สมาคมจิตแพทย์เผย! “โรคเก็บสะสมของ” ชอบเก็บ-ไม่กล้าทิ้ง พบมากในคนโสด

แสดงความคิดเห็น

โรคเก็บสะสมของ

แฟนเพจ สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ได้มีการโพสต์บทความเกี่ยวกับพฤติกรรมการเก็บสะสมของเก่าจนทำให้บ้านเละเทะว่า นั่นเป็นอาการของ โรค hoarding disorder เป็นโรคที่เพิ่งถูกเพิ่มเข้ามาใหม่ในเกณฑ์วินิจฉัยโรคทางจิตเวช (DSM 5) เมื่อปี พ.ศ. 2556

ข้อความที่ สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ระบุมีดังนี้ … หลายคนน่าจะเคยเห็นในรายการทีวีบ่อย ๆ ที่มีคนกลุ่มหนึ่งที่มีปัญหาเก็บสะสมของในบ้านเยอะซะจนล้นเละเทะไปหมด วันนี้เรามารู้จักโรคหนึ่งที่มีอาการแบบนั้นกันครับ โรค hoarding disorder เป็นโรคที่เพิ่งถูกเพิ่มเข้ามาใหม่ในเกณฑ์วินิจฉัยโรคทางจิตเวช (DSM 5) เมื่อปี พ.ศ. 2556นี้เองก่อนหน้านี้ยังไม่มีเกณฑ์การวินิจฉัยโรคนี้มาก่อน ด้วยเหตุว่าเป็นโรคใหม่ ในภาษาไทยจึงไม่มีศัพท์ที่ใช้เรียกอย่างเป็นทางการ ดังนั้นผมเลยตั้งชื่อเองไปก่อนว่า “โรคเก็บสะสมของ” ละกันนะครับ

พบได้บ่อยแค่ไหน? การศึกษาในต่างประเทศ พบโรคเก็บสะสมของได้ประมาณ 2-5% ในคนทั่วไป คนที่เป็นส่วนใหญ่มักจะเป็นคนโสด (ถ้าอ่านอาการแล้วจะเข้าใจครับว่าทำไมส่วนใหญ่ถึงโสด) โดยมักจะเริ่มเป็นตั้งแต่วัยรุ่นและเป็นต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ

อาการของโรค 1. เก็บของไว้มากเกินไป แม้ว่าของนั้นจะดูไม่ค่อยมีประโยชน์ หรือมีโอกาสใช้ประโยชน์น้อยมาก 2. มีความยากลำบากในการทำใจที่จะทิ้งของ (ตัดใจทิ้งของไม่ได้) โดยส่วนใหญ่เกิดจากความคิดว่า …. “ยังอาจจำเป็นต้องใช้” “อาจจะได้ใช้” …… (ทั้ง ๆ ที่ก็ไม่เคยได้ใช้หรอก) หรือทิ้งแล้วจะรู้สึกไม่สบายใจ ก็เลยไม่ทิ้ง 3. ของที่สะสมมีเยอะมากจนรบกวนการใช้ชีวิต หรือทำให้เกิดอันตราย เช่น วางบนพื้นห้องจนไม่มีที่เดิน, วางท่วมล้นบนโต๊ะทำงานจนทำงานบนโต๊ะไม่ได้ หรือของเยอะจนทำให้เจ็บป่วยบ่อย เป็นต้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่คิดว่าตัวเองผิดปกติ ส่วนมากมองว่าการเก็บของของตัวเองนั้นสมเหตุสมผล (แต่คนอื่นหรือเพื่อนบ้านจะทนไม่ได้ -_-”)

สิ่งสะสมที่พบได้บ่อย ได้แก่ หนังสือ นิตยสาร เสื้อผ้า ถุงพลาสติก และขวดต่างๆ ซึ่งการเก็บของนี้จะเยอะเกินกว่าปกติของคนทั่วไป เช่น เก็บจนล้นกองเต็มทั่วบ้าน เป็นต้น (คนปกติบางคนอาจจะสะสมของบางอย่าง เช่น ชอบสะสมหนังสือ แต่สามารถเก็บวางไว้ในตู้ หรือจัดเก็บได้อย่างเรียบร้อยจะไม่ถือว่าเป็นโรคนี้ )

