ธุรกิจพันธุศาสตร์ ใครไม่ทำเราทำ

แสดงความคิดเห็น

การวิจัยเชิงปฏิบัติการในห้องแลป

สปินออฟจากกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยพันธุกรรมทารกในครรภ์จากน้ำคร่ำและเลือดของมารดา มาตั้งบริษัท MGC สตาร์ทอัพด้านชีววิทยาศาสตร์ ที่ให้บริการแก่สถานพยาบาลทั่วประเทศในการตรวจทางพันธุศาสตร์

นายแพทย์วีรยุทธ ประพันธ์พจน์ ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการ บริษัท ศูนย์พันธุศาสตร์การแพทย์ จำกัด (MGC) กล่าวว่า บริษัทเปิดให้บริการมากว่า 3 ปี ภายใต้มาตรฐานไอเอสโอ 15189: 2012 และ15190: 2003 จากการสนับสนุนการจัดตั้งและดำเนินการโดย TCELS โดยมีเทคโนโลยีที่สามารถตรวจวิเคราะห์หาความผิดปกติของทารกในครรภ์ เช่น โรคดาวน์ซินโดรมจากน้ำคร่ำและเลือดของมารดาซึ่งมีดีเอ็นเอของทารกปนอยู่ รวมถึงบริการตรวจความผิดปกติของตัวอ่อนที่ได้จากเทคโนโลยีการผสมเทียม เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการคัดเลือก และย้ายฝากตัวอ่อน จะเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก ทั้งยังให้บริการสนับสนุนทางด้านการศึกษาและการวิจัยทางพันธุศาสตร์การแพทย์อีกด้วย

ทั้งนี้ การสร้างเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็น เพราะธุรกิจให้บริการตรวจทางพันธุกรรมในไทยเป็นเรื่องใหม่และมีประเด็นซับซ้อนกว่าการตรวจเบาหวานหรือวัดความดัน เพราะมีผลกระทบต่อเนื่องสูง เช่น ผลการตรวจน้ำคร่ำถึงคัดกรองภาวะดาวน์ซินโดรมจะนำไปสู่การตัดสินใจที่จะตั้งครรภ์ต่อหรือจะยุติ ทั้งยังมีผลกับคนอื่นๆ ด้วย ฉะนั้น ห้องปฏิบัติการด้านนี้จึงต้องมีมาตรฐานความถูกต้องและความแม่นยำ จึงร่วมกับ TCELSจัดทำเกณฑ์มาตรฐานการรับรองห้องปฏิบัติการฯ

MGC เปิดให้บริการประมาณ 3 ปี การตอบรับดีมากจากสถานพยาบาลทั่วประเทศ 230-240 แห่ง โดยเฉพาะการตรวจน้ำคร่ำ ซึ่งมีให้บริการเฉพาะในโรงเรียนแพทย์เท่านั้น อีกทั้งบริษัทมีระบบรับส่ง door to doorหรือจากโรงพยาบาลมายังแล็บบริษัทโดยตรงพร้อมทั้งการแจ้งผลทางเว็บไซต์จึงสะดวกและรวดเร็ว

“หญิงไทยตั้งครรภ์ปีละประมาณ 8 แสนคน ซึ่ง 1 แสนคนอายุเกิน 35 ปี ถือเป็นกลุ่มที่ควรได้รับการเจาะน้ำคร่ำแต่ว่าศักยภาพในไทยยังไม่พอ แล็บบริการมีน้อย ดังนั้น เราจึงเปิดบริการเพื่อรองรับกลุ่มนี้ ส่วนหญิงตั้งครรภ์ที่อายุน้อยกว่า 35 ปี มีประมาณ 7 แสนคน แม้จะไม่มีคำแนะนำให้ตรวจน้ำคร่ำแต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีความเสี่ยง ขณะนี้มีวิธีการตรวจคัดกรองจากเลือดแม่ ซึ่งมีดีเอ็นเอของลูกปนอยู่ด้วย ถือเป็นพัฒนาการของเทคโนโลยีที่คาดว่าในอนาคตจะเข้ามาแทนที่การเจาะตรวจน้ำคร่ำที่เสี่ยงอันตรายต่อทารกในครรภ์"

MGC ได้พัฒนาเทคโนโลยีตรวจหาดาวน์ซินโดรมจากการเลือดมารดาแข่งกับต่างชาติ ซึ่งค่าบริการประมาณ 2.5 หมื่นบาท แต่เราทำเหลือราคา 1 หมื่นบาท มีความไว ถูกต้อง เทียบเท่ากับเทคโนโลยีต่างประเทศ ใช้เวลาทราบผล 7 วันเหมือนกัน ขณะที่การตรวจน้ำคร่ำตั้งอัตราเดียวกับโรงเรียนแพทย์คือประมาณ 2,500 บาท ผลการดำเนินงาน 2-3 ปีที่ผ่านมา ยืนยันได้ว่าธุรกิจมาถูกทางแล้ว จากเดิมตั้งเป้าหมายลูกค้าสถานพยาบาลส่งน้ำคร่ำมาตรวจ 200-300 ตัวอย่างต่อปี กลายเป็น 300 ตัวอย่างต่อเดือนแล้วก็ขยับเพิ่ม 2-3 เท่าตัวในปัจจุบัน เพราะตลาดมีความต้องการจริงๆ

