ศธ.ผนึก 3 กระทรวง คัดกรองเด็กพิการนำเข้าระบบการศึกษา
ศธ.ผนึก 3 กระทรวงส่งเสริมการจัดการศึกษาคนพิการ ตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาและทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายการศึกษาสำหรับคนพิการ เร่งวางระบบคัดกรอง สำรวจเด็กพิการ จัดสรรเงินอุดหนุนรายหัว ร่วม พม.นำเงินกองทุนมาช่วยพัฒนาเด็ก พร้อมเร่งรัดให้ปรับปรุงหลักสูตรอบรมครู เตรียมวางแนวทางบรรจุดูแลเด็กพิเศษไว้ในแผนการศึกษาชาติ15ปี
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุม คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการว่า ที่ประชุมมีมติจัดตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาและทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายการศึกษาสำหรับคนพิการ เพื่อวางแนวทางระบบคัดกรองของเด็กที่มีความต้องการพิเศษหรือเด็กพิการค้นหาจำนวนเด็กพิการที่แท้จริงและนำเข้าสู่ระบบการศึกษา
โดยร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ถือเป็นด่านแรก ที่จะช่วยคัดกรองเด็กที่พิการโดยกำเนิด ตั้งแต่เกิดจนอายุ 42 เดือน เพื่อให้รู้ลักษณะเด็กพิการแล้ว จากนั้นส่งข้อมูลไปยัง คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.)รวมถึงกระทรวงมหาดไทย (มท.)ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการค้นหาเด็กในพื้นที่และการจัดการเรียนร่วม ต้องมีบริหารเสริมเข้าไปในห้องเรียน เช่น ส่งครูการศึกษาพิเศษเข้าไปปรับบทเรียนเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมและให้มีครูแนะแนวเป็นต้น
“ปัจจุบัน เรามีตัวเลขเด็กพิการที่อยู่ในระบบการศึกษา ประมาณ 3 แสนกว่าคน ซึ่งตัวเลขที่แท้จริงน่าจะมีมากกว่านั้น ซึ่งจะมีผลต่อค่าใช้จ่ายรายหัว ที่เด็กพิเศษได้เงินท็อปอัพมากกว่าเด็กปกติอยู่แล้ว ดังนั้น จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจจำนวนเด็กพิการที่แท้จริง เพื่อนำกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา ซึ่งในส่วนของการดูแล จะประสานความร่วมมือกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ที่กองทุนดูแลเรื่องดังกล่าวอยู่ประมาณ 12,000 ล้านบาท ขณะที่ ศธ. มีอยู่ประมาณ ปีละ 150 ล้านบาท ว่าจะช่วยพัฒนาและดูแลเด็กเหล่านี้ได้มากขึ้นได้อย่างไร โดยเฉพาะการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับเด็กพิการด้วย ขณะเดียวกันยังเร่งรัดให้ปรับปรุงหลักสูตรอบรมครูที่ดูแลเด็กพิเศษ เพราะยอมรับว่าการอบรมครูยังไม่มีประสิทธิภาพมากนัก ขณะที่จำนวนครูที่มีอยู่ในปัจจุบันก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการ”พล.อ.ดาว์พงษ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งตนได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแล และเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องจะบรรจุ แนวทางการดูแลเด็กพิเศษไว้ในแผนการศึกษาชาติ 15 ปี (พ.ศ.2560-2574) ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการยกร่างด้วย
ขอบคุณ... http://breakingnews.nationtv.tv/home/read.php?newsid=792786
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ ศธ.ผนึก 3 กระทรวงส่งเสริมการจัดการศึกษาคนพิการ ตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาและทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายการศึกษาสำหรับคนพิการ เร่งวางระบบคัดกรอง สำรวจเด็กพิการ จัดสรรเงินอุดหนุนรายหัว ร่วม พม.นำเงินกองทุนมาช่วยพัฒนาเด็ก พร้อมเร่งรัดให้ปรับปรุงหลักสูตรอบรมครู เตรียมวางแนวทางบรรจุดูแลเด็กพิเศษไว้ในแผนการศึกษาชาติ15ปี พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุม คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการว่า ที่ประชุมมีมติจัดตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาและทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายการศึกษาสำหรับคนพิการ เพื่อวางแนวทางระบบคัดกรองของเด็กที่มีความต้องการพิเศษหรือเด็กพิการค้นหาจำนวนเด็กพิการที่แท้จริงและนำเข้าสู่ระบบการศึกษา โดยร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ถือเป็นด่านแรก ที่จะช่วยคัดกรองเด็กที่พิการโดยกำเนิด ตั้งแต่เกิดจนอายุ 42 เดือน เพื่อให้รู้ลักษณะเด็กพิการแล้ว จากนั้นส่งข้อมูลไปยัง คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.)รวมถึงกระทรวงมหาดไทย (มท.)ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการค้นหาเด็กในพื้นที่และการจัดการเรียนร่วม ต้องมีบริหารเสริมเข้าไปในห้องเรียน เช่น ส่งครูการศึกษาพิเศษเข้าไปปรับบทเรียนเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมและให้มีครูแนะแนวเป็นต้น “ปัจจุบัน เรามีตัวเลขเด็กพิการที่อยู่ในระบบการศึกษา ประมาณ 3 แสนกว่าคน ซึ่งตัวเลขที่แท้จริงน่าจะมีมากกว่านั้น ซึ่งจะมีผลต่อค่าใช้จ่ายรายหัว ที่เด็กพิเศษได้เงินท็อปอัพมากกว่าเด็กปกติอยู่แล้ว ดังนั้น จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจจำนวนเด็กพิการที่แท้จริง เพื่อนำกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา ซึ่งในส่วนของการดูแล จะประสานความร่วมมือกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ที่กองทุนดูแลเรื่องดังกล่าวอยู่ประมาณ 12,000 ล้านบาท ขณะที่ ศธ. มีอยู่ประมาณ ปีละ 150 ล้านบาท ว่าจะช่วยพัฒนาและดูแลเด็กเหล่านี้ได้มากขึ้นได้อย่างไร โดยเฉพาะการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับเด็กพิการด้วย ขณะเดียวกันยังเร่งรัดให้ปรับปรุงหลักสูตรอบรมครูที่ดูแลเด็กพิเศษ เพราะยอมรับว่าการอบรมครูยังไม่มีประสิทธิภาพมากนัก ขณะที่จำนวนครูที่มีอยู่ในปัจจุบันก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการ”พล.อ.ดาว์พงษ์กล่าว อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งตนได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแล และเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องจะบรรจุ แนวทางการดูแลเด็กพิเศษไว้ในแผนการศึกษาชาติ 15 ปี (พ.ศ.2560-2574) ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการยกร่างด้วย ขอบคุณ... http://breakingnews.nationtv.tv/home/read.php?newsid=792786
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)