การศึกษาพิเศษประเทศไทย

การศึกษาพิเศษประเทศไทย

#การศึกษาพิเศษประเทศไทย คำถามที่ยังไม่มีคำตอบ

#เรียนรวม หรือเรียนแยกดี คำถามเหล่านี้ ถกกันมา ตั้งแต่ ปี2542 ผ่านมา 22ปี 2564คำถามยังเหมือนเดิม แต่ยังคงต้องควานหาคำตอบกันต่อไป

#ปฎิรูปการศึกษาพิเศษ ยากกว่า งมเข็มในมหาสมุทร ชาตินี้จะได้คำตอบไหม

#Reform Mindset Special Educations and Inclusive Quality Education

ประเด็นการสร้างโรงเรียนออทิสติกเฉพาะทางได้นำมาหารือในวงวิชาการ

และวงบริหารระดับนโยบาย ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

มีมิติพิจารณา 3 มิติ มิติความต้องการของผู้ปกครองในพื้นที่จริง มิติ ระบบกฎหมายและการจัดการ และมิติวิชาการ มีข้ออภิปรายว่า

1. มิติ ความต้องการของผู้ปกครอง สำรวจจากความเห็นผู้ปกครองที่มารับบริการจากศูนย์การศึกษาพิเศษ ในพื้นที่ 7 จังหวัด ร้อยละ 89.8 เห็นด้วยกับการจัดตั้ง และร้อยละ 10.2 ไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้ง ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป

ส่วนการสำรวจความคิดเห็นด้วยแบบสำรวจ On Line ของสมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม(ไทย) ผลตรงกันข้าม คือ ร้อยละ 84 ไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้ง และเสนอให้จัดในรูปแบบเรียนรวมและมีห้องเรียนคู่ขนานอย่างจริงจัง และอีก ร้อยละ 16 เห็นด้วยกับการจัดตั้งโรงเรียนเฉพาะ ซึ่งจะไม่อภิปรายส่วนนี้ ต่างคนต่างคิด “คนหนึ่งอยากกินข้าว อีกคนอยากกินสเต็ก” เป็นไปตามสะดวก แต่ผู้มีอำนาจตัดสินใจ และบริหารการศึกษา คงต้องใช้ ทั้งสติ และปัญญา ที่ มากพอควร

ถึงแม้ทั้ง 2 แบบสำรวจ จะได้คำตอบที่ต่างกันแบบหน้ามือ หลังมือ แต่สะท้อนความจริงถึง “ประสิทธิภาพการบริหารการศึกษาพิเศษประเทศไทย”อยู่ในภาวะล้มเหลว หรือ Failure ชนิดฉีกตำราบริหารและวิชาการไปได้เลย

แต่ข้อมูลจากการสำรวจ ผลที่ตรงกัน คือ “ความล้มเหลวของความเป็นมืออาชีพระบบการบริหารจัดการการศึกษาพิเศษประเทศไทย” โรงเรียนเรียนร่วมไม่ได้รับการสนับสนุนใดๆเลย ห้องเรียนคู่ขนานที่ออกแบบไว้ ยังคงมีจำนวน 100กว่าแห่งเหมือน 20ปีที่แล้ว. ครูอาจารย์ต่างท้อแท้ มองว่า รับเด็กพิการเข้าไปเป็น”ภาระทั้งครูและเด็กดีๆคนอื่นๆในโรงเรียนในโรงเรียน” ครูที่ดูแลเด็กพิเศษเกษียณออกไป ไม่มีครูใหม่มาทดแทน และอีกมากมายหลายปัญหา ดังนั้น จึงควรให้เด็กเหล่านี้ไปเรียนแยกออกเพื่อง่ายต่อการจัดการ โรงเรียนไม่พอก็เสนอสร้างเพิ่ม เป็นวิธีจัดการที่ไม่ต้องมีปริญญาก็คิดได้