ขอบคุณ... http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/634362

ที่มา: eureka.bangkokbiznews.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ก.ย.59
วันที่โพสต์: 8/09/2559 เวลา 10:37:50 ดูภาพสไลด์โชว์ ธุรกิจพันธุศาสตร์ ใครไม่ทำเราทำ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

การวิจัยเชิงปฏิบัติการในห้องแลป สปินออฟจากกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยพันธุกรรมทารกในครรภ์จากน้ำคร่ำและเลือดของมารดา มาตั้งบริษัท MGC สตาร์ทอัพด้านชีววิทยาศาสตร์ ที่ให้บริการแก่สถานพยาบาลทั่วประเทศในการตรวจทางพันธุศาสตร์ นายแพทย์วีรยุทธ ประพันธ์พจน์ ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการ บริษัท ศูนย์พันธุศาสตร์การแพทย์ จำกัด (MGC) กล่าวว่า บริษัทเปิดให้บริการมากว่า 3 ปี ภายใต้มาตรฐานไอเอสโอ 15189: 2012 และ15190: 2003 จากการสนับสนุนการจัดตั้งและดำเนินการโดย TCELS โดยมีเทคโนโลยีที่สามารถตรวจวิเคราะห์หาความผิดปกติของทารกในครรภ์ เช่น โรคดาวน์ซินโดรมจากน้ำคร่ำและเลือดของมารดาซึ่งมีดีเอ็นเอของทารกปนอยู่ รวมถึงบริการตรวจความผิดปกติของตัวอ่อนที่ได้จากเทคโนโลยีการผสมเทียม เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการคัดเลือก และย้ายฝากตัวอ่อน จะเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก ทั้งยังให้บริการสนับสนุนทางด้านการศึกษาและการวิจัยทางพันธุศาสตร์การแพทย์อีกด้วย ทั้งนี้ การสร้างเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็น เพราะธุรกิจให้บริการตรวจทางพันธุกรรมในไทยเป็นเรื่องใหม่และมีประเด็นซับซ้อนกว่าการตรวจเบาหวานหรือวัดความดัน เพราะมีผลกระทบต่อเนื่องสูง เช่น ผลการตรวจน้ำคร่ำถึงคัดกรองภาวะดาวน์ซินโดรมจะนำไปสู่การตัดสินใจที่จะตั้งครรภ์ต่อหรือจะยุติ ทั้งยังมีผลกับคนอื่นๆ ด้วย ฉะนั้น ห้องปฏิบัติการด้านนี้จึงต้องมีมาตรฐานความถูกต้องและความแม่นยำ จึงร่วมกับ TCELSจัดทำเกณฑ์มาตรฐานการรับรองห้องปฏิบัติการฯ MGC เปิดให้บริการประมาณ 3 ปี การตอบรับดีมากจากสถานพยาบาลทั่วประเทศ 230-240 แห่ง โดยเฉพาะการตรวจน้ำคร่ำ ซึ่งมีให้บริการเฉพาะในโรงเรียนแพทย์เท่านั้น อีกทั้งบริษัทมีระบบรับส่ง door to doorหรือจากโรงพยาบาลมายังแล็บบริษัทโดยตรงพร้อมทั้งการแจ้งผลทางเว็บไซต์จึงสะดวกและรวดเร็ว “หญิงไทยตั้งครรภ์ปีละประมาณ 8 แสนคน ซึ่ง 1 แสนคนอายุเกิน 35 ปี ถือเป็นกลุ่มที่ควรได้รับการเจาะน้ำคร่ำแต่ว่าศักยภาพในไทยยังไม่พอ แล็บบริการมีน้อย ดังนั้น เราจึงเปิดบริการเพื่อรองรับกลุ่มนี้ ส่วนหญิงตั้งครรภ์ที่อายุน้อยกว่า 35 ปี มีประมาณ 7 แสนคน แม้จะไม่มีคำแนะนำให้ตรวจน้ำคร่ำแต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีความเสี่ยง ขณะนี้มีวิธีการตรวจคัดกรองจากเลือดแม่ ซึ่งมีดีเอ็นเอของลูกปนอยู่ด้วย ถือเป็นพัฒนาการของเทคโนโลยีที่คาดว่าในอนาคตจะเข้ามาแทนที่การเจาะตรวจน้ำคร่ำที่เสี่ยงอันตรายต่อทารกในครรภ์" MGC ได้พัฒนาเทคโนโลยีตรวจหาดาวน์ซินโดรมจากการเลือดมารดาแข่งกับต่างชาติ ซึ่งค่าบริการประมาณ 2.5 หมื่นบาท แต่เราทำเหลือราคา 1 หมื่นบาท มีความไว ถูกต้อง เทียบเท่ากับเทคโนโลยีต่างประเทศ ใช้เวลาทราบผล 7 วันเหมือนกัน ขณะที่การตรวจน้ำคร่ำตั้งอัตราเดียวกับโรงเรียนแพทย์คือประมาณ 2,500 บาท ผลการดำเนินงาน 2-3 ปีที่ผ่านมา ยืนยันได้ว่าธุรกิจมาถูกทางแล้ว จากเดิมตั้งเป้าหมายลูกค้าสถานพยาบาลส่งน้ำคร่ำมาตรวจ 200-300 ตัวอย่างต่อปี กลายเป็น 300 ตัวอย่างต่อเดือนแล้วก็ขยับเพิ่ม 2-3 เท่าตัวในปัจจุบัน เพราะตลาดมีความต้องการจริงๆ ขอบคุณ... http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/634362

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...