‘เปิดประตูแห่งโอกาส’อาชีวศึกษาเพื่อเด็กพิเศษ

แสดงความคิดเห็น

„ออทิสติก สมาธิสั้น แอลดี สามอาการที่บ่งบอกถึงลักษณะของ “เด็กพิเศษ” ปฏิเสธไม่ได้ที่คนส่วนใหญ่ในสังคม มองเด็กเหล่านี้คือ “ภาระ” เสียงสะท้อน ที่เจ็บปวด รุนแรงที่สุด สำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่มีลูกเป็นเด็กพิเศษ ผิดอะไร ที่เกิดมาขาดพร่อง แล้วสังคมยังคอยซ้ำเติม ถึงเวลาปรับมุมมอง เปลี่ยนความคิด และเปิดพื้นที่แห่งโอกาส

“เปลี่ยนจากภาระ ให้เป็นพลังของสังคม” พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวในพิธีลงนามความร่วมมือ ย้ำชัดให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันปรับเปลี่ยนพลังให้เด็กพิเศษดูแลตนเอง ดูแลครอบครัว และมีอาชีพติดตัว

‘เปิดประตูแห่งโอกาส’อาชีวศึกษาเพื่อเด็กพิเศษ

จากข้อมูลของสำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ สพฐ. พบว่า นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษทางการเรียนรู้ ส่วนใหญ่จะยุติการเรียนในระดับชั้น ม. 3 ถึง 75% โดยไม่ถูกเตรียมพร้อมในการประกอบอาชีพ

ประตูแห่งโอกาสจึงเปิดขึ้น โดยความร่วมมือการจัดการศึกษาสายอาชีพเพื่อการมีงานทำของผู้ที่มีความต้องการพิเศษทางการเรียนรู้ (ออทิสติก สมาธิสั้น แอลดี) ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวิทยาลัยสารพัดช่าง 6 แห่ง คือ วิทยาลัยสารพัดช่างนครหลวง พระนคร สี่พระยา ธนบุรี สมุทรปราการ และเชียงใหม่ เพื่อนำร่องจัดการศึกษาแก่ผู้มีความต้องการพิเศษทางการเรียนรู้ บนฐานการวิจัยเพื่อวางระบบการจัดการเรียนการสอนสายอาชีพแก่ผู้ที่มีความต้องการพิเศษ ที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เมื่อวันที่ 14 ก.ค. ที่ผ่านมา

วณิชย์ อ่วมศรี รองเลขาธิการ สอศ. กล่าวว่า สอศ. มีนโยบายให้ความเสมอภาคในการจัดการเรียนการสอนของสถาบันอาชีวศึกษา 421 แห่งทั่วประเทศต้องรับเด็กทุกประเภทเข้าเรียน แต่หากสถาบันใดไม่มีศักยภาพพอก็ต้องส่งต่อให้สถาบันอื่น ห้ามปฏิเสธเด็กโดยเด็ดขาด จากนี้ไป สอศ. จะพัฒนาทำให้เป็นระบบมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิทยาลัยสารพัดช่างซึ่งมีความโดดเด่นเรื่องหลักสูตรการเรียนการสอนระยะสั้น ที่มีมากกว่าร้อยหลักสูตร สามารถเรียนตามความชอบ ความถนัด และมีความยืดหยุ่นสูงโดยเปิดให้เรียนแบบสะสมหน่วยกิตเพื่อเทียบหลักสูตร ปวช. ปวส. ได้

“สิ่งที่ต้องพัฒนาเพิ่มคือครู ซึ่งครูเหล่านี้ มีจิตเป็นกุศลอยากเข้ามาช่วย แต่สำคัญที่สุดและสามารถช่วยสถานศึกษาได้มากคือ พ่อ แม่ ผู้ปกครองที่จะรู้ดีที่สุดว่าลูกมีความถนัดหรือสนใจอาชีพด้านใด และมีองค์กรสนับสนุนอย่าง สสค. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ทำการศึกษาค้นคว้ามีงานวิจัยรองรับเข้ามาช่วยเติมความพร้อมของ สอศ.

