บอร์ด สปสช.มุ่งแก้ปัญหาตาบอดจากต้อกระจก หนุนตรวจคัดกรอง

แสดงความคิดเห็น

ตรวจคัดกรองแก้ปัญหาตาบอดจากต้อกระจก

สปสช.แจงแนวทางบริหารจัดการสิทธิประโยชน์รักษาตาต้อกระจกปี 60 เดินตามนโยบายบอร์ด สปสช.ให้ความสำคัญสูงสุดแก้ปัญหาตาบอด สายตาเลือนราง ส่งเสริมตรวจคัดกรอง ส่วนโปรแกรม VISION2020 ตามแนวทาง Service Plan ของ สธ.นั้น สปสช.ไม่ได้ประกาศยกเลิก อยู่ระหว่างเชื่อมโยงข้อมูลและแก้ปัญหาเชิงเทคนิคเพื่อให้ใช้ประโยชน์จากโปรแกรมได้สูงสุด ไม่เพิ่มภาระหน่วยบริการ

นพ.จักรกริช โง้วศิริ ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2560 ในส่วนของการให้บริการรักษาผ่าตัดตากระจกพร้อมเลนส์แก้วตาเทียมนั้น สปสช.ดำเนินการตามนโยบายของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ที่ให้ความสำคัญสูงสุดต่อการแก้ปัญหาตาบอดและปัญหาสายตาเลือนราง มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายผู้ป่วย (สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือบัตรทอง) ต้อกระจกชนิดบอดและชนิดสายตาเลือนรางระดับรุนแรง ส่งเสริมและสนับสนุนการตรวจคัดกรองและลงทะเบียนเพื่อจัดลำดับความสำคัญของการผ่าตัด เพื่อค้นหาผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาโดยเร็ว และให้มีการติดตามประเมินผลการให้บริการทุกไตรมาส นำเสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณาต่อไป

ในปี 2560 ได้กำหนดเป้าหมายผ่าตัดต้อกระจกในผู้ป่วย 112,200 ดวงตา ซึ่งกำหนดเป้าหมายรายเขตจากหลักเกณฑ์อ้างอิงตามอัตราความชุก ข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการคัดกรองและขึ้นทะเบียนในโปรแกรม VISION2020Thailand ตามแนวทางของคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาจักษุวิทยา กระทรวงสาธารณสุข และผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

ผู้ช่วยเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า ในปี 2559 สปสช.สนับสนุนการคัดกรองผู้ป่วยตามโปรแกรม VISION2020Thailand ตามนโยบาย Service Plan กระทรวงสาธารณสุข ที่มีวีซ่าผ่าตัดให้กับผู้ป่วยที่ผ่านการคัดกรองและเข้าเกณฑ์ต้องได้รับการผ่าตัดโดยเร็ว ซึ่งหน่วยบริการที่ให้การผ่าตัดตาต้อกระจกจะบันทึกข้อมูลลงในโปรแกรมนี้ ในปี 2559 มี รพ.บันทึกข้อมูลในโปรแกรมนี้ 145 แห่ง จากจำนวน รพ.ทุกสังกัดที่ให้บริการผ่าตัดต้อกระจก 360 แห่ง ซึ่งยังพบปัญหาการเชื่อมโยงข้อมูล และข้อจำกัดเชิงเทคนิค รวมทั้งความครอบคลุมของการดำเนินงานในหน่วยบริการสังกัดอื่น ดังนั้นในการดำเนินการปี 2560 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขและ สปสช.จึงได้ประสานงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ให้สามารถใช้ประโยชน์จากโปรแกรมได้สูงสุดและไม่เพิ่มภาระให้หน่วยบริการ ไม่ได้ประกาศยกเลิกแต่อย่างใด

นพ.จักรกริช กล่าววว่า สปสช.ในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการสุขภาพ ได้ทำงานร่วมกับหน่วยบริการในทุกสังกัด ในส่วนของการบริการผู้ป่วยตาต้อกระจกนั้น มติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้กำหนดว่าสถานพยาบาลที่จะสามารถดำเนินการผ่าต้อกระจกได้นั้น ให้เป็นหน่วยบริการรับส่งต่อที่มีคุณสมบัติ และศักยภาพตามแนวทางในประกาศแนวทางปฏิบัติการให้บริการผ่าตัดต้อกระจกของหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2560 ซึ่งเป็นการกำหนดตามมาตรฐานสถานพยาบาล การประกอบวิชาชีพเวชกรรมของบุคลากรทางการแพทย์ และแนวทางเวชปฏิบัติทั้งในภาครัฐและเอกชน

