สอศ.เร่งขับเคลื่อนให้วิชาชีพคนพิการ
“สุเทพ” เร่งขับเคลื่อนให้วิชาชีพคนพิการ ย้ำ วิทยาลัยอาชีวศึกษาที่จัดการศึกษาเรียนร่วม 258 แห่ง ดำเนินการจัดการเรียนการสอนอย่างเข้มข้น หวังสร้างทักษะอาชีพให้ผู้พิการในอนาคต...
เมื่อวันที่ (19 มิ.ย.) ดร.สุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายเรื่องการสร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา นั้น สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้แจ้งให้วิทยาลัยในสังกัด ที่จัดการอาชีวศึกษาเพื่อคนพิการ จำนวน 258 แห่งทั่วประเทศ ดำเนินการจัดการศึกษาเรียนร่วมเด็กพิการกับเด็กปกติอย่างเข้มข้น โดยมีทั้งการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมในทุกสาขาวิชา และฝึกทักษะอาชีพต่างๆ นอกจากนี้ สอศ.ยังได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเมอร์ซี่ ประเทศนิวซีแลนด์ อบรมพัฒนาครูที่จัดการศึกษาคนพิการอย่างเข้มข้น อีกทั้งยังได้จัดตั้งศูนย์อาชีวศึกษาเพื่อคนพิการ ขึ้นที่ สอศ.ด้วย โดยศูนย์ดังกล่าวจะทำหน้าที่เป็นศูนย์ขับเคลื่อนข้อมูล ส่งเสริม และพัฒนาคนพิการ ให้มีทักษะอาชีพเป็นรูปแบบที่ชัดเจนมากขึ้น เพราะคนพิการก็มีศักยภาพ แม้พิการด้านร่างกาย ก็ไม่ได้พิการทางจิตใจและความคิด หากได้รับการส่งเสริมด้านอาชีพ ก็จะมีอาชีพ หาเลี้ยงตนเองได้ ไม่เป็นภาระสังคม
"นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ ให้ความสำคัญเรื่องการศึกษาสำหรับคนพิการเป็นอย่างมาก เพราะต้องการให้กลุ่มคนพิการที่มีอยู่ 9 ประเภท ได้แก่ บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น มีความบกพร่องทางการได้ยิน มีความบกพร่องทางสติปัญญา มีความบกพร่องทางร่างกาย มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ มีความบกพร่องทางการพูด มีความบกพร่องทางพฤติกรรม บุคคลออทิสติก และพิการซ้ำซ้อน ให้ได้รับการดูแลทางทักษะอาชีพ เพื่อให้มีความรู้สามารถเลี้ยงตนเอง และครอบครัวได้ โดยปัจจุบันมีผู้พิการทางด้านต่างๆเรียนวิชาชีพ ในสถานศึกษาสังกัด สอศ. ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทั้งสิ้น 1,040 คน และยังมีผู้ที่เรียนในหลักสูตรระยะสั้นต่างๆอีกเป็นจำนวนมาก” เลขาธิการ กอศ. กล่าว.
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)จัดการศึกษาเรียนร่วมเด็กพิการ “สุเทพ” เร่งขับเคลื่อนให้วิชาชีพคนพิการ ย้ำ วิทยาลัยอาชีวศึกษาที่จัดการศึกษาเรียนร่วม 258 แห่ง ดำเนินการจัดการเรียนการสอนอย่างเข้มข้น หวังสร้างทักษะอาชีพให้ผู้พิการในอนาคต... เมื่อวันที่ (19 มิ.ย.) ดร.สุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายเรื่องการสร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา นั้น สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้แจ้งให้วิทยาลัยในสังกัด ที่จัดการอาชีวศึกษาเพื่อคนพิการ จำนวน 258 แห่งทั่วประเทศ ดำเนินการจัดการศึกษาเรียนร่วมเด็กพิการกับเด็กปกติอย่างเข้มข้น โดยมีทั้งการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมในทุกสาขาวิชา และฝึกทักษะอาชีพต่างๆ นอกจากนี้ สอศ.ยังได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเมอร์ซี่ ประเทศนิวซีแลนด์ อบรมพัฒนาครูที่จัดการศึกษาคนพิการอย่างเข้มข้น อีกทั้งยังได้จัดตั้งศูนย์อาชีวศึกษาเพื่อคนพิการ ขึ้นที่ สอศ.ด้วย โดยศูนย์ดังกล่าวจะทำหน้าที่เป็นศูนย์ขับเคลื่อนข้อมูล ส่งเสริม และพัฒนาคนพิการ ให้มีทักษะอาชีพเป็นรูปแบบที่ชัดเจนมากขึ้น เพราะคนพิการก็มีศักยภาพ แม้พิการด้านร่างกาย ก็ไม่ได้พิการทางจิตใจและความคิด หากได้รับการส่งเสริมด้านอาชีพ ก็จะมีอาชีพ หาเลี้ยงตนเองได้ ไม่เป็นภาระสังคม "นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ ให้ความสำคัญเรื่องการศึกษาสำหรับคนพิการเป็นอย่างมาก เพราะต้องการให้กลุ่มคนพิการที่มีอยู่ 9 ประเภท ได้แก่ บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น มีความบกพร่องทางการได้ยิน มีความบกพร่องทางสติปัญญา มีความบกพร่องทางร่างกาย มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ มีความบกพร่องทางการพูด มีความบกพร่องทางพฤติกรรม บุคคลออทิสติก และพิการซ้ำซ้อน ให้ได้รับการดูแลทางทักษะอาชีพ เพื่อให้มีความรู้สามารถเลี้ยงตนเอง และครอบครัวได้ โดยปัจจุบันมีผู้พิการทางด้านต่างๆเรียนวิชาชีพ ในสถานศึกษาสังกัด สอศ. ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทั้งสิ้น 1,040 คน และยังมีผู้ที่เรียนในหลักสูตรระยะสั้นต่างๆอีกเป็นจำนวนมาก” เลขาธิการ กอศ. กล่าว. ขอบคุณ... https://www.dailynews.co.th/education/580560
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)