ศูนย์การศึกษาพิเศษที่จัดตั้งกัน ใน77 จังหวัด 500 กว่าอำเภอ รวมจำนวนกว่า 600 แห่ง ไม่สามารถพัฒนาให้เด็กออทิสติก เด็กพิการเด็กพิเศษ เข้าสู่การเรียนรวมได้เท่าที่ควร จึงส่งเข้าโรงเรียนเฉพาะความพิการ จนนักเรียน “ล้น”โรงเรียน บางแห่งบอกว่า เกินกำลังที่จะรับไหม บางโรงเรียนมีนักเรียนพิการใกล้ 600 คน ซึ่งแต่ละปี รัฐจัดงบประมาณทุกหมวดรวมกันกว่า 3,000 ล้านบาท ช่วยเด็กพิการในโรงเรียนเฉพาะประมาณ 45,000 คน ส่วนนักเรียนเรียนรวมกว่า 400,000 คน ไม่มีงบประมาณเพิ่มเติมให้สักบาท ใช้เงินงบประมาณรายหัวเท่าๆกับเด็กทั่วไป จึงเดือดร้อนผู้ปกครองหลายคนต้องจ่ายเงินค่าใช้จ่ายต่างๆกันเอง ซึ่งคงบอกได้ว่าที่โรงเรียนจัดเรียนรวมไม่ได้คุณภาพเพราะขาดการดูแลเอาใจใส่จากภาคนโยบายนั่นเอง

2. มิติด้านกฎหมาย นโยบาย แผนปฎิรูปประเทศ ไม่มีปัญหาใด เปิดช่องทางไว้ให้จัดการศึกษาได้ทุกรูปแบบ จึงไม่เป็นปัญหา กฎหมายดี นโยบายดี ไม่มีปัญหา กฎหมายไทย เราจะยกมุมใดมาใช้อ้างอิง สนับสนุนก็ถูกทุกข้อ คนเขียนกฎหมายและนโยบายเก่งจริงๆ แต่ไม่รู้ว่าจะทำให้สิทธิการศึกษาเป็นจริงตามหลัก Make The Right Real ได้จริงหรือไม่ ที่เน้น inclusive education

3 มิติ ด้านวิชาการ จากความเห็นนักวิชาการระดับประเทศ สรุปได้ว่า “หลักการของการจัดการศึกษา ควรเป็นหลัก Inclusive Quality Education นำหลักการจัดเรียนรวมมาใช้ให้เต็มระบบ ควรพัฒนาระบบ Early intervention ระบบห้องเรียนคู่ขนานอย่างเต็มรูปแบบ ปรับปรุงระบบการทำงานของศูนย์การศึกษาพิเศษกับโรงเรียนเรียนรวม ให้เด่นชัดขึ้น ศูนย์การศึกษาพิเศษไม่ควรไปทำหน้าที่อื่น เช่นฝึกอาชีพ เขียนโครงการของบประมาณจากช่องทางต่างๆ โดยไม่ทำงานตามภารกิจที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น สพฐ. ต้องPool ทรัพยากร สนับสนุนระบบการเรียนรวม ให้ชัดเจน การสนับสนุนห้องเรียนคู่ขนาน ระบบSupport Service ที่ช่วยให้โรงเรียนเรียนรวมเข้มแข็ง สำนักงานเขตพื้นที่ เข้มแข็ง ชุมชน ท้องถิ่นมีส่วนร่วม จัดโรงเรียนใกล้บ้าน และไม่ละเลยการศึกษาระบบอื่นเช่น การศึกษานอกระบบ

