อย่าตื่นตูม! เสพติด “โซเชียล” เป็นโรคจิต ยังขาดงานวิจัยรองรับ

แสดงความคิดเห็น

นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ จิตแพทย์เด็กและสื่อ กรมสุขภาพจิต

จิตแพทย์ ชี้ WHO ยังไม่ประกาศ “ภาวะติดโซเชียล” เป็นโรคทางจิตเวชในเร็ววัน เหตุขาดงานวิจัยรองรับอีกมาก ซ้ำเทคโนโลยีสื่อสารก้าวหน้ารวดเร็วกว่างานวิจัย อาจต้องปรับการวินิจฉัยอีก ย้ำเสพโซเชียลมีสติพิจารณาถี่ถ้วน

จากกรณีองค์การอนามัยโลก (WHO) เตรียมที่จะบรรจุเรื่องของการเสพติดสื่อออนไลน์ให้เป็น 1 ในคำวินิจฉัยทางจิตเวช คาดว่า จะประกาศอยู่ในระบบการวินิจฉัยใหม่ที่เป็นเกณฑ์ให้แต่ละประเทศใช้ได้ภายใน 1 - 2 ปี ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ โดยไม่เชื่อว่าการติดโซเชียลมีเดียจะถึงขั้นเข้าข่ายโรคทางจิตเวช และหากกำหนดให้เป็นโรคทางจิตเวชก็ต้องมีเกณฑ์หรือนิยามให้ชัด

นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ จิตแพทย์เด็กและสื่อ กรมสุขภาพจิต กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ปัจจุบันนี้ได้มีการจัดให้ภาวะติดเกมออนไลน์ (Internet gaming disorder) อยู่ในกลุ่มวินิจฉัยระดับที่ 3 เท่านั้น คือยังต้องรองานวิจัยมารองรับอีก เพื่อปรับไปเป็นเกณ์การวินิจฉัยระดับที่ 1 ซึ่งเป็นกลุ่มโรคและการวินิจฉัยที่แพทย์ใช้โดยทั่วไปในปัจจุบัน ส่วนภาวะการติดโซเชียลมีเดีย ยังคาดว่าไม่น่ามีการประกาศในเร็ววัน ซึ่งตนนั้นได้มีโอกาสเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการในการพิจารณาภาวะการติดโซเชียลมีเดียเป็นโรคทางจิตเวช ซึ่งจัดโดย WHO เมื่อ 2 ปีก่อน ซึ่งคณะกรรมการนี้ได้สรุปความเห็นว่า ยังคงต้องการงานวิจัยเพื่อรับรองความรู้ด้านนี้อีกสักระยะ เพื่อสรุปว่าเป็นโรคทางจิตเวชได้ เนื่องจากการติดโซเชียลเน็ตเวิร์กนั้นมีอาการ ลักษณะจำเพาะ และสาเหตุที่แตกต่างออกไปจากการติดสารเสพติดแบบอื่น ๆ ทั้งนี้ อาจมีการปรับเปลี่ยนการวินิจฉัยในอนาคตอีก เนื่องจากเทคโนโลยีสื่อสารต่างๆมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วจนงานวิจัยตามทันได้ยาก

นพ.วรตม์ กล่าวว่า แม้จะไม่มีการวินิจฉัยที่ชัดเจน แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นค่อนข้างชัดเจนแล้ว เราจึงต้องระมัดระวังในการใช้สื่อโซเชียลเป็นพิเศษ ให้พึงระลึกไว้เสมอว่าเหรียญมีสองด้าน สิ่งที่เราดูอยู่นั้นอาจเป็นได้ทั้งเรื่องจริงหรือเรื่องหลอกลวง สิ่งที่เราเสพอาจเป็นการนำเสนอเพียงด้านเดียวของผู้สื่อสารเท่านั้นก็ได้ และถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องจริงทั้งหมดก็ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนอีกครั้งว่ามันเป็นสิ่งที่เหมาะสมหรือไม่ หากไม่เหมาะสม เราก็ไม่ควรสนับสนุนและควรป้องกันอันตรายต่อคนรอบข้างที่รับสื่อนั้นด้วย เพื่อให้สังคมไทยน่าอยู่มากขึ้น นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ยังควรดูแลและให้คำแนะนำในการรับสื่อต่าง ๆ แก่ลูกหลานที่ยังเป็นกลุ่มเสี่ยงด้วย

