ชี้เด็กบกพร่องเรียนรู้เสี่ยงการเรียนคณิตแนะครูเป็นแบบให้เด็ก
ผศ.ดร.พัชรี จิ๋วพัฒนกุล ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ได้เข้าร่วมประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับนานาชาติ ด้านการศึกษาพิเศษ (The 34th International Conference on Learning Disabilities) ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดย ผศ.ดร.พัชรี และรศ.ดร.ดารณั ศักดิ์ศิริผล ดร.สิริลักษณ์ โปร่งสันเทียะได้นำเสนองานวิจัย เรื่อง “Mathematics Screening Test Development for Children with Learning Disabilities” ซึ่งมีประเด็นเกี่ยวกับการศึกษาพิเศษในประเทศ การสำรวจเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหาทางการเรียนรู้ และการพัฒนาแบบคัดแยกเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ ซึ่งแบบคัดแยกดังกล่าวประกอบด้วย 6 ด้านย่อยได้แก่ ด้านการจำแนกทางสายตา การนับ การแทนค่าประจำหลัก และการบวกลบตามแนวตั้งและแนวนอน
ผศ.ตร.พัชรี กล่าวว่า ในการประชุมทางวิชาการครั้งนี้ ผู้ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยจากประเทศต่างๆ ที่มีการเรียนการสอนด้านการศึกษาพิเศษ ยังได้หารือกันถึงเรื่องการสอนเขียนสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการสอนเขียน อาทิ ปัจจัยด้านภาษา ได้แก่ การกำกับตนเอง การบริหารจัดการเวลา แรงจูงใจ และการรับรู้ความสามารถของตนเอง ปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับภา การเรียนรู้คำศัพท์ และความคล่องแคล่ว ปัจจัยด้านการจัดการเรียนรู้
ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลยุทธ์ แต่ปัจจุบันสัดส่วนของการสอนเขียนในด้านเนื้อหา กระบวนการ และด้านไวยากรณ์ยังไม่สมดุล ประการสำคัญ ประสิทธิภาพของการสอนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ด้านการเขียนมีเพียงร้อยละ 14 สะท้อนให้เห็นว่านักเรียนยังไม่สามารถนำสิ่งที่เรียนไปใช้ในการเขียนได้ ดังนั้น ในการสอนเขียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการเขียน และต้องเพิ่มเรื่องการนิเทศครูที่สอนการเขียนสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ผศ.ดร.พัชรี จิ๋วพัฒนกุล ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ได้เข้าร่วมประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับนานาชาติ ด้านการศึกษาพิเศษ (The 34th International Conference on Learning Disabilities) ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดย ผศ.ดร.พัชรี และรศ.ดร.ดารณั ศักดิ์ศิริผล ดร.สิริลักษณ์ โปร่งสันเทียะได้นำเสนองานวิจัย เรื่อง “Mathematics Screening Test Development for Children with Learning Disabilities” ซึ่งมีประเด็นเกี่ยวกับการศึกษาพิเศษในประเทศ การสำรวจเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหาทางการเรียนรู้ และการพัฒนาแบบคัดแยกเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ ซึ่งแบบคัดแยกดังกล่าวประกอบด้วย 6 ด้านย่อยได้แก่ ด้านการจำแนกทางสายตา การนับ การแทนค่าประจำหลัก และการบวกลบตามแนวตั้งและแนวนอน ผศ.ตร.พัชรี กล่าวว่า ในการประชุมทางวิชาการครั้งนี้ ผู้ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยจากประเทศต่างๆ ที่มีการเรียนการสอนด้านการศึกษาพิเศษ ยังได้หารือกันถึงเรื่องการสอนเขียนสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการสอนเขียน อาทิ ปัจจัยด้านภาษา ได้แก่ การกำกับตนเอง การบริหารจัดการเวลา แรงจูงใจ และการรับรู้ความสามารถของตนเอง ปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับภา การเรียนรู้คำศัพท์ และความคล่องแคล่ว ปัจจัยด้านการจัดการเรียนรู้ ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลยุทธ์ แต่ปัจจุบันสัดส่วนของการสอนเขียนในด้านเนื้อหา กระบวนการ และด้านไวยากรณ์ยังไม่สมดุล ประการสำคัญ ประสิทธิภาพของการสอนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ด้านการเขียนมีเพียงร้อยละ 14 สะท้อนให้เห็นว่านักเรียนยังไม่สามารถนำสิ่งที่เรียนไปใช้ในการเขียนได้ ดังนั้น ในการสอนเขียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการเขียน และต้องเพิ่มเรื่องการนิเทศครูที่สอนการเขียนสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)