ไอเอสบีเปิดหลักสูตร “เด็กพิเศษ”
โรงเรียนสถานศึกษานานาชาติไอเอสบีเปิด“โปรแกรมการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ” สำหรับเด็กนักเรียนที่ได้รับ การวินิจฉัยความบกพร่องทางสติปัญญา
นับวันอัตราเด็กที่มีความต้องการพิเศษมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข หรือภาคเอกชน ล้วนดำเนินการช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ ผ่านนโยบายการจัดการศึกษา พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการ กฎเกณฑ์ กฎระเบียบต่างๆ เพื่อสนับสนุนให้เด็กนักเรียนสามารถเข้าถึงการศึกษา การให้สิ่งอำนวยความสะดวก แต่เมื่อนำไปสู่การปฏิบัติกลับติดปัญหามากมาย ทั้งด้านความเข้าใจ ขาดแคลนครู บุคลากร และความพร้อมด้านสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา
โรงเรียนสถานศึกษานานาชาติไอเอสบี เปิดหลักสูตร“โปรแกรมการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ” ที่ออกแบบไว้สำหรับเด็กนักเรียนที่ได้รับการวินิจฉัยความบกพร่องทางสติปัญญา เช่น เด็กที่มีภาวะออทิสติก ดาวน์ซินโดรม หรือสมองพิการ ให้ได้เรียนรู้ด้วยความเสมอภาค เต็มศักยภาพของแต่ละคน โดยปีการศึกษาแรกนี้จะเปิดรับเด็กอายุ6-10 ปีจำนวน 10 คน
“อ.อุษา สมบูรณ์” ผู้บริหารโรงเรียนสถานศึกษานานาชาติ (ไอเอสบี) และนายกสมาคมโรงเรียนนานาชาติแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โรงเรียนมีปรัชญาในการจัดการเรียนการสอนแบบเรียนร่วม (Inclusive Education)เพราะเล็งเห็นว่าการศึกษาต้องมุ่งตอบสนองความต้องการ และภาวะของนักเรียนในหลากหลายรูปแบบ ความแตกต่างระหว่างบุคคล ตั้งแต่ระดับน้อย ปานกลาง ระดับสูง และนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ
ซึ่งใช้เวลา 4 ปี กว่าในการจัดทำหลักสูตรสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เพราะไม่ใช่ว่าจะเปิดอะไรก็ได้ แต่ต้องเป็นหลักสูตรที่จะช่วยพัฒนาการเรียนรู้ให้แก่เด็กได้อย่างแท้จริง โดยได้มีการศึกษาค้นคว้าทั้งด้านวิจัย เกี่ยวกับการจัดโปรแกรมการเรียนรู้ ศึกษาดูงานจากโรงเรียนในต่างประเทศที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบเรียนร่วมอย่างมีคุณภาพ
“เด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยเฉพาะเด็กที่มีความบกพร่องทางสมอง จะมีศักยภาพ ความชอบ และแสดงพฤติกรรมแตกต่างกัน หลักสูตรนี้ จะทำให้เด็กมีทักษะด้านวิชาการ การดำเนินชีวิต มีพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญหา ทำให้เด็กสามารถอยู่ในโลกของความเป็นจริง เรียนรู้อยู่ร่วมกันได้ เด็กจะได้รับการประเมินความสามารถให้ทราบถึงระดับความสามารถและพัฒนาการเพื่อจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล ให้ได้เรียนรู้กับครูที่ได้รับการฝึกฝนการจัดการศึกษาพิเศษ ภายใต้บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่โรงเรียนได้ออกแบบให้เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละคน รวมถึงจะมีการบูรณาการทักษะการเรียนรู้กับกลุ่มเพื่อนๆ ” อ.อุษา กล่าว
