สพฐ.วางแนวทางจัดการศึกษาคนพิการ
วันที่ (18 เม.ย.) ดร.อํานาจ วิชยานุวัติ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ปีการศึกษา 2558 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีนักเรียนบกพร่องทางร่างกายทั้ง 9 ประเภท ในความดูแลทั้งสิ้น 416,491 คน โดยเป็นกลุ่มโรงเรียนภายใต้สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ คือ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ 51 โรง ดูแลนักเรียน 3,689 คน โรงเรียนเฉพาะความพิการ 46 โรง ดูแลนักเรียน 13,031 คน และศูนย์การศึกษาพิเศษ 77 โรง ดูแลนักเรียน 21,183 คน และกลุ่มโรงเรียนเรียนร่วมของ สพฐ. อีก 23,763 โรง ดูแลนักเรียน 378,588 คน ดังนั้นจากจำนวนเด็กที่มีความบกพร่องทางดังกล่าวซึ่งถือว่าเป็นจำนวนค่อนข้างมาก สพฐ.จึงได้ประกาศให้ปี 2559 เป็นปีแห่งความร่วมมือด้านการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากบอร์ด กพฐ. และคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ และ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ ได้ลงนามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรียบร้อยแล้ว
ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ สพฐ.ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานตามประกาศดังกล่าวไว้ 3 เรื่อง คือ 1.การจัดบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม (Early Intervention) เพื่อให้เด็กกลุ่มเป้าหมายได้เข้าถึงบริการทางการศึกษาตั้งแต่แรกเกิด หรือ ตั้งแต่พบว่าพิการ 2.การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education) เพื่อขยายโอกาสให้กลุ่มเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม โดยไม่เลือกปฏิบัติ และ 3.การจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ (Transition from School to Work) เพื่อให้เด็กกลุ่มนี้มีทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ เพื่อให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ด้วยตนเอง.
"สพฐ.ได้เสนอให้ รมว.ศึกษาธิการ พิจารณานำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อประกาศให้เป็นปีแห่งความร่วมมือด้านการจัดการศึกษา สำหรับบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษภาพรวมระดับประเทศแล้ว เนื่องจากข้อมูลการขึ้นทะเบียนผู้พิการของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ระบุว่า ขณะนี้มีประชากรผู้พิการประมาณ 1.5 ล้านคน ขณะที่ปัจจุบัน สพฐ.ดูแลได้เพียง 4 แสนกว่าคน ดังนั้น ถ้า ครม.ให้ความเห็นชอบจะส่งผลให้ผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงและอย่างมีคุณภาพได้ เพราะเป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานการศึกษาทุกสังกัดภาคเอกชน ชุมชน สังคม ระดับกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง"ดร.อำนาจ กล่าว.
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/education/392357 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
สพฐ.วางแนวทางจัดการศึกษาคนพิการ วันที่ (18 เม.ย.) ดร.อํานาจ วิชยานุวัติ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ปีการศึกษา 2558 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีนักเรียนบกพร่องทางร่างกายทั้ง 9 ประเภท ในความดูแลทั้งสิ้น 416,491 คน โดยเป็นกลุ่มโรงเรียนภายใต้สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ คือ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ 51 โรง ดูแลนักเรียน 3,689 คน โรงเรียนเฉพาะความพิการ 46 โรง ดูแลนักเรียน 13,031 คน และศูนย์การศึกษาพิเศษ 77 โรง ดูแลนักเรียน 21,183 คน และกลุ่มโรงเรียนเรียนร่วมของ สพฐ. อีก 23,763 โรง ดูแลนักเรียน 378,588 คน ดังนั้นจากจำนวนเด็กที่มีความบกพร่องทางดังกล่าวซึ่งถือว่าเป็นจำนวนค่อนข้างมาก สพฐ.จึงได้ประกาศให้ปี 2559 เป็นปีแห่งความร่วมมือด้านการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากบอร์ด กพฐ. และคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ และ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ ได้ลงนามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรียบร้อยแล้ว ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ สพฐ.ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานตามประกาศดังกล่าวไว้ 3 เรื่อง คือ 1.การจัดบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม (Early Intervention) เพื่อให้เด็กกลุ่มเป้าหมายได้เข้าถึงบริการทางการศึกษาตั้งแต่แรกเกิด หรือ ตั้งแต่พบว่าพิการ 2.การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education) เพื่อขยายโอกาสให้กลุ่มเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม โดยไม่เลือกปฏิบัติ และ 3.การจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ (Transition from School to Work) เพื่อให้เด็กกลุ่มนี้มีทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ เพื่อให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ด้วยตนเอง. "สพฐ.ได้เสนอให้ รมว.ศึกษาธิการ พิจารณานำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อประกาศให้เป็นปีแห่งความร่วมมือด้านการจัดการศึกษา สำหรับบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษภาพรวมระดับประเทศแล้ว เนื่องจากข้อมูลการขึ้นทะเบียนผู้พิการของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ระบุว่า ขณะนี้มีประชากรผู้พิการประมาณ 1.5 ล้านคน ขณะที่ปัจจุบัน สพฐ.ดูแลได้เพียง 4 แสนกว่าคน ดังนั้น ถ้า ครม.ให้ความเห็นชอบจะส่งผลให้ผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงและอย่างมีคุณภาพได้ เพราะเป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานการศึกษาทุกสังกัดภาคเอกชน ชุมชน สังคม ระดับกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง"ดร.อำนาจ กล่าว. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/education/392357
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)