พิการแล้วไง !!เรียนอาชีพได้จบแถมมีงานทำ
ยุคการศึกษาเพื่อการมีงานทำ อาชีวะตอบโจทย์ผู้เรียนเพราะจบแล้วทำงานได้ เลี้ยงดูตัวเองไม่เป็นภาระให้ครอบครัว ปีการศึกษา 2557 วก.พุทธมณฑล เริ่มรับนักศึกษาที่เป็นผู้พิการทางร่างกายเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติทุกอย่างปัจจุบันวิทยาลัยมีนักศึกษาผู้พิการ 20% ของนักศึกษาทั้งหมด หรือประมาณ 60 คนเรียนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มีประมาณ 8 คนเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ที่เหลือเรียน
โดยปีการศึกษา 2560 เป็นปีแรกที่รับนักศึกษาที่เป็นออทิสติก 1 คนเข้าเรียน ปวช.และอีก 1 คนมีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ หรือ แอลดี เรียนระดับปวส. พรอนันต์ ภักดีบุญ ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพ (วก.) พุทธมณฑล อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม กล่าวว่า นักศึกษาผู้พิการส่วนใหญ่ 98% บกพร่องทางการได้ยิน ซึ่งธรรมชาติของกลุ่มนี้จะสื่อสารในวงแคบ แต่จะถนัดใช้โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์ต่างๆ ช่วงแรกจึงรับเข้าเรียนแค่สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ต่อมาเริ่มปรับรูปแบบจัดการศึกษาทวิภาคี เด็กพิการก็ต้องไปฝึกปฏิบัติงานจริงที่สถานประกอบการเหมือนเด็กปกติ ก็พบว่าเขาทำได้มากกว่าเรียนทฤษฎีและสามารถทำงานในส่วนอื่นๆ ได้ ก็ขยายเปิดสาขาไฟฟ้ากำลัง สาขาธุรกิจค้าปลีก เพิ่มเติมทำมาต่อเนื่อง 3 รุ่นได้รับการตอบรับดี สถานประกอบการก็พอใจชื่นชมว่าเด็กมีความรับผิดชอบสูง
ล่าสุดปีการศึกษา 2560 เปิดสาขาโรงแรม เน้นงานแม่บ้าน ปูเตียง เป็นต้น เวลานี้ก็มีโรงแรมในเครือมาริออท สนใจจะมาร่วมจัดการศึกษาทวิภาคีอยู่ระหว่างคุยรายละเอียด “วิทยาลัยจัดการเรียนการสอนแบบเรียนรวม เด็กพิการและเด็กปกติมาเรียนด้วยกัน ลงมือปฏิบัติเหมือนกันทุกอย่าง แต่หลักสูตรการจัดการเรียนการสอนจะจัดให้มีความยืดหยุ่นให้เหมาะกับเด็กพิการ และวิทยาลัยมีระบบช่วยเหลือ ทั้งจัดครูล่ามภาษามือประจำห้องเรียน ปัจจุบันมี 5 คนซึ่งครูเหล่านี้จะลงไปติดตามเมื่อเด็กไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการ มีผู้ช่วยครู ซึ่งเป็นคนพิการที่จบวิชาชีพมาช่วยพูดคุยแนะนำ สำคัญที่สุดคือการสอนทักษะชีวิต เพราะผู้พิการมีข้อจำกัดหลายอย่าง โดยเฉพาะพิการหูหนวก จะมีปัญหาการจัดการชีวิต การอยู่ร่วมกับคนอื่น เราก็จัดค่ายทักษะชีวิต ให้เด็กปกติและเด็กหูหนวกมาทำกิจกรรมร่วมกัน เด็กปกติและเด็กพิการก็ปรับตัวอยู่ร่วมกัน สร้างสัมพันธ์อันดีมองข้ามความพิการแต่มองว่านี่คือ เพื่อน คอยช่วยเหลือกันและกัน” พรอนันต์ กล่าว