โลกความจริงมีผู้คนหลายประเภท เด็กจำเป็นต้องเรียนรู้แตกต่างร่วมกัน“หลักสูตรการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ” ได้รับการพัฒนาทักษะด้านร่างกาย การเคลื่อนไหว การเขียนด้วยมือ การพูด กิจกรรมในชีวิตประจำวัน การเล่น พฤติกรรมและอารมณ์ รวมถึงวางแผนต่อยอดทางการศึกษา ก้าวสู่อาชีพ ภายใต้ความร่วมมือ สนับสนุนการเรียนรู้แก่เด็กพิเศษ อาทิ อาจารย์การศึกษาพิเศษ นักแก้ไขการพูด (นักอรรถบำบัด) นักกิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยา อาจารย์ที่ปรึกษา และผู้ช่วยครู เพื่อให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้เรียนรู้ พร้อมใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น
อ.อุษา กล่าวต่อไปว่า เด็กนักเรียน ลูก คือหัวใจพ่อแม่ และพวกเขาต้องได้รับความเสมอภาคการเรียนรู้ เข้าถึงการศึกษาที่ดี พร้อมด้วยหลักสูตร ห้องเรียนที่ออกแบบพิเศษเพื่อทำกิจกรรมเฉพาะด้าน สภาพแวดล้อม และสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีมาตรฐานชั้นเยี่ยม เมื่อเด็กจบออกไปต้องสามารถใช้ชีวิต ช่วยเหลือตัวเอง และมีอาชีพที่เหมาะสมกับพวกเขา
ดังนั้น หลักสูตรสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ นอกจากนักเรียนจะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่แล้ว เขาจะได้ทักษะภาษาอังกฤษร่วมด้วย เพราะโรงเรียนมีนักเรียนต่างชาติจำนวนมาก เด็กที่มีความต้องการพิเศษ จะได้เรียนร่วม เป็นการทำให้นักเรียนปกติได้เรียนรู้โลกของความจริง ที่ยังมีผู้คนอีกมากมายที่แตกต่างจากเรา และเขาต้องเข้าใจ เรียนรู้ เห็นใจผู้อื่น และคอยช่วยเหลือผู้อื่นร่วมด้วย
ที่ผ่านมาไม่ใช่เพียงครูเท่านั้น ที่ต้องได้รับการอบรม สร้างความรู้ ความเข้าใจเพื่อดูแลเอาใจใส่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ ผู้ปกครองร่วมเป็นกำลังสำคัญในการช่วยเหลือ พัฒนาเด็กกลุ่มนี้อีกด้วย โดยหลักสูตรดังกล่าว จะเปิดรับเด็กนักเรียนที่มีความต้องการเป็นพิเศษ ความบกพร่องทางสมอง อายุ ประมาณ 6-10 ขวบ ซึ่งปีแรกคาดว่าจะเปิดรับ ไม่เกิน 10 คน
“เราอยากให้เด็กได้เรียนแบบรายบุคคล พัฒนาตามศักยภาพของแต่ละคนอย่างแท้จริง ปีแรกเรารับไม่มาก เพราะอยากกำหนดสัดส่วนของนักเรียนต่อครูให้ต่ำที่สุด ซึ่งหลักสูตรนี้ เป็นโมเดลการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความต้องการเป็นพิเศษ เด็กที่มีความบกพร่องทางสมอง แห่งแรกของประเทศไทย ที่เป็นแบบเรียนร่วม”อ.อุษากล่าว
การศึกษาต้องเปิดโอกาสให้แก่เด็กทุกคน ทุกกลุ่ม เด็กที่มีความต้องการเป็นพิเศษ บกพร่องทางร่างกาย และสมอง ต้องได้รับการส่งเสริม พัฒนาทักษะรอบด้านไม่แตกต่างกัน พะโยม ชิณวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.)กล่าวว่าในระบบการศึกษาตอนนี้มีเด็กที่มีความต้องการพิเศษเนื่องจากความบกพร่องทางร่างกาย และความบกพร่องทางสมอง เกือบ4แสนคน
โดยมีโรงเรียนเอกชน สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเอกชน ประมาณ20 โรง ซึ่งการจัดการศึกษาเรียนร่วมเป็นการศึกษาที่เหมาะกับเด็กทุกกลุ่ม และยิ่งทางโรงเรียนนานาชาติเห็นความสำคัญในการจัดการศึกษาได้มาตรฐานสำหรับเด็กที่มีความต้องการเป็นพิเศษยิ่งเป็นการดีที่จะทำให้เด็กทุกคนมีศักยภาพเท่าเทียมกัน
