ร่วมหารือจัดทำแผนงานโครงการกองทุนการศึกษาฯคนพิการในปี2564-2565

ร่วมหารือจัดทำแผนงานโครงการกองทุนการศึกษาฯคนพิการในปี2564-2565

#แก้วิกฤกติเป็นโอกาส # Move ON กองทุนการศึกษาฯ

#กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ

#ประชุมมาราธอนแข่งกับเวลาเพื่อไม่ให้กระทรวงคลังเรียกเงินคืน

วานนี้ กว่า 8ชั่วโมง 13.00-21.10

ผู้ทรงคุณวุฒิและคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการฯ ร่วมหารือจัดทำแผนงานโครงการกองทุนการศึกษาฯคนพิการในปี2564-2565 เนื่องจากในปีงบประมาณ2564 กองทุนไม่สามารถดำเนินงานได้ จากปัญหาด้านเทคนิค ด้านการจัดการ ด้านระเบียบกฎหมาย ประกอบการวิกฤติโควิด งานเคลื่อนไปไม่เต็มที่ ทำให้เข้าเกณฑ์ พรบ.กองทุนหมุนเวียนฯของกระทรวงการคลัง ที่กองทุนการศึกษาฯจำเป็นต้องส่งเงินคืนคลัง และจะไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณตามแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปีในปี 2565 อีก สถานะการเงินกองทุนฯอาจเป็นศูนย์(0) ซึ่งกระทรวงการคลังกำหนดDateline 30 พค64 หากไม่เสนอแผนงานจะต้องดำเนินการตามพรบ.กองทุนหมุนเวียนฯคือนำส่งเงินคืนกระทรวงการคลัง เหมือนกับที่กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ถูกเรียกเงินคืนไป 2,000 ล้านบาท จน ทำให้สภาคนพิการฯต้องยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองขอเงินคืนกลับกองทุนคนพิการฯ ซึ่งคดียังอยู่ระหว่างการพิจารณาขั้นอุทธรณ์ของศาลปกครองสูงสุด

คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการพยายามแก้ไขปัญหาโดยเริ่มจากดำเนินการสรรหาผู้จัดการกองทุนฯ ซึ่งมีระบบ ระเบียบ ขั้นตอน วิธีการที่ซับซ้อน ตั้งแต่ปลายปี 2563 กว่าจะแล้วเสร็จประมาณ มีนาคม 2564 ประกอบกับคณะกรรมการบริหารกองทุนชุดเดิม ครบวาระ จึงแต่งตั้งกรรมการบริหารกองทุนฯชุดใหม่เมื่อ มค.2564 และได้จัดประชุมจัดทำแผนปฎิบัติการ เมื่อกุมภาพันธ์ 2564 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ เมษายน 2564 โดยมีว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการ สพฐ เป็นประธาน และดำเนินแก้ไขปัญหาดังนี้

1. จัดคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ ครั้งที่ 1/2564 วันที่ 11 พ.ค.2564 เพื่อแก้ปัญหา ครั้งนี้ ดร.เบญจา ชลธารนนท์ อ.กัลยา อ่อนจันทร์ อ.ชูศักดิ์ จันทยานนท์ อ.ปราโมทย์ ธรรมสโรช คุณสุชาติ โอวาทวรรณสกุล เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้วย พร้อมตัวแทนหน่วยงานภาครัฐตามตำแหน่งที่เกี่ยวข้อง มีผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ(สศศ)เป็นเลขานุการ

2. การประชุมเป็นการประชุมระบบผสม on line off line เนื่องจากต้องปฎิบัติตามระเบียบ ศบค ใช้เวลาประชุมจบครบทุกโครงการ จาก13.00 ถึง21.10โดย สศศ รวบรวมโครงการจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคคนพิการ ที่ได้นำเสนอและค้างการพิจารณาในปี 2563-2564 มาสังเคราะห์ ตามกรอบยุทธศาสตร์ที่คณะกรรมการบริหารกองทุนฯวางไว้ ตรวจสอบ ความเหมาะสม ความจำเป็น ผลลัพธ์ ผลผลิต เกณฑ์การเงินตามระเบียบ ทุกโครงการ เพื่อให้คณะกรรมการกลั่นกรองพิจารณาและนำเสนอคณะกรรมการบริหารกองทุนพิจารณาอีกรอบหนึ่ง

3. ผลลัพธ์ คือ ได้แผนงานโครงการระยะเร่งด่วน ในปี 2563-2564 เบื้องต้น 26 โครงการ ครอบคลุมความพิการทั้ง 9ประเภท ที่มีทั้งการสนับสนุนการศึกษาในระบบ การเรียนรวม การอาชีวศึกษา การศึกษานอกระบบ การพัฒนางานด้านEarly Intervention การพัฒนาบุคลากร สื่อการเรียนร่วมด้านDigital โดยมีหน่วยงานในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ศูนย์การศึกษาพิเศษ โรงเรียนเฉพาะความพิการ โรงเรียนเรียนร่วม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา การศึกษานอกระบบ การอาชีวศึกษา หน่วยงานภาคคนพิการ ภาค องค์กรเอกชน และภาคมหาวิทยาลัย ร่วมขับเคลื่อนงาน ภายใต้เงื่อนไขสถานการณ์โควิด และปรับปรุงแผนงานโครงการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ และเป็นไปตามระเบียบการเงินที่กระทรวงการคลังกำหนด พร้อมนำเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯพิจารณา และจะอุทธรณ์เรื่องต่อกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังที่จะเรียกเงินคืน และขอให้สนับสนุนกองทุนฯอย่างต่อเนื่องต่อไป

4. หากทุกอย่างเป็นไปตามแผน เดือนมิถุนายน 2564 คงเริ่มดำเนินงานบางส่วนได้ และเตรียมเปิดรับแผนงาน โครงการ ปี2565 ประมาณเดือน สิงหาคม 2564เป็นต้นไป(หากไม่ถูกยึดเงินคืน)

5. สำหรับเรื่องการหารือ การเรียนรวม ห้องเรียนคู่ขนาน โรงเรียนเฉพาะความพิการออทิสติก จะนัดหารือกันในวันที่ 13 พ.ค.2564 ที่ สพฐ เพื่อปรับทิศทางให้ครอบคลุม ไม่ตกหล่น และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยมูลนิธิคุณพุ่ม จะเป็นแกนหลักในการหารือขอบคุณ สพฐ สศศ ขอบคุณคณะกรรมการทุกท่าน ที่ร่วมมือกัน ด้วยดี ขอบคุณคุณสุชาติ ฯ ที่ได้ถ่ายภาพการประชุมไว้ (ถ่ายตอนเผลอทุกที)ชูศักดิ์ จันทยานนท์นายกสมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม(ไทย)12พ.ค.2564

ที่มา: มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 พ.ค.64
วันที่โพสต์: 12/05/2564 เวลา 10:43:45 ดูภาพสไลด์โชว์ ร่วมหารือจัดทำแผนงานโครงการกองทุนการศึกษาฯคนพิการในปี2564-2565