งดดู-แชร์ความสูญเสีย ป้องกันผลกระทบทางจิตใจ

แสดงความคิดเห็น

เด็กชายวัยประถมศึกษา

กรมสุขภาพจิต แนะ งดดู งดแชร์ เหตุความสูญเสีย ป้องกันผลกระทบทางจิตใจครอบครัวผู้สูญเสีย กลุ่มเด็ก และผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์

นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงเหตุเครื่องบินแบบ 1 Jas 39 (กริพเพน) กองทัพอากาศตกระหว่างการแสดงงานวันเด็กที่หาดใหญ่ จ.สงขลา เมื่อช่วงเช้าวันนี้ ว่า ได้ส่งทีมจากโรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ นำโดย นายแพทย์ณัฐกร จำปาทอง ผอ.โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ ประสานงานกับโรงพยาบาลกองบิน 56 เพื่อประเมินสถานการณ์และผลกระทบทางจิตใจผู้เกี่ยวข้องแล้วในเบื้องต้น

อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวต่อว่า จากเหตุการณ์ความสูญเสียครั้งนี้ บุคคลในครอบครัวและญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิต ย่อมได้รับผลกระทบทางจิตใจเป็นอย่างมาก จึงจำเป็นต้องมีการประเมินและดูแลปฐมพยาบาลทางใจ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในระยะยาว ซึ่งทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการช่วยลดผลกระทบด้านจิตใจให้กับครอบครัวและผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ได้ ซึ่งต้องขอความร่วมมือสื่อมวลชนและโลกออนไลน์พึงเคารพสิทธิผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ โดยการไม่แชร์หรือเผยแพร่ภาพหรือคลิปต่างๆ ของเหตุการณ์ความสูญเสียในครั้งนี้ เพราะจะยิ่งกระตุ้น ให้ครอบครัวและญาติของผู้เสียชีวิต รวมทั้งผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์คิดถึงภาพเหตุการณ์สะเทือนใจซ้ำไปซ้ำมาตอกย้ำสถานการณ์ให้แย่ลงไปอีก

นอกจากนี้ กลุ่มเด็กที่อยู่ในเหตุการณ์หรือรับชมรับฟังข่าวหรือภาพเหตุการณ์ ย่อมมีโอกาสได้รับผลกระทบด้านจิตใจแตกต่างกันออกไป ซึ่งสามารถแบ่งเด็กออกได้เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ เด็กปฐมวัย แรกเกิด – 5 ปี เนื่องจาก ยังไม่รับรู้ถึงความตายว่าเป็นอย่างไร จึงขอแนะนำพ่อแม่ผู้ปกครองไม่ให้เด็กรับชมคลิป หรือไม่พูดถึงเหตุการณ์มากนัก หากเด็กถามก็ตอบเพียงว่าเป็นการเกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น ทั้งนี้ หากมีผลทำให้เกิดอาการตกใจในกลุ่มเด็กวัยนี้ อาการที่อาจพบได้ คือ มีภาวะถดถอย ในบางช่วง เช่น กลับไปดูดนิ้ว ปัสสาวะรดที่นอนในตอนกลางคืน ไม่ยอมห่างจากพ่อแม่ เป็นต้น แต่อาจเกิดได้น้อยมาก

กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มเด็กอายุ 5-10 ปี ซึ่งกลุ่มนี้ น่าห่วงมากที่สุด เนื่องจากรับรู้ความหมายของการตายแล้ว มีความคิดซับซ้อนมากขึ้น ข้อแนะนำ คือ ให้หลีกเลี่ยงการดูคลิป อาการที่ต้องเฝ้าระวัง คือ ตื่นตกใจง่าย หวาดกลัว คิดวนเวียนซ้ำไปซ้ำมาถึงเหตุการณ์ หลีกเลี่ยงคนหรือเหตุการณ์ที่ทำให้ตกใจ เป็นต้น หากพ่อแม่ผู้ปกครองพบเห็นอาการเหล่านี้ ให้ปรึกษาหรือพามาพบผู้เชี่ยวชาญ และกลุ่มสุดท้าย คือ กลุ่มวัยรุ่น ซึ่งสามารถใช้เหตุผลและอธิบายถึงเรื่องราวที่มาที่ไปของเหตุการณ์ต่างๆได้ หากเกิดผลกระทบต่อจิตใจสามารถเล่าถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นให้ผู้ใหญ่ฟังได้ พ่อแม่ผู้ปกครองจึงอาจเพียงแนะนำให้พวกเขาหลีกเลี่ยงการรับชม รับฟัง เหตุการณ์ คลิป หรือภาพ ที่ทำให้เกิดผลกระทบทางใจกับพวกเขา เป็นต้น ทั้งนี้ สามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว

ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/736174 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ม.ค.60
วันที่โพสต์: 18/01/2560 เวลา 10:02:23 ดูภาพสไลด์โชว์ งดดู-แชร์ความสูญเสีย ป้องกันผลกระทบทางจิตใจ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เด็กชายวัยประถมศึกษา กรมสุขภาพจิต แนะ งดดู งดแชร์ เหตุความสูญเสีย ป้องกันผลกระทบทางจิตใจครอบครัวผู้สูญเสีย กลุ่มเด็ก และผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงเหตุเครื่องบินแบบ 1 Jas 39 (กริพเพน) กองทัพอากาศตกระหว่างการแสดงงานวันเด็กที่หาดใหญ่ จ.สงขลา เมื่อช่วงเช้าวันนี้ ว่า ได้ส่งทีมจากโรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ นำโดย นายแพทย์ณัฐกร จำปาทอง ผอ.โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ ประสานงานกับโรงพยาบาลกองบิน 56 เพื่อประเมินสถานการณ์และผลกระทบทางจิตใจผู้เกี่ยวข้องแล้วในเบื้องต้น อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวต่อว่า จากเหตุการณ์ความสูญเสียครั้งนี้ บุคคลในครอบครัวและญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิต ย่อมได้รับผลกระทบทางจิตใจเป็นอย่างมาก จึงจำเป็นต้องมีการประเมินและดูแลปฐมพยาบาลทางใจ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในระยะยาว ซึ่งทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการช่วยลดผลกระทบด้านจิตใจให้กับครอบครัวและผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ได้ ซึ่งต้องขอความร่วมมือสื่อมวลชนและโลกออนไลน์พึงเคารพสิทธิผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ โดยการไม่แชร์หรือเผยแพร่ภาพหรือคลิปต่างๆ ของเหตุการณ์ความสูญเสียในครั้งนี้ เพราะจะยิ่งกระตุ้น ให้ครอบครัวและญาติของผู้เสียชีวิต รวมทั้งผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์คิดถึงภาพเหตุการณ์สะเทือนใจซ้ำไปซ้ำมาตอกย้ำสถานการณ์ให้แย่ลงไปอีก นอกจากนี้ กลุ่มเด็กที่อยู่ในเหตุการณ์หรือรับชมรับฟังข่าวหรือภาพเหตุการณ์ ย่อมมีโอกาสได้รับผลกระทบด้านจิตใจแตกต่างกันออกไป ซึ่งสามารถแบ่งเด็กออกได้เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ เด็กปฐมวัย แรกเกิด – 5 ปี เนื่องจาก ยังไม่รับรู้ถึงความตายว่าเป็นอย่างไร จึงขอแนะนำพ่อแม่ผู้ปกครองไม่ให้เด็กรับชมคลิป หรือไม่พูดถึงเหตุการณ์มากนัก หากเด็กถามก็ตอบเพียงว่าเป็นการเกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น ทั้งนี้ หากมีผลทำให้เกิดอาการตกใจในกลุ่มเด็กวัยนี้ อาการที่อาจพบได้ คือ มีภาวะถดถอย ในบางช่วง เช่น กลับไปดูดนิ้ว ปัสสาวะรดที่นอนในตอนกลางคืน ไม่ยอมห่างจากพ่อแม่ เป็นต้น แต่อาจเกิดได้น้อยมาก กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มเด็กอายุ 5-10 ปี ซึ่งกลุ่มนี้ น่าห่วงมากที่สุด เนื่องจากรับรู้ความหมายของการตายแล้ว มีความคิดซับซ้อนมากขึ้น ข้อแนะนำ คือ ให้หลีกเลี่ยงการดูคลิป อาการที่ต้องเฝ้าระวัง คือ ตื่นตกใจง่าย หวาดกลัว คิดวนเวียนซ้ำไปซ้ำมาถึงเหตุการณ์ หลีกเลี่ยงคนหรือเหตุการณ์ที่ทำให้ตกใจ เป็นต้น หากพ่อแม่ผู้ปกครองพบเห็นอาการเหล่านี้ ให้ปรึกษาหรือพามาพบผู้เชี่ยวชาญ และกลุ่มสุดท้าย คือ กลุ่มวัยรุ่น ซึ่งสามารถใช้เหตุผลและอธิบายถึงเรื่องราวที่มาที่ไปของเหตุการณ์ต่างๆได้ หากเกิดผลกระทบต่อจิตใจสามารถเล่าถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นให้ผู้ใหญ่ฟังได้ พ่อแม่ผู้ปกครองจึงอาจเพียงแนะนำให้พวกเขาหลีกเลี่ยงการรับชม รับฟัง เหตุการณ์ คลิป หรือภาพ ที่ทำให้เกิดผลกระทบทางใจกับพวกเขา เป็นต้น ทั้งนี้ สามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/736174

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...