“ปีนี้ศธ.ได้ประกาศเป็นปีแห่งความร่วมมือในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการเป็นพิเศษ เพื่อยกระดับจากนโยบายสู่การปฏิบัติ การที่โรงเรียนนานาชาติ ไอเอสบี เปิดหลักสูตรดังกล่าวขึ้น เป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความหลากหลาย ในส่วนของศธ.นั้น องค์กรหลักต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช. ) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ในการส่งเสริมพัฒนาเด็กที่มีความสามารถพิเศษ ต่อยอดให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีอิสระ ได้รับพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่และเด็กต้องมีอาชีพ มีงานทำ”
เลขาฯกช.กล่าวทิ้งท้าย เพราะเด็กทุกคน ต้องได้รับความเท่าเทียม ความเสมอภาคทางการศึกษา ซึ่งไม่ใช่เพียงได้รับการจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพเท่านั้น แต่ต้องสอน ปลูกฝังให้เด็กได้เรียนร่วม ใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น พัฒนาทักษะทุกด้าน
ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/news/edu-health/262398 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ไอเอสบีเปิดหลักสูตร “เด็กพิเศษ” โรงเรียนสถานศึกษานานาชาติไอเอสบีเปิด“โปรแกรมการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ” สำหรับเด็กนักเรียนที่ได้รับ การวินิจฉัยความบกพร่องทางสติปัญญา นับวันอัตราเด็กที่มีความต้องการพิเศษมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข หรือภาคเอกชน ล้วนดำเนินการช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ ผ่านนโยบายการจัดการศึกษา พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการ กฎเกณฑ์ กฎระเบียบต่างๆ เพื่อสนับสนุนให้เด็กนักเรียนสามารถเข้าถึงการศึกษา การให้สิ่งอำนวยความสะดวก แต่เมื่อนำไปสู่การปฏิบัติกลับติดปัญหามากมาย ทั้งด้านความเข้าใจ ขาดแคลนครู บุคลากร และความพร้อมด้านสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา อ.อุษา สมบูรณ์ ผู้บริหารโรงเรียนสถานศึกษานานาชาติ (ไอเอสบี) และนายกสมาคมโรงเรียนนานาชาติแห่งประเทศไทย โรงเรียนสถานศึกษานานาชาติไอเอสบี เปิดหลักสูตร“โปรแกรมการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ” ที่ออกแบบไว้สำหรับเด็กนักเรียนที่ได้รับการวินิจฉัยความบกพร่องทางสติปัญญา เช่น เด็กที่มีภาวะออทิสติก ดาวน์ซินโดรม หรือสมองพิการ ให้ได้เรียนรู้ด้วยความเสมอภาค เต็มศักยภาพของแต่ละคน โดยปีการศึกษาแรกนี้จะเปิดรับเด็กอายุ6-10 ปีจำนวน 10 คน “อ.