ชงศธ.รื้อใหญ่ดูแลสถานศึกษาทั่วประเทศ
วันที่ (3 ส.ค.) ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ประธานคณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายการศึกษา เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายการศึกษา ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมสถานศึกษานิติบุคคลในกำกับ ซึ่งมีสาระสำคัญว่า สถานศึกษาที่เปิดสอนการศึกษาขั้นพื้นฐานสายสามัญ ไม่ว่าจะของรัฐ เอกชน หรือท้องถิ่น ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ส่วนสถานศึกษาที่เปิดสอนสายอาชีวศึกษา ไม่ว่าจะของรัฐ เอกชน หรือท้องถิ่น ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) ส่วนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ก็ให้ทำหน้าที่ดูแลโรงเรียนของรัฐที่เป็นนิติบุคคลในกำกับแทน ซึ่งโรงเรียนในกำกับเหล่านี้จะได้รับเงินอุดหนุนรายหัวเหมือนเดิม และมีสิทธิเก็บค่าเล่าเรียนเพิ่ม แต่ต้องไม่เกินเพดานที่กำหนด โดยต่อไปจะทยอยปรับลดเงินอุดหนุนลงและมีทุนการศึกษาให้เด็กยากจน ซึ่งถือเป็นการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ ในอนาคตจะเห็นโรงเรียนต่างๆ ให้ความสำคัญกับคุณภาพการศึกษา และผลิตนักเรียนเฉพาะทางมากขึ้น เช่น โรงเรียนเตรียมแพทย์ เป็นต้น
ศ.วิริยะ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายการศึกษาพัฒนามนุษย์แห่งชาติ ซึ่งจะเปลี่ยนชื่อสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เป็น สำนักงานคณะกรรมการนโยบายการศึกษาพัฒนามนุษย์แห่งชาติ มีฐานะเป็นส่วนราชการ ที่กำหนดนโยบาย มีความเป็นอิสระ และมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ตำแหน่งเลขาธิการ สกศ.จะเปลี่ยนมาใช้วิธีการสรรหาแทนการแต่งตั้ง โดยเปิดให้ทั้งข้าราชการพลเรือน และบุคคลจากภาคเอกชน ที่มีตำแหน่งเทียบเท่าข้าราชการระดับ 11 เข้ารับการสรรหาได้ เพื่อให้ได้คนที่เหมาะสม ไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลของนักการเมือง อย่างไรก็ตามข้อสรุปจากที่ประชุมครั้งนี้จะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา ในวันที่ 7 ส.ค.นี้ เพื่อพิจารณาต่อไป.
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/education/339216 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ประธานคณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายการศึกษา วันที่ (3 ส.ค.) ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ประธานคณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายการศึกษา เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายการศึกษา ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมสถานศึกษานิติบุคคลในกำกับ ซึ่งมีสาระสำคัญว่า สถานศึกษาที่เปิดสอนการศึกษาขั้นพื้นฐานสายสามัญ ไม่ว่าจะของรัฐ เอกชน หรือท้องถิ่น ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ส่วนสถานศึกษาที่เปิดสอนสายอาชีวศึกษา ไม่ว่าจะของรัฐ เอกชน หรือท้องถิ่น ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) ส่วนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ก็ให้ทำหน้าที่ดูแลโรงเรียนของรัฐที่เป็นนิติบุคคลในกำกับแทน ซึ่งโรงเรียนในกำกับเหล่านี้จะได้รับเงินอุดหนุนรายหัวเหมือนเดิม และมีสิทธิเก็บค่าเล่าเรียนเพิ่ม แต่ต้องไม่เกินเพดานที่กำหนด โดยต่อไปจะทยอยปรับลดเงินอุดหนุนลงและมีทุนการศึกษาให้เด็กยากจน ซึ่งถือเป็นการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ ในอนาคตจะเห็นโรงเรียนต่างๆ ให้ความสำคัญกับคุณภาพการศึกษา และผลิตนักเรียนเฉพาะทางมากขึ้น เช่น โรงเรียนเตรียมแพทย์ เป็นต้น ศ.วิริยะ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายการศึกษาพัฒนามนุษย์แห่งชาติ ซึ่งจะเปลี่ยนชื่อสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เป็น สำนักงานคณะกรรมการนโยบายการศึกษาพัฒนามนุษย์แห่งชาติ มีฐานะเป็นส่วนราชการ ที่กำหนดนโยบาย มีความเป็นอิสระ และมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ตำแหน่งเลขาธิการ สกศ.จะเปลี่ยนมาใช้วิธีการสรรหาแทนการแต่งตั้ง โดยเปิดให้ทั้งข้าราชการพลเรือน และบุคคลจากภาคเอกชน ที่มีตำแหน่งเทียบเท่าข้าราชการระดับ 11 เข้ารับการสรรหาได้ เพื่อให้ได้คนที่เหมาะสม ไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลของนักการเมือง อย่างไรก็ตามข้อสรุปจากที่ประชุมครั้งนี้จะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา ในวันที่ 7 ส.ค.นี้ เพื่อพิจารณาต่อไป. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/education/339216
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)