ปี 59 สพฐ.ประกาศเป็นปีดูแลเด็กพิการ

แสดงความคิดเห็น

นายอำนาจ วิชยานุวัติ ผอ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ(สศศ.)

นายอำนาจ วิชยานุวัติ ผอ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ(สศศ.) เปิดเผยว่า ตามพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 12 ได้มอบให้ สศศ.สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)เป็นหน่วยงานหลักดูแลจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการเพื่อให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึง และเสมอภาค ซึ่งสศศ.ได้จัดให้มีศูนย์การศึกษาพิเศษในระดับอำเภอและจังหวัด เพื่อดูแลเด็กพิการเป็นการเฉพาะแล้วแต่ก็สามารถทำได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ยังมีเด็กพิการที่เข้าไม่ถึงการศึกษาอีกมากโดยเฉพาะในระดับตำบลและหมู่บ้านดังนั้นในปี 2559 สพฐ.จะประกาศเป็นปีแห่งความร่วมมือในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษเพื่อดูแลเด็กกลุ่มนี้ให้ได้รับบริการทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพเสมอภาค และทั่วถึง ซึ่งจะเป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของประเทศ

ผอ.สศศ.กล่าวต่อไปว่า การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษจะประสบผลสำเร็จได้ต้องได้รับความร่วมมือจากหลายส่วนดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการจะเป็นผู้รับผิดชอบหลัก โดยมีกระทรวงมหาดไทยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นผู้รับผิดชอบรองเพื่อร่วมกันจัดให้บริการตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ช่วยเหลือบำบัด ฟื้นฟู และเตรียมความพร้อมในการส่งต่อเด็กเข้าสู่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กศูนย์การศึกษาพิเศษ และโรงเรียนเฉพาะความพิการ

“การดำเนินการเรื่องนี้หัวใจสำคัญ คือ ครูผู้สอน ครูพี่เลี้ยงที่มีความรู้และเชี่ยวชาญในการดูแลเด็กพิการประเภทต่าง ๆ ซึ่งสศศ.จะเสนอร่างกำหนดสายงานนักสหวิชาชีพ สังกัด สศศ.ให้ที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) พิจารณาเพื่อให้มีนักสหวิชาชีพมาให้บริการอย่างครบถ้วนตามความต้องการจำเป็นของเด็กแต่ละคนเช่น นักจิตวิทยาคลินิก นักกิจกรรมบำบัด นักกายภาพบำบัด เป็นต้น”นายอำนาจกล่าวและว่าศธ.จำเป็นต้องมีบุคลากรเหล่านี้มาทำหน้าที่ให้บริการในระบบการศึกษา ตามพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาพ.ศ.2547 มาตรา 38 หมวด3 โดยนักสหวิชาชีพอาจอยู่ในตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น หรือ ครูสายสนับสนุนการสอนได้ ซึ่งเชื่อว่าหากเราดูแลนักสหวิชาชีพให้นี้มีความก้าวหน้าได้จะส่งผลให้เด็กพิการจะได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงเช่นกัน.

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/education/368649 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 ธ.ค.58
วันที่โพสต์: 23/12/2558 เวลา 10:30:04 ดูภาพสไลด์โชว์ ปี 59 สพฐ.ประกาศเป็นปีดูแลเด็กพิการ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายอำนาจ วิชยานุวัติ ผอ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ(สศศ.) นายอำนาจ วิชยานุวัติ ผอ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ(สศศ.) เปิดเผยว่า ตามพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 12 ได้มอบให้ สศศ.สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)เป็นหน่วยงานหลักดูแลจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการเพื่อให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึง และเสมอภาค ซึ่งสศศ.ได้จัดให้มีศูนย์การศึกษาพิเศษในระดับอำเภอและจังหวัด เพื่อดูแลเด็กพิการเป็นการเฉพาะแล้วแต่ก็สามารถทำได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ยังมีเด็กพิการที่เข้าไม่ถึงการศึกษาอีกมากโดยเฉพาะในระดับตำบลและหมู่บ้านดังนั้นในปี 2559 สพฐ.จะประกาศเป็นปีแห่งความร่วมมือในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษเพื่อดูแลเด็กกลุ่มนี้ให้ได้รับบริการทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพเสมอภาค และทั่วถึง ซึ่งจะเป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของประเทศ ผอ.สศศ.กล่าวต่อไปว่า การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษจะประสบผลสำเร็จได้ต้องได้รับความร่วมมือจากหลายส่วนดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการจะเป็นผู้รับผิดชอบหลัก โดยมีกระทรวงมหาดไทยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นผู้รับผิดชอบรองเพื่อร่วมกันจัดให้บริการตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ช่วยเหลือบำบัด ฟื้นฟู และเตรียมความพร้อมในการส่งต่อเด็กเข้าสู่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กศูนย์การศึกษาพิเศษ และโรงเรียนเฉพาะความพิการ “การดำเนินการเรื่องนี้หัวใจสำคัญ คือ ครูผู้สอน ครูพี่เลี้ยงที่มีความรู้และเชี่ยวชาญในการดูแลเด็กพิการประเภทต่าง ๆ ซึ่งสศศ.จะเสนอร่างกำหนดสายงานนักสหวิชาชีพ สังกัด สศศ.ให้ที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) พิจารณาเพื่อให้มีนักสหวิชาชีพมาให้บริการอย่างครบถ้วนตามความต้องการจำเป็นของเด็กแต่ละคนเช่น นักจิตวิทยาคลินิก นักกิจกรรมบำบัด นักกายภาพบำบัด เป็นต้น”นายอำนาจกล่าวและว่าศธ.จำเป็นต้องมีบุคลากรเหล่านี้มาทำหน้าที่ให้บริการในระบบการศึกษา ตามพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาพ.ศ.2547 มาตรา 38 หมวด3 โดยนักสหวิชาชีพอาจอยู่ในตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น หรือ ครูสายสนับสนุนการสอนได้ ซึ่งเชื่อว่าหากเราดูแลนักสหวิชาชีพให้นี้มีความก้าวหน้าได้จะส่งผลให้เด็กพิการจะได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงเช่นกัน. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/education/368649

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...