อุษา สมบูรณ์” ผู้บริหารโรงเรียนสถานศึกษานานาชาติ (ไอเอสบี) และนายกสมาคมโรงเรียนนานาชาติแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โรงเรียนมีปรัชญาในการจัดการเรียนการสอนแบบเรียนร่วม (Inclusive Education)เพราะเล็งเห็นว่าการศึกษาต้องมุ่งตอบสนองความต้องการ และภาวะของนักเรียนในหลากหลายรูปแบบ ความแตกต่างระหว่างบุคคล ตั้งแต่ระดับน้อย ปานกลาง ระดับสูง และนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ตารางบ่งชี้เ้ด็กที่ต้องการ การจัดการศึกษาพิเศษ ซึ่งใช้เวลา 4 ปี กว่าในการจัดทำหลักสูตรสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เพราะไม่ใช่ว่าจะเปิดอะไรก็ได้ แต่ต้องเป็นหลักสูตรที่จะช่วยพัฒนาการเรียนรู้ให้แก่เด็กได้อย่างแท้จริง โดยได้มีการศึกษาค้นคว้าทั้งด้านวิจัย เกี่ยวกับการจัดโปรแกรมการเรียนรู้ ศึกษาดูงานจากโรงเรียนในต่างประเทศที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบเรียนร่วมอย่างมีคุณภาพ “เด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยเฉพาะเด็กที่มีความบกพร่องทางสมอง จะมีศักยภาพ ความชอบ และแสดงพฤติกรรมแตกต่างกัน หลักสูตรนี้ จะทำให้เด็กมีทักษะด้านวิชาการ การดำเนินชีวิต มีพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญหา ทำให้เด็กสามารถอยู่ในโลกของความเป็นจริง เรียนรู้อยู่ร่วมกันได้ เด็กจะได้รับการประเมินความสามารถให้ทราบถึงระดับความสามารถและพัฒนาการเพื่อจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล ให้ได้เรียนรู้กับครูที่ได้รับการฝึกฝนการจัดการศึกษาพิเศษ ภายใต้บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่โรงเรียนได้ออกแบบให้เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละคน รวมถึงจะมีการบูรณาการทักษะการเรียนรู้กับกลุ่มเพื่อนๆ ” อ.อุษา กล่าว โลกความจริงมีผู้คนหลายประเภท เด็กจำเป็นต้องเรียนรู้แตกต่างร่วมกัน“หลักสูตรการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ” ได้รับการพัฒนาทักษะด้านร่างกาย การเคลื่อนไหว การเขียนด้วยมือ การพูด กิจกรรมในชีวิตประจำวัน การเล่น พฤติกรรมและอารมณ์ รวมถึงวางแผนต่อยอดทางการศึกษา ก้าวสู่อาชีพ ภายใต้ความร่วมมือ สนับสนุนการเรียนรู้แก่เด็กพิเศษ อาทิ อาจารย์การศึกษาพิเศษ นักแก้ไขการพูด (นักอรรถบำบัด) นักกิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยา อาจารย์ที่ปรึกษา และผู้ช่วยครู เพื่อให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้เรียนรู้ พร้อมใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น ห้องการเรียนรู้ของเด็กพิเศษวัยเด็กเล็ก อ.อุษา กล่าวต่อไปว่า เด็กนักเรียน ลูก คือหัวใจพ่อแม่ และพวกเขาต้องได้รับความเสมอภาคการเรียนรู้ เข้าถึงการศึกษาที่ดี พร้อมด้วยหลักสูตร ห้องเรียนที่ออกแบบพิเศษเพื่อทำกิจกรรมเฉพาะด้าน สภาพแวดล้อม และสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีมาตรฐานชั้นเยี่ยม เมื่อเด็กจบออกไปต้องสามารถใช้ชีวิต ช่วยเหลือตัวเอง และมีอาชีพที่เหมาะสมกับพวกเขา ดังนั้น หลักสูตรสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ นอกจากนักเรียนจะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่แล้ว เขาจะได้ทักษะภาษาอังกฤษร่วมด้วย เพราะโรงเรียนมีนักเรียนต่างชาติจำนวนมาก เด็กที่มีความต้องการพิเศษ จะได้เรียนร่วม เป็นการทำให้นักเรียนปกติได้เรียนรู้โลกของความจริง