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9590000045139 (ขนาดไฟล์: 164)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 04 พ.ค.59
วันที่โพสต์: 13/05/2559 เวลา 09:21:02 ดูภาพสไลด์โชว์ อย่าตื่นตูม! เสพติด “โซเชียล” เป็นโรคจิต ยังขาดงานวิจัยรองรับ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ จิตแพทย์เด็กและสื่อ กรมสุขภาพจิต จิตแพทย์ ชี้ WHO ยังไม่ประกาศ “ภาวะติดโซเชียล” เป็นโรคทางจิตเวชในเร็ววัน เหตุขาดงานวิจัยรองรับอีกมาก ซ้ำเทคโนโลยีสื่อสารก้าวหน้ารวดเร็วกว่างานวิจัย อาจต้องปรับการวินิจฉัยอีก ย้ำเสพโซเชียลมีสติพิจารณาถี่ถ้วน จากกรณีองค์การอนามัยโลก (WHO) เตรียมที่จะบรรจุเรื่องของการเสพติดสื่อออนไลน์ให้เป็น 1 ในคำวินิจฉัยทางจิตเวช คาดว่า จะประกาศอยู่ในระบบการวินิจฉัยใหม่ที่เป็นเกณฑ์ให้แต่ละประเทศใช้ได้ภายใน 1 - 2 ปี ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ โดยไม่เชื่อว่าการติดโซเชียลมีเดียจะถึงขั้นเข้าข่ายโรคทางจิตเวช และหากกำหนดให้เป็นโรคทางจิตเวชก็ต้องมีเกณฑ์หรือนิยามให้ชัด นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ จิตแพทย์เด็กและสื่อ กรมสุขภาพจิต กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ปัจจุบันนี้ได้มีการจัดให้ภาวะติดเกมออนไลน์ (Internet gaming disorder) อยู่ในกลุ่มวินิจฉัยระดับที่ 3 เท่านั้น คือยังต้องรองานวิจัยมารองรับอีก เพื่อปรับไปเป็นเกณ์การวินิจฉัยระดับที่ 1 ซึ่งเป็นกลุ่มโรคและการวินิจฉัยที่แพทย์ใช้โดยทั่วไปในปัจจุบัน ส่วนภาวะการติดโซเชียลมีเดีย ยังคาดว่าไม่น่ามีการประกาศในเร็ววัน ซึ่งตนนั้นได้มีโอกาสเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการในการพิจารณาภาวะการติดโซเชียลมีเดียเป็นโรคทางจิตเวช ซึ่งจัดโดย WHO เมื่อ 2 ปีก่อน ซึ่งคณะกรรมการนี้ได้สรุปความเห็นว่า ยังคงต้องการงานวิจัยเพื่อรับรองความรู้ด้านนี้อีกสักระยะ เพื่อสรุปว่าเป็นโรคทางจิตเวชได้ เนื่องจากการติดโซเชียลเน็ตเวิร์กนั้นมีอาการ ลักษณะจำเพาะ และสาเหตุที่แตกต่างออกไปจากการติดสารเสพติดแบบอื่น ๆ ทั้งนี้ อาจมีการปรับเปลี่ยนการวินิจฉัยในอนาคตอีก เนื่องจากเทคโนโลยีสื่อสารต่างๆมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วจนงานวิจัยตามทันได้ยาก นพ.วรตม์ กล่าวว่า แม้จะไม่มีการวินิจฉัยที่ชัดเจน แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นค่อนข้างชัดเจนแล้ว เราจึงต้องระมัดระวังในการใช้สื่อโซเชียลเป็นพิเศษ ให้พึงระลึกไว้เสมอว่าเหรียญมีสองด้าน สิ่งที่เราดูอยู่นั้นอาจเป็นได้ทั้งเรื่องจริงหรือเรื่องหลอกลวง สิ่งที่เราเสพอาจเป็นการนำเสนอเพียงด้านเดียวของผู้สื่อสารเท่านั้นก็ได้ และถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องจริงทั้งหมดก็ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนอีกครั้งว่ามันเป็นสิ่งที่เหมาะสมหรือไม่ หากไม่เหมาะสม เราก็ไม่ควรสนับสนุนและควรป้องกันอันตรายต่อคนรอบข้างที่รับสื่อนั้นด้วย เพื่อให้สังคมไทยน่าอยู่มากขึ้น นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ยังควรดูแลและให้คำแนะนำในการรับสื่อต่าง ๆ แก่ลูกหลานที่ยังเป็นกลุ่มเสี่ยงด้วย ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9590000045139

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...