ขอบคุณ... https://www.thansettakij.com/2016/09/11/96445

ที่มา: thansettakij.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 ก.ย.59
วันที่โพสต์: 12/09/2559 เวลา 11:51:43 ดูภาพสไลด์โชว์ บอร์ด สปสช.มุ่งแก้ปัญหาตาบอดจากต้อกระจก หนุนตรวจคัดกรอง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ตรวจคัดกรองแก้ปัญหาตาบอดจากต้อกระจก สปสช.แจงแนวทางบริหารจัดการสิทธิประโยชน์รักษาตาต้อกระจกปี 60 เดินตามนโยบายบอร์ด สปสช.ให้ความสำคัญสูงสุดแก้ปัญหาตาบอด สายตาเลือนราง ส่งเสริมตรวจคัดกรอง ส่วนโปรแกรม VISION2020 ตามแนวทาง Service Plan ของ สธ.นั้น สปสช.ไม่ได้ประกาศยกเลิก อยู่ระหว่างเชื่อมโยงข้อมูลและแก้ปัญหาเชิงเทคนิคเพื่อให้ใช้ประโยชน์จากโปรแกรมได้สูงสุด ไม่เพิ่มภาระหน่วยบริการ นพ.จักรกริช โง้วศิริ ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2560 ในส่วนของการให้บริการรักษาผ่าตัดตากระจกพร้อมเลนส์แก้วตาเทียมนั้น สปสช.ดำเนินการตามนโยบายของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ที่ให้ความสำคัญสูงสุดต่อการแก้ปัญหาตาบอดและปัญหาสายตาเลือนราง มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายผู้ป่วย (สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือบัตรทอง) ต้อกระจกชนิดบอดและชนิดสายตาเลือนรางระดับรุนแรง ส่งเสริมและสนับสนุนการตรวจคัดกรองและลงทะเบียนเพื่อจัดลำดับความสำคัญของการผ่าตัด เพื่อค้นหาผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาโดยเร็ว และให้มีการติดตามประเมินผลการให้บริการทุกไตรมาส นำเสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณาต่อไป ในปี 2560 ได้กำหนดเป้าหมายผ่าตัดต้อกระจกในผู้ป่วย 112,200 ดวงตา ซึ่งกำหนดเป้าหมายรายเขตจากหลักเกณฑ์อ้างอิงตามอัตราความชุก ข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการคัดกรองและขึ้นทะเบียนในโปรแกรม VISION2020Thailand ตามแนวทางของคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาจักษุวิทยา กระทรวงสาธารณสุข และผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ผู้ช่วยเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า ในปี 2559 สปสช.สนับสนุนการคัดกรองผู้ป่วยตามโปรแกรม VISION2020Thailand ตามนโยบาย Service Plan กระทรวงสาธารณสุข ที่มีวีซ่าผ่าตัดให้กับผู้ป่วยที่ผ่านการคัดกรองและเข้าเกณฑ์ต้องได้รับการผ่าตัดโดยเร็ว ซึ่งหน่วยบริการที่ให้การผ่าตัดตาต้อกระจกจะบันทึกข้อมูลลงในโปรแกรมนี้ ในปี 2559 มี รพ.บันทึกข้อมูลในโปรแกรมนี้ 145 แห่ง จากจำนวน รพ.ทุกสังกัดที่ให้บริการผ่าตัดต้อกระจก 360 แห่ง ซึ่งยังพบปัญหาการเชื่อมโยงข้อมูล และข้อจำกัดเชิงเทคนิค รวมทั้งความครอบคลุมของการดำเนินงานในหน่วยบริการสังกัดอื่น ดังนั้นในการดำเนินการปี 2560 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขและ สปสช.จึงได้ประสานงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ให้สามารถใช้ประโยชน์จากโปรแกรมได้สูงสุดและไม่เพิ่มภาระให้หน่วยบริการ ไม่ได้ประกาศยกเลิกแต่อย่างใด นพ.จักรกริช กล่าววว่า สปสช.ในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการสุขภาพ ได้ทำงานร่วมกับหน่วยบริการในทุกสังกัด ในส่วนของการบริการผู้ป่วยตาต้อกระจกนั้น มติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้กำหนดว่าสถานพยาบาลที่จะสามารถดำเนินการผ่าต้อกระจกได้นั้น ให้เป็นหน่วยบริการรับส่งต่อที่มีคุณสมบัติ และศักยภาพตามแนวทางในประกาศแนวทางปฏิบัติการให้บริการผ่าตัดต้อกระจกของหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2560 ซึ่งเป็นการกำหนดตามมาตรฐานสถานพยาบาล การประกอบวิชาชีพเวชกรรมของบุคลากรทางการแพทย์ และแนวทางเวชปฏิบัติทั้งในภาครัฐและเอกชน ขอบคุณ... https://www.thansettakij.com/2016/09/11/96445

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...