ส่วนโรงเรียนเฉพาะทางสำหรับเด็กออทิสติก หากจะจัดควรเป็นโรงเรียนในชุมชน ขนาดเล็ก รับเด็กที่มีความต้องการความช่วยเหลือที่มากเป็นพิเศษ ระดับTEIR 2/3 เลี้ยงดูกันต่อเนื่อง อย่าให้เด็กขาดความรักความผูกพันกับเพื่อนและสังคม โดยการจัดตั้งอาจทำในรูปแบบพัฒนาพื้นที่นวตกรรมหรือ SandBox จัดระบบเชื่อมต่อ ส่งต่อให้ดี ทั้งนี้หากจัดสร้างโรงเรียนเฉพาะ ต้องทำให้ดี “ ให้เป็นสวรรค์ของผู้เรียน”และน่าจะเป็นทางเลือกให้ผู้ปกครองทุกจังหวัด อย่างไม่เลือกปฏิบัติ คงต้องถามรัฐบาลไทยว่า มีเงินลงทุนพอไหม เพราะลงทุนแห่งหนึ่งน่าจะหลายร้อยล้านบาท ทำทั่วประเทศ นับพันล้านบาท

การจัดโรงเรียนเฉพาะออทิสติก ควรมีอย่างน้อย4. ขั้นตอน คือ1. ระบบการวินิจฉัย คัดกรอง และการรับเด็ก 2. การเตรียมเด็กเพื่อส่งต่อเข้าการเรียนรวม 3.การศึกษาวิจัยพัฒนาการเรียนการสอน 3การเป็นศูนย์ฝึกอบรมครู และ4.การเป็นศูนย์อบรมพัฒนาผู้ปกครอง

สำหรับจังหวัด สุพรรณบุรี ควรวิเคราะห์ข้อมูลเด็กนักเรียน ให้ชัดเจนว่า เป็นเด็กนักเรียนจากจังหวัดได้ ทำไมเรียนในจังหวัดตนเองไม่ได้ ไม่มีโรงเรียนให้เรียนหรือถูกปฏิเสธอย่างไร ไม่สามารถอยู่กับพ่อแม่ ครอบครัวได้ การศึกษาพิเศษ เข้าไปช่วยเหลือเด็กจริงจังไหม เด็กพอจะเรียนรวมในโรงเรียนชุมชนในพื้นที่ โดย สพฐ สนับสนุนให้เกิด”ห้องเรียนคู่ขนาน”ในพื้นที่จะดีกว่าไหม

ข้อสรุปจากการสนทนา วันนี้ ส่วนตัวผมคิดว่า ยังไม่ชัดเจน ทำนองว่า “ทำทุกรูปแบบ แต่ต้องทำให้ดี”. ให้ผู้มีอำนาจ ตัดสินใจกันเองก็แล้วกัน คิดไม่ออกจริงๆ ถ้าจะว่าไป การศึกษาพิเศษไทย ยังห่างไกลชาวโลกจริงๆ รายงานUN ปีนี้ คงต้องนำเรื่องนี้เป็นประเด็น

วงสนทนานี้ มีผู้ใหญ่ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการศึกษาระดับประเทศ มาหารือกันคุยกัน โดยภาคมูลนิธิคุณพุ่ม มีนายบุญรักษ์ ยอดเพชร รองประธานกรรมการมูลนิธิคุณพุ่ม คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา และกรรมการอีก3ท่านเข้าร่วม ผมเป็น 1 ใน3

คณะผู้บริหารสพฐ มีนาย ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการ สพฐ และผู้บริหารสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

ภาคนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาพิเศษระดับประเทศ มีดร.เบญจา ชลธารานนท์ ดร.ดารณี อุทัยรัตน์กิจ ดร.อัญชลี สาระรัตนะ ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช ดร.มลิวัลย์ ธรรมแสง ดร.พะโยม ชินวงศ์

ตัวแทนสมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม(ไทย) มีอ.ชูศักดิ์ จันทยานนท์ และอ.ปราโมทย์ ธรรมสาโรช ร่วมหารือ

สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม(ไทย) 13พ.ค.2564 #อย่าหลงทิศ#จิตวิญญาณความเป็นพ่อแม่จะหลงเหลือแค่ไหน #ควรทำโรงเรียนให้เป็น สวรรค์ของนักเรียน

ที่มา: มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 พ.ค.64
วันที่โพสต์: 14/05/2564 เวลา 15:15:49 ดูภาพสไลด์โชว์ การศึกษาพิเศษประเทศไทย