ปัจจุบันกฎหมายแรงงานกำหนดให้สถานประกอบที่มีพนักงาน 100 คนต้องจ้างพนักงานที่เป็นผู้พิการ 1 คนซึ่งเวลานี้หลายสถานประกอบการมีความต้องการพนักงานที่มีความพิการอย่างมาก แต่หน่วยงานองค์กรที่เตรียมความพร้อมคนพิการ ยังมีน้อย ซึ่งตรงนี้เป็นจุดผลักดันสำคัญที่จะอาชีวะในฐานะหน่วยผลิตสามารถสร้างแรงงานผู้พิการที่มีศักยภาพได้
วณิชย์ อ่วมศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.)บอกว่า แม้หลายวิทยาลัยจะไม่ได้ประกาศเปิดรับนักศึกษาผู้พิการเป็นทางการ แต่ช่วง 2-3 ปีมามีนักเรียนพิการมาเรียนมากขึ้นส่วนใหญ่พิการทางร่างกาย เช่น หูหนวก พิการแขน ขา โปลิโอ เป็นต้น ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 2,000 คนทั่วประเทศ และจากข้อมูลกรมส่งเสริมและพัฒนาคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เมื่อวันที่31มี.ค.2560 พบว่า มีคนพิการขึ้นทะเบียน จำนวน 1,756,849 คน และที่ยังไม่มาขึ้นทะเบียนอีกจำนวนหนึ่ง คาดการณ์ว่าจำนวนมีผู้พิการน่าจะมีประมาณ 2 ล้านคน
จากสถานการณ์ตรงนี้ได้สอศ.เห็นว่าต้องกำหนดทิศทางการจัดการอาชีวศึกษาเพื่อคนพิการอย่างเป็นรูปธรรม และเท่าที่ได้ศึกษาดูงานการจัดการศึกษาคนพิการในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาพบว่าจัดการศึกษาแบบเรียนรวม รูปแบบเดียวกับที่วิทยาลัยต่างๆทำอยู่ก็พบว่ามาถูกทางแต่ สอศ.จะไม่มองภาพแค่จัดการศึกษาให้ผู้พิการในระบบเท่านั้น แต่จะมองไกลถึงการจัดหลักสูตรระยะสั้นสำหรับผู้พิการ ที่มีข้อจำกัดใช้เวลาเรียนไม่มาก แต่จบแล้วนำไปประกอบอาชีพได้ เช่น ซ่อมโทรศัพท์ ฯลฯ ซึ่งมีวิทยาลัยสารพัดช่างเป็นแกนหลัก
วณิชย์ กล่าวด้วยว่า ขณะที่ ส่วนการจัดการศึกษาในระบบปกติ เน้นสร้างความร่วมมือกันทุกหน่วยงาน วางระบบต่อท่อรับผู้พิการที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน เช่น จบโรงเรียนโสตศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เข้าสู่การเรียนสายอาชีพ และเชื่อมต่อไปสู่สถานประกอบการให้รับคนพิการเข้าไปทำงาน "สอศ.จะคัดเลือกวิทยาลัยต้นแบบ 10 แห่งจัดการศึกษาคนพิการ จัดทำหลักสูตรยืดหยุ่น จัดการเรียนการสอนแบบเรียนรวม และในเดือนสิงหาคมนี้จะคัดเลือกครูจากวิทยาลัยต้นแบบให้ทุนเรียนต่อระดับปริญญาโท ที่วิทยาลัยราชสุดา 30 ทุนในหลักสูตรที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ ซึ่งกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ได้สนับสนุนงบประมาณ 14 ล้านบาทในการจัดทำหลักสูตรนี้ รวมถึงจะเปิดอบรมหลักสูตรระยะสั้นให้ครูประมาณ 120 คน และเพื่อให้การจัดการอาชีวศึกษาเพื่อคนพิการยั่งยืนและต่อเนื่องจะมีการจัดตั้งหน่วยงานภายในขึ้นมาดูแลด้วย” รองเลขาธิการ กอศ.บอกถึงแผนงาน การจัดการศึกษาอาชีวศึกษาให้คนพิการ ไม่เพียงมีผลต่อการเพิ่มจำนวนผู้เรียนสายอาชีพได้มากขึ้นเท่านั้น ยังสนองยุทธศาสตร์ชาติ ในด้านความมั่นคง ลดความเหลื่อมล้ำ การเพิ่มศักยภาพของคนทุกกลุ่มให้มีคุณภาพ เป็นอีกหนึ่งกำลังแรงงานที่ช่วยสร้างประเทศชาติ.
ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/news/edu-health/285681 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นักเรียนคนพิการ ศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ยุคการศึกษาเพื่อการมีงานทำ อาชีวะตอบโจทย์ผู้เรียนเพราะจบแล้วทำงานได้ เลี้ยงดูตัวเองไม่เป็นภาระให้ครอบครัว ปีการศึกษา 2557 วก.พุทธมณฑล เริ่มรับนักศึกษาที่เป็นผู้พิการทางร่างกายเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติทุกอย่างปัจจุบันวิทยาลัยมีนักศึกษาผู้พิการ 20% ของนักศึกษาทั้งหมด หรือประมาณ 60 คนเรียนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มีประมาณ 8 คนเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ที่เหลือเรียน นักเรียนคนพิการ ศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) โดยปีการศึกษา 2560 เป็นปีแรกที่รับนักศึกษาที่เป็นออทิสติก 1 คนเข้าเรียน ปวช.และอีก 1 คนมีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ หรือ แอลดี เรียนระดับปวส. พรอนันต์ ภักดีบุญ ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพ (วก.) พุทธมณฑล อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม กล่าวว่า นักศึกษาผู้พิการส่วนใหญ่ 98% บกพร่องทางการได้ยิน ซึ่งธรรมชาติของกลุ่มนี้จะสื่อสารในวงแคบ แต่จะถนัดใช้โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์ต่างๆ ช่วงแรกจึงรับเข้าเรียนแค่สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ต่อมาเริ่มปรับรูปแบบจัดการศึกษาทวิภาคี เด็กพิการก็ต้องไปฝึกปฏิบัติงานจริงที่สถานประกอบการเหมือนเด็กปกติ ก็พบว่าเขาทำได้มากกว่าเรียนทฤษฎีและสามารถทำงานในส่วนอื่นๆ ได้ ก็ขยายเปิดสาขาไฟฟ้ากำลัง สาขาธุรกิจค้าปลีก เพิ่มเติมทำมาต่อเนื่อง 3 รุ่นได้รับการตอบรับดี สถานประกอบการก็พอใจชื่นชมว่าเด็กมีความรับผิดชอบสูง ล่าสุดปีการศึกษา 2560 เปิดสาขาโรงแรม เน้นงานแม่บ้าน ปูเตียง เป็นต้น เวลานี้ก็มีโรงแรมในเครือมาริออท สนใจจะมาร่วมจัดการศึกษาทวิภาคีอยู่ระหว่างคุยรายละเอียด “วิทยาลัยจัดการเรียนการสอนแบบเรียนรวม เด็กพิการและเด็กปกติมาเรียนด้วยกัน ลงมือปฏิบัติเหมือนกันทุกอย่าง แต่หลักสูตรการจัดการเรียนการสอนจะจัดให้มีความยืดหยุ่นให้เหมาะกับเด็กพิการ และวิทยาลัยมีระบบช่วยเหลือ ทั้งจัดครูล่ามภาษามือประจำห้องเรียน ปัจจุบันมี 5 คนซึ่งครูเหล่านี้จะลงไปติดตามเมื่อเด็กไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการ มีผู้ช่วยครู ซึ่งเป็นคนพิการที่จบวิชาชีพมาช่วยพูดคุยแนะนำ สำคัญที่สุดคือการสอนทักษะชีวิต เพราะผู้พิการมีข้อจำกัดหลายอย่าง โดยเฉพาะพิการหูหนวก จะมีปัญหาการจัดการชีวิต การอยู่ร่วมกับคนอื่น เราก็จัดค่ายทักษะชีวิต ให้เด็กปกติและเด็กหูหนวกมาทำกิจกรรมร่วมกัน เด็กปกติและเด็กพิการก็ปรับตัวอยู่ร่วมกัน สร้างสัมพันธ์อันดีมองข้ามความพิการแต่มองว่านี่คือ เพื่อน คอยช่วยเหลือกันและกัน” พรอนันต์ กล่าว ปัจจุบันกฎหมายแรงงานกำหนดให้สถานประกอบที่มีพนักงาน 100 คนต้องจ้างพนักงานที่เป็นผู้พิการ 1 คนซึ่งเวลานี้หลายสถานประกอบการมีความต้องการพนักงานที่มีความพิการอย่างมาก แต่หน่วยงานองค์กรที่เตรียมความพร้อมคนพิการ ยังมีน้อย ซึ่งตรงนี้เป็นจุดผลักดันสำคัญที่จะอาชีวะในฐานะหน่วยผลิตสามารถสร้างแรงงานผู้พิการที่มีศักยภาพได้ วณิชย์ อ่วมศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.)