ที่ยังมีผู้คนอีกมากมายที่แตกต่างจากเรา และเขาต้องเข้าใจ เรียนรู้ เห็นใจผู้อื่น และคอยช่วยเหลือผู้อื่นร่วมด้วย ที่ผ่านมาไม่ใช่เพียงครูเท่านั้น ที่ต้องได้รับการอบรม สร้างความรู้ ความเข้าใจเพื่อดูแลเอาใจใส่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ ผู้ปกครองร่วมเป็นกำลังสำคัญในการช่วยเหลือ พัฒนาเด็กกลุ่มนี้อีกด้วย โดยหลักสูตรดังกล่าว จะเปิดรับเด็กนักเรียนที่มีความต้องการเป็นพิเศษ ความบกพร่องทางสมอง อายุ ประมาณ 6-10 ขวบ ซึ่งปีแรกคาดว่าจะเปิดรับ ไม่เกิน 10 คน ชั้นการเรียนรู้ดนตรีแบบวงออเคสตร้า สำหรับเด็กโต “เราอยากให้เด็กได้เรียนแบบรายบุคคล พัฒนาตามศักยภาพของแต่ละคนอย่างแท้จริง ปีแรกเรารับไม่มาก เพราะอยากกำหนดสัดส่วนของนักเรียนต่อครูให้ต่ำที่สุด ซึ่งหลักสูตรนี้ เป็นโมเดลการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความต้องการเป็นพิเศษ เด็กที่มีความบกพร่องทางสมอง แห่งแรกของประเทศไทย ที่เป็นแบบเรียนร่วม”อ.อุษากล่าว การศึกษาต้องเปิดโอกาสให้แก่เด็กทุกคน ทุกกลุ่ม เด็กที่มีความต้องการเป็นพิเศษ บกพร่องทางร่างกาย และสมอง ต้องได้รับการส่งเสริม พัฒนาทักษะรอบด้านไม่แตกต่างกัน พะโยม ชิณวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.)กล่าวว่าในระบบการศึกษาตอนนี้มีเด็กที่มีความต้องการพิเศษเนื่องจากความบกพร่องทางร่างกาย และความบกพร่องทางสมอง เกือบ4แสนคน โดยมีโรงเรียนเอกชน สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเอกชน ประมาณ20 โรง ซึ่งการจัดการศึกษาเรียนร่วมเป็นการศึกษาที่เหมาะกับเด็กทุกกลุ่ม และยิ่งทางโรงเรียนนานาชาติเห็นความสำคัญในการจัดการศึกษาได้มาตรฐานสำหรับเด็กที่มีความต้องการเป็นพิเศษยิ่งเป็นการดีที่จะทำให้เด็กทุกคนมีศักยภาพเท่าเทียมกัน ห้องสมุดที่กว้างขวาง พร้อมทุกแนวการเรียนรู้สำหรับเด็กพิเศษ “ปีนี้ศธ.ได้ประกาศเป็นปีแห่งความร่วมมือในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการเป็นพิเศษ เพื่อยกระดับจากนโยบายสู่การปฏิบัติ การที่โรงเรียนนานาชาติ ไอเอสบี เปิดหลักสูตรดังกล่าวขึ้น เป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความหลากหลาย ในส่วนของศธ.นั้น องค์กรหลักต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช. ) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ในการส่งเสริมพัฒนาเด็กที่มีความสามารถพิเศษ ต่อยอดให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีอิสระ ได้รับพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่และเด็กต้องมีอาชีพ มีงานทำ” เลขาฯกช.กล่าวทิ้งท้าย เพราะเด็กทุกคน ต้องได้รับความเท่าเทียม ความเสมอภาคทางการศึกษา ซึ่งไม่ใช่เพียงได้รับการจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพเท่านั้น แต่ต้องสอน ปลูกฝังให้เด็กได้เรียนร่วม ใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น พัฒนาทักษะทุกด้าน ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/news/edu-health/262398
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)