ
เมื่อวันที่ ( 20 พ.ค.) ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ดำเนินโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ ในปีงบประมาณ 2557 ซึ่งขณะนี้มีศูนย์การเรียนดังกล่าวแล้ว 521 แห่ง มีนักเรียนพิการ 8,032 คน โดยในปี 2558 นี้ สพฐ.จะขยายศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการอีก 207 แห่ง รวมเป็น 728 แห่ง เพื่อให้ครอบคลุมทุกภูมิภาค และผู้เรียนจะได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ ขณะเดียวกันจะมีการยกร่างกฎกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ โดยมีการกำหนดมาตรฐาน เช่น หลักสูตรการเรียนการสอน และสถานที่ เป็นต้น เพื่อรองรับการดำเนินงานอย่างถูกต้อง เพราะที่ผ่านมาการดำเนินงานต้องไปจดทะเบียนจัดตั้งที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งส่งผลให้การจัดสรรงบประมาณค่อนข้างยาก เพราะ สพฐ.จะต้องหางบประมาณจากส่วนอื่นมาเจียดจ่ายให้ ดังนั้นหากมีการดำเนินงานตามกฎระเบียบของ ศธ.แล้วก็จะทำให้ได้รับงบประมาณจากภาครัฐอย่างเต็มที่ มีการประกันคุณภาพ อีกทั้งการทำงานก็จะเกิดความสะดวกมากยิ่งขึ้น
“ที่ผ่านมาการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในโรงเรียนมีการดูแลไม่ทั่วถึง อีกทั้งการจัดการเรียนการสอนสำหรับคนพิการต้องมีรูปแบบที่หลากหลาย ซึ่ง สพฐ.ได้ปรับยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการใหม่ เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้เข้าถึงผู้เรียนทุกคน ทุกสภาพร่างกาย และการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการนั้น เห็นว่าผู้ปกครองเป็นหัวใจหลักสำคัญของการดูแลเด็กพิการได้เป็นอย่างดี จึงได้ปรับเป็นโครงการการจัดศูนย์การเรียนรู้เฉพาะคนพิการ ในรูปแบบการปรับบ้านให้เป็นห้องเรียน เพราะเชื่อมั่นว่าพ่อแม่จะเป็นครูที่ดีสำหรับเด็กได้ โดยศูนย์การเรียนลักษณะดังกล่าวจัดการเรียนโดยครอบครัว สถานประกอบการ องค์กรเอกชน และชุมชน ซึ่งมีหลายกลุ่มที่จัดการศึกษาประสบความสำเร็จสูงมาก เช่น โครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลจนได้รับรางวัลระดับโลก”เลขาธิการกพฐ.กล่าว.
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/education/322503 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ เมื่อวันที่ ( 20 พ.ค.) ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ดำเนินโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ ในปีงบประมาณ 2557 ซึ่งขณะนี้มีศูนย์การเรียนดังกล่าวแล้ว 521 แห่ง มีนักเรียนพิการ 8,032 คน โดยในปี 2558 นี้ สพฐ.จะขยายศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการอีก 207 แห่ง รวมเป็น 728 แห่ง เพื่อให้ครอบคลุมทุกภูมิภาค และผู้เรียนจะได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ ขณะเดียวกันจะมีการยกร่างกฎกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ โดยมีการกำหนดมาตรฐาน เช่น หลักสูตรการเรียนการสอน และสถานที่ เป็นต้น เพื่อรองรับการดำเนินงานอย่างถูกต้อง เพราะที่ผ่านมาการดำเนินงานต้องไปจดทะเบียนจัดตั้งที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งส่งผลให้การจัดสรรงบประมาณค่อนข้างยาก เพราะ สพฐ.จะต้องหางบประมาณจากส่วนอื่นมาเจียดจ่ายให้ ดังนั้นหากมีการดำเนินงานตามกฎระเบียบของ ศธ.แล้วก็จะทำให้ได้รับงบประมาณจากภาครัฐอย่างเต็มที่ มีการประกันคุณภาพ อีกทั้งการทำงานก็จะเกิดความสะดวกมากยิ่งขึ้น “ที่ผ่านมาการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในโรงเรียนมีการดูแลไม่ทั่วถึง อีกทั้งการจัดการเรียนการสอนสำหรับคนพิการต้องมีรูปแบบที่หลากหลาย ซึ่ง สพฐ.ได้ปรับยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการใหม่ เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้เข้าถึงผู้เรียนทุกคน ทุกสภาพร่างกาย และการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการนั้น เห็นว่าผู้ปกครองเป็นหัวใจหลักสำคัญของการดูแลเด็กพิการได้เป็นอย่างดี จึงได้ปรับเป็นโครงการการจัดศูนย์การเรียนรู้เฉพาะคนพิการ ในรูปแบบการปรับบ้านให้เป็นห้องเรียน เพราะเชื่อมั่นว่าพ่อแม่จะเป็นครูที่ดีสำหรับเด็กได้ โดยศูนย์การเรียนลักษณะดังกล่าวจัดการเรียนโดยครอบครัว สถานประกอบการ องค์กรเอกชน และชุมชน ซึ่งมีหลายกลุ่มที่จัดการศึกษาประสบความสำเร็จสูงมาก เช่น โครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลจนได้รับรางวัลระดับโลก”เลขาธิการกพฐ.กล่าว. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/education/322503
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)