พิศิษฐ์ พลแก้ว ผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า รูปแบบการเรียนการสอนของวิทยาลัยมีการเปิดสอนหลักสูตรระยะสั้นหลากหลาย เมื่อรับเด็กพิเศษเข้ามาก็ให้เรียนร่วมกับเด็กปกติ พยายามค้นหาจุดแข็งของเด็กว่ามีแววด้านไหนเพื่อเสริมอาชีพได้ถูกทาง ปัจจุบันมีเด็กพิเศษเรียนจบไปทำงานสายการบินนกแอร์ พื้นที่ภาคเหนือ

อ.ศรีวิการ์เมฆธวัชชัยกุล อดีตรองเลขา ธิการ สอศ. กล่าวว่า การจัดการศึกษาสายอาชีพเพื่อการมีงานทำของผู้ที่มีความต้องการพิเศษทางการเรียนรู้ (ออทิสติก สมาธิสั้น แอลดี) ถือเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้แบบใหม่ของประเทศ ที่ผ่านมาการเรียนการสอนมักติดอยู่ในแบบฟอร์ม ตั้งแต่อนุบาลจนถึงอุดมศึกษา โดยเด็กไม่รู้เป้าหมายชีวิตคืออะไร เมื่อรัฐพยายามปรับเปลี่ยนให้เด็กทุกคนเรียนไปเพื่อการมีงานทำ ยิ่งกรณี “เด็กพิเศษ” การเรียนเพื่อให้มีอาชีพติดตัวยิ่งเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมากที่สุด

“เพราะมีโอกาส จึงพร้อมลุกขึ้นสู้ แม้จะยากที่ต้องปรับอารมณ์ของตัวเองให้ใจเย็นที่สุด เพราะเป็นคนใจร้อนมาก แต่ด้วยสิ่งที่ผมรักและชอบคอมพิวเตอร์ จึงพยายามศึกษาจนประสบความสำเร็จ ทุกวันนี้ มีความสุข ภูมิใจที่ได้มาเป็นครูสอนหนังสือ และเป็นผู้ส่งสารต่อถึงรุ่นน้อง ๆ คนพิการมาเรียนร่วมได้ช่วยดูแลเป็นทั้งครูและพี่เลี้ยงคอยให้กำลังใจน้องได้สู้ต่อไป “น้องก๊อง” นายพชร จ๊ะเงา เด็กออทิสติกจบ ปวส. สาขาคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันเป็นครูพิเศษคนพิการและผู้สูงอายุ วิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่ บอก

“ดีใจที่สุด ที่ฝันเป็นจริง ไม่ใช่การเพ้อฝันอีกต่อไป วันนี้คือความสำเร็จของผู้ปกครองที่มีลูกในลักษณะเดียวกันได้มีทางออก และอยากฝากถึงสถานศึกษา อาจารย์ ครูผู้สอนในสถาบันอาชีวะศึกษาทุกแห่งทั่วประเทศ เปิดใจยอมรับและอยากสอนเด็กพิเศษ เพราะเราอยากให้ลูกได้พบเจอครู อาจารย์ที่เข้าใจในตัวเขา เพื่อเด็กจะได้มีความสุขในการเรียน” แม่ตุ้ย นางปิยนุช โชติกเสถียร ผู้ปกครองเด็กพิเศษ บอกถึงความตื้นตันใจ

ร่วมกันเปิดมิติใหม่ทางการเรียนรู้ สู่อาชีพและการมีงานทำของเด็กพิเศษ ดูรายละเอียดหลักสูตรที่เปิดสอนใน 6 วิทยาลัยสารพัดช่างได้ที่ www.QLF.or.th