การสะสมของจำนวนมากๆ แบบนี้หลายครั้งมักทำให้เกิดอันตรายตามมา เช่น บาดเจ็บเพราะหนังสือล้มทับใส่ ห้องรกจนเป็นภูมิแพ้รุนแรง หรือสกปรกจนติดเชื้อ เป็นต้น

การดำเนินโรค โดยทั่วไปโรคสะสมของนี้มักเริ่มมีอาการตั้งแต่วัยรุ่น และเป็นต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ตลอดชีวิต เพียงแต่โดยส่วนใหญ่ตอนวัยรุ่นอาจจะไม่เป็นปัญหารุนแรงมากนักเพราะของที่สะสมมักจะยังไม่มาก (เพราะเพิ่งเริ่มสะสม) แต่จะเริ่มเป็นปัญหาหนักเมื่อวัยผู้ใหญ่ เพราะของที่สะสมจะเยอะมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่พบว่าโรคจะเป็นลักษณะเรื้อรัง ไม่หายขาด โดยอาการอาจจะเป็นเยอะขึ้นเป็นบางช่วง โดยเฉพาะช่วงที่มีความเครียดมักจะมีการสะสมของมากขึ้น

การรักษา โรคนี้การรักษาด้วยยาพบว่าได้ผลเล็กน้อย โดยยาที่ใช้เป็นยากลุ่มยาต้านเศร้า (antidepressant) ส่วนการรักษาที่ดีที่สุดในปัจจุบันคือ การสอนการตัดสินใจ(ในการเก็บ/ทิ้งของ) การจัดกลุ่ม และการสอนวิธีการเก็บของที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงฝึกให้ทนได้กับการทิ้งของ ซึ่งพบว่าวิธีการเหล่านี้สามารถช่วยลดของที่สะสมลงได้เกือบ ๆ 1 ใน 3 (ซึ่งก็ถือว่าเยอะแล้ว)

ขอบคุณ... http://news.mthai.com/hot-news/social-news/515373.html

ที่มา: news.mthai.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ก.ย.59
วันที่โพสต์: 5/09/2559 เวลา 10:21:48 ดูภาพสไลด์โชว์ สมาคมจิตแพทย์เผย! “โรคเก็บสะสมของ” ชอบเก็บ-ไม่กล้าทิ้ง พบมากในคนโสด