บอกว่า แม้หลายวิทยาลัยจะไม่ได้ประกาศเปิดรับนักศึกษาผู้พิการเป็นทางการ แต่ช่วง 2-3 ปีมามีนักเรียนพิการมาเรียนมากขึ้นส่วนใหญ่พิการทางร่างกาย เช่น หูหนวก พิการแขน ขา โปลิโอ เป็นต้น ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 2,000 คนทั่วประเทศ และจากข้อมูลกรมส่งเสริมและพัฒนาคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เมื่อวันที่31มี.ค.2560 พบว่า มีคนพิการขึ้นทะเบียน จำนวน 1,756,849 คน และที่ยังไม่มาขึ้นทะเบียนอีกจำนวนหนึ่ง คาดการณ์ว่าจำนวนมีผู้พิการน่าจะมีประมาณ 2 ล้านคน นายวณิชย์ อ่วมศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) จากสถานการณ์ตรงนี้ได้สอศ.เห็นว่าต้องกำหนดทิศทางการจัดการอาชีวศึกษาเพื่อคนพิการอย่างเป็นรูปธรรม และเท่าที่ได้ศึกษาดูงานการจัดการศึกษาคนพิการในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาพบว่าจัดการศึกษาแบบเรียนรวม รูปแบบเดียวกับที่วิทยาลัยต่างๆทำอยู่ก็พบว่ามาถูกทางแต่ สอศ.จะไม่มองภาพแค่จัดการศึกษาให้ผู้พิการในระบบเท่านั้น แต่จะมองไกลถึงการจัดหลักสูตรระยะสั้นสำหรับผู้พิการ ที่มีข้อจำกัดใช้เวลาเรียนไม่มาก แต่จบแล้วนำไปประกอบอาชีพได้ เช่น ซ่อมโทรศัพท์ ฯลฯ ซึ่งมีวิทยาลัยสารพัดช่างเป็นแกนหลัก วณิชย์ กล่าวด้วยว่า ขณะที่ ส่วนการจัดการศึกษาในระบบปกติ เน้นสร้างความร่วมมือกันทุกหน่วยงาน วางระบบต่อท่อรับผู้พิการที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน เช่น จบโรงเรียนโสตศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เข้าสู่การเรียนสายอาชีพ และเชื่อมต่อไปสู่สถานประกอบการให้รับคนพิการเข้าไปทำงาน "สอศ.จะคัดเลือกวิทยาลัยต้นแบบ 10 แห่งจัดการศึกษาคนพิการ จัดทำหลักสูตรยืดหยุ่น จัดการเรียนการสอนแบบเรียนรวม และในเดือนสิงหาคมนี้จะคัดเลือกครูจากวิทยาลัยต้นแบบให้ทุนเรียนต่อระดับปริญญาโท ที่วิทยาลัยราชสุดา 30 ทุนในหลักสูตรที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ ซึ่งกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ได้สนับสนุนงบประมาณ 14 ล้านบาทในการจัดทำหลักสูตรนี้ รวมถึงจะเปิดอบรมหลักสูตรระยะสั้นให้ครูประมาณ 120 คน และเพื่อให้การจัดการอาชีวศึกษาเพื่อคนพิการยั่งยืนและต่อเนื่องจะมีการจัดตั้งหน่วยงานภายในขึ้นมาดูแลด้วย” รองเลขาธิการ กอศ.บอกถึงแผนงาน การจัดการศึกษาอาชีวศึกษาให้คนพิการ ไม่เพียงมีผลต่อการเพิ่มจำนวนผู้เรียนสายอาชีพได้มากขึ้นเท่านั้น ยังสนองยุทธศาสตร์ชาติ ในด้านความมั่นคง ลดความเหลื่อมล้ำ การเพิ่มศักยภาพของคนทุกกลุ่มให้มีคุณภาพ เป็นอีกหนึ่งกำลังแรงงานที่ช่วยสร้างประเทศชาติ. ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/news/edu-health/285681
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)