พรประไพ เสือเขียว /article@dailynews.co.th“

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/336120 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย21ก.ค.58
วันที่โพสต์: 23/07/2558 เวลา 11:23:15 ดูภาพสไลด์โชว์ ‘เปิดประตูแห่งโอกาส’อาชีวศึกษาเพื่อเด็กพิเศษ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

„ออทิสติก สมาธิสั้น แอลดี สามอาการที่บ่งบอกถึงลักษณะของ “เด็กพิเศษ” ปฏิเสธไม่ได้ที่คนส่วนใหญ่ในสังคม มองเด็กเหล่านี้คือ “ภาระ” เสียงสะท้อน ที่เจ็บปวด รุนแรงที่สุด สำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่มีลูกเป็นเด็กพิเศษ ผิดอะไร ที่เกิดมาขาดพร่อง แล้วสังคมยังคอยซ้ำเติม ถึงเวลาปรับมุมมอง เปลี่ยนความคิด และเปิดพื้นที่แห่งโอกาส “เปลี่ยนจากภาระ ให้เป็นพลังของสังคม” พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวในพิธีลงนามความร่วมมือ ย้ำชัดให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันปรับเปลี่ยนพลังให้เด็กพิเศษดูแลตนเอง ดูแลครอบครัว และมีอาชีพติดตัว ‘เปิดประตูแห่งโอกาส’อาชีวศึกษาเพื่อเด็กพิเศษ จากข้อมูลของสำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ สพฐ. พบว่า นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษทางการเรียนรู้ ส่วนใหญ่จะยุติการเรียนในระดับชั้น ม. 3 ถึง 75% โดยไม่ถูกเตรียมพร้อมในการประกอบอาชีพ ประตูแห่งโอกาสจึงเปิดขึ้น โดยความร่วมมือการจัดการศึกษาสายอาชีพเพื่อการมีงานทำของผู้ที่มีความต้องการพิเศษทางการเรียนรู้ (ออทิสติก สมาธิสั้น แอลดี) ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวิทยาลัยสารพัดช่าง 6 แห่ง คือ วิทยาลัยสารพัดช่างนครหลวง พระนคร สี่พระยา ธนบุรี สมุทรปราการ และเชียงใหม่ เพื่อนำร่องจัดการศึกษาแก่ผู้มีความต้องการพิเศษทางการเรียนรู้ บนฐานการวิจัยเพื่อวางระบบการจัดการเรียนการสอนสายอาชีพแก่ผู้ที่มีความต้องการพิเศษ ที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เมื่อวันที่ 14 ก.ค. ที่ผ่านมา วณิชย์ อ่วมศรี รองเลขาธิการ สอศ. กล่าวว่า สอศ. มีนโยบายให้ความเสมอภาคในการจัดการเรียนการสอนของสถาบันอาชีวศึกษา 421 แห่งทั่วประเทศต้องรับเด็กทุกประเภทเข้าเรียน แต่หากสถาบันใดไม่มีศักยภาพพอก็ต้องส่งต่อให้สถาบันอื่น ห้ามปฏิเสธเด็กโดยเด็ดขาด จากนี้ไป สอศ. จะพัฒนาทำให้เป็นระบบมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิทยาลัยสารพัดช่างซึ่งมีความโดดเด่นเรื่องหลักสูตรการเรียนการสอนระยะสั้น ที่มีมากกว่าร้อยหลักสูตร สามารถเรียนตามความชอบ ความถนัด และมีความยืดหยุ่นสูงโดยเปิดให้เรียนแบบสะสมหน่วยกิตเพื่อเทียบหลักสูตร ปวช. ปวส. ได้ “สิ่งที่ต้องพัฒนาเพิ่มคือครู ซึ่งครูเหล่านี้ มีจิตเป็นกุศลอยากเข้ามาช่วย แต่สำคัญที่สุดและสามารถช่วยสถานศึกษาได้มากคือ พ่อ แม่ ผู้ปกครองที่จะรู้ดีที่สุดว่าลูกมีความถนัดหรือสนใจอาชีพด้านใด และมีองค์กรสนับสนุนอย่าง สสค. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ทำการศึกษาค้นคว้ามีงานวิจัยรองรับเข้ามาช่วยเติมความพร้อมของ สอศ. พิศิษฐ์ พลแก้ว ผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า รูปแบบการเรียนการสอนของวิทยาลัยมีการเปิดสอนหลักสูตรระยะสั้นหลากหลาย เมื่อรับเด็กพิเศษเข้ามาก็ให้เรียนร่วมกับเด็กปกติ พยายามค้นหาจุดแข็งของเด็กว่ามีแววด้านไหนเพื่อเสริมอาชีพได้ถูกทาง ปัจจุบันมีเด็กพิเศษเรียนจบไปทำงานสายการบินนกแอร์ พื้นที่ภาคเหนือ อ.ศรีวิการ์เมฆธวัชชัยกุล อดีตรองเลขา ธิการ สอศ. กล่าวว่า การจัดการศึกษาสายอาชีพเพื่อการมีงานทำของผู้ที่มีความต้องการพิเศษทางการเรียนรู้ (ออทิสติก สมาธิสั้น แอลดี) ถือเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้แบบใหม่ของประเทศ ที่ผ่านมาการเรียนการสอนมักติดอยู่ในแบบฟอร์ม ตั้งแต่อนุบาลจนถึงอุดมศึกษา โดยเด็กไม่รู้เป้าหมายชีวิตคืออะไร เมื่อรัฐพยายามปรับเปลี่ยนให้เด็กทุกคนเรียนไปเพื่อการมีงานทำ ยิ่งกรณี “เด็กพิเศษ” การเรียนเพื่อให้มีอาชีพติดตัวยิ่งเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมากที่สุด “เพราะมีโอกาส จึงพร้อมลุกขึ้นสู้ แม้จะยากที่ต้องปรับอารมณ์ของตัวเองให้ใจเย็นที่สุด เพราะเป็นคนใจร้อนมาก แต่ด้วยสิ่งที่ผมรักและชอบคอมพิวเตอร์ จึงพยายามศึกษาจนประสบความสำเร็จ ทุกวันนี้ มีความสุข ภูมิใจที่ได้มาเป็นครูสอนหนังสือ และเป็นผู้ส่งสารต่อถึงรุ่นน้อง ๆ คนพิการมาเรียนร่วมได้ช่วยดูแลเป็นทั้งครูและพี่เลี้ยงคอยให้กำลังใจน้องได้สู้ต่อไป “น้องก๊อง” นายพชร จ๊ะเงา เด็กออทิสติกจบ ปวส. สาขาคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันเป็นครูพิเศษคนพิการและผู้สูงอายุ วิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่ บอก “ดีใจที่สุด ที่ฝันเป็นจริง ไม่ใช่การเพ้อฝันอีกต่อไป วันนี้คือความสำเร็จของผู้ปกครองที่มีลูกในลักษณะเดียวกันได้มีทางออก และอยากฝากถึงสถานศึกษา อาจารย์ ครูผู้สอนในสถาบันอาชีวะศึกษาทุกแห่งทั่วประเทศ เปิดใจยอมรับและอยากสอนเด็กพิเศษ เพราะเราอยากให้ลูกได้พบเจอครู อาจารย์ที่เข้าใจในตัวเขา เพื่อเด็กจะได้มีความสุขในการเรียน” แม่ตุ้ย นางปิยนุช โชติกเสถียร ผู้ปกครองเด็กพิเศษ บอกถึงความตื้นตันใจ ร่วมกันเปิดมิติใหม่ทางการเรียนรู้ สู่อาชีพและการมีงานทำของเด็กพิเศษ ดูรายละเอียดหลักสูตรที่เปิดสอนใน 6 วิทยาลัยสารพัดช่างได้ที่ www.QLF.or.th พรประไพ เสือเขียว /article@dailynews.co.th“ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/336120

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...