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

โรคเก็บสะสมของ แฟนเพจ สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ได้มีการโพสต์บทความเกี่ยวกับพฤติกรรมการเก็บสะสมของเก่าจนทำให้บ้านเละเทะว่า นั่นเป็นอาการของ โรค hoarding disorder เป็นโรคที่เพิ่งถูกเพิ่มเข้ามาใหม่ในเกณฑ์วินิจฉัยโรคทางจิตเวช (DSM 5) เมื่อปี พ.ศ. 2556 ข้อความที่ สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ระบุมีดังนี้ … หลายคนน่าจะเคยเห็นในรายการทีวีบ่อย ๆ ที่มีคนกลุ่มหนึ่งที่มีปัญหาเก็บสะสมของในบ้านเยอะซะจนล้นเละเทะไปหมด วันนี้เรามารู้จักโรคหนึ่งที่มีอาการแบบนั้นกันครับ โรค hoarding disorder เป็นโรคที่เพิ่งถูกเพิ่มเข้ามาใหม่ในเกณฑ์วินิจฉัยโรคทางจิตเวช (DSM 5) เมื่อปี พ.ศ. 2556นี้เองก่อนหน้านี้ยังไม่มีเกณฑ์การวินิจฉัยโรคนี้มาก่อน ด้วยเหตุว่าเป็นโรคใหม่ ในภาษาไทยจึงไม่มีศัพท์ที่ใช้เรียกอย่างเป็นทางการ ดังนั้นผมเลยตั้งชื่อเองไปก่อนว่า “โรคเก็บสะสมของ” ละกันนะครับ พบได้บ่อยแค่ไหน? การศึกษาในต่างประเทศ พบโรคเก็บสะสมของได้ประมาณ 2-5% ในคนทั่วไป คนที่เป็นส่วนใหญ่มักจะเป็นคนโสด (ถ้าอ่านอาการแล้วจะเข้าใจครับว่าทำไมส่วนใหญ่ถึงโสด) โดยมักจะเริ่มเป็นตั้งแต่วัยรุ่นและเป็นต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ อาการของโรค 1. เก็บของไว้มากเกินไป แม้ว่าของนั้นจะดูไม่ค่อยมีประโยชน์ หรือมีโอกาสใช้ประโยชน์น้อยมาก 2. มีความยากลำบากในการทำใจที่จะทิ้งของ (ตัดใจทิ้งของไม่ได้) โดยส่วนใหญ่เกิดจากความคิดว่า …. “ยังอาจจำเป็นต้องใช้” “อาจจะได้ใช้” …… (ทั้ง ๆ ที่ก็ไม่เคยได้ใช้หรอก) หรือทิ้งแล้วจะรู้สึกไม่สบายใจ ก็เลยไม่ทิ้ง 3. ของที่สะสมมีเยอะมากจนรบกวนการใช้ชีวิต หรือทำให้เกิดอันตราย เช่น วางบนพื้นห้องจนไม่มีที่เดิน, วางท่วมล้นบนโต๊ะทำงานจนทำงานบนโต๊ะไม่ได้ หรือของเยอะจนทำให้เจ็บป่วยบ่อย เป็นต้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่คิดว่าตัวเองผิดปกติ ส่วนมากมองว่าการเก็บของของตัวเองนั้นสมเหตุสมผล (แต่คนอื่นหรือเพื่อนบ้านจะทนไม่ได้ -_-”) สิ่งสะสมที่พบได้บ่อย ได้แก่ หนังสือ นิตยสาร เสื้อผ้า ถุงพลาสติก และขวดต่างๆ ซึ่งการเก็บของนี้จะเยอะเกินกว่าปกติของคนทั่วไป เช่น เก็บจนล้นกองเต็มทั่วบ้าน เป็นต้น (คนปกติบางคนอาจจะสะสมของบางอย่าง เช่น ชอบสะสมหนังสือ แต่สามารถเก็บวางไว้ในตู้ หรือจัดเก็บได้อย่างเรียบร้อยจะไม่ถือว่าเป็นโรคนี้ ) การสะสมของจำนวนมากๆ แบบนี้หลายครั้งมักทำให้เกิดอันตรายตามมา เช่น บาดเจ็บเพราะหนังสือล้มทับใส่ ห้องรกจนเป็นภูมิแพ้รุนแรง หรือสกปรกจนติดเชื้อ เป็นต้น การดำเนินโรค โดยทั่วไปโรคสะสมของนี้มักเริ่มมีอาการตั้งแต่วัยรุ่น และเป็นต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ตลอดชีวิต เพียงแต่โดยส่วนใหญ่ตอนวัยรุ่นอาจจะไม่เป็นปัญหารุนแรงมากนักเพราะของที่สะสมมักจะยังไม่มาก (เพราะเพิ่งเริ่มสะสม) แต่จะเริ่มเป็นปัญหาหนักเมื่อวัยผู้ใหญ่ เพราะของที่สะสมจะเยอะมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่พบว่าโรคจะเป็นลักษณะเรื้อรัง ไม่หายขาด โดยอาการอาจจะเป็นเยอะขึ้นเป็นบางช่วง โดยเฉพาะช่วงที่มีความเครียดมักจะมีการสะสมของมากขึ้น การรักษา โรคนี้การรักษาด้วยยาพบว่าได้ผลเล็กน้อย โดยยาที่ใช้เป็นยากลุ่มยาต้านเศร้า (antidepressant) ส่วนการรักษาที่ดีที่สุดในปัจจุบันคือ การสอนการตัดสินใจ(ในการเก็บ/ทิ้งของ) การจัดกลุ่ม และการสอนวิธีการเก็บของที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงฝึกให้ทนได้กับการทิ้งของ ซึ่งพบว่าวิธีการเหล่านี้สามารถช่วยลดของที่สะสมลงได้เกือบ ๆ 1 ใน 3 (ซึ่งก็ถือว่าเยอะแล้ว) ขอบคุณ... http://news.mthai.com/hot-news/social-news/515373.html

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...